เยอรมนีสนับสนุนเงินมูลค่า 13 ล้านยูโรสำหรับสองโครงการในสปป.ลาว

เยอรมนีจะมอบเงิน 13 ล้านยูโรสำหรับระยะที่สามของโครงการพัฒนาชนบท (RDP) และโครงการจัดการที่ดินสำหรับลาว (LMPL) เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของรัฐบาลในการเชื่อมต่อถนนและเร่งการจำแนกที่ดินทั่วประเทศผ่านระบบที่เป็นหนึ่งเดียวภายในปี 2568 KfW ในนามของรัฐบาลเยอรมัน กำลังสนับสนุนลาวในการส่งเสริมการพัฒนาชนบท โดยมุ่งเน้นที่การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในชนบทและการปกป้องสิ่งแวดล้อม โครงการจะดำเนินการโดยกรมทางหลวงในสังกัดกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง (MPWT) มุ่งเป้าไปที่การซ่อมแซมและปรับปรุงถนนในชนบท สะพานที่เกี่ยวข้อง และโครงสร้างพื้นฐานในชนบทอื่นๆ ในหัวพัน โครงการ LMPL ใหม่จะดำเนินการในสี่จังหวัด ได้แก่ เชียงขวาง หัวพัน อุดมไซ และไซยะบุรี ในปี 2565 และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ซึ่งจะมีการดำเนินหลายโครงการ ได้แก่ การสร้างขีดความสามารถการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และการจัดหาอุปกรณ์สำหรับที่ทำการราชการในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ นอกจากนี้รัฐบาลจะพยายามสนับสนุนการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดิน เพื่อช่วยรับประกันความมั่นคงในการครอบครองที่ดิน และอำนวยความสะดวกให้เกษตรกรในการลงทุนในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มผลิตภาพทางการเกษตรและส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น ปัจจุบันลาวกำลังขยายโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะเครือข่ายถนน เพื่อปรับปรุงการเชื่อมต่อจากหมู่บ้านในชนบทและห่างไกลไปยังเมืองต่างๆ และเพื่อสร้างการเข้าถึงบริการสาธารณะและโอกาสทางการค้าที่ดีขึ้นสำหรับการสร้างรายได้

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten122_Germany_y22.php

“เวียดนาม” ขึ้นแท่นเป็นจุดหมายปลายทางของบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก

เวียดนามก้าวขึ้นเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งของโลก สาเหตุสำคัญมาจากการหยุดชะงักของกิจกรรมการผลิตจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศจีน ทำให้กิจการต้องย้ายสายการผลิตส่วนหนึ่งออกจากประเทศ ทั้งนี้ จากสำนักข่าว  Nikkei Asia ระบุว่าถือเป็นครั้งแรกของบริษัทแอปเปิล (Apple) ที่ย้ายสายการผลิต iPad บางส่วนออกจากจีนและย้ายไปยังเวียดนาม สาเหตุหลักที่แอปเปิลจะย้ายฐานการผลิตมายังเวียดนาม อันเนื่องมาจากค่าจ้างแรงงานที่สูงในจีนและการแข่งขันทางการค้าอย่างดุเดือดระหว่างสหรัฐฯ-จีน อีกทั้ง ตามข้อมูลของสำนักข่าวเยอรมัน (DW) ชี้ว่าบริษัทต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์กำลังจะเข้ามาลงทุนในเวียดนาม และในเดือนกุมภาพันธ์ บริษัทยักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้อย่างซัมซุง (Samsung) ประกาศว่าจะเพิ่มเงินลงทุนอีก 920 ล้านเหรียญสหรัฐในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/11626602-vietnam-considered-promising-destination-for-world%E2%80%99s-big-names.html

“เวียดนาม” เผยการใช้จ่ายไร้เงินสดยังคงคึกคัก หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19

จากการสำรวจของวีซ่า (Visa) ผู้ให้บริการด้านการชำระเงินระดับโลก เปิดเผยว่าผู้บริโภคชาวเวียดนามส่วนใหญ่ 65% ถือเงินสดในกระเป๋าน้อยลง และ 1 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างหยุดใช้เงินสด หลังจากแพร่ระบาด ในขณะที่อีก 76% ผู้บริโภคใช้กระเป๋าเงินดิจิทัลและมากกว่านั้น (82%) หันมาใช้บัตร ทั้งนี้ วีซ่า ชี้ให้เห็นถึงข้อมูลว่าการซื้อของออนไลน์และการชำระเงินที่หลากหลายยังคงในกิจกรรมของผู้คนหลังการแพร่ระบาดของเชื้อโรค อีกทั้ง ผู้บริโภค 9 ใน 10 คน หันมาใช้บริการจัดส่งถึงบ้านและเกือบทั้งหมดใช้บริการรูปแบบนี้บ่อยกว่าช่วงที่จะเกิดการแพร่ระบาด ประกอบกับผู้บริโภคส่วนใหญ่มากกว่า 80% นิยมใช้บัตรและการชำระเงินด้วย QR ในขณะที่ใช้กระเป๋าเงินดิจิทัลอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

ที่มา : https://www.thesundaily.my/home/vietnam-cashless-payments-still-booming-post-pandemic-HG9383768

ราคาพริกแห้งเมียนมา พุ่ง! 7,500 จัตต่อ viss

ราคาพริกแห้ง (พันธุ์ Shankyun และ Moe Htaung) ขยับสูงขึ้นเป็น 7,500 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) ซึ่งราคาเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2565 อยู่ที่ 4,500 จัตต่อ viss แต่อีก 3 สัปดาห์ต่อมาพุ่งขึ้นเป็น 7,500 จัตต่อ viss เนื่องจากความต้องจากไทยที่มีมากขึ้นและผลผลิตในประเทศลดน้อยลง อีกทั้งพริกจากอินเดียไม่สามารถส่งออกไปยังไทยได้ เนื่องจากเกิดฝนตกหนักและผลผลิตตกต่ำ ดังนั้นจึงหันมาซื้อพริกจากเมียนมาแทน นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตที่สูง เช่น ปุ๋ย น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องจักรการเกษตร เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ราคาสูงขึ้นเช่นกัน คาดว่าราคาพริกจะยังคงอยู่ในระดับสูงจากความต้องการพริกที่ยังมีอย่างต่อเนื่อง โดยพริกของเมียนมาส่วนใหญ่ส่งออกไปยังไทยและจีนผ่านทางชายแดน ในขณะที่การส่งออกทางทะเลจะเป็นของเวียดนาม ทั้งนี้พริกส่วนใหญ่ในประเทศจะนิยมปลูกในเขตอิรวดี มัณฑะเลย์ มะกเวและรัฐฉาน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/dried-chilli-pepper-price-rallies-to-k7500-per-viss/

บริษัทท่องเที่ยวในกัมพูชาหยุดชะงักไปเกือบ 1,200 แห่ง จากผลกระทบโควิด-19

กระทรวงท่องเที่ยวกัมพูชา ระบุว่า สถานประกอบการในอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยวกว่า 1,196 แห่ง ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดย 498 แห่งจำต้องปิดตัวลง และอีกกว่า 698 แห่ง ถูกระงับการดำเนินกิจการลง ส่งผลให้แรงงานในอุตสาหกรรมกว่า 21,998 ตำแหน่ง ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการหยุดชะงักของกิจการ ซึ่งหลังจากสถานการเริ่มกลับมาดีขึ้นสถานประกอบการด้านการท่องเที่ยวโดยเฉพาะโรงแรมและเกสต์เฮ้าส์ ได้เริ่มติดต่อและเรียกพนักงานเก่ากลับมาทำงานอีกครั้ง ด้าน Song Tong Hap รัฐมนตรีต่างประเทศของกระทรวงการท่องเที่ยว กล่าวว่า สถานประกอบการด้านการท่องเที่ยวสามารถยื่นขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมในโครงการค้ำประกันเครดิตโดยรัฐบาลผ่านทาง Credit Guarantee Corporation of Cambodia (CGCC) โดยมีวงเงินกู้สูงสุดที่ 400,000 ดอลลาร์ ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.5 ต่อปี โดยคาดว่าโครงการนี้จะช่วยให้สถานประกอบการด้านการท่องเที่ยวกลับมาดำเนินการอีกครั้ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501101471/covid-impact-1200-tourism-firms-closed-22000-jobs-lost/

รัฐบาลกัมพูชาออกมาตรการควบคุมราคาอาหารหลังพุ่งสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชาได้ออกมาตรการและติดตามราคาอาหารอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการขึ้นราคาและหลีกเลี่ยงแรงกดดันต่อผู้บริโภคภายในประเทศ ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปพุ่งสูงขึ้นทั่วโลก เนื่องจากผลกระทบของราคาน้ำมันที่เป็นผลมาจากสงครามระหว่าง รัสเซีย-ยูเครน ทางด้าน Pen Sovicheat โฆษกกระทรวงฯ กล่าวว่า มีการติดตามราคาสินค้าในตลาดมากกว่า 50 รายการ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคประจำวัน เช่น เนื้อหมู ปลา ไก่ ไข่ ผัก และข้าว เพื่อให้แน่ใจว่าราคาจะไม่สูงขึ้น ซึ่งปัจจุบันระดับเงินเฟ้อของกัมพูชาในกลุ่มอาหารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแต่ยังคงต่ำกว่าร้อยละ 10 ของระดับความเสี่ยง ในขณะเดียวกันรัฐบาลกัมพูชาคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตมากกว่าร้อยละ 5 ในปี 2022

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501101472/measures-to-keep-price-rise-under-control-ministry/

ดอกเบี้ยขาขึ้นระเบิดหนี้ครัวเรือน เกียรตินาคิน ห่วงกลุ่มรายได้น้อย จี้ปฏิรูปโครงสร้างศก.

รายงานข่าวจากฝ่ายวิจัยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP Research) เปิดเผยรายงานคาดการณ์ดอกเบี้ยขาขึ้น อาจจุดชนวนระเบิดหนี้ครัวเรือนที่เป็นปัญหาใหญ่ของไทย โดยกลุ่มที่มีความน่ากังวลมาก คือ หนี้ภาคครัวเรือนที่ปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นเกิน 90% ของจีดีพี และสูงเป็นลำดับที่ 11 ของโลก ซึ่งเกิดจากการมีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย โดยเฉพาะครัวเรือนรายได้น้อยที่สุด 20% มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท ขณะที่ค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ 12,000 บาท และมีความจำเป็นต้องกู้ยืมเงินเพื่อบริโภค นอกจากนี้อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจรุนแรงและหนักกว่าประเทศอื่น เนื่องจากไทยมีความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งสูงที่สุด ทั้งนี้ได้เสนอแนะเร่งปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจผ่าน 2 แนวทาง คือ 1.การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจให้แข่งขันและเติบโตได้ในระยะยาว และนโยบายการเงินต้องไม่สนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตด้วยหนี้ 2.การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อนำเศรษฐกิจเข้าสู่กระบวนการของการลดภาระหนี้สินในระบบ ต้องระวังไม่ให้เร็วเกินไปและนำไปสู่ภาวะวิกฤต

ที่มา: https://www.matichon.co.th/economy/news_3422735