สหภาพสตรีและสมาคมธุรกิจสตรี สปป.ลาว จัดเทศกาลอาหารลาว
สหภาพสตรีลาวและสมาคมธุรกิจสตรีร่วมกันเปิดตัวเทศกาลอาหารลาวประจำปี 2567 ที่สวนเจ้าอนุวงศ์ บริเวณลานกลางแจ้งริมแม่น้ำโขง ในปีนี้จัดขึ้นภายใต้ธีม “ชิมอาหารลาว เยือนลาว 2024” งานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสามัคคีและความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการสตรีทั่วประเทศ พร้อมทั้งส่งเสริมให้คนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ลิ้มลอง ซื้อ และนำผลิตภัณฑ์อาหารลาวที่อร่อยและมีความหลากหลาย โดยเทศกาลนี้ยังมีเป้าหมายที่จะพัฒนาทักษะการประกอบอาหารของผู้หญิงและเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะในด้านสุขอนามัยและการนำเสนอขาย เพื่อให้ดึงดูดลูกค้าได้มากขึ้น และเพิ่มภาพลักษณ์ให้กับอาหารลาว ในฐานะแบรนด์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในตลาดต่างประเทศ
ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_17_LaoFood_y24.php
นายกฯ สปป.ลาว เสนอแนะให้เพิ่มผลผลิตสินค้าทางการเกษตรเพื่อส่งออกมากขึ้นในปี 2567
นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว กล่าวในการประชุมด้านการเกษตรและป่าไม้ ให้เพิ่มผลผลิตสินค้าทางการเกษตรเพื่อส่งออกมากขึ้นในปี 2567 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและป่าไม้ และเจ้าหน้าที่จังหวัดเข้าร่วม ในการประชุม ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำถึงความท้าทายบางประการที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่น กลุ่มการผลิตทางการเกษตรยังไม่มีการจัดระเบียบที่ดีและไม่ได้มีผลผลิตที่สูง แม้ว่าจะมีที่ดินเพียงพอก็ตาม และกล่าวเสริมว่า วิธีการทำฟาร์มยังคงเป็นขั้นพื้นฐาน ดังนั้น ผลผลิตในฤดูแล้งจึงมีผลผลิคที่ต่ำมาก และเพียงพอกับความต้องการ และได้ตั้งข้อสังเกตว่า เกษตรกรได้รับการศึกษาที่ไม่ดีนักในด้านวิทยาศาสตร์และเทคนิคการเพาะปลูกพืชผล และไม่ได้ใช้เครื่องจักรใดๆ
ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_17_PMcalls_y24.php
การส่งออกผลิตภัณฑ์แร่สร้างรายได้ 210.115 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ใน 9 เดือน
ตามสถิติของกระทรวงพาณิชย์ ในช่วง 9 เดือนที่ผ่ารมา เมียนมามีรายได้จากการส่งออกผลิตภัณฑ์แร่ไปยังต่างประเทศมากกว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลดลงกว่า 13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ ที่ผ่านมา ทั้งนี้ สามารถแบ่งเป็นการส่งออกที่รัฐเป็นเจ้าของคิดเป็นเงิน 29.517 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และการส่งออกภาคเอกชนได้รับ 180.598 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมเป็นเงิน 210.115 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ในปีงบประมาณ 2566-2567 ภาคการค้าของเมียนมาคาดว่าจะมีมูลค่าการค้า 32.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 16.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมูลค่าการนำเข้า 16 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามการประมาณการงบประมาณสำหรับปีงบประมาณ 2566-2567 โดยผลิตภัณฑ์แร่ที่เมียนมาส่งออก เช่น ทองคำ หยก ไข่มุก เพชร ตะกั่ว ดีบุก ไพลิน เงิน ทองแดง สังกะสี ถ่านหิน และโลหะอื่นๆ ไปยังต่างประเทศ
ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mineral-product-exports-generate-us210-115-mln-in-9-months/
เมียนมานำเข้าเวชภัณฑ์มูลค่า 30.519 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตามการรายงานของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 ยาและเวชภัณฑ์ 1,300 ตัน คิดเป็นมูลค่า 30.519 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศ 26 ประเทศ โดยตั้งแต่เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2566 หอการค้าเมียนมาร์ที่ดูแลกลุ่มอุปกรณ์เภสัชกรรมและอุปกรณ์การแพทย์ (MCCPMD) ได้ประกาศความพยายามที่จะป้องกันการขาดแคลนยา เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้นของค่ารักษาพยาบาลที่บ้านและยาจำเป็นในอุตสาหกรรมการแพทย์ อย่างไรก็ดี จากปะกาศดังกล่าวเน้นย้ำว่า MCCPMD ได้นำเข้ายาที่จำเป็นสำหรับประชาชนแล้ว พวกเขากระตุ้นให้บริษัทยา ร้านจำหน่ายยาขายส่ง และร้านค้าปลีก ทำการค้ายาตามปกติต่อไปโดยไม่หยุดชะงัก นอกจากนี้ พวกเขายังได้เรียกร้องให้ซัพพลายเออร์ยาเร่งการนำเข้ายาและเวชภัณฑ์ เนื่องจากมีการดำเนินการเพื่ออำนวยความสะดวกและปรับปรุงการนำเข้ายา
ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/us30-519m-worth-of-medical-supplies-imported/
CSX กัมพูชา ปรับเป้าหมายดันยอดบัญชีหุ้นแตะ 100,000 บัญชี
ตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (CSX) ได้ปรับเป้าหมายในการเพิ่มบัญชีเทรดหุ้นเป็น 100,000 บัญชี ในปีนี้ เพิ่มขึ้นจาก 49,000 บัญชี ที่ลงทะเบียน ณ สิ้นปี 2023 กล่าวโดย Sok Hour CEO CSX โดยปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนในตลาดทั้งหมด 23 แห่ง ซึ่งประกอบด้วยบริษัท 11 แห่ง ที่จดทะเบียนในรูปตราสารทุน และอีก 12 แห่งจดทะเบียนเป็นหุ้นกู้ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย CSX วางแผนที่จะจัดทำแผนปฏิบัติการและจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมและโปรแกรมต่างๆ เพื่อเพิ่มความมั่นใจและความตระหนักรู้ของนักลงทุน ตลอดจนสร้างกลไกการลงทุนที่เป็นมิตรเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้คนเข้ามาลงทุนได้ง่าย มีประสิทธิภาพ และได้รับผลตอบแทนสูง
CGCC อนุมัติสินเชื่อสำหรับ SMEs กัมพูชา มูลค่ารวมกว่า 160 ล้านดอลลาร์
บริษัทประกันเครดิตแห่งกัมพูชา (CGCC) ได้ให้การค้ำประกันสินเชื่อมูลค่ารวมกว่า 164.7 ล้านดอลลาร์ ให้แก่ SMEs ในกัมพูชา ณ เดือนธันวาคม 2023 โดยมีผู้ประกอบการกว่า 1,928 แห่ง ได้รับการอนุมัติ เพื่อหวังกระตุ้นการลงทุน และการขยายธุรกิจ สำหรับยอดเงินกู้ค้ำประกันคงค้างในปัจจุบันอยู่ที่มูลค่า 116.1 ล้านดอลลาร์ และยอดค้ำประกันคงค้างอยู่ที่ 83.6 ล้านดอลลาร์ ที่ทาง CGCC เป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งปัจจุบันได้ค้ำประกันร่วมกับสถาบันการเงินกว่า 27 แห่ง (PFI) เพื่อกระจายโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs
ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501427481/cgcc-provides-over-us160-million-credit-supports-to-smes/