UNFPA ให้การสนับสนุนผู้หญิงและเด็กหญิงในสปป.ลาว

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) มอบเงินช่วยเหลือซึ่งประกอบด้วยรายการด้านสุขอนามัยและสิทธิต่างๆสำหรับผู้หญิงและเด็กผู้หญิงในช่วงการระบาดของ Covid-19 รวมทั้งเสบียงอาหารที่จำเป็นอีกด้วย UNFPA ทำงานอย่างแข็งขันในการสนับสนุนพันธมิตรของรัฐบาลรวมถึงการขยายพันธมิตรและความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อร่วมมือในการปรับปรุงสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์ของผู้หญิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิง สปป.ลาวได้ร่วมมือกับ UNFPA โดยการเป็นหุ้นส่วนมุ่งเน้นไปที่ค่านิยมการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกันและการสนับสนุนในการปกป้องผู้หญิงและเด็กหญิงจากความรุนแรงรวมถึงสนับสนุนสิทธิขั้นพื้นฐานเช่นโภชนาการที่เพียงพอและการศึกษาที่เหมาะสมแก่ผู้หญิงและเด็กภายใต้กรอบสัญญาดังกล่าวนอกจากจะเป็นการส่งเสริมความเท่าเทียมทางสังคมแล้วในอีกแง่การร่วมมือดังกล่าวจะนำซึ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญของสปป.ลาว

ที่มา : https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2020/06/07/unfpa-lends-support-to-women-and-girls-in-laos

ภาคการก่อสร้างเมียนมาร้องขอนโยบายผ่อนปรนการใช้เงินสด

ธุรกิจก่อสร้างกำลังเรียกร้องให้มีการผ่อนปรนกฎระเบียบและการลดหย่อนภาษีผ่านความช่วยเหลือทางการเงินจากปัญหาการระบาดของ COVID-19 สมาคมผู้ประกอบการก่อสร้างเมียนมา (MCEA) กล่าวว่ามีวิธีอื่นนอกเหนือจากการใช้เงินสดที่รัฐบาลสามารถช่วยบรรเทาภาระของผู้รับเหมาและนักพัฒนาในท้องถิ่น เช่น การลดอากรแสตมป์สำหรับชาวต่างชาติ การจำนองที่ราคาถูกและยืดหยุ่นมากขึ้น ในย่างกุ้งปัจจุบันมีคอนโดมิเนียมประมาณ 15,000 ยูนิตอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง 40% สามารถเปิดขายให้กับชาวต่างชาติ ได้ทั้งหมด 6,000 ยูนิต สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ถึง 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตลาดคอนโดมิเนียมอาจดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติได้หากเงื่อนไขที่อนุญาตเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 โครงการก่อสร้างจำนวนมากได้หยุดชะงักจากการขาดแคลนเงินสดความต้องการที่ลดลงและความล่าช้าในการนำเข้าวัสดุก่อสร้าง  รัฐบาลจะช่วยให้ภาคการก่อสร้างเนื่องจากเกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งจะอนุญาตให้กลับมาทำงานได้แต่ต้องปฏิบัติตามแนวทางด้านสุขภาพและการป้องกันอย่างถูกต้อง  รัฐบาลกำลังจะเปิดตัวโครงการโครงสร้างพื้นฐานใหม่โดยใช้กองทุนของรัฐและสินเชื่อระหว่างประเทศและอนุมัติการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ร่วมกับภาคเอกชน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-construction-sector-requests-policy-relief-over-cash.html

เมียนมาส่งออกไปบังคลาเทศผ่านชายแดนมังดอร์มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เดือนมิถุนายน 2563 เมียนมาส่งออกผ่านชายแดนผ่านชายแดนมังดอว์มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐไปยังบังคลาเทศและส่วนใหญ่เป็นสินค้าอย่างพลาสติก ซึ่งการค้าชายแดนมังดอร์ หยุดตั้งแต่เดือนเมษายนถึงพฤษภาคมและเปิดในเดือนมิถุนายน 2563 จากการแพร่ระบาดของ COVID-19

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/more-than-us-1-million-worth-products-exported-to-bangladesh-via-maungdaw-border-trade

“พาณิชย์” เบรก 2 บริษัท ขอนำเข้าข้าวกรอบอาฟต้า

แหล่งข่าวกระทรวงพาณิชย์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการนำเข้าข้าวภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน เพื่อให้เป็นไปตามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ที่ไทยจะต้องเปิดตลาดนำเข้าข้าวตั้งแต่ปี 2553 โดยในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ในปี 2563 มี 2 บริษัท ขอนำเข้าภายใต้กรอบอาฟต้า ได้แก่ บริษัท วราวุธ อุตสาหกรรม จำกัด เป็นผู้ผลิตและส่งออกแป้งข้าวเจ้าและแป้งข้าวเหนียว ทั้งชนิดโม่แห้งและโม่น้ำภายใต้เครื่องหมายการค้า “ชวนชม” (DESERT ROSE) และ “ฟลาวริช” และ บริษัท บูรพา พรอสเพอร์ จำกัด เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายแป้งข้าวรายแรกในภาคตะวันออกของประเทศไทยภายใต้ตราสินค้า “หมีคู่ดาว” เพื่อขอนำเข้าข้าวเหนียว อย่างไรก็ดีในขณะนี้อยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน จึงยังไม่อนุญาตให้นำเข้าในช่วงนี้ ทั้งนี้ ด้านนายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2563 คณะกรรมการโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) ได้เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารการนำเข้าข้าวภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน เพื่อให้เป็นไปตามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ที่ไทยจะต้องเปิดตลาดนำเข้าข้าวตั้งแต่ปี 2553 โดยในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการฯ ได้ประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางการเปิดตลาดและได้ยกร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการขั้นตอน หลักเกณฑ์ เงื่อนไขในการนำเข้าข้าวภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/441112?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=Macro_econ

เวียดนามเผยมูลค่าการเบิกจ่ายเงินลงทุนสาธารณะ 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ช่วง 6 เดือนแรกปีนี้

กระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) ระบุว่าการเบิกจ่ายเงินลงทุนสาธารณะในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 อยู่ที่ราว 156 ล้านล้านด่ง (6.73 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) บรรลุตามเป้าที่ร้อยละ 33.1 ของแผนที่กำหนดโดยสมัชชาแห่งชาติและนากยกรัฐมนตรี ซึ่งสูงกว่าร้อยละ 28.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ทางกระทรวงข้างต้น ยังระบุเพิ่มเติมว่ามีการเบิกจ่ายเงินลงทุนในประเทศที่ 142 ล้านล้านด่ง (32.98% ของแผนที่กำหนดไว้) รวมถึงเงินทุนจากต่างประเทศที่ 5.7 ล้านล้านด่งและมีอีกมากกว่า 7.5 ล้านล้านด่งสำหรับโครงการระดับชาติ นอกจากนี้ ยังมีอีก 4 กระทรวง หน่วยงานกลางและอีก 6 หน่วยงานท้องถิ่นที่ได้ทำการเบิกจ่ายไปแล้วมากกว่าร้อยละ 50 ของยอดเงินทุนงประเทยบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน63 อย่างมาก

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/nearly-7-billion-usd-of-public-investment-disbursed-in-six-months/178138.vnp

เวียดนามขาดดุลการค้ากับอิสราเอล ช่วง 5 เดือนแรกปีนี้

ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามขาดดดุลการค้ากับอิสราเอลที่ 101.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลมาจากยอดสินค้าส่งออกสำคัญลดลงและการกลับมานำเข้าสินค้าที่มีมูลค่าสูง ซึ่งคุณ Le Thai Hoa ที่ปรึกษาด้านการค้าเวียดนามในอิสราเอล กล่าวว่าการค้าทวีภาคีของสองประเทศที่ 649.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 5 เดือนแรก การส่งอออกของเวียดนามหดตัวลงร้อยละ 17.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่ การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 419.3 โดยการเติบโตของการนำเข้าส่วนใหญ่มาจากเวียดนามเริ่มกลับมานำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ทั้งนี้ ในเดือนพ.ค. การค้าระหว่างเวียดนามกับอิสราเอล อยู่ที่ 136.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ไม่รวมเครื่องจักร ยานพาหนะและอุปกรณ์ป้องกัน เป็นต้น) การส่งออกของเวียดนามไปยังอิสราเอลเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ขณะที่ การนำเข้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน นอกจากนี้ บริษัทอิสราเอลบางแห่งสนใจเนื้อปลาสวายแล่ อาหารกระป๋องและเสื้อผ้าจากเวียดนาม รวมถึงได้มีการหารือในการเป็นพาร์ทเนอร์กับผู้ประกอบการชาวเวียดนาม เพื่อยกระดับการนำเข้า

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-posts-fivemonth-trade-deficit-with-israel/178167.vnp

ประชาสัมพันธ์ : งานเสวนา AiTi ในรูปแบบ Private Mentoring และ Business Matching หัวข้อ การค้าการลงทุน และโอกาสใหม่ๆ ช่วงโควิด..วิกฤตรอบ 100 ปี ในประเทศกลุ่ม CLMV

📌วันที่ 7 กรกฎาคม เริ่มตั้งแต่เวลา 15.00 น. อาคาร 10 ชั้น 3 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย📌

โดยเชิญสุดยอดเมนทอลที่บริหารธุรกิจจริงฝ่าวิกฤตโควิด สดๆ ร้อนๆ ได้แก่

🔴ม.ล.คฑาทอง ทองใหญ่
นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
🔴คุณเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน)
Mentor กลุ่มประเทศเมียนมา
🔴คุณวรทัศน์ ตันติมงคลสุข
คณะกรรมการกลุ่มค้าชายแดนและค้าข้ามแดน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
Mentor กลุ่มประเทศกัมพูชา

เจาะลึก แบบไพรเวท กับการแก้ปัญหาเพื่อรักษาและต่อยอดการเติบโตอย่างยั่งยืน กับสุดยอดเมนทอลระดับโลก รวมทั้งการพยากรณ์โอกาสใหม่ๆ ใน CLMVT พร้อมคำแนะนำการบริหารงานฝ่าวิกฤตในรอบ 100 ปี

เราเชื่อว่า..
“ผู้นำย่อมเห็นโอกาสบนวิกฤตเสมอ”

ดัชนีภาคการผลิตเวียดนาม PMI สูงสุดในรอบ 10 เดือน

ตามผลการสำรวจของ Nikkei และ IHS Markit เปิดเผยว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในภาคการผลิต (PMI) ในเดือนมิถุนายน แตะระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน ทั้งนี้ ดัชนี PMI เดือนมิ.ย. ปรับตัวสูงระดับ 51.1 จากระดับ 42.7 ในเดือนพ.ค.

ประเด็นสำคัญ

  • ยอดคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมาก
  • การผลิตกลับมาดำเนินงานอีกครั้ง
  • คนมีงานทำลดลงอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-manufacturing-pmi-highest-in-10-months/177956.vnp