‘เวียดนาม’ ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ส.ค. ลดลง 4.2%

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IIP) เดือนสิงหาคม 2564 ลดลง 4.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และลดลง 7.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยในภาพรวม 8 เดือนแรก (ม.ค.-สิ.ค.) จำนวนทั้งหมด 1,135 โครงการมาจากนักลงทุนต่างชาติ ด้วยเงินทุนจดทะเบียนรวม 11.33 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ การพาณิชย์ การคมนาคม การขนส่งและการท่องเที่ยวยังคงได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด-19 และโดยเฉพาะมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม นอกจากนี้ ดัชนี CPI ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.25% จากเดือนกรกฎาคม แต่ CPI ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 1.79% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2559 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นที่ฐานในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1021621/industrial-production-for-august-drops-42-per-cent.html

เงินเฟ้อพุ่งสูงสุดรอบ 11 เดือน

อัตราเงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคม ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 4.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนสำนักงานสถิติลาวระบุว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) อยู่ที่ 118.51 จุดในเดือนก.ค. ซึ่งบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 4.7% โดยมีปัจจัยในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ผันผวนถือเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนหลักของอัตราเงินเฟ้อในสปป.ลาว ความต้องการเงินตราต่างประเทศ โดยเฉพาะเงินบาทและดอลลาร์สหรัฐฯ จากความต้องการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจำนวนมาก ค่าเงินกีบยังคงอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม แม้จะมีมาตรการของรัฐบาลในการจัดการกับประเด็นนี้ อัตรากการเพิ่มขึ้นในแต่ละหมวดที่เพิ่มขึ้นเป็นดังนี้ ค่าอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น 4.44 % หมวดการสื่อสารและการขนส่งเพิ่มขึ้น 0.92% ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น 25.44 เปอร์เซ็นต์ หมวดร้านอาหารและโรงแรมเพิ่มขึ้น 2.19% ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น 0.6% หมวดเสื้อผ้าและรองเท้าเพิ่มขึ้น 1.15% ค่าใช้จ่ายของใช้ในครัวเรือนเพิ่มขึ้น 0.44%

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Inflation_165.php

‘เวียดนาม’ คงเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำถึงสิ้นปี 64

นาย Le Minh Khai รองนายกรัฐมนตรีและคณะกรรมการบริหารเมืองฮานอย รายงานที่ประชุมว่าเวียดนามดำเนินการรักษาการเติบโตของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 1% ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ เพื่อคงเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 4% ต่อปี โดยคณะกรรมการมองว่าเพื่อให้ตัวเลขเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่กำหนดไว้ เวียดนามจะต้องดำเนินการ 2 เป้าหมายสำคัญ คือ สามารถควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้ ควบคู่กันไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ดัชนี CPI เผชิญกับอุปสรรค เนื่องจากตลาดมีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาของความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้นในช่วงสิ้นปีนี้ นอกจากนี้แล้ว ดัชนี CPI ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 1.64% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 0.89%

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1013386/vn-to-keep-cpi-growth-low-by-end-of-2021.html

ผู้เชี่ยวชาญชี้เงินเฟ้อมีแนวโน้มต่ำลง 4% ในปีนี้

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) ระบุว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในช่วงครึ่งปีแรก เพิ่มขึ้น 1.47% นับว่าเป็นการเติบโตต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2559 และยังคงรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 4% ปีนี้ การเติบโตของเงินเฟ้อดังกล่าว เป็นผลมาจากราคาเชื้อเพลิงและราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ ดัชนี CPI ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มาจากราคาน้ำมันในประเทศเพิ่มสูงขึ้น และทำให้ดัชนี CPI โดยรวมเพิ่มขึ้น 0.61% นอกจากนี้ ความต้องการเดินทางและการท่องเที่ยวของผู้คนลดลง เนื่องจากผลกระทบของโควิด-19 ทำให้ค่าแพคเกจทัวร์ ลดลง 2.85% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/expert-believes-inflation-could-fall-below-4-this-year-869965.vov

เวียดนามเผยดัชนี CPI เดือนพ.ค. พุ่ง 0.16%

ตามรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) ระบุว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเวียดนาม เดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้น 0.16% เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน และ 2.9% เมื่อเทียบกับปีก่อน นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ่อพื้นฐานในเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 0.15% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และ 1.13% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเพิ่มขึ้น 0.82% ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ สะท้อนให้ถึงระดับความผันผวนของราคาผู้บริโภตที่มาจากราคาอาหาร น้ำมันและราคาแก๊ส รวมถึงอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนพฤษภาคมและช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cpi-inches-up-016-percent-in-may/202254.vnp

เวียดนามเผย CPI มี.ค. หดตัว -0.27%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าความต้องการในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค หลังเทศกาลเต็ต (Tet)  และราคาอาหารปรับตัวลดลง เป็นผลมาจากปริมาณอาหารเหลือเฟือ ทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมีนาคม ติดลบ 0.27% จากช่วงเดียวกันของเดือนก่อน ในขณะที่ เพิ่มขึ้น 1.16% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งถือว่าตัวเลขดังกล่าว อยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2559 ทั้งนี้ ดัชนี CPI ในไตรมาสแรกที่เพิ่มขึ้น 0.29% เหตุจากราคาข้าวปรับตัวพุ่ง 8.55% เมื่อเทียบเป็นรายปี ตั้งแต่ช่วงเดือนม.ค.-มี.ค. อันเป็นผลของราคาสินค้าโลกที่เพิ่มสูงขึ้นและความต้องการข้าวเกรดพรีเมี่ยมจำนวนมาก ในช่วงเทศกาลเต็ต

ที่มา : https://en.dangcongsan.vn/economics/march-cpi-decreases-0-27-571880.html

INFOGRAPHIC : เวียดนามเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พุ่ง 1.52%

ดัชนีราคาผู้บริโภคของเวียดนาม (CPI) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.52% จากช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว และ 0.7% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO)

เวียดนามเผยการบริหารด้านราคาสินค้า เผชิญกับเงื่อนไขใหม่ ท่ามกลางการระบาดโควิด-19

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจและตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ไปทั่วโลก รวมถึงเวียดนาม ราคาสินค้าในประเทศคงมีความผันผวนและมีความเชื่อมโยงกับความผันผวนของราคาวัตถุดิบและเชื้อเพลงในตลาดโลก ตามการประชุมของสมัชชาแห่งชาติครั้งที่ 14 ได้ตั้งเป้าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเวียดนาม เฉลี่ยที่ 4% ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์หลายสำนัก คาดการณ์ว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นในปีนี้ โดยเฉพาะราคาวัตถุดิบและเชื้อเพลิงที่อยู่ในตลาดโลก คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง เมื่อโลกสามารถรับมือการระบาดของโรคโควิด-19 ได้ ตลอดจนการกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึง ส่งผลให้การผลิต การค้าและด้านระหว่างประเทศจะกลับมาฟื้นตัวได้ในที่สุด

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/908496/price-management-faces-new-conditions-amid-pandemic.html

เวียดนามเผยดัชนี CPI ก.พ. พุ่งสูงสุดรอบ 8 ปี

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้น 1.52% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ปรับตัวสูงสุดในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ดัชนีดังกล่าวสูงขึ้นเพียง 0.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ จำนวน 10 ใน 11 รายการ ที่เห็นว่าราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน หากจำแนกออกมาชี้ให้เห็นถึงราคาวัสดุก่อสร้างและที่อยู่อาศัยปรับตัวพุ่งสูงสุด 4% รองลงมากลุ่มราคาอาหารและบริการจัดเลี้ยง 1.61% และการขนส่ง 1.55% ตามลำดับ ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน (ปีใหม่ทางจันทรคติ) นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของเดือนนี้ (ไม่รวมกลุ่มอาหารสด พลังงานและบริการรัฐ) ได้แก่ บริการสุขภาพและการศึกษาขยับเพิ่มขึ้น 0.48% จากเดือนม.ค. 64 และ 0.79% เมื่อเทียบกับเดือนก.พ. ปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietreader.com/business/35093-february-cpi-growth-highest-in-eight-years.html

เวียดนามเผยดัชนี CPI เดือนม.ค. พุ่งขึ้น เหตุเทศกาลเต็ต

สำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเวียดนามในเดือนนี้ เพิ่มขึ้น 0.06% จากช่วงเดียวกันของเดือนก่อน โดยส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนมาจากความต้องการของผู้บริโภคสูงขึ้นในช่วงเทศกาลเต็ด (Tet) ที่กำลังจะมาถึง ด้วยเหตุนี้ ทำให้ราคาอาหารและค่าบริการพุ่งสูงขึ้น ในขณะที่ ราคาน้ำมันในประเทศปรับเพิ่มขึ้นตามตลาดโลก ทั้งนี้ ในบรรดากลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ 11 ประเภท มีอยู่ 9 รายการที่เพิ่มขึ้น ประกอบด้วยการขนส่งเพิ่มขึ้นสูงสุด 2.29% รองลงมาอาหารและบริการจัดเลี้ยง (0.44%), การศึกษา (0.33%), เครื่องดื่มและยาสูบ (0.32%) และสินค้าและบริการอื่นๆ (0.24%) ในขณะที่ราคาที่อยู่อาศัย ค่าน้ำค่าไฟ่และวัสดุก่อสร้างลดลง 2.31% และโทรคมนาคม 0.1% อย่างไรก็ตาม ดัชนี CPI หดตัว 0.97 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/80409/high-consumer-demand-for-tet-drives-up-january%C3%A2%E2%82%AC%E2%84%A2s-cpi.html