สุริยะ สั่ง ธพว.ช่วยเอสเอ็มอี พักหนี้ 2 ปี ขยายเงินกู้ 10 ปี

รมว.อุตสาหกรรม สั่ง ธพว.ช่วยเอสเอ็มอี พักหนี้ 2 ปี ขยายเงินกู้ 10 ปี ขับเคลื่อนศก. พร้อมอัดสินเชื่อ 4 หมื่นล้านบาท 24,000 กิจการพลิกฟื้นธุรกิจ หลังโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจรมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมและให้นโยบายธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีดีแบงก์ ว่า ได้สั่งการให้ธพว.เร่งพักชำระหนี้เงินต้นให้กับลูกค้ารายเดิมเป็นเวลาไม่เกิน 2 ปีจากเดิม 6 เดือน และให้ขยายสัญญาเงินกู้จากเดิม 5-7 ปี เป็น 5- 10 ปี เพื่อลดผลกระทบให้กับเอสเอ็มอีจากไวรัสโควิด-19 จะได้มีเวลาปรับตัวและกลับมาฟื้นฟูกิจการได้ ที่สำคัญยังทำให้เอสเอ็มอีสามารถจ้างงานได้ต่อเนื่อง เบื้องต้นคาดว่าจะอนุมัติสินเชื่อได้กว่า 40,000 ล้านบาท ช่วยเอสเอ็มอีได้ประมาณ 24,000 กิจการ นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานบอร์ดธพว. กล่าวว่า ธพว.มีมาตรการเยียวยาเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 คือ มาตรการลด-พัก-ขยาย-ผ่อน-เพิ่ม ล่าสุดวันที่ 22 พ.ค.63 มีเอสเอ็มอีไทยเข้าสู่มาตรการแล้ว 9,458 ราย คิดเป็นมูลค่ารวม 14,924 ล้านบาท แยกเป็น กลุ่มได้รับผลกระทบทางตรง 4,892 ราย คิดเป็นมูลค่า 7,082 ล้านบาท และกลุ่มได้รับผลกระทบทางอ้อม 4,566 ราย คิดเป็นมูลค่า 7,842.63 ล้านบาท

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/777645

รัฐบาลสปป.ลาวผ่อนปรนมาตรการ COVID-19 หลังไม่พบผู้ติดเชื้อ

รัฐบาลได้ยกเลิกข้อจำกัด ในการควบคุมการแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้ผู้คนสามารถค่อยๆกลับไปสู่การใช้ชีวิตภายใต้การดำรงชีวิตสมัยใหม่ (New normal) หลังจากที่ยอดผู้ติดเชื้อของสปป.ลาวลดลงเรื่อยๆจนไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิต โดยรัฐบาลได้มีข้อกำหนดในการผ่อนปรนกิจกรรมต่างให้กลับมาไม่ว่าจะเป็น สถานศึกษาที่จะกลับมาเปิด รวมถึง ห้างสรรพสินค้า ตลาดและสนามกีฬาต่างๆ รวมถึงการเดินทางที่จะอนุญาตให้มีการเดินทางระหว่างจังหวัดก้นได้แต่ด่านพรหมแดนยังคงปิดอยู่  อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีการยกเลิกข้อจำกัดแต่ทุกคนยังคงต้องปฎิบัติตามคำแนะนำภาครัฐและระมัดระวังต่อไป การลดมาตรการดังกล่าวจะเป็นส่วนช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของสปป.ลาวหลังจากได้รับผลกระทบจนทำให้มีผู้ว่างเพิ่มขึ้นถึง 25% รวมถึงการค้าการลงทุนที่หยุดชะงักลง รัฐบาลหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเศรษฐกิจสปป.ลาวจะกลับเติบโตได้ดีอีกครั้งหลังจากผ่านพ้นวิกฤตCOVID-19 และจากมาตรการฟื้นฟูและอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_eases_103.php

ธนาคารโลกอนุมัติเงินช่วยเหลือ 15 ล้านดอลลาร์ สำหรับระบบการศึกษาในกัมพูชา

คณะกรรมการบริหารของธนาคารโลกได้อนุมัติสินเชื่อจำนวน 15 ล้านดอลลาร์ จากสมาคมการพัฒนาระหว่างประเทศ (IDA) สำหรับโครงการสร้างเสริมความรู้ทางการศึกษาก่อนการให้การบริการสำหรับผู้ประกอบอาชีพด้านสุขภาพของกัมพูชาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการศึกษาก่อนการบริการด้านสุขภาพภายในประเทศที่ดีขึ้น โดยกัมพูชาประสบปัญหาการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพโดยเฉพาะในภาครัฐ กัมพูชามีแพทย์เพียง 1.4 คน และพยาบาล 9.5 คน ต่อประชากร 10,000 คน ซึ่งอัตราส่วนเหล่านี้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ควรจะเป็น คือแพทย์ 9 คน และพยาบาล 19 คน ต่อประชากร 10,000 คน ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก โดยโครงการนี้จะสนับสนุนฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อช่วยให้สาธารณสุขภายในประเทศดีขึ้น รวมถึงกฎระเบียบและมาตรฐานเพื่อการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ และการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50728651/world-bank-approves-15-million-aid-for-cambodias-education-system-for-health-professionals/

กัมพูชาส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น 42% ในช่วง 5 เดือนแรกของปี

กัมพูชาส่งออกข้าวสารจำนวน 356,097 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงระบุว่าตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้น 105,925 ตัน หรือ 42.34% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งส่งออกไปยัง 54 ประเทศทั่วโลก โดยการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นในทุกจุดหมายปลายทางเมื่อเทียบกับปี 2562 คิดเป็นสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น 51.10%, จีนเพิ่มขึ้น 25.26%, ประเทศในอาเซียนเพิ่มขึ้น 45.39% และจุดหมายปลายทางอื่น ๆ เพิ่มขึ้น 79.40% กล่าวโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมง ซึ่งในเดือนพฤษภาคม 2563 เพียงเดือนเดียวส่งออกไปถึงประมาณ 55,845 ตัน เพิ่มขึ้น 53.30% เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2562

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50728658/cambodias-rice-exports-up-by-42-percent-in-first-five-months/