เวียดนามเผยช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ เม็ดเงิน FDI แตะ 23.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากรายงานทางสถิติของกระทรวงการวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยว่าในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามดึงดูดเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) อยู่ที่ 23.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สิงคโปร์ยังคงเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุด ด้วยมูลค่า 7.51 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.9 ของยอดการลงทุนรวมในเวียดนาม รองลงมาเกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่น ไทยและไต้หวัน (จีน) ตามลำดับ ทั้งนี้ เงินทุนจดทะเบียนธุรกิจรายใหม่และการปรับเพิ่มเงินทุน รวมถึงเม็ดเงินทุนจากการซื้อหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ อยู่ที่ 23.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 20 ต.ค. ในขณะเดียวกัน ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปได้รับการดึงดูดจากนักลงทุนต่างชาติมากที่สุด ด้วยมูลค่ารวม 10.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45.7 ของยอดเงินทุนจดทะเบียนรวม นอกจากนี้ จังหวัดบักเลียว (Bac Lieu) ยังคงเป็นแหล่งดึงดูดเงินทุน FDI มากที่สุดในเวียดนาม ด้วยมูลค่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมานครโฮจิมินห์, ฮานอย, บ่าเสียะ-หวุงเต่า, บิ่ญเซืองและไฮฟอง ตามลำดับ

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/fdi-reaches-us2348-billion-in-ten-months-813090.vov

เวียดนามเป็นศูนย์กลางทางการลงทุน FDI ในเอเชีย

เดอะ ยูเรเซีย ไทมส์ (The Eurasian Times) ได้เผยแพร่บทความที่ระบุว่าเวียดนามกลายเป็นเสือเศรษฐกิจในเอเชีย ด้วยค่าเฉลี่ยของการลงทุน FDI มากกว่าร้อยละ 6 ของ GDP ซึ่งเป็นตัวเลขสูงที่สุดในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ ประกอบกับข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดของเวียดนาม ชี้ให้เห็นว่ายอดการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 โดยเฉพาะสินค้าส่งออกสำคัญที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ได้แก่ คอมพิวเตอร์ เครื่องจักรและส่วนประกอบ เป็นต้น รวมถึงนโยบายการลงทุนที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ เขตอุตสาหกรรมและการจัดหาแรงงานวัยหนุ่มสาว ส่งผลให้เวียดนามเป็นจุดมุ่งหมายของนักลงทุนต่างชาติ เมื่อกระแสการลงทุนไปยังจีนเริ่มหดตัวลง ทั้งนี้ ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ก็ไม่สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจของเวียดนามได้ เนื่องจากรัฐบาลออกมาตรการลดหย่อนภาษี การชะลอการจ่ายภาษีและปรับปรุงค่าธรรมเนียมของการใช้ที่ดินเพื่อดำเนินธุรกิจ รวมถึงแก้ไขกฎหมายการลงทุนและข้อตกลงทางการค้ากับสหภาพยุโรป นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 20 ก.ย. เวียดนามดึงดูดเม็ดเงิน FDI สูงถึง 2.21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยส่วนใหญ่ลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-emerges-as-fdi-hub-in-asia-the-eurasian-times-25442.html

ตู้คอนเทนเนอร์อาหารทะเล 20 ตู้จอดเกยตื้นที่ท่าเรือซาอุฯ

ตู้คอนเทนเนอร์อาหารทะเลของเมียนมาราว 20 ตู้พยังคงติดค้างอยู่ที่ท่าเรือเจดดาห์ของซาอุดีอาระเบีย ขณะที่สำนักงานอาหารและยาของซาอุดีอาระเบีย (SFDA) จัดทำข้อตกลงเพื่ออนุมัติรายชื่อโรงงานประมงของเมียนมาร์ที่นำผลิตภัณฑ์ไปแปรรูป สินค้าดังกล่าวมาถึงท่าเรือตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคมเมื่อซาอุดิอาระเบียยึดตู้คอนเทนเนอร์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนราว 30 ตู้มูลค่า 80,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตู้ ซึ่งตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมด 10 ตู้ได้ผ่านพิธีการศุลกากรหลังจากที่ SFDA อนุมัติโรงงาน 3 แห่งจาก 19 แห่งที่ยื่นขอในซาอุดิอาระเบีย ยังเหลือตู้คอนเทนเนอร์ประมาณ 20 ตู้ที่ท่าเรือเจดดาห์ซึ่งยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับรองโดย SFDA ในปีนี้มีเพียง Ywar Thar Gyi Cold Store ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงงานห้องเย็น 19 แห่งจากเมียนมาที่ได้รับการอนุมัติจากทางการซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 63 ที่ผ่านมา SFDA ได้อนุมัติโรงงานห้องเย็นได้แก่ Twin Brothers Seafood Cold Storage, Mega Marine Frozen Seafood และ Delta Queen International Co.

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/20-containers-seafood-stranded-saudi-port.html

ธนาคารโลกจัดหาเงินสำรองฉุกเฉินสำหรับธุรกิจขนาดเล็กในสปป.ลาว

ธนาคารโลกได้อนุมัติเงินสำรองฉุกเฉินจำนวน 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในสปป.ลาวเพื่อช่วยให้ฟื้นตัวจากผลกระทบของ Covid-19 การระดมทุนจะดำเนินการผ่านโครงการ ‘Micro, Small, and Medium Enterprise Access to Finance Emergency Support and Recovery Project’ ของธนาคารโลกซึ่งจะทำงานร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าและสถาบันการเงินในท้องถิ่น เพื่อให้สินเชื่อแก่ธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งมีโอกาสได้รับเงินกู้เงินทุนหมุนเวียนที่สามารถรักษาธุรกิจของตน เพื่อการลงทุนสำหรับอุปกรณ์ใหม่หรือการขยายโรงงาน ทั้งนี้บริษัทเผชิญกับการลดลงอย่างรวดเร็วของอุปสงค์ รายได้ ซัพพลายเชน และการท่องเที่ยวต้องหยุดชะงัก ส่งผลผลให้บริษัทหลายแห่งจะเลิกจ้างพนักงานและจะต้องปิดถาวร โครงการใหม่นี้จะช่วยให้ MSME ปกป้องการดำรงชีวิตของพนักงานและลดปัญหาการหยุดชะงักทางเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ธนาคารโลกจะให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของธนาคารแห่งสปป. ลาวในการกำกับดูแลระบบค้ำประกันสินเชื่อจะช่วยลดความเสี่ยงด้านเครดิตที่เกี่ยวข้องกับเงินกู้ภายใต้โครงการ นอกจากนี้จะให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของธนาคารพาณิชย์ บริษัทขนาดเล็ก กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าและสถาบันอื่น ๆ ที่เข้าร่วม โดยธุรกิจต้องจดทะเบียนบริษัทขนาดย่อย ขนาดเล็ก หรือองค์กรเอกชนขนาด จึงจะมีสิทธิ์ได้รับเงินกู้ภายใต้โครงการ การตัดสินใจในการให้สินเชื่อและการกำหนดราคาของเงินให้สินเชื่อจะให้สถาบันการเงินที่เข้าร่วมเป็นผู้พิจารณาจากการประเมินเครดิตของตนเอง

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Worldl_209.php

โครงการความร่วมมือจีน – ลาวทำให้ชาวสปป.ลาวมีชีวิตที่ดีขึ้น

ทางตะวันออกเฉียงใต้สปป.ลาวเป็นสถานที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่สำคัญหนึ่งในนั้นคือโรงไฟฟ้าพลังน้ำน้ำเทิน 1 ซึ่งเป็นการลงทุนโดยฝ่ายสปป.ลาวและฝ่ายไทย ภายใต้สัญญาของ PowerChina Sinohydro Bureau 3 Co. , LTD (Sinohydro 3) ซึ่งเป็น บริษัท วิศวกรรมของจีน โครงการดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาในประเทศสปป.ลาว ไม่เพียงแค่โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำแต่ยังมีการก่อสร้างอุตสาหกรรมมากมายที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ไม่เพียงแค่การเติบโตของเศรษฐกิจแต่ยังรวมไปถึงการดำเนินชีวิตของชาวสปป.ลาวที่ดีขึ้น ตลอด 10 ปีที่ผ่านมารายได้ต่อหัวของสปป.ลาว เติบโตอย่างต่อเนื่อง การเข้ามาของโครงการต่างๆจึงเป็นสิ่งสำคัญในการทำให้ชีวิตการเป็นอยู่ของสปป.ลาวดีขึ้น

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2020-10/26/c_139467833.htm