ยอดค้าปลีก-บริการเวียดนาม โต ช่วงเทศกาลเต็ด

สำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่ายอดค้าปลีกสินค้าและรายได้จากบริการผู้บริโภคของเวียดนามในเดือนมกราคม อยู่ที่ประมาณ 20.77 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.7% จากช่วงเดียวกันของเดือนก่อน และ 6.4% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งแบ่งออกเป็นยอดค้าปลีก มีมูลค่า 378.9 ล้านล้านด่อง คิดเป็นสัดส่วน 79% ของยอดค้าปลีกรวม เพิ่มขึ้น 8.7% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามมาด้วยรายได้จากร้านอาหารและที่พักอยู่ที่ราว 48.7 ล้านล้านด่อง รายได้จากการท่องเที่ยวอยู่ที่ราว 1.6 ล้านล้านด่อง และรายได้จากบริการอื่นๆอยู่ที่ราว 50.7 ล้านล้านด่อง ทั้งนี้ สำนักงานฯ ระบุว่ายอดค้าปลีกและรายได้จากบริการผู้บริโภคมีแนวโน้มดีขึ้น เมื่อเข้าใกล้เทศกาลเต็ด (Tet) อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการอย่างห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ต ได้เตรียมจัดหาสินค้าจำนวนมาก รวมถึงโปรโมทสินค้า เพื่อกระตุ้นการบริโภคในช่วงปีแห่งจันทรคติ

  ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/retail-sales-consumer-service-revenue-up-ahead-of-tet/195737.vnp

เมียนมาอนุมัติเร่งการลงทุนใหม่ในภาคพลังงาน คาดสร้างงานกว่า 4,371 ตำแหน่ง

คณะกรรมการการลงทุนแห่งเมียนมา (MIC) อนุมัติการลงทุนใหม่ 14 โครงการ ซึ่งการลงทุนจะครอบคลุมภาคพลังงาน การประมง อสังหาริมทรัพย์และบริการ โดยมีมูลค่ารวม 295.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดสร้างงานได้ถึง 4,371 คน โดยเน้นให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านพลังงาน เช่น โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 40 เมกะวัตต์ 4 โครงการในเขตมัณฑะเลย์ ภูมิภาคสะกาย และภูมิภาคแมกเวย์ ปัจจุบันสิงคโปร์ จีน และไทยติดอันดับ 51 ประเทศที่ลงทุนในเมียนมา มีการลงทุนใน 12 ภาคธุรกิจ โดยแบ่งเป็น 26% ในภาคไฟฟ้า 26% ในภาคน้ำมันและก๊าซ และ 14.6% ในภาคการผลิต MIC กำลังเร่งดำเนินตามแผนบรรเทาเศรษฐกิจ COVID-19 และแผนฟื้นฟูและปฏิรูปเศรษฐกิจเมียนมา ซึ่งเป้าหมายคือการผลิตไฟฟ้าทั่วประเทศ 100% จากระบบกริดแห่งชาติภายในปี 2573

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-approves-new-investments-energy-and-other-sectors.html

แบงก์ชาติเมียนมา ออกกฎระเบียบควบคุม Non-Bank

ธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) ได้ออกกฎระเบียบใหม่ที่ครอบคลุมการจัดตั้งการดำเนินงานและการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (NBFI) ในประเทศ เพื่อให้อยู่ขอบเขตของธนาคารกลางรวมถึงการกำหนดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งประกาศ 1/2564 จะใช้กับนิติบุคคลที่มีเจตนาในการจัดตั้ง NBFI ที่จัดหาเงินทุนเพื่อเช่าซื้อและการซื้อขายลูกหนี้การค้า โดยจะต้องขอใบรับรองการจดทะเบียนจาก CBM เพื่อดำเนินธุรกิจ ขณะนี้ NBFI จำเป็นต้องส่งรายงานเป็นระยะเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไปยัง CBM และงบการเงินที่ตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบให้กับ CBM ภายในสามเดือนของสิ้นปีบัญชีตามประกาศ 1 / พ.ศ. 2564 ตั้งแต่ปี 2559 CBM ออกใบอนุญาติให้กับ NBFI จำนวน  28 แห่ง มีการเพิกถอนใบอนุญาติ 2 แห่ง ในเดือนสิงหาคม 63 คือ First Collaborative และ Finance Co Ltd เนื่องจากไม่สามารถเริ่มดำเนินการภายในหนึ่งปี ขณะที่เดือนธันวาคม 63 ได้เพิกถอนใบอนุญาตของ Z Corporation Co Ltd เนื่องจากโครงสร้างทางธุรกิจที่ไม่เหมาะสมและมีความไม่โปร่งใส

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-releases-directives-non-bank-financial-institutions.html

เจ้าท่า ลุยปรับปรุงท่าเรือเกาะสมุย บูมเที่ยวทะเลอ่าวไทย

กรมเจ้าท่า เร่งปรับโฉมใหม่ท่าเรือเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี คาดแล้วเสร็จปี 67 รองรับการท่องเที่ยวฝั่งอ่าวไทยเพิ่มสูงขึ้น-ยกระดับมาตรฐานท่าเรือให้ปลอดภัย นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า (จท.) เปิดเผยว่า กรมเจ้าท่าได้ดำเนินการตามแผนด้านโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำ เพื่อยกระดับท่าเรือให้ได้มาตรฐานและความปลอดภัย ซึ่งท่าเทียบเรือดังกล่าว เป็นท่าเรือสำคัญที่จะรองรับนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ซึ่งท่าเรือเกาะสมุย เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทางไปยังเกาะพะงัน เกาะเต่า เกาะนางยวน และเกาะม้า จ.สุราษฎร์ธานี ในอนาคตอาจมีแนวโน้มนักท่องเที่ยวเดินทางเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กรมเจ้าท่า จึงดำเนินการปรับปรุงรื้อถอนท่าเทียบเรือเดิมบางส่วน และปรับปรุงท่าเรือดังกล่าว ได้แก่ ปรับปรุงโครงสร้างท่าเทียบเรือเพื่อส่งเสริมหน้าท่าพื้นที่ 864 ตารางเมตร และเพิ่มพื้นที่สะพานทางเดิน 2,340 ตารางเมตร สร้างอาคารพักคอยรองรับผู้โดยสารเรือครุยส์ ขนาด 1,800 ตารางเมตร และอาคารพักคอยด้านหลังท่าเทียบเรือ 182.25 ตารางเมตร และงานก่อสร้างด้านอื่นๆ ด้วยรูปแบบที่ทันสมัย และได้มาตรฐานความปลอดภัย คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จปี 67 ทั้งนี้ การปรับปรุงท่าเรือเกาะสมุยจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ และรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ในอนาคต หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย และรองรับการขยายตัวด้านเศรษฐกิจฝั่งอ่าวไทยในปัจจุบันและในอนาคต เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดี ตามนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อน และพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อีกด้วย

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/822510

การส่งออกสินค้าผ่าน SSEZ ในกัมพูชา เพิ่มขึ้นในปี 2020 ที่ผ่านมา

เขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์ (SSEZ) รายงานการส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 26.52 ในปี 2020 แม้จะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน โดยมูลค่าสินค้าที่ส่งออกจาก SSEZ อยู่ที่ 1.556 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งสินค้าหลักสำคัญในการส่งออก ได้แก่ เสื้อผ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ กระเป๋า วัสดุก่อสร้างและเฟอร์นิเจอร์ โดยรัฐบาลกัมพูชาตระหนักเสมอว่าภาคเอกชนถือเป็นพันธมิตรที่สำคัญในการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่ง SSEZ มีขนาด 1,113 เฮกตาร์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2008 ตั้งอยู่ห่างจากท่าเรือสีหนุวิลล์ในจังหวัดพระสีหนุทางตะวันตกเฉียงใต้ของกัมพูชาประมาณ 13 กม.

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50808658/ssez-exports-increase-26-percent-in-2020/

ธนาคาร ACLEDA สำรองเงินให้กู้สำหรับ SMEs ภายในประเทศกัมพูชา

ประธานและกรรมการผู้จัดการกลุ่มของธนาคาร ACLEDA Bank Plc. ได้ประกาศว่าธนาคารได้สำรองเงินทุนไว้เกือบ 600 ล้านดอลลาร์ สำหรับการปล่อยสินเชื่อให้กับภาควิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) สำหรับการเพิ่มสภาพคล่อง ประคองธุรกิจ และการขยายธุรกิจ ในกัมพูชาสำหรับปี 2021 นอกจากโครงการปล่อยสินเชื่อโดยตรงให้กับ SMEs แล้ว ธนาคาร ACLEDA ยังเข้าร่วมกับ SME Bank ของกัมพูชาในโครงการ SME Co-Financial Scheme (SCFS) โดย SCFS มีมูลค่าทุนรวมกว่า 100 ล้านดอลลาร์ เปิดตัวในวันที่ 1 เมษายน 2020 ที่ผ่านมา ซึ่งเงินทุนดังกล่าวได้รับการสนับสนุนร่วมกันจาก SME Bank of Cambodia และสถาบันที่เข้าร่วม 33 แห่ง (PFIs) โดยกลุ่ม PFI ประกอบด้วยธนาคารพาณิชย์ 24 แห่ง ธนาคารเฉพาะกิจ 6 แห่ง และ MFI 3 แห่ง ในการสนับสนุนภาควิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ภายในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50808671/acleda-bank-reserves-600-million-for-smes-this-year/