ความต้องการถั่วหัวช้างยังโตต่อเนื่อง หนุนราคาพุ่ง

ราคาถั่วหัวช้างอยู่ในช่วงขาขึ้นเพราะความต้องการในประเทศเพิ่มอย่างต่อเนื่องในเดือนก.ค. เพิ่มเป็น 100,000 จัตต่อถุง จากผลลิตที่ลดลงในปีนี้ ปัจจุบันราคาขยับอยู่ในช่วง 92,000-100,000 จัตต่อถุงขึ้นอยู่กับพันธุ์ ขณะที่เดือนก่อนราคาจะอยู่ที่ 93,000 จัตต่อถุง ราคามักจะผันผวนขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทาน เมื่อทำการขนขึ้นเรือ ราคาก็จะสูงขึ้นด้วย ปีที่ผ่านมาเมียนมาส่งออกถั่วหัวช้างไปยังอินเดีย ปากีสถาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตุรกี และตลาดอื่นๆ ส่วนการเพาปลูกส่วนใหญ่อยู่ในเขตย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ พะโค ซากาย และอิรวดี และเนปิดอว์ โดยมีพื้นที่เพาะปลูกทั่วประเทศประมาณ 890,000 เอเคอร์ จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ระบุ ระหว่างวันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 25 มิ.ย.64 ของปีงบประมาณ 63-64 เมียนมาส่งออกถั่วหัวช้างมากกว่า 23,675 ตันถูกส่งออกไปยังต่างประเทศ สร้างรายได้มากกว่า 13.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – KK/GNLM

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/strong-domestic-demand-drives-chickpea-price-up/

7 เดือนแรกของปีงบฯ 63-54 เมียนมานำเข้ายา 303.53 ล้านดอลลาร์ฯ

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเมียนมา 7 เดือนเรกชองปีงบประมาณ 63-64 (ต.ค.63-เม.ย.64) มูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาอยู่ที่ประมาณ 303.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเมียนมานำเข้ายาและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ร้อยละ 90 จากตลาดต่างประเทศ อินเดียเป็นซัพพลายเออร์หลักสำหรับเมียนมาร์ นอกจากนี้ยังนำเข้าจากบังคลาเทศ จีน เยอรมนี อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม การค้ากลับสู่ภาวะปกติหลังจากการตื่นตระหนกในช่วงการระบาดของโควิด-19 ปัจจุบันมีการนำเข้ายาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ราคาของยาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10 เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น อีกทั้งเครื่องมือทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 มีความจำเป็นอย่างมากท่ามกลางการระบาดที่เพิ่มขึ้น กระทรวงพาณิชย์ได้ตัดระเบียบราชการออกเพื่อนำเข้ายาบางชนิดเข้ามาก่อน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-pharmaceutical-imports-top-303-53-mln-in-seven-months/

เวียดนามกลายเป็นผู้ส่งออกเชื้อเพลิงอัดเม็ดรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก

สมาคมป่าไม้และผลิตภัณฑ์ป่าไม้ของเวียดนาม (VTFPA) รายงานว่าเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Pellet) ของเวียดนามส่วนใหญ่ส่งออกไปยังญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เพื่อผลิตพลังงานความร้อน เชื้อเพลิงดังกล่าวทำมาจากเศษไม้ ขี้เลื่อนและของเสียทางการเกษตร อาทิ แกลบ ชายอ้อยและกาแฟ เป็นต้น โดยยอดการส่งออกเชื้อเพลิงของเวียดนาม พุ่งแตะ 3.2 ล้านตันในปีที่แล้ว จาก 175.5 ตันในปี 65 ด้วยรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้น 15.3 เท่า มูลค่าราว 23 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 56 มาเป็น 351 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 63 ทั้งนี้ เวียดนามมีโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดประมาณ 80 แห่ง ด้วยกำลังการผลิตราว 4.5 ล้านตันต่อปี อีกทั้ง ทางสมาคมมองว่าความต้องการเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดทั่วโลก จะเพิ่มขึ้นประมาณ 250% ในอีก 10 ปีข้างหน้า ปริมาณกว่า 36 ล้านตันในปี 2573

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/988017/viet-nam-now-worlds-second-largest-fuel-pellet-exporter.html

เศรษฐกิจเวียดนามติดอันดับที่ 4 ในอาเซียน

ผู้เชี่ยวชาญของธนาคารแห่งชาติสิงคโปร์ (DBS) กล่าวว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโตราว 6-6.5% ในอีก 10 ปีข้างหน้า หากเวียดนามยังสามารถรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ก็จะแซงหน้าสิงคโปร์ภายในปี 2573 ซึ่งตามข้อมูลเมื่อปีที่แล้ว พบว่าเศรษฐกิจเวียดนามมีมูลค่าอยู่ที่ 343 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับสิงคโปร์ที่มีมูลค่า 337.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมาเลเซีย 336.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เวียดนามติดอยู่ในอันดับที่ 40 ของโลกและอยู่ในอันดับที่ 4 ในกลุ่มอาเซียน ทั้งนี้ แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนัก แต่ว่าเศรษฐกิจของเวียดนามยังคงเติบโตที่ 5.64% และรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้น 28.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-economy-to-rank-fourth-in-asean-experts/204334.vnp

ราคายางพุ่งต่อเนื่อง ทะลุ 900 จัตต่อปอนด์

จากข้อมูลของคลังสินค้า Mawlamyine Commodity Depot ราคายางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 900 จัตต่อปอนด์ ยางธรรมชาติราคาอยู่ที่ 710 จัตต่อปอนด์ ในขณะที่ยางแผ่นรมควัน (RSS) แตะที่ 720 จัตต่อปอนด์ในปลายเดือนมกราคม 64 แต่ปัจจุบันยางธรรมชาติได้เพิ่มสูงขึ้นถึง 930 จัตต่อปอนด์ และ 940 จัตต่อปอนด์สำหรับยางแผ่นรมควัน (RSS) ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่าราคายางสูงขึ้นเนื่องจากการผลิตลดลงในช่วงนอกฤดูท่องเที่ยวในเดือนมิ.ย.- ส.ค.63 นี่คือสาเหตุที่ราคายางมีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงนอกฤดูท่องเที่ยวปีนี้ อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ราคายางสูงขึ้นในปีนี้คือการนำไปผลิตถุงมือยางเพื่อป้องกัน COVID-19 ปัจจุบันความต้องการยางจากจีนและไทยยังมีอย่างต่อเนื่อง ด้านการเพาะปลูกพบว่าในปี 63 รัฐมอญมีพื้นที่เพาะปลูกยางที่ใหญ่ที่สุดโดยสามารถผลิตยางได้กว่า 240 ล้านปอนด์ จากข้อมูลปี 61-62 เมียนมามีพื้นที่สวนยางมากกว่า 1.628 ล้านเอเคอร์ โดยรัฐมอญมีพื้นที่ 497,153 เอเคอร์ รองลงมาคือเขตตะนาวศรี 348,344 เอเคอร์ และรัฐกะเหรี่ยง 270,760 เอเคอร์ โดยการผลิตยางประมาณ 300,000 ตัน ร้อยละ 70 ถูกส่งออกไปจีน และในทุกๆ ปีเมียนมาส่งออกยางดิบกว่า 200,000 ตันสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศมากกว่า 200 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rubber-price-stays-on-rise-hit-over-k900-per-pound/

7 เดือนแรกของปีงบ 63-64 เมียนมาส่งออกเมล็ดงาพุ่ง 287.75 ล้านเดอลลาร์สหรัฐ

กรมศุลกากรเมียนมา เผย 7 เดือนแรก (ตุลาคม-เมษายน) ของปีงบประมาณปัจจุบัน 63-64 ส่งออกเมล็ดงา 287.75 ล้านดอลลาร์ ในวันที่ 8 ก.ค.64 ราคาส่งออกลดลงเหลือ 130,000-148,000 จัตต่อถุง เนื่องจากเงินจัตอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมิ.ย.64 ราคาจะอยู่ที่ 135,000-160,000 จัตต่อถุง ทั้งนี้ เมียนมาส่งออกเมล็ดงานไปต่างประเทศถึงร้อยละ 80 มีจีนเป็นคู่ค้าหลักและกระจายไปตลาดอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สหราชอาณาจักร เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ กรีซ โปแลนด์ กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ส่วนการปลูกงาเขตมะกเวเป็นแหล่งปลูกเมล็ดงารายใหญ่ของประเทศ และยังมีบางส่วนที่เปลูกในเขตมัณฑะเลย์และเขตซะไกง์ สำหรับพืชน้ำมันสำหรับประกอบอาหาร เมล็ดงานมีพื้นที่เพาะปลูกสูงสุด คิดเป็น 51.3% ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด จากสถิติการส่งออกงาของเมียนมา ในปีงบประมาณ 58-59 มีการส่งออกมากกว่า 96,000 ตัน มูลค่า 130 ล้านเดอลลาร์สหรัฐ ปีงบฯ 59-60 อยู่ที่ 100,000 ตัน มูลค่า 145 ล้านเดอลลาร์สหรัฐ ปีงบฯ 60-61 อยู่ที่ 120,000 ตัน มูลค่า ล้านเดอลลาร์สหรัฐ ปีงบฯ 61-62 อยู่ที่ 125,800 ตัน มูลค่า 212.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปีงบฯ 62-63 มีการส่งออกมากกว่า 150,000 ตัน มูลค่า 240 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sesame-seeds-export-tops-us287-75-mln-in-seven-months/

สปป.ลาว ลักเซมเบิร์ก ตอกย้ำความร่วมมือพัฒนา

ราชรัฐลักเซมเบิร์กได้ยืนยันความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในฐานะพันธมิตรที่เชื่อถือได้และยาวนานสำหรับสปป.ลาว โดยลงนามในข้อตกลงใหม่ระยะเวลาห้าปีมูลค่า 1.68 ล้านล้านกีบ (95 ล้านยูโร) โครงการความร่วมมือนี้จะมุ่งเน้นไปที่พื้นที่ที่มีความสำคัญในการพัฒนาเช่นเดียวกับ ICP IV ในปัจจุบัน ได้แก่ สุขภาพและโภชนาการ การพัฒนาท้องถิ่น การฝึกอบรมสายอาชีพ และการส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาลที่ครอบคลุม โดยจะเริ่มต้นพัฒนาในพื้นที่ต้นแบบก่อนได้แก่ แขวงบ่อแก้ว แขวงบริคัมไซ แขวงคำม่วน แขวงเวียงจันทน์ สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 NSEDP (2021-2025)

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Asean131.php

ผู้ส่งออกข้าวกัมพูชาเร่งชิงส่วนแบ่งการตลาดข้าวโลก

ผู้ส่งออกข้าวกัมพูชาเตรียมรับกับความต้องการข้าวในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น จากรายงานขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ที่คาดการณ์ว่าส่วนแบ่งการตลาดข้าวทั่วโลกอย่างในประเทศ อินเดีย ไทย เวียดนาม ปากีสถาน และสหรัฐอเมริกาจะหดตัวลงในช่วง 10 ปีข้างหน้า สวนทางกันกับการคาดการณ์แนวโน้มการค้าธัญพืชทั่วโลกที่จะขยายตัวร้อยละ 21 โดยการส่งออกข้าวคาดว่าจะขยายตัวถึงร้อยละ 35 สู่ 62 ล้านตัน ภายในปี 2030 ซึ่งในปัจจุบันส่วนแบ่งการส่งออกของผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ 5 อันดับแรก ได้แก่ อินเดีย ไทย เวียดนาม ปากีสถาน และสหรัฐอเมริกา ครอบคลุมร้อยละ 74 ของตลาดส่งออกข้าวทั้งหมด โดยการส่งออกข้าวของกัมพูชาลดลงร้อยละ 35 คิดเป็นการส่งออกข้าวสารรวม 233,031 ตัน ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50889686/rice-exporters-set-to-grab-larger-share-of-global-market-report/

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมายังกัมพูชาลดลงกว่าร้อยละ 50 ในช่วง ม.ค.-พ.ค.

กระทรวงเศรษฐกิจและการคลังกัมพูชาเปิดเผยว่าปริมาณการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ลดลงถึงร้อยละ 50 ในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค. เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งโครงการลงทุนในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2021 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 825 ล้านดอลลาร์ คาดสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นจำนวน 30,000 ตำแหน่ง โดยการลดลงอย่างมากเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งกัมพูชากำลังร่างกฎหมายสนับสนุนการลงทุนฉบับใหม่ โดยปัจจุบันอยู่ในวาระการประชุมของคณะรัฐมนตรีที่กำลังจะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 9 ก.ค. นี้ ซึ่งในปี 2020 กัมพูชาได้อนุมัติโครงการลงทุนรวมกว่า 238 โครงการ ทั้งในและนอกเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZs) มูลค่ารวม 8.2 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับผลลัพธ์ 2019

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/889495/fdi-flow-drops-50-percent-jan-may/

อันดับไทย ‘ดิ่ง’ ฟื้นตัวโควิดช้า ‘ต่ำสุดอาเซียน’

หนังสือพิมพ์นิกเคอิจัดทำดัชนีฟื้นตัวจากโควิด-19 ไทยติดอันดับเกือบท้ายตาราง 118 จากกว่า 120 ประเทศและดินแดน ต่ำสุดในอาเซียน โดยดัชนีการฟื้นตัวจากโควิด-19 ที่หนังสือพิมพ์นิกเคอิของญี่ปุ่นจัดทำขึ้น วัดจากกว่า 120 ประเทศ/ดินแดน อันดับสูงหมายถึง ประเทศ/ดินแดนนั้นใกล้ฟื้นตัวเต็มที เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อยืนยันแล้วต่ำ อัตราการฉีดวัคซีนดี และ/หรือมาตรการรักษาระยะห่างเข้มงวดลดลง ซึ่งไทยอยู่ในอันดับ 118 คะแนนรวม 26 คะแนน ต่ำกว่ามาเลเซีย ที่อยู่ในอันดับ 114 คะแนนรวม 29 คะแนน อินโดนีเซีย อันดับ 110 (31 คะแนน) ฟิลิปปินส์ อันดับ 108 (32 คะแนน) เวียดนามและกัมพูชาครองอันดับ 100 ร่วมกัน (34 คะแนน) สปป.ลาว อันดับ 66 (48 คะแนน) โดยสิงคโปร์ทำได้ดีที่สุดในอาเซียนอยู่ที่อันดับ 12 (65 คะแนน) ส่วนที่หนึ่งของตารางตกเป็นของ จีน 76.5 คะแนน ตามด้วย มอลตา (76 คะแนน) อันดับ 3 โปแลนด์ (69 คะแนน) อันดับ 4 อิตาลี (68 คะแนน) อันดับ 5 ออสเตรีย (67.5 คะแนน)

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/947712