NA เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต้นทุนพลังงานไฟฟ้า

รัฐบาลสปป.ลาวถูกเรียกร้องให้แก้ไขข้อเท็จจริงที่ว่าการซื้อไฟฟ้าจากผู้ประกอบการเขื่อนมีราคาสูงเกินไปแต่ขายในราคาที่ต่ำกว่าซึ่งขัดต่อหลักการทางธุรกิจทั่วไป สมาชิกสมัชชาแห่งชาติเวียงจันทน์และรองประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติสปป.ลาว ขอให้รัฐบาลชี้แจงเรื่องนี้และหาแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้ “ เราขอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหานี้ในขณะที่กำลังมองหาตลาดเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นการส่งออกไฟฟ้าของสปป.ลาวเพื่อลดภาระหนี้ของประเทศ” นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน กล่าวว่ารัฐบาลจะพิจารณาการลงทุนในภาคพลังงานเพื่อทำความเข้าใจสาเหตุของปัญหาให้ดีขึ้ เราต้องยึดข้อตกลงเกี่ยวกับผลประโยชน์ของชาติหากนักลงทุนบิดเบือนความจริงเกี่ยวกับต้นทุนการสร้างเขื่อนจะนำมาซึ่งปัญหาระยะยาว รัฐบาลจะประเมินต้นทุนการก่อสร้างเขื่อนที่แท้จริงอีกครั้งเพื่อให้การลงทุนเกิดประสิทธิภาพ สาเหตุที่รัฐบาลเข้ามากำหนดต้นทุนการสร้างเขื่อนที่แน่นอนเนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงจะทำให้ค่าไฟฟ้าสูงซึ่งปัจจุบันความต้องการพลังงานที่คาดการณ์ไว้สูงกว่าความต้องการที่แท้จริงรัฐบาลคาดการณ์ว่าโครงการอุตสาหกรรมจะต้องใช้ไฟฟ้าจำนวนมากโดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจพิเศษและกิจการเหมืองแร่ ดังนั้นหากต้นทุนด้านไฟฟ้าสูงจะทำให้อุตสาหกรรมต่างๆ ได้รับผลกระทบและจะมีผลต่อการเติบโตต่อเศรษฐกิจ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_NA_220.php

เมียนมาตั้งเป้าส่งออกปีงบฯ 63-63 สินค้าเกษตรมีโอกาสเติบโต

เมียนมาคาดปริมาณการค้าปีงบประมาณ 63-64 มีแนวโน้มเติบโตเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าแม้จะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โดยมีปริมาณการค้าสูงถึง 34,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณปัจจุบันซึ่งการส่งออกลดลงเหลือ 16.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึง 18.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งต่ำกว่าปีที่แล้ว ในปีงบประมาณ 62-63 ปริมาณการค้าอยู่ที่ 36.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสูงกว่าที่คาดไว้ 33,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยส่งออกรวม 17.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้าสูงถึง 19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การส่งออกในปีนี้จะเป็น การเกษตร ปศุสัตว์และประมงเป็นหลักซึ่งคาดว่าจะชดเชยการผลิตสิ่งทอที่ลดลง โดยการส่งออกเสื้อผ้าลดลงกว่า 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 62-63 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนการส่งออกเสื้อผ้าในปี 62-63 มีมูลค่า 4.8 พันล้านดอลลาร์ ในปีนี้มีรายได้รวมเพียง 87 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งลดลงมากกว่า 172 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในทางตรงกันข้ามความต้องการพืชผลไม้ เช่น ข้าวโพดเพิ่มขึ้นและการส่งออกถั่วคาดว่าจะมีเสถียรภาพในขณะเดียวกันความต้องการการประมงก็เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ทั้งนี้ยังต้องเจอความท้าทาย เช่น ความไม่แน่นแน่ของชายแดนเมียนมา – จีน ความต้องการระหว่างประเทศที่ผันผวน ตลอดจนอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงซึ่งล้วนส่งผลทำให้ราคาไม่คงที่ ในปี 62-63 เมียนมาขาดดุลการค้า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากปีงบประมาณ 61-62

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-raises-trade-target-aims-grow-agri-exports-year.html

ญี่ปุ่นขอมีส่วนร่วมพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย

นาย U Myint San รองประธานคณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) เผยรัฐบาลญี่ปุ่นยื่นข้อเสนอเพื่อเข้าร่วมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายแบบฐบาลต่อรัฐบาล (G2G) ถึงแม้มีการระบาดของ COVID-19 แต่ก็อนุมัติให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมทันทีและกำลังรอการสนับสนุนทางการเงินและทางเทคนิคเพื่อเริ่มต้นการก่อสร้างที่ล่าช้ามานาน โครงการการพัฒนาล่าสุดล่าสุดภายหลังจากจีนสนใจที่จะลงทุนในเขตเศรษฐกิจทวายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 63 ทวายคาดว่าจะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนซึ่งใหญ่กว่าติวลาในย่างกุ้งประมาณ 8 เท่าและใหญ่กว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวในยะไข่ถึงสิบเท่า เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายมีพรมแดนติดกับประเทศไทยโดยมีพื้นที่ 20,000 เฮกตาร์ซึ่งรวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมและท่าเรือ บริษัท อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างของไทยมีการลงนามบันทึกความเข้าใจเบื้องต้นระหว่างเมียนมาและไทยในปี 51 แต่หยุดชะงักลงในปี 56 เนื่องจากไม่สามารถหาเงินลงทุนได้ตามสัญญา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/japan-offers-participate-dawei-sez-development.html

รัฐบาลสปป.ลาวมั่นใจเศรษฐกิจปีหน้าฟื้นตัว

รัฐบาลสปป.ลาวมองเศรษฐกิจจะเติบโตร้อยละ 4-4.5 ในปีหน้าแม้ยังไม่มีความแน่นอนจากการสถานการณ์ COVID-19 และปัญหาทางการเงินของสปป.ลาวที่กำลังเผชิญในปัจจุบัน เพื่อบรรเทาความตึงเครียด ด้านงบประมาณ รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการดึงดูดการลงทุนภาคเอกชนเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและความพยายามลดความยากจนตามเป้าหมายแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรัฐบาลยังมีพยายามเสริมสร้างการผลิตเชิงพาณิชย์ร่วมกับอุตสาหกรรมแปรรูปตลอดจนส่งเสริมการบริการตามทางรถไฟและระเบียงเศรษฐกิจอื่น ๆ นอกจากนี้รัฐบาลจะเปิดตัวระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการจัดเก็บรายได้และเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการใช้จ่ายงบประมาณรวมถึงการดูแลควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ เงินสำรองต่างประเทศเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจเป้าหมายหลักประการหนึ่งของรัฐบาลในช่วงห้าปีข้างหน้าคือการติดตามการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมโดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสมยั่งยืนและมีประสิทธิผล

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_219.php

รัฐบาลกัมพูชาวางแผนลดภาษีสำหรับสินค้าส่งออกประเภทสินค้าทางการเกษตร

กัมพูชาซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่พึ่งพาสินค้าเกษตรที่มีการพัฒนาน้อยที่สุดในข้อตกลงการเจรจาการค้าเสรี (FTA) โดยประมาณร้อยละ 80 ของการส่งออกทั้งหมดของกัมพูชาคือ เสื้อผ้าและสิ่งทอ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปตามความชอบทางการค้าของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยขณะนี้รัฐบาลกำลังส่งเสริมสินค้าเกษตรผ่านการเจรจา FTA หลังจากที่ประเทศได้ลงนาม FTA กับจีน (CCFTA) อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 ต.ค. ซึ่งอย่างไรก็ตามข้าวของกัมพูชาไม่รวมอยู่ในรายการสินค้าภายใต้ CCFTA เนื่องจากประเทศได้รับกรอบโควต้าสำหรับการส่งออกข้าวสารไปยังจีนแล้ว ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาต่ำที่สุดควรได้รับการสนับสนุนทางภาษีศุลกากรเชิงกลยุทธ์เป็นลำดับแรก โดยสินค้าภายใต้ CCFTA ของจีนครอบคลุมสินค้ากว่า 340 รายการสำหรับการส่งออกของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50780935/lower-taxes-on-less-developed-agricultural-export-products-needed-as-trade-deals-sought/