ออสเตรเลียขยายเทคโนโลยีการจัดการน้ำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รัฐบาลออสเตรเลียกำลังลงทุนด้านเทคโนโลยีมากขึ้นเพื่อปกป้องปลาและส่งเสริมสุขภาพแม่น้ำและความมั่นคงด้านอาหารเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของสภาพอากาศทั่วทั้งภูมิภาคแม่น้ำโขง เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รองเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำลาว นายแดน เฮลดอน ได้ประกาศขยายความร่วมมือระหว่างออสเตรเลียกับรัฐบาลลาวในเรื่องทางเดินปลาในโครงสร้างการจัดการน้ำ หรือเรียกว่า “บันไดปลา” ซึ่งสร้างขึ้นรอบๆ สิ่งกีดขวาง เช่น เขื่อนชลประทานและฝาย เพื่อให้ปลาสามารถอพยพขึ้นและลงทางน้ำได้ไม่จำกัดเพื่อเข้าถึงแหล่งอาหาร จุดเพาะพันธุ์ และอื่นๆ การลงทุนดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของออสเตรเลียในการสร้างความร่วมมือด้านการพัฒนาที่เข้มแข็งกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคผ่านโครงการหุ้นส่วนแม่น้ำโขง-ออสเตรเลีย – น้ำ พลังงาน และสภาพภูมิอากาศ โปรแกรมนี้สนับสนุนประเทศในลุ่มน้ำโขง รวมทั้งลาว เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางน้ำ ส่งเสริมพลังงานสะอาด และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การผลิตปลามีความสำคัญต่อความมั่นคงด้านอาหารและรายได้ของครัวเรือนจำนวนมาก ดังนั้น การปกป้องพันธุ์ปลาจึงมีความสำคัญต่อผู้คน สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2022_Over110.php

“เวียดนาม” พุ่งขึ้น 5 อันดับ รั้งอันดับ 54 ระบบนิเวศทางสตาร์ทอัพโลก

“StartupBlink” ศูนย์กลางข้อมูลด้านระบบนิเวศนวัตกรรม เผยแพร่ดัชนีระบบนิเวศทางสตาร์ทอัพโลก (Global Startup Ecosystem Index) จัดอันดับระบบนิเวศแบบครบวงจรทางสตาร์ทอัพ 100 ประเทศทั่วโลก พบว่าในปีนี้เวียดนามกระโดดขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 54 ของโลก และเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 6 มาอยู่ที่อันดับที่ 5 ในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงอยู่ในอันดับที่จะแซงไทยได้ในปีหน้า (อันดับ 4) หากยังคงอยู่ในทิศทางที่เป็นบวก ทั้งนี้ เมืองโฮจิมินห์อยู่ในอันดับต้นๆ ของเมืองที่มีระบบนิเวศสตาร์ทอัพที่ดีที่สุดของโลก กระโดดขึ้นจากอันดับที่ 68 สู่อันดับที่ 111 แสดงให้เห็นถึงผลการดาเนินงานในปีที่แล้วที่มีทิศทางที่เป็นบวกและมีสัญญาว่าจะเติบโตดีขึ้น อย่างไรก็ตามการที่จะเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคและระดับโลกอย่างแท้จริง เวียดนามจะต้องสร้างนวัตกรรมที่มีผลกระทบในระดับภูมิภาคหรือระดับโลกได้

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-jumped-five-spots-to-rank-54-in-the-top-global-startup-ecosystems-2029383.html

“IMF” มองเวียดนามกลายเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับที่ 5 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) พบว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนามในปี 2564 อยู่ที่ 368 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เวียดนามกลายเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจัดอยู่ในอันดับที่ 41 ของโลก โดยสหรัฐอเมริกายังเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด มีมูลค่า 22,940 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาจีน 16,863 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ รายได้ต่อหัวของคนเวียดนาม อยู่ที่ 3,743 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน นอกจากนี้ เมื่อพิจารณารายได้ต่อหัวของคนทั่วโลก พบว่าอันดับ 1 คือ ลักเซมเบิร์ก มี GDP ต่อหัวมากที่สุดในโลก อยู่ที่ 131,302 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน รองลงมาไอร์แลนด์ ($102,394) และสวิตเซอร์แลนด์ ($93,515) เป็นต้น ในขณะที่ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่าสิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 1 ของรายได้ต่อหัวมากที่สุด อยู่ที่ 66,263 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน รองลงมาคือบรูไน ($33,979), มาเลเซีย ($11,125), ไทย ($7,809) และอินโดนีเซีย ($4,225)

ที่มา : https://en.dangcongsan.vn/daily-hot-news/vietnam-becomes-fifth-largest-economy-in-southeast-asia-imf-598783.html

กัมพูชาส่งออกยางพาราเพิ่มขึ้น 3% ในช่วง 5 เดือนแรกของปี

กัมพูชาส่งออกเนื้อยางแห้ง 105,048 ตัน ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2022 เพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่ากว่า 168 ล้านดอลลาร์ ลดลง 1.7% จาก 171 ล้านดอลลาร์ รายงานโดยผู้อำนวยการ General Directorate of Rubber ซึ่งปัจจุบันยางแห้ง 1 ตัน มีราคาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1,604 ดอลลาร์ ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วประมาณ 71 ดอลลาร์ โดยกัมพูชาได้ทำการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางไปยังประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ และจีนเป็นหลัก ในแง่ของการเพาะปลูกกัมพูชาได้ปลูกต้นยางบนพื้นที่ทั้งหมด 404,044 เฮกตาร์ ซึ่งต้นยาง 77% ของพื้นที่เพาะปลูกมีอายุที่สามารถเก็บเกี่ยวได้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501092229/cambodias-rubber-export-up-3-pct-in-first-5-months-of-2022/

อิชิตัน วางแผนขยายธุรกิจน้ำอัดลมในกัมพูชา

บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและผู้ทำการตลาดชาเขียวพร้อมดื่มแบรนด์อิชิตัน วางแผนขยายธุรกิจเครื่องดื่มน้ำอัดลม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในกลุ่มประเทศต่างๆ เช่น กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม ด้าน ตัน ภาสกรนที ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท กล่าวว่า บริษัทพร้อมที่จะดำเนินการขยายธุรกิจน้ำอัดลมในเดือนนี้ หลังจากก่อนหน้านี้บริษัทได้ชะลอการลงทุนลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด โดยนอกจากการที่อิชิตันจะเริ่มขยายตลาดมายังกัมพูชา ยังได้วางแผนที่จะเป็นผู้ผลิต OEM ให้กับบริษัทเครื่องดื่มอื่นๆ ร่วมด้วย ภายใต้กลยุทธ์ “3N” ซึ่งตั้งเป้าที่จะเพิ่มยอดขายเป็น 10,000 ล้านบาท ภายในสามปี เพิ่มขึ้นจากประมาณ 6.5 พันล้านในปีก่อน โดยกลุ่มลูกค้าในกัมพูชาบริษัทวางแผนที่จะเจาะกลุ่มผู้บริโภค Gen Z เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501091538/ichitan-eyes-expansion-of-fizzy-drinks-in-cambodia/

ไตรมาส 2 ของปีงบฯ 64-65 เงินเฟ้อเมียนมา พุ่งทะลุ 15.05% เพิ่มขึ้น 3.66% จากไตรมาสแรก

สำนักงานสถิติกลางของเมียนมา(Central Statistical Organization) เผย ไตรมาสที่ 2 (เดือนม.ค. ถึง เดือนมี.ค. 2565) ของปีงบประมาณ 2564-2565 (เดือนต.ค.2564-เดือนก.ย.2565) อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของเมียนมาเพิ่มขึ้นเป็น 15.05% จาก 3.66% ในไตรมาสแรก โดยอัตราเงินเฟ้อของไตรมาสแรก อยู่ที่ 11.39% ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยสำหรับช่วง 6 เดือนตั้งแต่เดือนต.ค. 2564 ถึงมี.ค. 2565 คาดว่าจะอยู่ที่ 6.67% จากข้อมูลของธนาคารโลก อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2560-2562 อยู่ที่ 6.4% และ ในสิ้นปี 2563 ลดลงเหลือ 5.2% เนื่องจากราคาไฟฟ้าและอาหารลดลง

ที่มา: https://news-eleven.com/article/232248

‘บิ๊กตู่’พร้อมผลักดันไทย เป็นศูนย์สุขภาพด้านทันตกรรม

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมผลักดันประเทศให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติด้านทันตกรรม (Dental Hub) โดยจะใช้จังหวัดภูเก็ตเป็นพื้นที่นำร่อง เชื่อมั่นสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการแพทย์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ซึ่งนอกจากจะช่วยดึงเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศแล้วยังเพิ่มการจ้างงาน และเชื่อมโยงไปยังธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยการเป็นศูนย์กลางบริการทางการแพทย์ และศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เป็น1 ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ของไทยที่มีศักยภาพ (New S-curve) ได้แก่ 1.กลุ่มหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม 2.อุตสาหกรรมการบิน 3.อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ 4.อุตสาหกรรมดิจิทัล และ 5.อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร

ที่มา: https://www.naewna.com/business/659829

บริษัทเยอรมนีส่วนใหญ่ 93% ขยายกิจการธุรกิจในเวียดนาม

จากการสำรวจของสมาคมหอการค้าต่างประเทศของเยอรมนี (AHKs) เปิดเผยว่าผู้ประกอบการเยอรมนีส่วนใหญ่ 93% ที่ดำเนินธุรกิจในเวียดนาม มองว่ายังคงลงทุนในเวียดนามต่อไป สำหรับประเด็นมุมมองเศรษกิจในอนาคต ผู้ประกอบการเยอรมนีส่วนใหญ่มองว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโตไปในทิศทางที่เป็นบวกใน 12 เดือนข้างหน้า และผู้ตอบมากถึง 46% วางแผนที่จะเพิ่มการจ้างงานในปีหน้า โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้กิจการตัดสินใจที่จะทำการค้าการลงทุนในเวียดนาม ได้แก่ เสียรภาพทางการเมือง ทักษะแรงงาน โครงสร้างพื้นฐาน ด้านการขนส่งและเครือข่ายโลจิสติกส์ นอกจากนี้ เวียดนามมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เนื่องจากเวียดนามมีความได้ปรียบจากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA)

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/nearly-93-of-german-firms-say-will-expand-vietnam-operations/