กัมพูชาขาดดุลทางการค้าเพิ่มขึ้นเป็น 7.66 พันล้านเหรียญสหรัฐ

การขาดดุลทางการค้าของกัมพูชาระหว่างประเทศคู่ค้าทั่วโลกขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปี 2562 โดยขาดดุลมากกว่า 7.66 พันล้านเหรียญสหรัฐจากรายงานของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจาก 4.83 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2561 คิดเป็นขาดดุลเพิ่มขึ้น 31.6% จากรายงานที่เผยแพร่ของธนาคารแห่งชาติกัมพูชา ร่วมกับกรมศุลกากรและสรรพสามิตระบุว่ากัมพูชานำเข้า 22.19 พันล้านเหรียญสหรัฐของการนำเข้าในปีที่ การส่งออกของกัมพูชาอยู่ที่เพียง 14.53 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปีเดียวกัน โดยผลิตภัณฑ์หลักของกัมพูชาในการส่งออก คือ สิ่งทอ, รองเท้า, ข้าวสารและจักรยานไปยังห้าประเทศหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น, เยอรมนี, จีนและสหราชอาณาจักร ซึ่งการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปคิดเป็น 56.67% ของการส่งออกทั้งหมดขณะที่การส่งออกสิ่งทอและรองเท้าคิดเป็น 8.91% และ 8.72% ตามลำดับ การส่งออกข้าวสารคิดเป็น 2.89% และ จักรยานอยู่ที่ 2.88% โดยสินค้านำเข้าเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับภาคตัดเย็บเสื้อผ้า, ยานพาหนะ, น้ำมันปรุงอาหารและวัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่มาจากจีน, ไทย, เวียดนาม, ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50698301/cambodias-trade-deficit-widens-to-7-66-billion

พาณิชย์เตรียมประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนที่เวียดนาม หวังผลักดันการลงนามข้อตกลง RCEP

กระทรวงพาณิชย์ เตรียมเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 26 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เร่งพิจารณาเห็นชอบแผนงานด้านเศรษฐกิจที่จะผลักดันให้อาเซียนดำเนินการให้สำเร็จในปี 2563 ติดตามการดำเนินการตาม AEC Blueprint พร้อมเตรียมการประชุมรัฐมนตรี RCEP โดยอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มอบหมายให้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ นำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 26 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยมีประเด็นหารือที่สำคัญ เช่น การพิจารณาเห็นชอบแผนงานด้านเศรษฐกิจที่เวียดนามในฐานะประธานอาเซียนผลักดันให้อาเซียนดำเนินการให้สำเร็จในปี 2563 การติดตามการดำเนินการตาม AEC Blueprint โดยเฉพาะเรื่องการอำนวยความสะดวกทางการค้าของอาเซียน การเตรียมการประชุมระดับรัฐมนตรี RCEP และการหารือกับสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนเรื่องการดำเนินงานของอาเซียน เป็นต้น

ที่มา : https://www.trjournalnews.com/16415

สปป.ลาวได้รับเงินทุนจากธนาคารโลกเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในชนบท

รัฐบาลได้กู้ยืมเงิน 22.5 ล้านเหรียญสหรัฐผ่านธนาคารโลกในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโภชนาการและความยากจนซึ่งมีกรอบระยะเวลาตั้งแต่ปี 2563-2567 โดยกำหนดเป้าหมายชุมชนทางเหนือของสปป.ลาว นอกจากนี้รัฐบาลยังลงทุน 13 พันล้านกีบในโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรในหลวงน้ำทา หลวงพระบางสะหวันนะเขต สะระวัน เพื่อความยั่งยืนด้านผลผลิตทางเกษตรตามแผนยุทธศาสตร์ที่จะแก้ปัญหาความขาดแคลนด้านอาหารในสปป.ลาว ดังนั้นการได้รัยเงินช่วยเหลือจากธนาคารโลกจะเป็นแรงสนับสนุนอีกก้าวหนึ่งในการที่จะทำให้สปป.ลาวเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดและมีความมั่นคงทางด้านอาหารในอนาคต

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-gov’t-taps-us225-million-world-bank-finance-tackle-rural-poverty-115094

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของสปป.ลาว ต้องการความช่วยเหลือจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเรียกร้องให้ภาครัฐฯช่วยเหลือและร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะแก้ไขสถานการณ์การค้าที่เผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งตัวแทนของภาคการท่องเที่ยว รวมถึงผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหาร สายการบิน การท่องเที่ยว เป็นต้น ได้มารวมตัวกันที่กรุงเวียงจันทร์เมื่อวานที่ผ่านมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการหาวิธีแก้ไขต่อสถานการณ์ไวรัสดังกล่าว ทั้งนี้ การประชุมหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติสปป.ลาว ได้เสนอประเด็นต่างๆ ในการช่วยเหลืออุตสาหกรรมท่องเที่ยวในปัจจุบัน รวมถึงการลด/เลื่อนการชำระภาษี และให้ธุรกิจท่องเที่ยวได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะดึงดูดลูกค้าผ่านการโปรโมตกลุ่มเป้าหมายในประเทศ ภายใต้ชื่อ “ลาวช่วยลาว” นอกจากนี้ จากตัวเลขการท่องเที่ยวในปีที่แล้ว แสดงให้เห็นว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาสปป.ลาว มากกว่า 1 ล้านคน แต่ในปัจจุบันรัฐบาลจีนได้สั่งห้ามบริษัททัวร์จีนไม่ให้เดินทางออกนอกประเทศ ส่งผลให้ธุรกิจท้องถิ่นสปป.ลาว สูญเสียรายได้ราว 20-25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-tourism-industry-seeks-help-wake-covid-19-slump-115095