กัมพูชาหารือวางโรดแมปฟื้นฟูการท่องเที่ยวภายในประเทศ

กระทรวงการท่องเที่ยวและภาคเอกชนได้หารือเกี่ยวกับร่างแผนฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศ จากผลกระทบของการระบาดของ COVID-19 ในช่วงปี 2020-2025 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวทองคอนกล่าวในระหว่างการประชุมว่าการพัฒนาโครงการนี้จะเป็นกลไกสำคัญที่จำเป็นในการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่กำลังเผชิญในปัจจุบันและในอนาคต โดยรัฐบาลจะทำการร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น สมาคมการท่องเที่ยวกัมพูชา สมาคมโรงแรมกัมพูชา และสหพันธ์การท่องเที่ยวกัมพูชา ในการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศหลัง COVID-19 ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาถึง 7 ปี ภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศจึงจะกลับสู่สภาวะปกติ โดยกัมพูชาได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมกว่า 6.6 ล้านคนในปีที่แล้ว ตามรายงานของกระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชา ซึ่งในปีนี้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมเพียง 1.2 ล้านคน ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ลดลงกว่าร้อยละ 71.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50773942/roadmap-to-restore-tourism-discussed/

IMF เผยเวียดนามก้าวเป็นอันดับที่ 4 ของเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในสัปดาห์นี้ โดยคาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนามในปีนี้ จะสูงถึง 340.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เวียดนามก้าวเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับที่ 4 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ นิตยสาร Investement Bridge อ้างจาก IMF ระบุว่าเวียดนามยังคงเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีเศรษฐกิจเติบโตในปีนี้และปีหน้า และคาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวร้อยละ 6-7 ต่อปี ในขณะที่ เศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ 2-5 แสดงให้เห็นว่าส่วนหนึ่งมาจากการประสบความสำเร็จในการต่อสู้กับโรคโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ทำให้เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจในเชิงบวกปีนี้ นอกจากนี้ ทาง IMF คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวประชากรเวียดนาม อยู่ในอันดับที่ 6 ในอาเซียน แตะ 3,497 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนในปีนี้ รองลงมาฟิลิปปินส์ สปป.ลาว กัมพูชาและเมียนมา ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จีนยังคงเป็นเศรษฐกิจสำคัญเพียงประเทศเดียวที่คาดว่าขยายตัวร้อยละ 1.9 ในปีนี้ และจะสูงถึงร้อยละ 8.2 ในปี 2564 สำหรับสหรัฐอเมริกาคาดการณ์ว่า GDP จะหดตัวลงร้อยละ 4.3 ในปีนี้

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-to-become-4th-largest-economy-in-southeast-asia-said-imf-25227.html

World Bank คาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามโต 2.5-3% ในปี 2563

ธนาคารโลก (WB) เปิดเผยรายงานเศรษฐกิจมหภาคของเวียดนาม เมื่อเดือนตุลาคม 2563 ระบุว่า GDP ของเวียดนามเติบโตขึ้นร้อยละ 2.5-3 ในปี 2563 ถึงแม้ว่าเวียดนามจะเผชิญกับการระบาดของเชื้อไวรัสโควิดรอบที่ 2 ก็ตาม แต่ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ เศรษฐกิจเวียดนามส่งสัญญาฟื้นตัว จะขยายตัวร้อยละ 2.62 เมื่อเทียบกับปีที่แล้วและสูงกว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 0.39 นับว่าขยายตัวขึ้น 2 เท่า ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวและยอดค้าปลีกในเดือนก.ย.เมื่อเทียบกับเดือนสิ.ค. ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามเกินดุลการค้าอยู่ที่ 16.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) ในเดือนก.ย. เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าของเดือนสิ.ค. อย่างไรก็ตาม ธนาคารโลกระบุว่าเวียดนามควรให้ความสำคัญกับการลดความเสี่ยงของการคลังภาครัฐ เมื่อเผชิญกับความไม่แน่นอนทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของไวรัสทำให้เวียดนามสามารถเปิดธุรกิจใหม่ได้อย่างรวดเร็วและคาดว่าจะเป็นเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกในปีนี้ ในขณะที่ หลายประเทศกำลังเผชิญกับการหดตัวทางเศรษฐกิจอย่างมากและวิ่งเข้าหากองทุนการเงินระหว่างประเทศเพื่อขอความช่วยเหลือทางการเงิน

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/wb-vietnams-gdp-forecasted-to-grow-at-25-3-in-2020-25216.html

เกษตรกรเมียนมาได้รับการเยียวยาจากการเวนคืนที่ดิน

กรมจัดการที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเมียนมายืนยันเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 63 ที่ผ่านมาโดยจะมีการจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจำนวน 2 พันล้านจัต โดยจะชดเชยให้แก่เกษตรกรที่สูญเสียที่ดิจากการเวนคืนที่ดินของรัฐบาลที่นำไปสร้างถนนและทางรถไฟ  ภายใต้กฎหมายกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการระดับชาติคาดว่าจะจัดสรรจำนวนเงินเป็นค่าตอบแทนแก่เกษตรกรล่วงหน้าพร้อมจะขอคำยืนยันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-farmers-receive-land-compensation.html

เมียนมาคาดราคาน้ำตาลพุ่งตามราคาตลาดโลก

ผู้ค้าน้ำตาลในเมียนมาคาดราคาน้ำตลาดจะสูงขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเนื่องจากความต้องการทั่วโลกที่สูงขึ้นและการระบาดของ COVID-19 ทำให้ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงักนำไปสู่การขาดแคลนในบางส่วนของโลกรวมถึงจีน เมียนพยายามมานานหลายปีจะต้องการจะเพิ่มการผลิตน้ำตาล แต่ก่อนหน้ามีข้อกำหนดทางศุลกากรที่เข้มงวดการส่งออกน้ำตาลไปยังจีนจึงหยุดชะงักไปเมื่อต้นปี ขณะเดียวกันชาวไร่อ้อยในพื้นที่ก็ต้องลดการผลิตลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น สต๊อกน้ำตาลก่อนหน้านี้ที่เมืองชายแดนมูเซถูกขายจนหมด นอกจากนี้ยังมีความต้องการน้ำเชื่อมบางส่วนจากจีนด้วยเช่นกัน ซึ่งปริมาณสำรองน้ำตาลทั่วโลกกำลังลดลงและราคาสูงขึ้น กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมาได้หารือกับโรงงานน้ำตาลไปเมื่อวันที่ 13 ตุลาคมเกี่ยวกับการกำหนดราคาขั้นต่ำอ้อยก่อนสิ้นเดือนนี้ก่อนฤดูการหีบอ้อยจะเริ่มขึ้น ปัจจุบันราคาอ้อยอย่างเป็นทางการอยู่ที่ 42,000 จัตต่อตัน ในอนาคตอาจจะไม่ต่ำกว่า 40,000 จัตต่อตันซึ่งหนุนราคาท้องถิ่นให้สูงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เมื่อสต็อกในท้องถิ่นลดลงและพื้นที่เพาะปลูกลดลงราคาอ้อยและน้ำตาลอาจเพิ่มขึ้นอีกในปีหน้า ก่อนหน้านี้เมียนมาส่งออกน้ำตาลทรายดิบไปยังจีนแต่เนื่องจากข้อจำกัดการนำเข้าและการปราบปรามการค้าที่ผิดกฎหมายทำให้ชาวไร่ค่อยๆ เลิกปลูกอ้อยมากขึ้น ในความเป็นจริงคนวงในคาดการณ์การหดตัวของพื้นที่เพาะในปีงบประมาณ 63-64 เหลือเพียง 350,000 เอเคอร์ลดลงร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับ 7 ปีที่แล้วและต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะเดียวกันก็มีนำเข้าน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์เนื่องจากโรงงานน้ำตาลมีเพียง 2 แห่งจาก 29 แห่งที่สามารถผลิตน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ปีงบประมาณ 62-63 มีการนำเข้าน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์มากกว่า 57,000 ตันซึ่งน้อยกว่าก่อนหน้านี้ประมาณร้อยละ 40-50 เนื่องจากราคาที่สูงขึ้นและข้อจำกัดของรัฐบาลเมียนมา

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-anticipates-higher-sugar-prices-demand-rises.html

รมว.คลัง เตรียมใช้มาตรการภาษี ดึงทุนต่างชาติ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้เตรียมมาตรการทางภาษี เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เอกชนเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น หลังจากเปิดประเทศเต็มรูปแบบแล้ว ด้วยการปรับโครงสร้างภาษี เพื่อสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชน ให้มีขีดความสามารถในแข่งขันเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการดูแลเป็นรายธุรกิจ เพิ่มเติมจากการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI) “ระยะสั้นหลังเปิดประเทศ เราจะเน้นไปที่การช่วยเหลือประชาชนและภาคเอกชน ส่วนระยะยาว เราจะใช้มาตรการภาษีเข้ามาสนับสนุนให้เกิดการลงทุนมากขึ้น เพิ่มเติมจากของ BOI ที่เป็นมาตรการทั่วไป ตัวที่เพิ่มให้ต้องเจาะจงเป็นรายพื้นที่ ซึ่งในหลายประเทศก็ทำกัน”นายอาคม กล่าว

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/money_market/453343?utm_source=homepage_hilight&utm_medium=internal_referral