คณะกรรมการป้องกันและควบคุมของ Covid-19 ขอความร่วมประชาชนในการดาเนินการป้องกัน Covid-19 อย่างเคร่งครัด

คณะกรรมการระดับชาติที่รับผิดชอบการป้องกันและควบคุมของ Covid-19 (Taskforce) ได้เรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วประเทศดำเนินการตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีอย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากจำนวนผู้ป่วยไวรัสเพิ่มขึ้นเป็น 9 คนในปัจจุบัน ทั้งนี้รัฐบาลได้กำหนดมาตรการสำคัญเพื่อจากัด การเคลื่อนไหวอย่างอิสระ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนจนถึงวันที่ 19 เมษายน ยกเว้นเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ต่อสู้กับ Covid-19 รวมถึงงานสาคัญอื่น ๆ มาตรการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศเนื่องจากรัฐบาลเชื่อว่าหากยังมีการพบปะกันของประชาชนในระยะยาวจะทำให้มีการแพร่เชื้อไวรัสสู่ผู้อื่นได้ ทั้งนี้ปัจจุบันไม่เพียงแค่การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 เท่านั้นที่สปป.ลาวกาลังเผชิญแต่ปัญหาในเรื่องฝุ่น P.M. 2.5 ก็ยังพบว่ามีค่าเกินมาตราฐานในหลายพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณที่ติดชายแดนทางตอนเหนือของไทย ทำให้มาตราการที่ออกมาดังกล่าวจะต้องครอบคลุมในการแก้ปัญหาค่าฝุ่นที่เกินมาตราฐานด้วย รัฐบาลเชื่อว่าหากประชาชนให้ความร่วมมือได้อย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้ปัญหาที่เผชิญในปัจจุบันบรรเทาลงและกลับมาฟื้นตัวได้ในอนาคต

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Taskforce.php

รัฐบาลสปป.ลาวแจ้วสถานทูตต่างประเทศในสปป.ลาวถึงมาตราการป้องกัน COVID -19

รัฐบาลสปป.ลาวได้จัดการประชุมระหว่างรัฐบาลและสถานทูตต่างประเทศ ผู้แทนทางการทูตและองค์กรระหว่างประเทศในสปป.ลาวเพื่อทำความเข้าใจและวางแผนแก้ไขปัญหาที่พวกเขาอาจเผชิญในระหว่างการปิดตัวของสปป.ลาวเพื่อต่อสู้กับการระบาดใหญ่ของโควิด -19 โดยในที่ประชุมมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนาย Saleumxay Kommasith เป็นประธานได้กล่าวว่า“ เราจะพยายามอย่างดีที่สุดเพื่อสื่อสารกับต่างชาติที่อาศัยและทางานในสปป. ลาวในมาตรการใด ๆ ที่รัฐบาลจะดาเนินการต่อไปเพื่อตอบสนองต่อ Covid-19 โปรดทราบว่าเราจะดำเนินการผ่านเว็บไซต์ของกระทรวงต่างประเทศของเราหากรัฐบาลดำเนินมาตรการเพิ่มเติม ” คาสั่งของนายกรัฐมนตรีใหม่นี้ครอบคลุมถึงมาตรการที่เข้มงวดเกี่ยวกับการข้ามประเทศและการเดินทางภายในประเทศลาว ทั้งนี้เป็นไปเพื่อความปลอดภัยของประชาชนชาวสปป.ลาวและผู้อยู่ในสปป.ลาวทุกคน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos64.php

ราคาน้ำมันดิ่งลง 4,252 ด่ง/ลิตร

ราคาน้ำมันขายปลีกลดลง ในวันที่ 29 มีนาคม ซึ่งถือเป็นการปรับตัวลดลงในรอบ 6 ปี ตั้งแต่ต้นปีนี้ จากการปรับเปลี่ยนของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า และกระทรวงการคลัง เผยว่าราคาเบนซิน ออกเทน 92 ลดลงเหลือ 4,100–11,956 ด่ง (0.69 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อลิตร และราคาเบนซิน ออกเทน 95 ก็ลดลงเหลือ 4,252-12,560 ด่งต่อลิตร ในขณะที่ ราคาน้ำมันดีเซล (0.05%) และราคาน้ำมันก๊าด อยู่ที่  11,259 ด่งต่อลิตร และ 9,141 ด่งต่อลิตร, ลดลง 1,776 และ 2,705 ด่งต่อลิตร ตามลำดับ ทั้งนี้ ทางกระทรวง 2 แห่งข้างต้น จะประเมินราคาน้ำมันในทุกๆ 15 วัน เพื่อปรับราคาน้ำมันในประเทศให้ทันต่อความผันผวนของราคาน้ำมันตลาดโลก

ที่มา : https://en.nhandan.com.vn/business/item/8529702-petrol-prices-see-sharp-fall-of-up-to-vnd4-252-per-litre.html

สหรัฐฯ ดึงดูดการลงทุนของเวียดนามสูงสุด ในช่วง 3 เดือนแรก

เวียดนามลงทุนไปยังต่างประเทศ ด้วยมูลค่า 49.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2563 สหรัฐอเมริกายังคงเป็นประเทศที่มีมูลค่าการลงทุนของเวียดนามไปยังต่างประเทศสูงที่สุด โดยเวียดนามมีโครงการจดทะเบียนการลงทุน 78 โครงการ ด้วยมูลค่า 22.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ โครงการที่ปรับเพิ่มเงินทุนจำนวน 6 โครงการ ด้วยมูลค่า 26.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับสาขาธุรกิจที่ได้รับการลงทุนส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจบริการด้านที่พักและอาหาร มูลค่า 14.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29.9 ของการลงทุนทั้งหมดโดยมาจากบริษัทเวียดนาม รองลงมาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านการผลิต ซึ่งในช่วงไตรมาสแรก สหรัฐอเมริกายังคงเป็นผู้รับทุนรายใหญ่ที่สุดจากเวียดนาม มูลค่า 20.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40.8 ของการลงทุนทั้งหมด รองลงมาสิงคโปร์และกัมพูชา ทั้งนี้ จากข้อมูลของหน่วยงานการลงทุนในต่างประเทศ ระบุว่าในเดือนม.ค.-มี.ค. เวียดนามมีโครงการจดทะเบียนใหม่ 758 โครงการ ด้วยมูลค่า 5.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในแง่ของเงินทุนโครงการที่ปรับเพิ่มเงินทุน 230 โครงการ มูลค่า 1.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วยร้อยละ 82 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/us-attracts-most-vietnamese-investment-in-three-months/170914.vnp

รมว. คลังกัมพูชากล่าว ในช่วงฤดูแล้งกัมพูชาจะยังคงไม่ขาดแคลนไฟฟ้า

กระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกัมพูชาได้ย้ำว่าจะไม่มีการขาดแคลนพลังงานในช่วงฤดูแล้งในปีนี้ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเหมืองแร่และพลังงานยืนยันว่าประชาชนและภาคธุรกิจจะไม่ประสบปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน ซึ่งนักลงทุนเอกชนผู้พัฒนาระบบไฟฟ้าภายในประเทศยืนยันกับรัฐบาลเพื่อให้แน่ใจว่าแหล่งจ่ายไฟในประเทศมีความเสถียรภาพมากขึ้น โดยในช่วงฤดูแล้งของปีที่แล้วประเทศประสบปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้า 400 เมกะวัตต์ เนื่องจากการขาดแคลนน้ำในการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ซึ่งในปี 2019 แหล่งจ่ายไฟของกัมพูชาเพิ่มขึ้น 28% เป็น 3,382 mW โดยแหล่งพลังงานหลักในการดำเนินงานของกัมพูชาคือเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ 7 แห่ง ที่สร้างพลังงานทั้งหมด 1,328 mW คิดเป็น 33.5% ของพลังงานทั้งหมดภายประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50707162/minister-reiterates-no-more-power-shortage-during-the-dry-season/

การค้าข้ามพรมแดนระหว่างกัมพูชากับเวียดนามยังคงที่ ท่ามกลางการระบาดของ COVID-19

การค้าข้ามพรมแดนระหว่างกัมพูชากับเวียดนามได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวดแม้จะมีการหยุดการเข้าและออกของประชาชน เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันที่ถูกเรียกว่า COVID-19 โดยการพูดคุยกับผู้สื่อข่าวสำนักข่าวเวียดนาม Truong Cong Nhan ของแผนกศุลกากรที่ด่านชายแดน Khanh Binh ภายใต้สำนักงานศุลกากรจังหวัด Giang กล่าวว่าการขนส่งสินค้าผ่านช่องทาง Khanh Binh – Chrey Thom ยังคงดำเนินต่อไปตามปกติ รถบรรทุกต่อวันเทียบเท่ากับจำนวนก่อนที่คำสั่งระงับการเข้า – ออกจะมีผลในวันที่ 18 มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้มาตรการกักกันทางการแพทย์ได้ถูกนำไปใช้อย่างเคร่งครัดกับรถบรรทุกที่เข้าสู่เวียดนามเพื่อรับสินค้าที่ส่งออกไปยังกัมพูชา โดยกองกำลังทั้งสามของกัมพูชารวมถึงหน่วยแพทย์ชายแดนและด่านศุลกากรได้ทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อปฏิบัติตามขั้นตอนการกักกันอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการวัดอุณหภูมิร่างกายของผู้ขับขี่ จากนั้นคนขับจะรอในห้องกักกันขณะที่โหลดสินค้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50707441/trade-across-cambodia-vietnam-border-remains-stable-amid-covid-19-outbreak/

รัฐบาลเมียนมาเตรียมสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลในการจัดการผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของ COVID-19 ได้ออกแถลงการณ์ว่าภาคเศรษฐกิจจะให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วนด้วยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำฉุกเฉินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจะเน้นไปที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม โรงแรมและธุรกิจการท่องเที่ยว และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะได้รับสิทธิพิเศษในการกู้ยืมเงิน สินเชื่อมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 สำหรับธุรกิจในหมวดหมู่นี้จะถูกเบิกจ่ายจากกองทุนจำนวน 100 พันล้านจัต ที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาล แบ่งออกเป็นทุนหมุนเวียน 50 พันล้านจัตและกองทุนสวัสดิการสังคม 50 พันล้านจัต ซึ่งอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 จะให้กู้เป็นระยะเวลาหนึ่งปี ผู้สมัครสินเชื่อต้องแสดงให้เห็นว่ามีการสร้างรายได้ในช่วงสองปีที่ผ่านมาและมีความสามารถในการชำระคืนเงินกู้ หากไม่สามารถชำระคืนเงินกู้จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย สามารถสมัครได้ระหว่างวันที่ 30 มีนาคมถึง 9 เมษายน สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) ประกาศว่าบริษัทจะร่วมมือกับรัฐบาลในการตอบสนองต่อผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศและช่วยให้ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในการขอสินเชื่อรัฐบาลประกาศอย่างเป็นทางการด้วยว่าจะมีการยกเลิกภาษีล่วงหน้า 2% สำหรับการส่งออกจนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2562-2563

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govt-announces-priority-sectors-emergency-loans-myanmar.html

เศรษฐกิจเดือนก.พ.ทรุด ท่องเที่ยว-เกษตร-อุตฯพัง

นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนก.พ.63 มีสัญญาณชะลอตัวชัดเจนจากผลกระทบการแพร่ระบาดไวรัสโควิด ส่งผลให้การท่องเที่ยวชะลอตัวลงมาก โดยมีชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทยที่ 2.06 ล้านคน ลดลงไป 42.8% โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากจีนติดลบหนัก 84.9% นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ลบ 72.6% นักท่องเที่ยวฮ่องกงลบ 54.8% นักท่องเที่ยวมาเลเซียติดลบ 39.6% เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมมีสัญญาณชะลอตัวจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและปัญหาภัยแล้ง สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรชะลอตัวลงติดลบ 4.5% ต่อปี จากการลดลงของผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญ เช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรมที่ชะลอตัวลงเช่นกัน สะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมคิดลบ 5.2% ต่อปี หลังการผลิตในหมวดยานยนต์ น้ำตาล และเม็ดพลาสติกปรับลดลง ด้านการบริโภคภาคเอกชนในภาพรวมมีสัญญาณทรงตัว แม้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกลับมาขยายตัว 4.6% ต่อปี แต่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งติดลบ 15.4% และปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ปรับตัวลดลง 3.7 ต่อปี ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว โดยการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนติดลบ 10.2% และปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ติดลบ 18.1% ต่อปี สำหรับการส่งออกในเดือนก.พ.ที่ผ่านมา การส่งออกติดลบ 4.5% ต่อปี จากก่อนหน้าขยายตัว 3.3% ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ลดลง

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/765965