การส่งออกยังคงมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ในปีนี้

จากคำแถลงการณ์ของประธานสมาคมปูนซีเมนต์เวียดนาม เปิดเผยว่าในปีนี้ มีจำนวน 2 โครงการปูนซีเมนต์ใหม่ที่จะเปิดให้ดำเนินการในจังหวัดเหงะอาน ด้วยกำลังการผลิตอยู่ที่ 2-2.5 ล้านตันต่อปี และอีกแห่งอยู่ที่จังหวัดทัญฮว้า ทำการผลิตได้ 4.6 ล้านตัน สิ่งเหล่านี้จะทำให้อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในประเทศ มีกำลังการผลิตรวมมากกว่า 100 ล้านตัน ขณะที่ ความต้องการในประเทศมีอยู่ประมาณ 70 ล้านตัน ซึ่งการส่งออกยังคงมีความสำคัญต่อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในปีนี้ ทั้งนี้ ยอดขายปูนซีเมนต์ในประเทศยังคงชะลอตัว เนื่องจากการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ซบเซาและการชะลอตัวของตลาดอสังหาฯอีกด้วย สำหรับปริมาณส่งออกปูนซีเมนต์ในปีนี้คาดว่าอยู่ที่ 34 ล้านตัน แต่ในปี 2564 จะลดลงมาอยู่ที่ 25 ล้านตัน นอกจากนี้ ทางสมาคมมองว่าผู้ผลิตปูนซีเมนต์ควรใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อยกระดับคุณภาพและมูลค่าสินค้า ขณะที่ลดการผลิตทางด้านสิ่งแสดล้อม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/571389/maintaining-exports-critical-to-cement-industry-this-year.html

สปป.ลาวเริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการเมืองอัจฉริยะ

รัฐบาลสปป.ลาวคาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้าง ‘Amata Smart and Eco City’ได้ในปีนี้ โดยโครงการดังกล่าวเป็นการร่วมมือระหว่างรัฐบาลสปป.ลาวและบริษัท อมตะคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พื้นที่โครงการครอบคลุม 70 ตารางกิโลเมตรภายใต้ข้อตกลงบริษัทจะได้รับสัมปทานที่ดินในการพัฒนาเมืองนาหม้อในแขวงอุดมไชยและเมืองหลวงน้ำทาในแขวงหลวงน้ำทาให้เป็นเมืองอัจฉริยะและศูนย์กลางโลจิสติกส์ ซึ่งรัฐบาลสปป.ลาวเชื่อว่าโครงการดังกล่าวจะสอดคล้องกับทิศทางการส่งเสริมการลงทุนการผลิตและการพัฒนาในประเทศตามเส้นทางรถไฟลาว – ​​จีน นอกจากนี้ยังคาดว่าจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมและสร้างโอกาสในการทำงานให้กับคนในท้องถิ่นรวมถึงการได้รับประโยชน์จากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในโครงการรวมถึงการดึงดูดนักลงทุนสปป.ลาวและชาวต่างชาติเข้าร่วมในโครงการพัฒนา เสริมสร้างการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคตของสปป.ลาว

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-review-progress-smart-city-scheme-112388

นายกรัฐมนตรีสปป.ลาวแนะมุ่งเน้นวิจัยเศรษฐกิจมหภาค

นายกรัฐมนตรีได้ให้ข้อเสนอแนะแก่สถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติสปป.ลาว เรื่องการให้ความสำคัญกับการทำวิจัยเกี่ยวข้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจมหภาคโดยเฉพาะในเรื่องวิธีการจัดการกับรายได้ที่ลดลงท่ามกลางค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นรวมถึงวิธีรับมือกับปัญหาการเงินรั่วไหลและปัญหาสำคัญอื่น ๆ ซึ่งในปีนี้สถาบันคาดว่าจะดำเนินการวิจัยในด้านการประเมินความยากจนและหาทางออกที่ยั่งยืนรวมถึงเสนอแนะแนวทางเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของภาคพลังงานและเหมืองแร่ เพราะในอนาคตภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและการค้าคาร์บอนจะมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับสปป.ลาว โดยในปีที่ผ่านมาสปป.ลาวถือว่าประสบความสำเร็จระดับหนึ่งจากการนำผลวิจัยไปแก้ปัญหาของประเทศได้ทั้งเรื่องลดความยากจนและอื่นๆ ทั้งนี้เกิดจากการร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยสปป.ลาวกับสถาบันพันธมิตรจากต่างประเทศทำให้ประสบผลสำเร็จในการนำผลวิจัยมาแก้ไข้ปัญหาในระดับมหภาค

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/research-institute-needs-branch-out-pm-advises-112454

ตู้รถไฟจากเกาหลีใต้ถึงท่าเรือติลาว่าแล้ว

ตู้รถไฟชุดที่สองจำนวน 10 ลำจากเกาหลีใต้ที่ซื้อโดยการรถไฟแห่งเมียนมา (MR) ภายใต้เงินกู้ 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก EXIM Bank ของเกาหลีใต้มาถึงท่าเรือติลาว่าในวันที่ 18 ม.ค.ที่ผ่านมา ส่วนอะไหล่กำลังถูกส่งไปยังโรงงานขนส่งรถไฟมยิแง ซึ่งรถไฟจำถูกนำมาใช้ในเส้นทางมัณฑะเลย์ มิตจีนา ตู้ขบวนใหม่สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 33 คนและเริ่มให้บริการได้ในต้นเดือนมี.ค.นี้ MR ได้กู้ยืมเงิน 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากเกาหลีใต้ภายใต้กองทุนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (EDCF) และได้ลงนามในสัญญากับ บริษัท Dawonsys จากเกาหลีใต้เพื่อซื้อตู้รถไฟใหม่ 100 คัน เมียนมามีโครงการพัฒา เช่น โครงการยกระดับรางรถไฟย่างกุ้ง โครงการยกระดับรางรถไฟย่างกุ้ง – มันดาเลย์ ด้วยเงินกู้ยืมจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ นอกจากนี้ยังจับมือกับญี่ปุ่นในการสร้างสนามบินนานาชาติหันตาวดี ทั้งนี้เมียนมาใช้เงินกู้ 2.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) เพื่อยกระดับเส้นทางรถไฟย่างกุ้ง – มัณฑะเลย์ด้วยแผนห้าปีตั้งแต่ปี 61 ถึง ปี 66

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/ten-train-coaches-from-south-korea-arrives-in-thilawa-port

มูลค่าส่งออกเมียนมาพุ่ง 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 3 เดือน

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 10 ม.ค.ในปี 62-63 มูลค่าการส่งออกสูงถึง 5.061 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในขณะที่ปีที่แล้วมีมูลค่า 4.009 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นจึงมียอดเกินกว่า 1.052 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญคือ ผลิตภัณฑ์เกษตร สัตว์ทะเล ป่า เหมืองแร่ การผลิตเสื้อผ้าแบบ CMP ฯลฯ การนำเข้าของเมียนมาส่วนใหญ่เป็นสินค้าทุน วัตถุดิบอุตสาหกรรม ของใช้ส่วนตัว วัตถุดิบเกี่ยวกับ CMP ฯลฯ เพื่อลดการขาดดุลการค้ากระทรวงพาณิชย์ใช้มาตรการต่าง ๆ เช่น การนำแผนยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ ผ่อนคลายขั้นตอนการดำเนินการ สนับสนุนภาคเอกชน การรับมือกับการถูกถอด GSP และขยายตลาดส่งออก ในปี 61-62 มูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 34.979 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสูงกว่าเป้าหมายที่ 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/export-value-over-5-bn-in-over-three-months

ปริมาณการใช้เงินเรียลของกัมพูชาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ระบุว่ามีการใช้เงินเรียลซึ่งเป็นสกุลเงินของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีการเติบโตที่ 33% ที่บันทึกไว้ในการหมุนเวียนทางการเงินและเงินฝากเพิ่มขึ้นอีกกว่า 37% ซึ่งผู้ว่าการ NBC กล่าวโดยเสริมว่าภาคธนาคารยังคงเติบโตและได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชนรวมถึงนักลงทุน โดยปริมาณสินทรัพย์ของธนาคารและสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 24.5% ในขณะที่สินเชื่อเพิ่มขึ้น 26% ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดได้เรียกร้องให้หน่วยงานทั่วไปดำเนินการส่งเสริมการใช้เรียลต่อไปเพื่อเสริมสร้างมาตรการที่มีอยู่และดำเนินมาตรการใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ โดยขณะนี้มีบัญชีเงินฝากมากกว่า 7.5 ล้านบัญชีและบัญชีสินเชื่อกว่า 3.1 ล้านบัญชีในประเทศกัมพูชา ซึ่งในปัจจุบันชาวกัมพูชา 5 ล้านคนใช้บริการชำระเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบันมีธนบัตรเรียล มีอยู่ 30 รูปแบบ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50681857/use-of-riel-increases-significantly-says-central-bank

สนามบินภายในประเทศกัมพูชาคาดว่าการเติบโตจะชะลอตัวลงในปีนี้

สนามบินนานาชาติทั้งสามแห่งของกัมพูชาคาดการณ์ว่าจำนวนผู้โดยสารจะยังคงเติบโตในปีนี้แม้ว่าจะมีอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 2562 โดยสนามบินนานาชาติพนมเปญให้การต้อนรับผู้โดยสารมากกว่า 6 ล้านคน เมื่อเทียบกับปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 11.2% อย่างไรก็ตามสนามบินนานาชาติเสียมเรียบได้ให้การต้อนรับผู้โดยสารเพียง 3.9 ล้านคน ในช่วงเวลาเดียวกันซึ่งลดลง 12.3% จำนวนผู้โดยสารขาเข้าลดลงนี้มาจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ไปเยี่ยมชมนครวัดลดลง และสนามบินนานาชาติสีหนุวิลล์ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากโดยการต้อนรับนักท่องเที่ยวกว่า 1.6 ล้านคนในปีที่แล้ว หรือเพิ่มขึ้นกว่า 158%  ซึ่งการเพิ่มขึ้นนี้ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของเที่ยวบินตรงจากจีนและประเทศอื่นๆ และการย้ายสายการบินจดทะเบียนของกัมพูชาหลายแห่งไปยังสนามบินสีหนุวิลล์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการดำเนินงาน โดยสนามบินกัมพูชาซึ่งเป็น บริษัท ที่พัฒนาและบริหารจัดการสนามบินนานาชาติทั้งสามแห่งได้แจ้งถึงสถิติความสำเร็จในปีที่ผ่านมา ซึ่งยอดผู้โดยสารประจำปีของทั้งสามสนามบินมีจำนวน 11.6 ล้านคนเพิ่มขึ้น 10.2% เมื่อเทียบกับปี 2561

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50681854/cambodias-airports-expect-slower-growth-this-year