4 เดือนแรกของงบประมาณย่อย เมียนมาส่งออกข้าวไปแล้วกว่า 1 ล้านตัน

รายงานของสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) เผย เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหักมากกว่า 1.07 ล้านตันในช่วง 4 เดือนแรกของงบประมาณย่อยในปีปัจจุบัน (ต.ค. 2564 ถึงมี.ค 2565) โดยส่งออกไป 27 ประเทศมีจีนเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ ซึ่งราคาข้าวขาวคุณภาพต่ำราคาอยู่ที่ประมาณ 330-355 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน โดยราคาส่งออกค่อนข้างต่ำกว่าของไทยและเวียดนาม แต่สูงกว่าราคาตลาดของอินเดียและปากีสถาน ปัจจุบันผู้ค้าข้าวหันไปส่งออกทางทะเลแทน เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้ต้องปิดชายแดน เมียนมาส่งข้าวและข้าวหักไปยังจีน ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน และกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ส่วนการซื้อขายภายในประเทศค่อนข้างซบเซาท่ามกลางผลผลิตที่ออกมาล้นตลาด เมียนมามีรายได้กว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าวในปีงบประมาณ 2562-2563 โดย ณ วันที่ 30 ก.ย.2564 คาดว่าปริมาณข้าวจะอยู่ที่ 2.5 ล้านตัน จะสร้างรายได้ 700.13 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าวและข้าวหัก 1.87 ล้านตันในปีงบประมาณ 2563-2564 (ต.ค.63-ก.ย.64)

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-over-1-mln-mt-of-rice-in-past-four-months/

MADB ขยายเวลาคืนเงินกู้โควิด ออกไปถึงเดือน มี.ค. 65

ธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตรแห่งเมียนมา (MADB) เผย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร ได้ประกาศขยายระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้พิเศษโควิด-19 ออกไปจนถึงสิ้นเดือนมี.คม 2565 จากเดิม ที่ให้ชำระถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2564 ได้ยืดเวลาการชำระออกไปจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 ส่วนสินเชื่อเพื่อทำการเกษตรช่วงฤดูหนาวกำหนดให้ชำระได้จนถึง 31 ม.ค 2564 ให้ขยายไปจนถึงเป็นสิ้นเดือนก.พ. 2565 ดังนั้น MADB จึงได้แจ้งให้เกษตรกรควรติดต่อสาขาที่ได้ทำการกู้สินเชื่อไปแล้ว

ที่มา: https://news-eleven.com/article/225080

สปป.ลาวลดมาตรการกักกันผู้เข้ามาใหม่และผู้อยู่อาศัยที่เดินทางกลับ

ลาวได้ประกาศลดระยะเวลากักกันสำหรับผู้เดินทางเข้าใหม่จาก 14 วันเหลือเพียง 7 วันสำหรับผู้มาเยือนบางประเภท ด้วยอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้นมากในประชากรทั่วโลก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ และระบบการทดสอบที่เร็วขึ้นสิ่งนี้หมายความว่าขณะนี้โลกสามารถรับมือกับ Covid-19 ได้ดีขึ้น ซึ่งเปลี่ยนจากการระบาดใหญ่ไปสู่โรคประจำถิ่น หรือโรคตามฤดูกาลที่คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ ตามประกาศลดมาตรการกักกันลดลงนั้นทำให้ นักลงทุนและนักธุรกิจที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจในประเทศลาว ชาวต่างชาติที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ผู้ใช้แรงงาน ผู้ประกอบการ นักเรียน ต่างประเทศลาว (เชื้อสายลาว) กรุ๊ปทัวร์ที่เดินทางมาถึงเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเปิด Green Travel Zone จะต้องทำการทดสอบ RT-PCR Covid-19 และรอผลภายใน 48 ชั่วโมง ณ สถานที่ที่ได้รับอนุมัติ และจะต้องสวมนาฬิกาข้อมือเป็นเวลาเจ็ดวันต่อไป ทั้งหมดนี้จะเป็นผลดีต่อกิจกรรมเศรษฐกิจของสปป.ลาวทั้งด้านการท่องเที่ยวและอำนวยความสะดวกในการติดต่อธุรกิจของนักลงทุน อีกทั้งในอนาคตอันใกล้นี้ลาวกำลังเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านเกี่ยวกับการเปิดพรมแดนตามประเพณีและจารีตประเพณีอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการขนส่งสินค้า

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos24.php

ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจกัมพูชาเพิ่มสูงขึ้นแตะ 3.9 หมื่นล้านดอลลาร์

แม้ว่าปีที่แล้วกัมพูชาจะเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ปริมาณเงินในระบบ (MS) กลับปรับตัวสูงขึ้นเป็น 3.9 หมื่นล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3 เมื่อเทียบเป็นรายปี ตามรายงานจากธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) โดยเงินสดที่ไม่อยู่ในมือสถาบันรับฝากเงินมีมูลค่า 3.6 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะที่เงินรับฝากประเภทอื่นที่สถาบันรับฝากเงินเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 สู่มูลค่า 7.4 พันล้านดอลลาร์ ส่วนเงินฝากอื่นๆ มีมูลค่าสูงถึง 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501018084/cambodias-money-supply-reaches-39-billion-last-year/

กัมพูชาส่งออกไปยังญี่ปุ่นมูลค่าแตะ 1.752 ล้านดอลลาร์ ในปี 2021

กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังญี่ปุ่นมูลค่าแตะ 1,752 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามข้อมูลจากองค์การการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ระบุว่าปริมาณการค้าระหว่างสองประเทศมีมูลค่าแตะ 2,332 ล้านดอลลาร์ โดยกัมพูชานำเข้าผลิตภัณฑ์จากญี่ปุ่นรวมมูลค่า 580 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 ส่งผลทำให้กัมพูชาเกินดุลการค้ากับญี่ปุ่นอยู่ที่ 1,172 ล้านดอลลาร์ ในปี 2020 ซึ่ง JETRO ขึ้นบัญชีเสื้อผ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าส่งออกสำคัญของกัมพูชาไปยังญี่ปุ่น และเครื่องจักร อิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์ไฮเทคเป็นสินค้านำเข้าหลักของกัมพูชาจากญี่ปุ่น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501018169/cambodias-export-to-japan-nets-1-752-billion-in-2021/

จ.คั้นฮว่า ‘เวียดนาม’ ต้อนรับนักท่องเที่ยวกลุ่มแรก ฉลองวันตรุษจีน

จังหวัดคั้นฮว่า (Khanh Hoa) ประเทศเวียดนามและสายการบิน “เวียดนามแอร์ไลน์” ยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวกลุ่มแรกจากกรุงฮานอยเมื่อวันที่ 1 ก.พ. หรือวันแรกของเทศกาลตรุษจีน หลังจากเที่ยวบิน VN1551 ได้ลงจอดท่าอากาศยานกานซัญ ทั้งนี้ สายการบินดังกล่าวเปิดให้บริการเส้นทางการบินในประเทศที่เชื่อมต่อจังหวัดคั้นฮว่าและกรุงฮานอย เมืองโฮจิมินห์ ดานัง และวินห์ เวียดนามแอร์ไลน์กล่าว พร้อมเสริมว่าสายการบินจะเริ่มต้นเที่ยวบินใหม่ระหว่างจังหวัดกับไฮฟองและฟูก๊วก สายการบินจะเปิดตัวเที่ยวบินไป/กลับจากเมืองคั้ญฮหว่ารวมกว่า 64 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ เนื่องจากได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับรัฐบาลจังหวัดเพื่อนำนักท่องเที่ยวเข้าสู่จังหวัดในช่วงปี 2564-2568

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/khanh-hoa-welcomes-first-tourists-on-first-day-of-lunar-new-year/

การรถไฟฯ ‘เวียดนาม’ แนะส่งเสริมบริการโลจิสติกส์

ในเดือน ก.ค. ปีที่แล้ว การรถไฟเวียดนาม (VNR) ได้เพิ่มการเชื่อมโยงการขนส่งทางรถไฟใหม่จากเวียดนามไปยังเบลเยียม โดยออกเดินทางจากสถานีเยนเวียน (Yen Vien) กรุงฮานอย ไปยังเมืองลีเอเจ้ (Liege) ที่ประเทศเบลเยียม ซึ่งปัจจุบันการรถไฟฯ เวียดนามกำลังเร่งเปิดบริการรถไฟบรรลุสินค้าจากเวียดนาม-จีน-รัสเซีย-ยุโรป-อาเซียน-กลุ่มประเทศแถบเอเชียกลาง เพื่อรองรับการให้บริการโลจิสติกส์อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งนี้ นาย Vu anh Minh หัวหน้าการรถไฟเวียดนาม กล่าวว่าการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ผ่านทางรถไฟ ใช้เวลาราว 18-20 วัน ในขณะที่การขนส่งทางทะเล ใช้เวลาราว 40-45 วัน และได้ตั้งข้อสังเกตว่าสิ่งนี้เป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันสำหรับการขนส่งทางรถไฟ โดยเฉพาะสินค้าที่เหมาะสมกับสภาพการจัดเก็บที่ดีและจัดส่งได้รวดเร็ว ตลอดจนธุรกิจส่วนใหญ่ในปัจจุบันหันมาใช้ตู้คอนเทนเนอร์แทนการขนส่งทางทะเลมากขึ้น อย่างไรก็ดี โครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟในเวียดนามอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมอย่างมาก ทำให้ความสามารถในการขนส่งอยู่ในระดับต่ำ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1141763/vnr-should-seek-ways-to-promote-logistics-services.html

ราคานำเข้าน้ำมันปาล์ม พุ่งพรวด!! ปรับขึ้นอีก 5,000 จัตต่อ viss

สมาคมผู้ค้าน้ำมันพืชเมียนมา เผย ราคาน้ำมันปาล์มขยับขึ้นเป็น 5,000 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ในปัจจุบัน ตามราคานำเข้าที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันอยู่ที่ 1,450 ดอลลาร์ต่อตัน ขณะช่วงต้นเดือนม.ค.65 อยู่ที่เพียง 1,360 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ซึ่งบ่งชี้ว่าเพิ่มขึ้น 90 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตันภายในหนึ่งเดือน ส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มพุ่งพรวดขึ้นเป็น 5,150 จัตต่อ viss โดยธนาคารกลางแห่งเมียนมาขายน้ำมันพืช 77 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับภาคธุรกิจเพื่อจำหน่าย ปัจจุบันราคาขายปลีกน้ำมันอยู่ที่ 4,500 จัตต่อ viss ซึ่งจัดจำหน่ายโดยรถโมบายจากการประสานงานกับสมาคมฯ ทั้งนี้การบริโภคน้ำมันพืชในประเทศอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี เป็นการผลิตน้ำมันประกอบอาหารมีประมาณ 400,000 ตัน เพื่อความพอเพียงในตลาดภายในประเทศจึงจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันปรุงอาหารประมาณ 700,000 ตันต่อปี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/import-price-elevates-palm-oil-price-to-over-k5000-per-viss/#article-title