หนี้สาธารณะของกัมพูชายังคงอยู่ในระดับคงที่

รัฐบาลกัมพูชาได้ลงนามในสัญญาเงินกู้สัมปทานมูลค่า 479 ล้านดอลลาร์ กับพันธมิตรเพื่อการพัฒนา (DPs) ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020 ตามแถลงการณ์สถิติหนี้สาธารณะของกัมพูชาที่เผยแพร่เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา โดยกล่าวว่าสัญญาเงินกู้รวม 479.05 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นร้อยละ 25 ของเพดานหนี้ที่ตั้งไว้ที่ 1,400 ล้าน ซึ่งร้อยละ 93 หรือ 443.65 ล้านดอลลาร์ได้รับการลงนามกับ DPs แบบทวิภาคี และอีกร้อยละ 7 ของวงเงินกู้หรือ 35.40 ล้านดอลลาร์ ได้รับการลงนามกับ DPs พหุภาคี โดยวัตถุประสงค์ของการกู้ยืมเงินคือการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการลงทุนภาครัฐในภาคส่วนที่ได้มีการลำดับความสำคัญ ซึ่งมีส่วนสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในระยะยาว โดยผลการวิเคราะห์เบื้องต้นของการวิเคราะห์ความยั่งยืนของหนี้ (DSA) พบว่าในปี 2020 ตัวชี้วัดหนี้หลักทั้ง 5 ตัวต่ำกว่าเกณฑ์ที่บ่งชี้ตามลำดับ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50769828/cambodias-public-debt-remains-sustainable-categorised-as-low-risk/

นครโฮจิมินห์ดึงดูดเม็ดเงิน FDI 3.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้

จากรายงานของสำนักงานวางแผนและการลงทุนประจำเมือง เผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ นครโฮจิมินห์ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) สูงถึง 3.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมูลค่าราว 407.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐโอนเข้าไปยังโครงที่ได้รับจดทะเบียนใหม่ 719 โครงการ ในขณะเดียวกัน 283.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐเข้าไปยังโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน 163 โครงการและอีก 2.56 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเข้าไปยังการซื้อหุ้น ทั้งนี้ ภาคการค้าถือเป็นแหล่งดึงดูด FDI ที่สำคัญของเมือง มีมูลค่ามากกว่า 751 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23 ของเงินทุนรวม รองลงมาภาคอสังหาริมทรัพย์และโครงการทางวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ ทางสำนักงานยังระบุเพิ่มเติมว่าในอนาคต เมืองแห่งนี้จะจัดให้เป็นแหล่งพื้นที่การลงทุนที่สำคัญของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเมืองอัจฉริยะและเป็นเมืองที่มีนวัตกรรมขั้นสูง รวมถึงยังเป็นศูนย์กลางทางการเงินในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ

 ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/hcm-city-lures-325-billion-usd-in-fdi-in-nine-months/188056.vnp

เวียดนามเผยการส่งออกผักผลไม้ดิ่งลง ช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการส่งออกผักและผลไม้ของเวียดนามอยู่ที่ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ถึงแม้ว่าส่วนแบ่งการตลาดมะพร้าวของประเทศไทยจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ในเดือนสิ.ค. แก้วมังกรเป็นสินค้าเกษตรที่มีการเติบโตเร็วที่สุดของเวียดนามในบรรดากลุ่มผลไม้ต่างๆ คิดเป็นยอดส่งออกร้อยละ 51.8 ของมูลค่าส่งออกผลไม้รวม โดยเฉพาะตลาดจีน ที่มีมูลค่าส่งออกพุ่งร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ด้วยมูลค่า 127.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ จากรายงานของสำนักงานนำเข้า-ส่งออก เผยว่ายอดส่งออกแก้วมังกรที่เติบโตอย่างรวดเร็วไปยังจีน ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเอื้ออำนวยของพิธีการศุลกากร และความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดจีน นอกจากนี้ ข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA คาดว่าจะช่วยให้ยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจเวียดนามเมื่อเทียบกับภูมิภาคเดียวกัน อย่างเช่น ไทย ฟิลิปปินส์และมาเลเซีย เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ก็กลุ่มประเทศอเมริกาใต้ เช่น เปรูและเอกวดอร์

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/fruit-and-vegetarble-exports-plummet-over-nine-months-783688.vov

ภาคการผลิตเมียนมาได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ครั้งใหม่

จากข้อมูลล่าสุดของการสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) โดย IHS Markit ในเดือนกันยายนภาคการผลิตของเมียนมาได้รับผลกระทบอย่างหนักจากมาตรการล็อกดาวน์ครั้งใหม่ภายหลังพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่เพิ่มสูงขึ้น ให้โรงงานปิดตัวลงเป็นเวลาสองสัปดาห์และให้พนักงานบางส่วนทำงานจากที่บ้าน ดัชนี PMI ของเมียนมาลดลงสู่ระดับ 35.9 ในเดือนกันยายนจาก 53.2 ในเดือนสิงหาคม และ 51.7 ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งดัชนีจะมีค่าระหว่าง 0 ถึง 100 โดยค่าที่สูงกว่า 50 แสดงถึงการซื้อโดยรวมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่วนคะแนนที่ต่ำกว่า 50 หมายถึงการซื้อลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ผลกระทบดังกล่าวมีความรุนแรงในเดือนเมษายนเมื่อดัชนี PMI อยู่ที่ 29 อุปสงค์ในประเทศลดลงท่ามกลางข้อจำกัดครั้งใหม่ในขณะที่อุปสงค์จากต่างประเทศก็ซบเซาลงเช่นกัน โดยความต้องการที่ลดลงมาจากตลาดเอเชีย ได้แก่ อินเดีย ไทย เวียดนาม และกาตาร์ เนื่องจากโรงงานหลายแห่งปิดทำการชั่วคราวในเดือนกันยายนระดับการจ้างงานโดยรวมลดลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-manufacturing-sector-hit-new-lockdown-measures.html

COVID-19 ดันราคาข้าวในย่างกุ้งพุ่งสูงขึ้น

ตั้งแต่เดือนมีนาคมจากการระบาด COVID-19 ระบาดครั้งแรกในเมียนมาปริมาณข้าวที่มีไว้สำหรับการค้าลดลงอย่างมาก ทำให้การเดินทางระหว่างรัฐและการเคลื่อนย้ายสินค้าหยุดชะงัก ดังนั้นปริมาณข้าวที่ส่งไปยังศูนย์ค้าส่งบุเรงนองในย่างกุ้งจึงลดลง โดยปกติจะมีรถบรรทุกข้าวประมาณ 200 คันเข้าและออกจากศูนย์ค้าส่งบุเรงนองต่อวันลดลงเหลือ 20 ต่อวัน ด้วยเหตุนี้ราคาข้าวหอม Paw San, Shwebo, Myaung Mya และ Phya Pone เพิ่มขึ้นมากกว่า 4,000 จัตต่อถุงในขณะที่ราคาข้าวส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 23,000 จัตต่อถุง รัฐบาลได้ซื้อข้าวจำนวน 50,000 ตันหรือ 10% ของข้าวสำรองไว้สำหรับการส่งออกและจะขายให้ประชาชนได้ในราคาคงที่ ข้าวพันธุ์อื่น ๆ เช่น Shwe Bo Paw San และ Ayeyarwady Paw San จะวางจำหน่ายในราคาตลาด

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/rice-prices-rise-yangon-covid-19-restrictions-squeeze-supply.html

ดึงเอกชนช่วยปั๊มยอดคนไทยเที่ยว 5 แสนล.

ททท.จัดทำโครงการ เวิร์กเคชั่น ไทยแลนด์ ทำงานเที่ยวได้ รวมใจช่วยชาติ ดึงเอกชนซื้อแพ็กเกจท่องเที่ยวในประเทศ หวังสร้างรายได้ท่องเที่ยว 5 แสนล้านบาท ไทยเที่ยวไทยแตะ 100 ล้านคน-ครั้ง นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท.ได้จัดทำโครงการ เวิร์กเคชั่น ไทยแลนด์ ทำงานเที่ยวได้ รวมใจช่วยชาติ ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ผ่านกลุ่มคนที่ยังมีกำลังซื้อ ออกเดินทางท่องเที่ยวหรือทำกิจกรรมในประเทศ เพื่อให้ธุรกิจในภาคการท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัว เบื้องต้นมีบริษัทเข้าร่วมโครงการผ่านการซื้อแพ็กเกจท่องเที่ยวในประเทศแล้วกว่า 84 ราย แบ่งเป็นทั้งหน่วยงาน องค์กร และบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ไทย ทั้งนี้ได้เชิญชวนบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ องค์กร และหน่วยงาน เดินทางท่องเที่ยวผ่านเส้นทางการท่องเที่ยว 5 ประเภท ได้แก่ ทำงานแบบสุขกาย สุขใจ ได้ตอบแทนสังคมรักษาสิ่งแวดล้อม,ท่องเที่ยวไปกับความสนใจพิเศษที่เลือกได้เอง ควบคู่กับการทำงาน,สร้างทีมเวิร์กด้วยกิจกรรมท่องเที่ยวในชุมชน,พบปะหารือแบบพิเศษ และเสนอส่วนลดพิเศษ รวมทั้งแพ็กเกจทัวร์อีกจำนวนมาก เชื่อว่าโครงการนี้ จะทำให้เกิดการท่องเที่ยวภายในประเทศทั้งปีไม่ต่ำกว่า 80-100 ล้านคน-ครั้ง สร้างรายได้หมุนเวียนกว่า 400,000-500,000 ล้านบาท นายยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ททท.ยังได้หารือร่วมกับสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในการหารือถึงการปรับเงื่อนไขของเราเที่ยวด้วยกัน เพื่อให้มีความน่าสนใจและกระตุ้นการท่องเที่ยวได้มากขึ้นด้วย.

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/799333