รถไฟ‘ลาว-จีน’ใกล้เปิดหวูด ไทยวางยุทธศาสตร์รองรับค้าผ่านแดน

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้ร่วมประชุมวางแผนงานและบูรณาการแผนงานของทั้งสองหน่วยงานร่วมกัน เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าจีน – ลาว – ไทย จากรถไฟจีน – ลาว ผ่านสะพานมิตรภาพไทย – ลาว (หนองคาย-เวียงจันทน์) ซึ่งการเปิดให้บริการขบวนรถไฟขนส่งสินค้าข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ถือเป็นความสำเร็จในการเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระบบรางของทั้ง 2 ประเทศเข้าด้วยกัน ซึ่งสอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศในการสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง นอกจากนี้เป็นการรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าข้ามแดนระหว่างไทย-ลาว ที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากการเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูง สปป.ลาว-จีน วันที่ 2 ธ.ค.ปีนี้

ที่มา : https://www.naewna.com/business/614387

‘คมนาคม’ ยื่นข้อเสนอเปิดเที่ยวบินระหว่างประเทศ 15 ประเทศ

เมื่อวันที่ 8 พ.ย. กระทรวงคมนาคมยื่นข้อเสนอถึงนากยรัฐมนตรีเกี่ยวกับการเปิดเที่ยวบินระหว่างประเทศ จำนวน 15 ประเทศทั่วโลก ระยะเวลา 3 เฟส ซึ่งได้กำหนดตลาดเป้าหมาย ประกอบไปด้วยจีน ฮ่อกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย สปป.ลาว กัมพูชา ฝรั่งเศส เยอรมนี รัสเซีย สหราขอาณาจักรและออสเตรเลีย วัตถุประสงค์ของการกลับมาเปิดเที่ยวบินเพื่อที่จะสนับสนุนการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในประเทศ โดยเฟสแรก เริ่มตั้งแต่ไตรมาสแรกของปีหน้า ผู้โดยสารไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากหน่วยงาน ยกเว้นกรณีขาเข้า-ขาออก และเงื่อนไขทางด้านสุขภาพ ส่วนเฟสสอง ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2/65 ผู้โดยสารที่จะเดินทางมายังเวียดนามในเที่ยวบินปกติ หากมีวัคซีนพาสปอร์ตจะไม่ถูกกักตัว ส่วนสุดท้ายเฟสสาม จะเปิดเที่ยวบินระหว่างประเทศตามปกติ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าวขึ้นอยู่กับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และอัตราการฉีดวัคซีนในเวียดนามและทั่วโลก

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/ministry-proposes-resumption-of-intl-flights-to-15-countries-and-territories/214131.vnp

‘เวียดนาม’ เร่งแผนหาเงินทุน 17.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ เหตุพัฒนาสนามบินปี 2030

กระทรวงคมนาคมยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลว่ามีแผนที่จะจัดหาเงินทุน 400 ล้านล้านดอง (17.56 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อพัฒนาสนามบินในปัจจุบันจนถึงปี 2030 โดยจะเริ่มพัฒนาสนามบินที่มีความสำคัญของประเทศ ได้แก่ สนามบินนานาชาติโหน่ยบ่าย, สนามบินนานาชาติเตินเซินเญิ้ตและสนามบินนานาชาติลองแถ่ง นอกจากนี้ ยังมีสนามบินอีก 22 แห่งทั่วประเทศที่จะได้รับการพัฒนาครั้งใหญ่ ในขณะที่สนามบินใหม่อีก 6 แห่งที่อยู่ในช่วงก่อสร้าง มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นท่าอากาศยานที่สามารถรองรับผู้โดยสาร 278 ล้านคนต่อปี ทั้งนี้ เงินทุนหรืองบประมาณดังกล่าว (400 ล้านล้านดอง) คิดเป็น 1 ใน 4 ของงบลงทุนอุตสาหกรรมทั้งหมดปี 2030 ที่มาจากงบประมาณของภาครัฐและแหล่งเงินทุนอื่นๆ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1075541/viet-nam-needs-some-1765b-to-upgrade-airports-by-2030.html

การค้าเมียนมา-บังกลาเทศ ดิ่งลง 2.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณนี้

ข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ เผย การค้าผ่านด่านชายแดนระหว่างเมียนมาและบังกลาเทศ ณ วันที่ 22 ต.ค.64 ในปีงบประมาณย่อย ของปีงบประมาณ 2564-2565 หรือช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างเดือนต.ค. ถึงเดือน มี.ค.64 มีมูลค่า 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 2.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเป็นการส่งออก 1.19 ล้านดอลลาร์ และการนำเข้า 0.01 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเมียนมาส่งออกสินค้าไปยังบังกลาเทศทั้งทางทะเลและทางบก การค้าชายแดนส่วนใหญ่ค้าขายผ่านเมืองซิตต์เวย์และเมืองมองตอ สินค้าที่ซื้อขายระหว่างสองประเทศ ได้แก่ ไม้ไผ่ ขิง ถั่วลิสง กุ้งน้ำเค็มและปลา ลูกพรุนนแห้ง กระเทียม ข้าว ถั่วเขียว ผ้าห่ม ลูกอม แยมลูกพรุน รองเท้า อาหารแช่แข็ง สารเคมี หนัง ผลิตภัณฑ์จากปอกระเจา ยาสูบ พลาสติก ไม้ เสื้อถัก และเครื่องดื่ม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bangladesh-bilateral-trade-drops-by-2-39-mln-this-fy/

พริกเขียวจากมโหย่ติ ได้ราคาสูง

พริกเขียวที่จำหน่ายในตลาดอำเภอมโหย่ติ จังหวัดมะกเว เขตมะกเว ราคาพุ่งสูงขึ้น โดยราคาพุ่งขึ้นเป็น 2,000 จัตต่อ viss (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) จาก 1,200 2,000 จัตต่อ viss ปัจจุบัน รถสามล้อบรรทุกพริกเขียวประมาณ 10 คันกำลังเข้าสู่ตลาดสดในทุกๆ วัน ตอนนี้ราคาพริกเขียวกำลังดีเพราะอยู่ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวจากเมืองมโหย่ติ แต่ในอีกไม่นานผลผลิตจะออกมามากขึ้นบนพื้นที่เพาะปลูกบนภูเขาและเชื่อว่าราคาไม่น่าจะเพิ่มขึ้นอีก พริกจะปลูกในพื้นด้วยระบบปิด หลังจากผ่านไป 15 วัน พริกจะถูกนำไปยังพื้นที่เพาะปลูก และจำเป็นต้องใช้น้ำเข้าในแปลงเพาะปลูกทุกๆ 5 วัน หลังจาก 1 เดือน จึงสามารถเก็บผลผลิตได้

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/green-chilli-from-myothit-township-fetches-high-price/

รัฐบาลสปป.ลาวให้คำมั่นที่จะกระจายแหล่งพลังงานเพื่อลดการนำเข้า

รัฐบาลให้คำมั่นว่าจะกระจายแหล่งพลังงานโดยการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าในฤดูแล้ง การพัฒนาเหล่านี้จะสนับสนุนความพยายามของรัฐบาลในการเพิ่มปริมาณการส่งออกพลังงาน และลดปริมาณการนำเข้าไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน สปป.ลาวมีศักยภาพมหาศาลในการผลิตพลังงานจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำ แสงอาทิตย์ และพลังงานลมเพื่อจำหน่ายให้กับไทย เวียดนาม และกัมพูชา ณ ปี 2020 สปป.ลาวมีแหล่งพลังงาน 82 แหล่ง โดยมีกำลังการผลิตติดตั้งรวมมากกว่า 10,000 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ความท้าทายหลักคือโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่มีศักยภาพประมาณ 1,500 เมกะวัตต์สูญเสียไปโดยโรงไฟฟ้าพลังน้ำในช่วงฤดูฝนที่มีกระแสน้ำไหลสูง แต่ลาวต้องนำเข้าไฟฟ้าจากประเทศไทยมากขึ้นในฤดูแล้ง ราคาที่ EDL จ่ายสำหรับไฟฟ้าที่นำเข้านี้ทำให้มีราคาแพงกว่าไฟฟ้าที่นำเข้าจาก กฟผ. เกือบสองเท่า นี้เป็นสาเหตุสำคัญในการที่สปป.ลาวจำเป็นอย่างยิ่งในการลดการนำเข้าเละเพิ่มผลลิตไฟฟ้าในประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_220_21.php

ภาคเอกชนกัมพูชามองหาโอกาสการส่งออกไปยังออสเตรเลีย

นักธุรกิจรวมถึงผู้ส่งออกในกัมพูชา มองหาโอกาสในการขยายการส่งออกสินค้าไปยังประเทศออสเตรเลีย โดยเฉพาะข้าวสาร ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศออสเตรเลียมาเยือนกัมพูชา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยในปัจจุบันการส่งออกของกัมพูชาไปยังออสเตรเลียและตลาดต่างประเทศอื่นๆ ยังคงเป็นเรื่องยาก จากการคมนาคมขนส่งที่ยังคงเผชิญกับอุปสรรคอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งผู้ส่งออกข้าวของกัมพูชายังได้กล่าวเสริมว่า ขั้นตอนที่แตกต่างกันและการจัดการความปลอดภัยด้านอาหารของประเทศผู้นำเข้าต่างๆ ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกข้าวของกัมพูชาในปัจจุบัน โดยนอกจากความคาดหวังทางด้านการส่งออกแล้วกัมพูชายังคาดหวังด้านการลงทุนจากนักลงทุนออสเตรเลีย ในอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารและอุตสาหกรรมเกษตร เป็นสำคัญ ซึ่งในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรไปยังออสเตรเลียรวม 8,200 ตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50967508/private-sector-optimistic-about-business-with-australia/

รอยัล กรุ๊ป วางแผนพัฒนา SEZ ในเขตจังหวัดเกาะกงของกัมพูชา

รอยัล กรุ๊ป ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทชั้นนำภายในประเทศกัมพูชา ได้วางแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) บนพื้นที่ขนาด 8,631 เฮกตาร์ ในเขตจังหวัดเกาะกง ซึ่งเดิมเป็นที่ดินของรัฐ ผ่านความร่วมมือกับทางกระทรวงสิ่งแวดล้อม รวมถึงกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง และคณะกรรมการจังหวัดเกาะกง ในการร่วมพัฒนาโครงการ SEZ ซึ่งในขณะนี้ รอยัล กรุ๊ป กำลังก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 700mW ในเขตบ่อทุมสาคร บนพื้นที่ 168 เฮกตาร์ โดนปัจจุบัน จังหวัดเกาะกง มีพรมแดนติดกับจังหวัดตราดของประเทศไทย และมีเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) ในเกาะกงอยู่แล้ว 1 แห่ง ที่เป็นของบริษัท L.Y.P Group ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอมนดวลสีมา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50967339/royal-group-granted-over-8000-hectares-of-land-for-sez-development-in-koh-kong-province/