ปัจจุบัน กัมพูชาฉีดวัคซีนให้กับประชาชนแตะร้อยละ 91 ของเป้าหมาย

กัมพูชาเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับประชาชนแล้วอย่างน้อยร้อยละ 91 ของประชากรทั้งหมด โดย ณ วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา จำนวนผู้ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกทั้งหมดอยู่ที่ 14,563,512 ราย ของประชากรกลุ่มเป้าหมายประมาณ 16 ล้านราย ซึ่งปัจจุบัน จำนวนผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบทั้ง 2 เข็ม เพิ่มขึ้นเป็น 12,846,457 ราย ในขณะที่ผู้ที่ได้รับวัคซีนครั้งที่ 3 เพิ่มขึ้นเกือบ 7 ล้านราย โดยได้มีนโยบายในการเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับเด็กกลุ่มอายุ 3-4 ปี เป็นกลุ่มล่าสุด ซึ่งได้ฉีดไปแล้ว 125,606 ราย จากเป้าหมาย 610,730 หรือสำเร็จไปแล้วร้อยละ 20.57

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501032898/cambodias-vaccination-status-finally-crosses-91-percent-of-total-population-with-14563512-people-vaccinated/

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มต้องการคนงานมากกว่า 5,000 คน

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มต้องการคนงานในโรงงานอย่างน้อย 5,000 คนในปีนี้ ทั้งผู้มีทักษะและไม่มีประสบการณ์ความต้องการที่สำคัญที่สุดคือในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ในขณะที่โรงงานในเขตเวียงจันทน์ก็มีรายงานการขาดแคลนแรงงานเช่นกัน สาเหตุการหนึ่งที่ขาดแคลนเนื่องจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้คนงานตัดเย็บเสื้อผ้าจำนวนมากลดชั่วโมงการทำงานหรือถูกเลิกจ้าง อีกทั้งโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าทั้งหมดในสปป.ลาวได้รับผลกระทบจากความต้องการที่ลดลงและคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าสำคัญอย่าง สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และแคนาดาที่ลดลง ตามรายงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ โครงการผู้บริจาคหลายรายได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือทั้งคนงานและธุรกิจภาคเอกชนในการสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจของพวกเขาขึ้นใหม่ อีกทั้งบรรเทาการหยุดชะงักเพิ่มเติมในห่วงโซ่อุปทาน และให้การสนับสนุนโดยตรงแก่คนงานในภาคตัดเย็บเสื้อผ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้หญิง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Australia_40.php

“เวียดนาม” เผยภาคโลจิสติกส์ได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติ

หนังสือพิมพ์ Lao Dong สื่อทางการเวียดนามอ้างคำพูดจากคุณ Piyush Rathorenoi ผู้จัดการทั่วไปขององค์กร Transworld QBV ICD ประเมินว่าอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของเวียดนามจะเติบโตได้ดีในอนาคต และจะก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางทางด้านโลจิสจิกส์ของโลก ทั้งนี้ CapitaLand Development (CLD) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับคณะกรรมการประชาชนประจำจังหวัดจังหวัดบั๊กซาง เมื่อวันที่ 26 ก.พ. เกี่ยวกับความร่วมมือด้านการลงทุนที่มีมูลค่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในเวียดนาม อีกทั้ง คุณ Ronald Tay ผู้อำนวยการทั่วไปของ CLD Vietnam กล่าวว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นการร่วมมือในการสร้างเครือข่ายซัพพลายเชนในภูมิภาคทางเศรษฐกิจที่สำคัญทางตอนเหนือของประเทศ ซึ่งคาดว่าจะสร้างงานคนในท้องถิ่นกว่า 20,000 คน

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnams-logistics-sector-attracts-more-foreign-investment-inflows-post927212.vov

 

‘เวียดนาม’ เผย CPI เฉลี่ย 2 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัว 1.68%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค หรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) เดือน ก.พ.65 เพิ่มขึ้น 1.42% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 1.68% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) เพิ่มขึ้น 0.67% ถือว่าต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปโดยเฉลี่ย สะท้อนให้เห็นถึงความผันผวนของราคาสินค้าอุปโภคบริโภค สาเหตุสำคัญมาจากราคาอาหารและราคาเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cpi-up-168-percent-in-first-two-months-of-2022/222733.vnp

 

พาณิชย์หารือภาคเอกชน เช็คผลกระทบความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ กล่าวว่าจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์ทำหน้าที่ร่วมกับทุกส่วนราชการของกระทรวงพาณิชย์ ติดตามสถานการณ์ร่วมกับภาคเอกชนโดยใกล้ชิด สำหรับเรื่องราคาน้ำมันที่เป็นห่วงว่าจะพุ่งสูง อาจกระทบภาคการผลิตและราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคในประเทศไทยได้ และเรื่องค่าเงินรูเบิลของรัสเซีย ซึ่งมีความสำคัญต่อการนำเข้าส่งออกของไทย ถือว่ายังไม่เสถียร สำหรับรัสเซียขณะนี้กำลังพิจารณานำเข้าสินค้าจากไทยบางรายการ ต้องดูว่าค่าเงินยังมีความผันผวนมากน้อยแค่ไหน เมื่อค่าเงินรูเบิลมีความเสถียรแล้ว ทุกอย่างจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ โดยในภาพรวมยังไม่กระทบอย่างมีนัยสำคัญ

ที่มา: https://www.naewna.com/business/638530

 

ณ วันที่ 18 ก.พ.65 ค้าต่างประเทศเมียนมาดิ่งฮวบ 11.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ เผย ณ วันที่ 18 ก.พ.65 การค้าภายนอกของเมียนมาร์ ในช่วง 6 เดือนของงบประมาณย่อยปี 2564-2565 (ต.ค.64-มี.ค.65) ลดลงมาอยู่ที่ 11.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 765.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากมูลค่าการค้ารวมที่ก 12.72 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของปีงบประมาณ 2563-2564  ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึง 18 ก.พ. 2565 เมียนมาการส่งออกสินค้า 6.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้าอยู่ที่ 5.85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สาเหตุที่ลดลงอย่างมากเนื่องจากการปิดชายแดนของจีน อย่างไรก็ตาม การค้าทางทะเลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญโดยมีมูลค่ากว่า 1.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา คือ สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ส่วนสินค้านำเข้าจะเป็นสินค้าทุน วัตถุดิบอุตสาหกรรม และสินค้าอุปโภคบริโภค โดยภาคการส่งออกจะพึ่งพาภาคการเกษตรและการผลิตเป็นหลัก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-foreign-trade-tops-11-95-bln-as-of-18-february-2022/#article-title

กัมพูชารั้งอันดับ 3 ด้านการส่งออก ภายใต้ RCEP

กัมพูชารั้งอันดับ 3 ในด้านรายได้ที่เพิ่มขึ้น จากการส่งออกภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีระดับภูมิภาค (RCEP) รายงานโดยธนาคารโลก ซึ่งพิจารณาจากสถานการณ์ทางด้านภาษี มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี และต้นทุนการค้า โดย สปป.ลาว ไทย กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซียได้รับประโยชน์สูงสุด ในแง่ของการเติบโตของการส่งออก รายงานระบุว่ากัมพูชาคาดว่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ซึ่งเวียดนามคาดว่าจะมีการเติบโตสูงสุดที่ร้อยละ 11.4 และญี่ปุ่นที่ร้อยละ 8.9 โดยปัจจุบัน RCEP ถือเป็นข้อตกลงทางการค้าที่มีขนาดใหญ่ครอบคลุม 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน ผนวกกับ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ มีประชากรรวมกันกว่าร้อยละ 30 ของโลก ครองสัดส่วน GDP ถึงร้อยละ 30 ของโลก

ที่มา: https://www.khmertimeskh.com/501032201/cambodia-ranks-3rd-in-real-income-gains-export-growth-under-rcep-trade-pact-world-bank/

การค้าระหว่าง กัมพูชา-จีน แตะ 11.2 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2021

รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของกัมพูชา กล่าวว่า ปริมาณการค้าระหว่างกัมพูชาและจีน สูงถึงเกือบ 11.2 พันล้านดอลลาร์ในปี 2021 เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 38 เมื่อเทียบกับปี 2020 โดยเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน รวมถึงความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค และข้อตกลงการค้าเสรีกัมพูชา-จีน ล้วนเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมภาคการค้าระหว่างกัมพูชาและจีน ซึ่งรัฐมนตรีสรศักดิ์กล่าวหลังจากกัมพูชาและผู้แทนเขตปกครองตนเองกวางซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมการค้า โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มปริมาณการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชา อาทิเช่น ข้าว ข้าวโพด มะม่วง กล้วย และผลิตผลทางการเกษตรอื่นๆ จากกัมพูชา

ที่มา:https://www.khmertimeskh.com/501032375/cambodia-china-trade-volume-reaches-11-2-billion-in-2021/

ออสเตรเลียให้คำมั่นที่จะสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสปป.ลาว

ออสเตรเลียได้ประกาศว่าจะสนับสนุนโครงการ BEQUAL ระยะที่ 2 ซึ่งเป็นโครงการ Basic Education ด้วยงบประมาณประมาณ 28 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียฯในช่วง 4 ปีข้างหน้า ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เข้มแข็งจะช่วยให้มีแรงงานที่มีทักษะและประสิทธิผลมากขึ้น ซึ่งจะทำให้สปป.ลาวทนเพิ่มรายได้ และช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมั่นคง นั่นไม่เพียงแต่ให้ประโยชน์แก่ประเทศของคุณเท่านั้น แต่ยังให้ประโยชน์ทั้งภูมิภาคด้วย ออสเตรเลียขยายเงินทุนสำหรับสถาบันลาว-ออสเตรเลียซึ่งเปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2014 เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม สองขั้นตอนแรกของสถาบันได้มอบทุนการศึกษา Australia Awards มากมาย ทุนการศึกษาระดับชาติของ Laos Australia และการฝึกอบรมและความช่วยเหลือด้านเทคนิคแก่ผู้คนจำนวนมากในประเทศลาว

ที่มา:https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Australia_40.php

เดือนก.พ.65 ค้าชายแดนเมียนมาแตะ 2.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงการต่างประเทศของเมียนมา เผย ณ วันที่ 18 ก.พ.2565 ของปีงบประมาณ 2564-2565 :ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่เดือนต.ค.2564 มีมูลค่าการค้าชายแดนเมียนมา อยู่ที่ 2.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออก 1.94 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 730 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากสถิติพบว่าลดลง 1.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2563-2564 ที่ 4.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมียวดีติดอันดับชายแดนที่มีมูลค่าการค้าสูงสุดที่ 998 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามมาด้วยด่านตีกี 776 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยด่านชายแดนที่ทำการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีนผ่านชายแดน มูเซ ลิวจี กัมปะติ ชินฉ่วยฮ่อ  และเชียงตุง กับประเทศไทยผ่าน ท่าขี้เหล็ก เมียวดี เกาะสอง, ทิกิ มุต่อง และแม่เส้า กับบังคลาเทศผ่านชายแดนซิตเว่ และมองตอ และกับอินเดียผ่านตามู และรีด ตามลำดับ เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์ทางทะเล แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า สินค้าการผลิต ฯลฯ  ส่วนการนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา:  https://www.gnlm.com.mm/myanmars-border-trade-reaches-over-2-67-bln-as-of-18-feb/#article-title