เวิลด์แบงก์ชี้จีดีพีไทยปี’63 หดตัวกว่า 5% คาดตกงานและสูญเสียรายได้จากโควิด-19 กว่า 8.3 ล้านคน

นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เปิดเผยว่า ยอมรับเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากโควิด-19 โดยเวิลด์แบงก์คาดการณ์อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลในประเทศ (GDP) ปีนี้อาจหดตัวกว่า 5% และน่าจะใช้เวลามากกว่า 2 ปีกว่า ที่จะกลับสู่ระดับจีดีพีก่อนที่จะประสบปัญหาโควิด-19 การส่งออกคาดหดตัวประมาณ 6.3% ซึ่งเป็นการชะลอตัวลงรายไตรมาสที่แรงที่สุดในรอบ 5 ปี เนื่องจากความต้องการสินค้าไทยในต่างประเทศยังคงอ่อนแอ จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะลดลง 3.2% เนื่องจากมาตรการห้ามการเดินทางและรายได้ที่ลดลง ซึ่งจำกัดการใช้จ่ายของผู้บริโภคโดยเฉพาะในไตรมาส 2/2563 ประกอบกับมีคนตกงานกระจายไปทั่ว และกระทบต่อครัวเรือนชนชั้นกลางไปถึงครัวเรือนที่ยากจน ภาคการท่องเที่ยวที่คิดเป็นสัดส่วน 15% ของจีดีพีได้รับผลกระทบอย่างมากจากการที่ไทยเกือบจะห้ามนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศตั้งแต่เดือนมี.ค. 2563 “ประมาณการว่าไทยจะมีคนตกงานและสูญเสียรายได้จากโควิด-19 กว่า 8.3 ล้านคน ทำให้งานมากมายโดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยวและภาคบริการมีความเสี่ยง ซึ่งจากรายงานยังพบอีกว่าจำนวนผู้ที่ไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือผู้ที่มีรายได้ต่อวันต่ำกว่า 5.5 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ (ตามภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ) จะสูงขึ้นกว่าหนึ่งเท่าตัวจาก 4.7 ล้านคนในไตรมาสแรกเป็น 9.7 ล้านคนในไตรมาส 2/2563 โดยเฉพาะ สัดส่วนของคนที่ไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจในกลุ่มครัวเรือนชนชั้นกลางในภาคการผลิตและภาคบริการจะเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว จาก 6% เป็น 20%”

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/economics/news_4412170

เวียดนามส่งออกสายเคเบิล สายไฟฟ้า พุ่ง 33.7 ในช่วง 5 เดือนแรก

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MOIT) เปิดเผยว่าเวียดนามส่งออกสายเคเบิลและสายไฟฟ้า 903.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ประเทศจีนเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ของเวียดนาม ด้วยมูลค่าการนำเข้าประมาณ 261 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28.9 ของยอดส่งออกทั้งหมดของเวียดนาม รองลงมาสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งยอดส่งออกไปยังตลาดฮ่องกง  สปป.ลาวและสหราชอาณาจักรที่มีการเติบโตสูงขึ้น ร้อยละ 78.9, 72.1 และ 61.5 ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/electric-wire-cable-export-surges-337-percent-in-five-months/177735.vnp

เวียดนามเผยช่วงครึ่งปีแรก ดัชนี CPI ทำสถิติสูงสุด 5 ปีที่ผ่านมา

สำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ถือว่าสูงสุดตั้งแต่ปี 2559-2563 ทั้งนี้ ดัชนี CPI เดือนมิ.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันเดือนที่แล้ว เป็นผลมาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันและเนื้อสุกร อย่างไรก็ตาม ดัชนี CPI เดือนมิ.ย. ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.59 เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค. ซึ่งต่ำที่สุดในช่วงปี 2559-2563 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสสองของปีนี้ ดัชนี CPI ลดลงร้อยละ 1.87 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว นอกจากนี้ ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นร้อยละ 1.71 เมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย. เหตุจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 และข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน

ที่มา : http://dtinews.vn/en/news/018/68638/cpi-records-five-year-high-in-h1.html

ธนาคารในเมียนมาเปิดตัวบัตรเดบิต เครดิตเพื่อผลักดันการใช้เงินสด

ธนาคารประชาชนแห่งเมียนมา (MCB) เตรียมให้บริการบัตรเดบิตโดยร่วมกับสหภาพพม่า Payment Union (MPU) และผู้ให้บริการชำระเงินจากญี่ปุ่นอย่าง JCB ธนาคารประกาศในช่วงสุดสัปดาห์ การร่วมมือกันครั้งนี้ จะช่วยให้ผู้ใช้บัตรอสามารถเข้าถึงเครือข่ายการค้าของ MPU ทั่วประเทศและถอนเงินที่ตู้เอทีเอ็ม MCB, ตู้เอทีเอ็มอื่น ๆ ที่รองรับบัตร MPU / JCB และ ATM ที่รองรับบัตร JCB ในประเทศอื่น ๆ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการชำระเงินผ่านเครื่อง ณ จุดขาย (POS) ที่เคาน์เตอร์ขายในประเทศและต่างประเทศรวมถึงชำระเงินและเติมเงินออนไลน์ได้ สัปดาห์นี้หลังจากที่ Yoma Bank จับมือกับ Mastercard จะช่วยให้ธนาคารสามารถขยายการให้บริการทางดิจิทัลและความความก้าวหน้าของเศรษฐกิจดิจิทัลของเมียนมา รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการพัฒนาและใช้ผลิตภัณฑ์การชำระเงินแบบไร้เงินสดและแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อผลักดันการเติบโตและการรับมือกับการระบาดของ COVID-19

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-local-banks-launch-debit-credit-cards-drive-cashless-push.html

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมสนับสนุนแรงงานสปป.ลาวที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค Covid-19

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ปฏิญาณว่าจะรักษาผลประโยชน์และสิทธิของแรงงานสปป.ลาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยเหลือผู้ที่ถูกปลดออกหรือหยุดงานชั่วคราวในช่วงที่มีการระบาดของ Covid-19 ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาคนงานได้รับความช่วยเหลือมากขึ้น เนื่องจากคนส่วนใหญ่ได้รับความคุ้มครองจากระบบประกันสังคม อย่างไรก็ตามการระบาดใหญ่ของโลกได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจและคนงาน ส่วนใหญ่ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิประโยชน์การว่างงานไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียตำแหน่งงานชั่วคราวหรือถาวร  โดยกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมทั่วประเทศทำงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นในการให้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับจำนวนคนที่ต้องการความช่วยเหลือ กระทรวงยังทำงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงสมาชิกของระบบประกันสังคมผ่านกลไกความร่วมมือการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการส่งเสริมโครงการแรงงาน กระทรวงได้สั่งให้เจ้าหน้าที่แรงงานในทุกแขวงให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนผู้ว่างงานในปัจจุบัน รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานที่มีอยู่ในแต่ละแขวง โดยกระทรวงจะจัดให้มีโครงการสนับสนุนสำหรับผู้ที่ต้องการทำงานบนพื้นฐานอิสระหรือเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระเช่นเดียวกับผู้ที่หวังจะหางานเพิ่มในประเทศอื่นเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น กระทรวงได้ร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อกลุ่มเสี่ยงกับสถานการณ์ Covid-19 ในแต่ละประเทศ นอกจากนี้ยังคงส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่สูงการเข้าถึงโอกาสที่เป็นธรรมสำหรับทุกคนและส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของเด็กผู้สูงอายุและผู้ทุพพลภาพ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Ministry124.php

รัฐบาลสปป.ลาวพยายามรักษาอัตราการเติบโตของการผลิตทางการเกษตร

รัฐบาลจะพยายามรักษาอัตราการเติบโตของการผลิตทางการเกษตรไว้ที่ 2.3-2.5% ในปีนี้เพื่อรับมือกับความท้าทายของภาคธุรกิจที่ต้องเผชิญในปีนี้ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ซึ่งการคาดการณ์ผลิตทางการเกษตรอาจหดตัวลงร้อยละ 0.4 Dr. Lien Thikeo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและป่าไม้รายงานเศรษฐกิจภาคเกษตรในที่ประชุมสมัยที่ 9 ของรัฐสภาครั้งที่ 8 ของรัฐสภา (NA) “การผลิตพืชควรถึง 1.8 ล้านตันในปีนี้ โดยผลผลิตผลไม้ 1.3 ล้านตัน เผือก 300,000 ตัน กาแฟ 160,000 ตัน ข้าวโพดหวาน 1 ล้านตัน มันสำปะหลัง 3.3 ล้านตันและอ้อยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 1.5 ล้านตัน ปศุสัตว์ควรขยายตัวร้อยละ 6 การเลี้ยงปลาขยายตัวร้อยละ 10” ในเชิงพาณิชย์ของการเกษตรและการป่าไม้รัฐบาลจะสนับสนุนการส่งออกดดยตั้งเป้าหมายที่มากกว่า 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ Dr. Lien Thikeoสนับสนุนแนวคิดการเกษตรที่สะอาดเพื่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกเพื่อเพิ่มรายได้และการจ้างงานของเกษตรกรซึ่งจะช่วยหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของสปป.ลาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt124.php