เวียดนามลุยลงทุนโครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำ 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

การไฟฟ้าเวียดนาม (EVN) เริ่มก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานน้ำ ด้วยมูลค่า 9.22 ล้านล้านดอง (400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำดาซัง โดยการลงทุนดังกล่าว ประกอบด้วยนักลงทุนราว 30% และอีก 70% มาจากธนาคารพาณิชย์ของรัฐ (Vietcombank) และหน่วยงาน Agence Francaise de Developpement (AFD) อีกทั้ง ผู้รับเหมาในประเทศ ได้แก่ บริษัท Truong Son Construction Corp ภายใต้กระทรวงกลาโหม และบริษัทร่วมทุน Construction Joint Stock Company 47 รายและบริษัทร่วมทุน Lilama 10 จะดำเนินการสร้างโรงงานขยายกำลังการผลิต 480 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าโครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำแห่งนี้ ถือเป็นสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและความทันสมัยของเวียดนาม นอกจากนี้ ผู้อำนวยการการไฟฟ้าเวียดนาม นาย Tran Dinh Nhan กล่าวว่าโรงงาน Hoa Binh มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์จากแม่น้ำดาซังอย่างเต็มที่และใช้น้ำที่อุดมสมบูรณ์ในฤดูน้ำหลาก เพื่อที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยต่อระบบไฟฟ้าของประเทศ

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-kicks-off-us400-million-hydropower-project-315865.html

Oxford Economics คาด GDP เวียดนามปี 64 โต 8%

ตามรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจของ Oxford Economics คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะกลับมาฟื้นตัว 6.2% ในปี 2564 แต่ว่าเวียดนามยังคงขยายตัวได้ดีถึง 8% ในขณะที่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของภูมิภาคในปีที่แล้ว หดตัว 4.1% โดยประเทศที่ประสบความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนั้น ได้แก่ เวียดนามและสิงคโปร์ ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2564 ขึ้นอยู่กับการการผ่อนคลายการปิดเมืองหรือล็อกดาวน์ลง และแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงการประสบความสำเร็จในการเปิดตัววัคซีน ซึ่งความคืบหน้าของวัคซีนจะเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อเศรษฐกิจ นอกจากนี้ นาย Mark Billington ผู้อำนวยการส่วนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน ICAEW กล่าวถึงความกังวลต่อกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อ ในขณะเดียวกัน ค่อยๆนำภาคสังคมและกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวให้เร็วขึ้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/856708/viet-nam-gdp-to-grow-by-8-per-cent-oxford-economics.html

โรงแรมซูเล แชงกริลา ย่างกุ้ง อ่วม โควิดฯ พ่นพิษ ปิดให้บริการเป็นเวลา 9 เดือน

Shangri-La Group ได้ประกาศในวันนี้ (13 มกราคม) ว่าจะปิดทำการโรงแรมซูเล แชงกริลา ย่างกุ้ง ชั่วคราวเป็นเวลาเก้าเดือนนับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 64 เป็นต้นไป โดยช่วงการระบาดของ COVID-19 ที่ผ่านมาโรงแรมได้ลดต้นทุนเพื่อลดผลกระทบอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนรวมถึงการตัดสินใจในการปรับปรุงปรับการทำงานของพนักงานเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมากล่าว อย่างไรก็ตามบริษัทได้ตัดสินใจปิดโรงแรมเนื่องจากธุรกิจตกต่ำอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน โดยเปิดโรงแรมอีกครั้งในเวลา 9 เดือนเมื่อธุรกิจเริ่มฟื้นตัว แขกและลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจะมีการยกเว้นค่าธรรมเนียมจากการยกเลิกทั้งหมด ทั้งนี้ในช่วงปิดโรงแรมพนักงานส่วนใหญ่ยังคงได้รับเงินเดือนค่าจ้างแม้จะไม่ได้เข้ามาทำงาน โรงแรมให้บริการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 และเดิมชื่อ Traders Hotel เป็นอาคารสูงที่สุดในเมียนมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2542 โรงแรมมี 466 ห้องได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นโรงแรมซูเลแชงกรีลาย่างกุ้งในปี พ.ศ. 2557 โดย Shangri-La Hotels and Resorts  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครือ Shangri-La ซึ่งดำเนินธุรกิจโรงแรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้แบรนด์ Shangri-La, Kerry, Jen และ Traders กลุ่ม Shangri-La ก่อตั้งโดยรชาวฮ่องกงคือ Mr. Robert Kuok ในปี พ ศ. 2514

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/sule-shangri-la-hotel-yangon-close-nine-months.html

Covid-19 ยังคงส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของสปป.ลาว

การให้เช่าและการขายอสังหาริมทรัพย์ทั่วสปป.ลาวโดยเฉพาะในเวียงจันทน์ยังคงเผชิญกับความท้าทายเนื่องจากผลกระทบอย่างต่อเนื่อง Covid-19 กลุ่มเป้าหมายของผู้เช่าและผู้ซื้อคอนโดมิเนียมและอพาร์ตเมนต์ส่วนใหญ่ประกอบด้วยชาวต่างชาติจากประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ หลังจากการเปิดตัวโครงการลงทุนขนาดใหญ่โดยนักลงทุนชาวจีนมีการขยายตัวของการก่อสร้างอาคารอพาร์ตเมนต์ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก่อนการระบาดของ Covid-19 กรรมการผู้จัดการ RentsBuy.com กล่าวว่าการเช่าและการขายอพาร์ทเมนต์และคอนโดมิเนียมในเวียงจันทน์ยังคงประสบปัญหาหลังจากการออกจากชาวต่างชาติ อย่างไรก็ตามโครงการที่ดินและบ้านจัดสรรยังคงดำเนินต่อไปเนื่องจากราคาไม่แพงและเสริมว่าผู้ซื้อส่วนใหญ่เป็นคนท้องถิ่นจากจังหวัดต่างๆที่ต้องการย้ายไปเวียงจันทน์ ทั้งนี้ผู้ซื้อส่วนใหญ่ที่ต้องการซื้อที่ดินหรือโครงการบ้านจัดสรรสามารถชำระเงินรายเดือนให้กับเจ้าของบ้านหรือผู้พัฒนาโครงการได้ภายในระยะเวลาหนึ่งของการลงนามในข้อตกลง  ก่อนเกิดวิกฤต Covid-19 สปป.ลาวได้เห็นการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและการลงทุนจากต่างประเทศใน 12 เขตเศรษฐกิจพิเศษ ขณะนี้ภาคธุรกิจหวังว่าการมาของวัคซีน Covid-19 จะช่วยยุติการหยุดชะงักทางเศรษฐกิจและเศรษฐกิจในภูมิภาคและโลกจะฟื้นตัว

ที่มา : https://www.phnompenhpost.com/business/covid-19-continues-impact-lao-real-estate-businesses

เป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญหกประการที่กล่าวถึงใน XI Party Congress

นายกรัฐมนตรีทองลุน สีสุลิ ระบุเป้าหมาย 6 เป้าหมายภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 9 สำหรับปี 2564-2568 เป้าหมายแต่ละอย่างมีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนการพัฒนาภาคเศรษฐกิจในแต่ละด้านของประเทศเพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในสปป.ลาว โดยเฉพาะเป้าหมายด้านคุณภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน รายงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระบุว่ารัฐบาลจะมีแผนการต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 9 ดังนี้ การจัดเก็บรายได้และค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพ  การปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ  การลงทุนพัฒนารัฐวิสาหกิจการส่งเสริม SME รวมถึงการจัดหาการลงทุนในประเทศและต่างประเทศ ถึงแม้เป้าหมายสูงสุดของแผนพัฒนาคือการเติบโตของ GDP ถึงกระนั้นรัฐบาลก็จะยังให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพควบคู่ไปกับการเติบโตเพื่อการขยายและมั่นคงอย่างยั่งยืนของสปป.ลาว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Six9.php