กัมพูชากำหนดเข้าร่วมภาคีความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง

ผู้ส่งออกภายในประเทศกัมพูชาคาดจะได้รับการกระตุ้นสำหรับการส่งออกสินค้าที่มากขึ้น ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง (AHKFTA) เนื่องจากกัมพูชามีกำหนดจะเข้าร่วมภาคีความตกลง ตามที่อธิบดีกรมเจรจาการค้าระบุ ซึ่งก่อนหน้านี้กัมพูชาถือเป็นสมาชิกอาเซียนเพียงรายเดียวที่ไม่ได้เข้าร่วมภาคีความข้อตกลงนี้ โดย AHKFTA ได้ริเริ่มเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2017 และบังคับใช้ในเดือนมิถุนายน 2019 สำหรับฮ่องกงและสมาชิกอาเซียนที่ได้เข้าร่วม ซึ่งอธิบดีกรมเจรจาการค้ากล่าวเพิ่มเติมถึงสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับยกตัวอย่างเช่นผู้ส่งออกภายในประเทศไทยได้รับสิทธิประโยชน์มากมายจากสนธิสัญญาดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการค้าสินค้าที่ฮ่องกงได้ยกเว้นภาษีศุลกากรแล้ว ส่งผลให้การขนส่งสินค้าขาออกของไทยไปฮ่องกงเพิ่มขึ้นอย่างมาก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50813620/cambodia-scheduled-to-join-asean-hong-kong-free-trade-agreement/

กัมพูชาร่วมกับสหราชอาณาจักรหารือด้านการลงทุนที่ยั่งยืน

กัมพูชาและสหราชอาณาจักร ได้จัดให้มีการประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับโอกาสการลงทุนที่ยั่งยืนภายในกัมพูชา โดยเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำสหราชอาณาจักรและทูตการค้าของนายกรัฐมนตรีอังกฤษประจำกัมพูชา สปป.ลาว และเวียดนาม ร่วมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าประชุมผ่านทางวีดีโอคอนเฟอร์เร้น ซึ่งในการประชุมดังกล่าวได้พูดถึงการลงทุนที่มีศักยภาพของกัมพูชาในทุกภาคส่วน โดยเน้นว่ารัฐบาลกัมพูชาได้ร่างกฎหมายและกฎระเบียบเกี่ยวกับการลงทุนใหม่ เพื่ออำนวยความสะดวกและดึงดูดนักลงทุนเข้ามาในประเทศมากขึ้น นอกจากนี้ยังเน้นย้ำถึงแนวโน้มเศรษฐกิจของกัมพูชาในปี 2021 และสถานการณ์หลังวิกฤต COVID-19 จากข้อมูลของ CDC ในปี 2020 กัมพูชาได้รับอนุญาตโครงการลงทุน 238 โครงการ ด้วยเงินทุนรวม 8.2 พันล้านดอลลาร์ลดลงร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับปี 2019 ซึ่งในเดือนมกราคมปี 2021 เพียงเดือนเดียวมีการอนุมัติโครงการลงทุนกว่า 20 โครงการมูลค่าลงทุนรวม 621 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50813485/cambodia-uk-discuss-sustainable-investment-opportunity-in-cambodia/

แขวงเซกองจะเปิดจุดผ่านแดนระหว่างประเทศแห่งแรกกับเวียดนาม

แขวงเซกองจะเปิดจุดผ่านแดนระหว่างสปป.ลาว-กับเวียดนามแห่งแรกในเดือนหน้าเพื่อบรรเทาการเคลื่อนย้ายสินค้าและผู้คนระหว่างสองประเทศ นายเลอลักษณ์ ศิวิไล ผู้ว่าราชการแขวงกล่าวว่า   รัฐบาลสปป.ลาวและเวียดนามได้ตกลงที่จะยกระดับจุดผ่านแดน Dakta-ok-Nam Giang ที่มีอยู่ระหว่าง แขวงเซกองชายแดนสปป.ลาวและจังหวัด Quang Nam ชายแดนเวียดนาม จุดผ่านชายแดนดังกล่าวเป็นช่องทางที่สำคัญในการขนส่งสินค้าเพื่อทำการค้าระหว่างสองประเทศรวมถึงการเข้ามาของประชากรของทั้งสองประเทศ การยกระดับจุดผ่านแดนดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการค้าและการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศภายใต้บริบทของสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 โครงการดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการอยู่บรรเทาการค้าของสองประเทศให้ยังคงเติบโตได้อีกครั้ง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Xekong31.php

เวียดนามส่งออกแก้วมังกร 190 ตันไปยังจีน ในวันแรกของตรุษจีน

รถบรรทุกกว่า 10 คันได้บรรทุกแก้วมังกร 190 ตัน ผ่านด่านศุลกากรช่องประตูชายแดนระหว่างประเทศ “Kim Thanh II” ทางตอนเหนือของจังหวัดหล่าวกาย และมุ่งหน้าไปยังจีน เมื่อวันที่ 12 ก.พ. ตรงกับวันแรกจันทรคติ ซึ่งการขนส่งสินค้าดังกล่าวถือว่าเป็นครั้งแรกที่ทำการส่งออกไปยังจีนในช่วงเทศกาลปีใหม่ (ตรุษจีน) เป็นมูลค่า 2.8 พันล้านด่อง หรือประมาณ 121,512 เหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ ในปี 2562 ประตูชายแดนระหว่างประเทศภายใต้ชื่อ “Kim Thanh” ได้สร้างมูลค่าจากการขนส่งสินค้า 1.15 พันล้านเหรียญสหรัฐ รวมไปถึงรายได้จากการส่งออก 606 ล้านเหรียญสหรัฐ และมูลค่าจากการส่งออกแก้วมังกร 337 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ระบุว่าหากเปรียบเทียบกับสินค้าเกษตรอย่าง “ข้าว” แก้วมังกรสร้างกำไรได้มากและเกษตรกรสามารถขยายพื้นที่ของผลไม้ได้กว้างออกไป โดยพื้นที่ดังกล่าวอยู่ที่ประมาณ 57,000 เฮกตาร์ ผลผลิตเกินกว่า 500,000 ตัน

  ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-exports-190-tonnes-of-dragon-fruit-to-china-on-first-lunar-day-28186.html

ปิโตรฯ เวียดนาม เผยลงทุนสำรวจหาแหล่งน้ำมันใหม่ 380 ล้านเหรียญสหรัฐ

บริษัท PetroVietnam Exploration and Production Corporation (PVEP) ได้ลงทุนประมาณ 380 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อทำการสำรวจและปรับปรุงแหล่งน้ำมันแห่งใหม่ในปีนี้ เนื่องมาจากบริษัทต้องเตรียมรับมือกับความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำมันที่มีอยู่ หลังจากนำมาใช้ในการผลิตมาหลายปี รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ดังนั้น ทางบริษัทจึงตัดสินใจทุ่มเงินจำนวนมากให้กับกิจกรรมดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การสำรวจ และการผลิตน้ำมันและก๊าซยังคงมีความเสี่ยง ด้วยเหตุนี้ บริษัท PVEP จะได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข่อง เช่น ปัญหาทางกฎหมายและขั้นตอนการลงทุน เป็นต้น นอกจากนี้ ในปัจจุบัน บริษัทมีโครงการที่ยังคงดำเนินการผลิตอยู่จำนวน 35 โครงการ รวมถึง 29 โครงการมาจากในประเทศและอีก 6 โครงการจากต่างประเทศ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/pvep-to-invest-380-million-usd-in-exploring-exploiting-new-oil-fields/196259.vnp

พิษการเมืองกระทบหนักภาคการเกษตรเมียนมา

การยึดอำนาจของกองทัพในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 64 ส่งผลให้ภาคเกษตรกรรมของประเทศอย่างรุนแรง การส่งออกและโครงการที่วางแผนไว้ถูกระงับ นาย Daw Sandar Myo ประธานสมาคมผู้ประกอบการอะโวคาโดแห่งเมียนมา เผยหลังการหารือการจัดตั้งโรงงานคัดบรรจุอะโวคาโดที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐในรัฐฉานตอนใต้ได้ถูกโต้กลับจากสหรัฐด้วยเช่นกัน ความช่วยเหลือจากนานาชาติหยุดลง ซึ่งรวมถึงความช่วยเหลือจากเดนมาร์ก ทั้งนี้โครงการที่มุ่งเน้นไปที่ MSMEหรือกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย เช่น Responsible Business Fund จะหยุดลงหรือไม่ยังไม่มีความแน่ชัด องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ได้ระงับโครงการการค้าเกษตรอาเซียนและความร่วมมืออื่น ๆ กับเมียนมา การส่งออกผลไม้ก็ได้รับผลกระทบเช่นกันไม่ว่าจะเป็นอะโวคาโดและขิงไปที่ส่งออกไปสหราชอาณาจักรและแตงเมลอนไปยังสหภาพยุโรป แผนการส่งออกแตงโมไปสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ยังไม่เป็นที่ชัดเจนมากนัก สมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกผลไม้ดอกไม้และผักแห่งเมียนมา มีแผนจะขายผลไม้เพื่อการส่งออกในตลาดท้องถิ่น แต่อาจเป็นไปได้ยากเนื่องจากมีผลผลิตจำนวนมาก

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/political-unrest-turns-myanmars-agriculture-sector-sour.html

สุริยะ หนุนสตาร์ทอัพขับเครื่องเศรษฐกิจไทย

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้ความสำคัญกับธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยได้จัดทำโครงการเชื่อมโยงตลาดสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพ ที่สร้างธุรกิจโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน สามารถใช้ทรัพยากรของประเทศในการผลิตสินค้าและบริการ มุ่งเน้นการสร้าง มูลค่าเพิ่ม การจ้างงานในท้องถิ่น และการกระจายรายได้สู่ภูมิภาค เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เศรษฐกิจฐานรากภานในประเทศต่อไป เพื่อเพิ่มขีด ความสามารถในการดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยพัฒนาทักษะการดำเนินธุรกิจ ส่งเสริมการ ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด เชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมสนับสนุนต่าง ๆ ให้เป็นกลไกที่ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม รวมถึงสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการตลาดอย่างเหมาะสม ให้สามารถขยายฐานกิจการทั้งในและ ต่างประเทศได้  ส่วนกลุ่มเป้าหมาย จะเป็นสตาร์ทอัพที่จดทะเบียนพาณิชย์ตามกฎหมายไทย จำนวน 25 กิจการ โดยมีผลิตภัณฑ์หรือบริการ ซึ่งมีนวัตกรรมในรูปแบบธุรกิจที่สามารถทำซ้ำ และขยายตลาด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และเติบโตอย่างก้าวกระโดดได้ มีความต้องการเข้าถึงตลาดและแหล่งเงินทุนจากนักลงทุนร่วมทุน หรือบริษัทร่วมลงทุน  โดยจะมุ่งเน้นในสาขาเป้าหมายเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep technology) ที่สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ได้แก่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI), หุ่นยนต์, นาโนเทคโนโลยี, เทคโนโลยีชีวภาพ, IoT, การจัดการพลังงาน, บล็อกเชน, AR & VR (ความจริงเสมือนและ VR เสมือนจริง)และ Big Data เป็นต้น “สตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการนี้ไม่ต่ำกว่า 70% จะมียอดขายเพิ่มขึ้น มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น และมีเงินลงทุนเพิ่มขึ้น และเติบโตได้จากการที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการเชิงนวัตกรรมที่มีมูลค่าสูง มีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นพร้อมก้าวสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ และยังช่วยลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ”

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/922135