เวียดนามเผยยอดมูลค่าการส่งออกผักผลไม้ 2.53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลของสำนักงานเกษตรกรรมแปรรูป และการส่งเสริมการตลาด (Agrotrade) ภายใต้กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562 มูลค่าการส่งออกผักผลไม้ของเวียดนามอยู่ที่ 2.53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งตั้งแต่เดือนมกราคมไปจนถึงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ประเทศจีนยังคงเป็นผู้นำเข้าผักผลไม้รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70.5 ของมูลค่าการส่งออกผักผลไม้ของเวียดนามโดยรวม ด้วยมูลค่า 1.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รองลงมาสหรัฐอเมริกาที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 ด้วยมูลค่า 84.07 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเกาหลีใต้ ตามลำดับ นอกจากนี้ ทางด้านสำนักงานเกษตรแปรรูปฯ (Agrotrade) คาดว่าสถานการณ์การส่งออกจะเผชิญกับอุปสรรคมากมาย เนื่องมาจากความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลก ความตึงเครียดของสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่มั่นใจของการค้าและการลงทุน เป็นต้น

ที่มา : https://en.nhandan.com.vn/business/item/7908002-fruit-veg-exports-reach-us$2-53-billion-in-eight-months.html

KB Kookmin พร้อมปล่อยสินเชื่อบ้านให้ผู้มีรายได้น้อย

ธนาคาร KB Kookmin ของเกาหลีใต้เข้าร่วมในการพัฒนาที่อยู่อาศัยของรัฐบาลสำหรับครัวเรือนที่มีรายได้น้อยในย่างกุ้ง มีการลงนามเพื่อสนับสนุนโครงการในระหว่างการมาเยือนของประธานาธิบดี มู แจ อิน ของเกาหลีใต้เมื่อเดือนที่แล้ว KB Kookmin วางแผนช่วยเหลือเงินทุนแก่ผู้อยู่อาศัยและการจ้างงาน ซึ่งอยู่ในระหว่างการหารือเกี่ยวกับรายละเอียดของผลิตภัณฑ์สินเชื่อ รวมถึงอัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาเงินกู้และแผนการอื่น ๆ  ธนาคารเปิดสำนักงานตัวแทนในเมียนมาตั้งแต่ปี 56 โดยให้การสนับสนุนนโยบายด้านที่อยู่อาศัยและการเงินกับกระทรวงการก่อสร้างและการก่อสร้างธนาคารเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยและโครงสร้างพื้นฐาน และลงนาม MOU กับกระทรวงการก่อสร้างและ CHID Bank เพื่อขยายความร่วมมือ KB Microfinance ก่อตั้งในเดือน มี.ค. 60 มี 13 สาขา โดยส่วนใหญ่เป็นการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อการเชื่อมต่อไฟฟ้า และสินเชื่อธุรกิจขนาดเล็ก จนถึงขณะนี้ KB ไมโครไฟแนนซ์ได้จัดหาเงินทุนประมาณ 20 พันล้านให้แก่ชาวเมียนมา 48,000 คน ธนาคาร KB Kookmin อยู่ในระหว่างดำเนินการขอใบอนุญาตธนาคารในเมียนมา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/kb-kookmin-bank-provide-home-loans-low-income-households.html

งาน Business matching ปี 62 ไทย – เมียนมา จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเมียนมา

การจับคู่ทางธุรกิจไทย – เมียนมา ปี 62 จัดโดยสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำเมียนมาจัดขึ้นที่โรงแรมพูลแมนย่างกุ้งเซนเตอร์พอยต์ในย่างกุ้งเป็นครั้งแรกในวันที่ 11 ก.ย 62การจับคู่ทางธุรกิจรวม 14 บริษัทขนส่งจากประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทวิภาคีทางเศรษฐกิจระหว่างนักธุรกิจของเมียนมาและไทย โดยหวังว่าการจับคู่ทางธุรกิจจะทำให้ บริษัท โลจิสติกส์ที่มีชื่อเสียง 14 ของไทยเป็นที่รู้จักในเมียนมา เช่น คลังสินค้า รถบรรทุก ระบบนำทาง และการขนส่งทางอากาศ เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มการค้าส่งออกและนำเข้าของเมียนมา การจับคู่ทางธุรกิจจะช่วยส่งออกสินค้าของเมียนมาไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประเทศอื่น ๆ ด้วยและจะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/thai-myanmar-business-matching-logistic-2019-held-for-the-first-time-in-myanmar

อุตสาหกรรมผัก สปป.ลาวกำลังเผชิญกับความท้าทาย

อุตสาหกรรมผักสปป.ลาวกำลังเผชิญกับความท้าทายหลายอย่าง เวทีสนทนาเรื่องผักระดับภูมิภาคหัวข้อ“ การยอมรับเพื่อสนับสนุนการแทรกแซงในเกษตรกรรายย่อยเพื่อการผลิตผักสดที่ปลอดภัยตลอดทั้งปี” ที่จัดขึ้นในเวียงจันทน์เมื่อวานนี้ งานนี้เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากภาครัฐ เอกชน นักวิจัย และเกษตรกรได้แลกเปลี่ยนความเข้าใจในประเด็นทางสังคม เศรษฐกิจ เทคนิค และที่เป็นประเด็นท้าทายในห่วงโซ่ผักและอุปสรรคสำคัญต่างๆ และการแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งการผลิตผักเป็นกิจกรรมที่สำคัญสำหรับเกษตรกรและเป็นแหล่งอาหารและรายได้ และสามารถเป็นความมั่นคงด้านอาหารของครัวเรือนได้ ที่ผ่านมาพื้นที่เพาะปลูกผักทั้งหมดเพิ่มขึ้นทุกปีแต่มีความท้าทายหลายอย่าง บางครั้งในฤดูฝนผักหลายชนิดต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสามารถในการปลูก ทั้งการเข้าถึงข้อมูลตลาดทั้งในและต่างประเทศของเกษตรกรค่อนข้างลำบาก ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เช่น ต้นทุนแรงงาน เป็นสาเหตุให้ความสามารถในการแข่งกันกับประเทศเพื่อนบ้านลดลง ดังนั้นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) และภาคเอกชนต้องพัฒนานวัตกรรมการผลิตและระบบห่วงโซ่อุปทานตลอดจนการแก้ไข เพื่อให้มีผักบริโภคได้ทั้งปี

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/vegetable-industry-laos-facing-several-challenges-103966

กัมพูชาทำข้อตกลงขยายการผลิตไฟฟ้าถ่านหินในสปป.ลาว

กัมพูชาตั้งเป้าที่จะขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าตามข้อตกลงกับสปป.ลาว เป็นเวลา 30 ปีมูลค่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อเข้าสู่โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินในสปป.ลาว สามารถเข้าถึงไฟฟ้าที่ 2,400 เมกะวัตต์ที่ 7.7 เซนต์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อชั่วโมงและเป็นราคาที่ต่ำกว่าการนำเข้าจากไทยและเวียดนาม ADB ระบุกำลังการผลิตทั้งหมดของกัมพูชาอยู่ที่ 2,175 เมกะวัตต์ในปี 61 คิดเป็น 62% จากพลังงานน้ำและ 36% จากเชื้อเพลิงฟอสซิล บริษัท TSBP Sekong Power and Mineral มีกำลังการผลิต 600 เมกะวัตต์ ขณะที่โรงไฟฟ้าพลังความร้อนเซกงจะมีกำลังการผลิต 1,800 เมกะวัตต์ ปัจจุบันการลงทุนเพิ่มอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะภาคก่อสร้าง ซึ่งมีผลกระทบต่อการใช้พลังงานในปี 62 และปีต่อ ๆ มาสูงกว่าที่คาดไว้ ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นหนึ่งวันก่อนการประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรีฮุนเซนและนายกรัฐมนตรีลาวทองลุน สีสุลิด ก่อนหน้านี้รัฐบาลเคยคิดจะเปลี่ยนไปใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทนถ่านหินเพราะราคาที่สูงและถือเป็นอุปสรรคทางเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา : https://en.vodhotnews.com/electricity-capacity-to-expand-with-laos-coal-deal/

เมย์แบงก์มุ่งเน้นไปยังกัมพูชาเพื่อเพิ่มรายได้ระหว่างประเทศ

เมย์แบงก์ซึ่งตั้งอยู่ในมาเลเซียมุ่งเน้นไปที่ตลาดสำคัญหลายแห่งสำหรับการขยายตัวในภูมิภาครวมถึงกัมพูชา โดยตั้งเป้าหมายที่จะนำเทคโนโลยีการเงินการธนาคารชุดล่าสุดมาสู่ตลาด ซึ่งมุ่งเน้นที่การเติบโตของแฟรนไชส์ในประเทศจีน, ฟิลิปปินส์และกัมพูชา และมีแผนที่จะส่งเสริมการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างทีมงานในต่างประเทศและสำนักงานใหญ่ในมาเลเซียผ่านแพลตฟอร์มอัตโนมัติสำหรับการอนุมัติสินเชื่อ โดยปัจจุบันรายได้ของเมย์แบงก์จากกิจกรรมระหว่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 35% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งเมย์แบงก์ประสบความสำเร็จอย่างมากในประเทศกัมพูชาตั้งแต่ปี 2536 ที่เริ่มเข้ามาลงทุน โดยเมย์แบงก์ยังคาดว่าจะสามารถเติบโตได้ 12-15% ในปีหน้า แม้ว่า GDP จะลดลงมาที่ 6.5% ซึ่งธนาคารมีเป้าหมายที่จะเป็นธนาคารเพื่อการค้าปลีกชั้นนำในประเทศกัมพูชาในอีก 5 ปีข้างหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50642309/maybank-to-focus-on-cambodia-among-others-to-increase-international-revenue/

บริษัทไต้หวันวางแผนขยายการเพาะปลูกต้นไม้ในกัมพูชา

ผู้ประกอบการชาวไต้หวันประกาศแผนการที่จะขยายพื้นที่เพาะปลูกไม้ในกัมพูชาบนพื้นที่ 5,000 เฮกเตอร์ โดยสมาคมอุตสาหกรรมไม้แปรรูปของกัมพูชาเป็นเจ้าของพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่ในจังหวัดกำปงธม และจัดหาผลิตภัณฑ์ไม้ให้กับผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ในท้องถิ่น ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศขอให้ บริษัท ทำงานอย่างใกล้ชิดกับการบริหารป่าไม้ในโครงการใหม่ โดยในเดือนเมษายน Beijing Fushide Investment Management Ltd และ East Consulting Management Ltd ได้ประกาศแผนการลงทุนในอุตสาหกรรมไม้ของกัมพูชาระหว่างการประชุมกับรัฐมนตรี ซึ่งบริษัทตั้งเป้าที่จะส่งออกไม้ไปยังประเทศจีน โดยจากข้อมูลของกระทรวงในระหว่างเดือนมกราคมจนถึงเดือนมิถุนายน บริษัทท้องถิ่น 5 แห่งส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไปต่างประเทศ และอีก 3 รายได้รับใบอนุญาตในการแปรรูปไม้ภายในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50642277/taiwanese-firm-to-expand-timber-plantation/

ปตท. ชงโมเดลธุรกิจLNGเสนอกกพ. หนุนไทยก้าวสู่ฮับในภูมิภาคอาเซียน

ปตท.จัดทำรูปแบบธุรกิจแอลเอ็นจีต่อกกพ.เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นฮับในภูมิภาคนี้ มั่นใจไทยมีความพร้อมทั้งความต้องการใช้ โครงสร้างพื้นฐานสถานีรับจ่ายก๊าซแอลเอ็นจีและด้านภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลาง ขณะที่  นายวุฒิกร สติฐิต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังเปิดงาน Gas Day 2019 Energy fuel for today and tomorrow ว่า ปตท.อยู่ระหว่างจัดทำรูปแบบธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG)เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางซื้อขายก๊าซแอลเอ็นจีในภูมิภาคนี้ (แอลเอ็นจี ฮับ) เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยรูปแบบธุรกิจดังกล่าว ปตท.มีศักยภาพในการส่งออกแอลเอ็นจีไปตลาดในภูมิภาคนี้ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานรองรับสถานีรับจ่ายแอลเอ็นจี (แอลเอ็นจี เทอร์มินอล) ทำได้อยู่แล้ว โดยปีนี้จะรีโหลดแอลเอ็นจีใส่เรือ เพื่อ ขนไปจำหน่ายให้กับลูกค้า เบื้องต้นได้มีการเจรจากับลูกค้าโรงงานอุตสาหกรรมบางราย และในอนาคตจะต่อยอดไปจำหน่ายในต่างประเทศ ซึ่งทางบริษัทฯ มองว่าประเทศไทยมีความพร้อมที่จะเป็นฮับอาเซียน เนื่องจากมีความได้เปรียบทั้งโครงสร้างพื้นฐาน และมีความต้องการใช้แอลเอ็นจีมาก และด้านภูมิศาสตร์ประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลาง CLMV ทำให้ไทยมีศักยภาพที่จะเป็นฮับแอลเอ็นจี ในอาเซียน โดยกลุ่ม ปตท.ดำเนินธุรกิจก๊าซครบวงจรเพื่อมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและไฟฟ้า โดยการขนส่งก๊าซฯไม่จำเป็นต้องผ่านทางท่อเท่านั้นแต่ขนส่งผ่านรถ และเรือได้

ที่มา : ผู้จัดการรายวัน 360 องศา