‘Intel’ สนใจที่จะขยายการลงทุนในเวียดนาม

จากการประชุม US Business Forum ที่นครโฮจิมินห์ เมื่อวันที่ 25 สิ.ค. เป็นการจัดกิจกรรมฉลอง 25 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตสหรัฐฯ นาย Kim Huat Ooi รองประธานและผู้อำนวยการทั่วไปของบริษัท อินเทล โปรดักส์เวียดนาม (Intel Products Vietnam) กล่าวว่าเม็ดเงินทุน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐไปยังโรงงานท้องถิ่น และทางบริษัทยังคงจะลงทุนในเวียดนามอีกหลายปีข้างหน้า ซึ่งบริษัทอยู่ในช่วงเตรียมตัวในการลงทุนครั้งสำคัญ โดยปัจจุบัน บริษัทมีมูลค่าส่งออกอยู่ที่ 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีแผนที่จะลงทุนเพิ่มเติมในนครโฮจิมินห์ ทั้งนี้ นาย Kim Huat Ooi ยังกล่าวชื่นชมถึงสภาพแวดล้อมการทำธุรกิจในท้องถิ่น และ Intel ถือเป็นบริษัทไฮเทคแห่งแรกที่อัดฉีดเงินลงทุนกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐไปยังเมืองทางตอนใต้ของเวียดนาม นับว่าเป็นก้าวสำคัญของบริษัท Intel อย่างมาก นอกจากนี้ Intel ยังลงทุนราว 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับมหาวิยาลัย 8 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในนครโฮจิมินห์ ขณะที่ ทำงานร่วมกับนักศึกษาหญิงกว่า 700 คน ด้วยการวางรางฐานให้กับธุรกิจในการพัฒนาโรงงานประกอบและทดสอบที่ใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมกับสร้างแรงงานทักษะสูงอีก 5,000 ตำแหน่ง

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/intel-keen-to-expand-investment-in-vietnam-417806.vov

ดัชนี CPI เวียดนาม อาจอยู่ภายใต้การควบคุม ปี 2563

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เชื่อว่าสามารถควบคุมดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในปี 2563 ให้ต่ำอยู่ที่ระดับร้อยละ 4 โดยการชยายตัวของ CPI นั้นอยู่ในทิศทางที่ชะลอตัว ถึงแม้ว่าในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ส่งผลให้ CPI ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.07 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่ ราคาสินค้าสำคัญ อาทิ อาหาร ผลไม้และผัก โดยเฉพาะเนื้อหมู ล้วนแต่ส่งผลให้ดัชนี CPI เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันยังคงไม่สามารถคาดการณ์ได้ เนื่องจากส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับตลาดโลก ทั้งนี้ รองผู้อำนวยการสถาบันเศรษฐกิจและการเงิน ระบุว่าความต้องการเชื้อเพลิงจะไม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคตข้างหน้า ราคาน้ำมันดิบคาดว่าอยู่ในระดับ 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลและไม่น่าผลักดันดันชี CPI สูงขึ้นในทันที นอกจากนี้ รัฐบาลขอให้กระทรวงการคลังและธนาคารกลางเวียดนาม ดำเนินใช้นโยบายการเงินและการคลัง เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาค โดยให้ความสำคัญกับการควบคุมอัตราเงินเฟ้อและขจัดอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงเร่งการเบิกจ่ายสำหรับการลงทุนสาธารณะ

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-cpi-may-be-kept-under-control-in-2020-23851.html

เมียนมาได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากต่างประเทศมากขึ้นเพื่อต่อสู้กับ COVID-19

ญี่ปุ่นให้เงินช่วยเหลือฉุกเฉิน 45,000 ล้านเยนเพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจของเมียนมาร์จากวิกฤติ COVID-19 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่นได้ขยายการช่วยเหลือทางการเงินระหว่างการพบปะกับที่ปรึกษาแห่งรัฐนางอองซานซูจีที่เมืองเนปยีดอในวันที่ 24 สิงหาคม 63 ซึ่งจะประกอบด้วยงบประมาณช่วยเหลือฉุกเฉิน 30 พันล้านเยน และความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) อีก 1.5 หมื่นล้านเยนเพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ทั้งสองฝ่ายยังหารือถึงแผนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในเมียนมาและรักษาช่องทางที่ชัดเจนสำหรับการลงทุนของญี่ปุ่น จนถึงขณะนี้ญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค ด้านการแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ มูลค่า 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐแก่เมียนมา การช่วงเหลือเพิ่มเติมเกิดขึ้นไม่นานหลังได้รับเงินกู้ 80 พันล้านจัตภายใต้โครงการริเริ่มระงับการให้บริการหนี้ (DSSI) ที่รับรองโดยธนาคารโลกและประเทศภายใต้ G20 DSSI ได้รับการรับรองในเดือนเมษายน 63 เพื่อตอบสนองต่อการเรียกร้องของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ให้ระงับการชำระหนี้แก่ประเทศที่ยากจนที่สุดเพื่อช่วยจัดการผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 จนถึงขณะนี้เมียนมายังได้รับเงินครึ่งหนึ่งของกองทุนมูลค่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่ IMF จัดหาให้ในเดือนกรกฎาคม 63 เพื่อสนับสนุนเด้านศรษฐกิจส่วนที่เหลือจะได้รับในปีงบประมาณที่จะถึงนี้ นอกจากนี้รัฐบาลยังสามารถระดมทุนจากธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจก้าวไปข้างหน้า คาดการณ์ว่างบประมาณที่ใช้ไปจะขาดดุลงบประมาณที่ร้อยละ 5.41 ของ GDP ในปีนี้

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-receives-more-overseas-financial-support-combat-covid-19.html

จีนเตรียมจัดจ่ายวัคซีน COVID -19 ให้ประเทศในลุ่มน้ำโขงเมื่อพัฒนาสมบูรณ์

นายหลี่เค่อเฉียงนายกรัฐมนตรีจีนเข้าร่วมการประชุมความร่วมมือล้านช้าง – แม่โขง (LMC) ครั้งที่สามผ่านลิงก์วิดีโอซึ่งตามรายงานในซินหัว นายกรัฐมนตรีจีนกล่าวว่า “จีนจะให้ความสำคัญกับการเข้าถึงประเทศในลุ่มน้ำโขงเพื่อจัดหาวัคซีน COVID-19 เมื่อพัฒนาจนสมบูรณ์แบบ” จีนตั้งใจที่จะจัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในสปป.ลาว ภายใต้กรอบของกองทุนพิเศษ LMC และจะจัดหาวัสดุป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19 รวมถึงการสนับสนุนมาตราฐานทางการแพทย์ที่ดีขึ้น ในที่ประชุมยังได้มีการเสนอแนวทางการร่วมมือด้านอื่นๆ ที่จะเป็นผลดีต่อประเทศในกลุ่มแม่น้ำโขลง ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งปันข้อมูลอุทกวิทยาของแม่น้ำโขลงรวมถึงการค้าและการท่องเที่ยว ในส่วนของสปป.ลาวเองยังคงได้รับสนับสนุนในการขยายเส้นทางรถไฟสปป.ลาว-จีนที่จะเชื่อมต่อมายังจีนและไทยได้ เป็นส่วนช่วยในการส่งเสริมความเชื่อมโยงในภูมิภาคและจะเป็นเส้นทางที่สำคัญด้านการค้าและการท่องเที่ยวต่อไปในอนาคต

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/08/26/china-to-provide-mekong-countries-with-covid-19-vaccine/

กัมพูชาวางมาตรการฟื้นฟูการท่องเที่ยวร่วมกับไทย

คณะทำงานด้านการท่องเที่ยวของกัมพูชา – ไทย ได้หารือเกี่ยวกับการหาแนวทางแก้ไขและดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศ โดยคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวของกัมพูชานำโดยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาการท่องเที่ยวและความร่วมมือระหว่างประเทศของกระทรวงการท่องเที่ยว ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พบปะกันผ่านการประชุมทางไกล โดยแบ่งปันประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 และผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว ซึ่งกัมพูชาและไทยได้วางกลยุทธ์ในกิจกรรมช่วยเหลือและแผนในอนาคตซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ “mitigation phase”, “early recovery” และ “post-COVID-19 crises recovery plan” โดยทำการกำหนดจังหวัดนำร่องโครงการเพื่อจัดเตรียมแพ็คเกจทัวร์ และเตรียมการต้อนรับ การจัดการที่ดี ภายใต้ความเหมาะสมและปลอดภัย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50756873/measures-to-restore-regional-tourism/

โครงการลงทุนในกัมพูชามูลค่าราว 60 ล้านดอลลาร์ ได้รับอนุญาต

สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ไฟเขียวโครงการลงทุนใหม่ 5 โครงการ ด้วยเงินลงทุนรวมราว 58 ล้านดอลลาร์ โดยคาดว่าโครงการที่ได้รับอนุมัติใหม่จะสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นได้ประมาณ 800 ตำแหน่ง ซึ่งโครงการทั้ง 5 นี้ครอบคลุมถึงการผลิตไอศกรีม กล่องกระดาษ ท่อน้ำทุกชนิด แว่นสายตา และการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ โดยโครงการเป็นของ บริษัท Tokyo Happy Ice Cream Co. , Ltd. , Rong Xing Paper Industrial Co. , Ltd. , K&K Pipe (Cambodia) Co. , Ltd. , Cam-Icare Co. , Ltd. และ Ray Power Supply Co. , Ltd. ซึ่งโรงงานจะตั้งอยู่ในเขตเมืองหลวงพนมเปญ จังหวัดกัมปงสปือ พระสีหนุ และบันเตียเมียนเจย โดยการลงทุนดังกล่าวท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติในเสถียรภาพเศรษฐกิจมหภาค การเมือง และสังคมของกัมพูชา แม้ว่าจะถูกคุกคามจากการระบาด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50756987/five-more-investment-projects-worth-60-million-licensed/

อาเซียนจ่อลงนามข้อตกลงยานยนต์-วัสดุก่อสร้างในปีนี้

รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนไฟเขียวลงนามข้อตกลงยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และวัสดุก่อสร้างในปีนี้ คาดส่งผลดีต่อการส่งออกไทยแน่ เหตุสินค้าที่ผ่านการตรวจสอบแล้วไม่ต้องตรวจซ้ำอีก เผยยังบรรลุข้อตกลงด้านยาแผนโบราณ-ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารให้มีมาตรฐานเดียวกัน พร้อมย้ำเปิดใช้งานระบบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า 20 ก.ย.นี้ และจับมือภาคเอกชนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 นายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 52 ผ่านระบบทางไกล ระหว่างวันที่ 24-25 ส.ค. 2563 ที่ผ่านมาว่าอาเซียนสามารถบรรลุผลการเจรจาข้อตกลงยอมรับร่วมสินค้ายานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวัสดุก่อสร้าง โดยพร้อมที่จะลงนามภายในปีนี้ ซึ่งหากข้อตกลงทั้งสองฉบับมีผลใช้บังคับจะช่วยลดต้นทุนการทำธุรกิจของอุตสาหกรรมดังกล่าว เนื่องจากเมื่อสินค้าผ่านการตรวจสอบมาตรฐานของหน่วยงานในประเทศอาเซียนที่ส่งออกแล้ว ไม่ต้องตรวจซ้ำในประเทศอาเซียนที่นำเข้าอีก ทั้งนี้ ในปี 2562 ไทยส่งออกสินค้ายานยนต์ไปยังอาเซียน มูลค่า 5,071.19 ล้านเหรียญสหรัฐ และส่งออกสินค้าวัสดุก่อสร้างไปยังอาเซียน มูลค่า 473.17 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9630000087542