สปป.ลาวขยายเวลาล็อกดาวน์เขตเศรษฐกิจพิเศษหลวงน้ำทา

ขณะนี้การขยายเวลาล็อกดาวน์มีผลบังคับใช้ใน 2 แห่งในสปป.ลาว ได้มีการสั่งปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อเต็นในแขวงหลวงน้ำทาและแขวงบ่อแก้ว ปิดเมืองต้นผึ้งหลังจากทราบว่าชาวจีนที่ติดเชื้อโควิด -19 ทั้งสองคนได้เดินทางผ่าน โดยให้ปิดตัวเป็นระยะเวลา 14 วัน ได้มีการติดตามเจ็ดคนที่มีการติดต่อโดยตรงกับชาวจีนทั้งสองคนและผู้ที่ได้ติดต่อโดยตรงกับทั้งเจ็ดคนเพื่อทดสอบไวรัส และได้รับคำสั่งให้เก็บตัวอย่างจากทุกคนที่มีอาการคล้ายโควิด -19 และทำการทดสอบ นอกจากนี้ยังขอให้ตรวจสอบทุกคนที่เข้ามาในบ่อแก้วหรือหลวงน้ำทาบังคับใช้มาตรการป้องกันและควบคุมโควิด -19 อย่างเคร่งครัด ในเมืองต้นผึ้ง การเดินทางภายในเขตถูกระงั ยกเว้นการเดินทางที่จำเป็น เช่นการไปโรงพยาบาล ไปโรงเรียนและการซื้อของกิน อย่างไรก็ตามการเดินทางดังกล่าวต้องได้รับการอนุมัติจากเจ้าหน้าที่ จากสถานการณ์ดังกล่าวแขวงพงสาลีที่อยู่ใกล้เคียงได้ดำเนินการเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส ระงับบริการขนส่งสาธารณะไปยังหลวงน้ำทา ผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและจะต้องได้รับการกักตัว จนถึงขณะนี้สปป.ลาวมีผู้ติดเชื้อโควิด -19 แล้ว 39 ราย (ไม่รวมชาวจีนสองชาติดังกล่าวข้างต้น) ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Lockdown237.php

MIC อนุมัติลงทุน 5 โครงการรวม City Loft West ของ FMI YOMA

ในการประชุมคณะกรรมการการลงทุนแห่งเมียนมา (MIC) ครั้งที่ 15 (15/2020) มีการอนุมัติการลงทุน 5 โครงการซึ่งรวมถึงโครงการ City Loft West ของ FMI FMI Riverside Development Limited ในการสร้างอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้เช่าและขายภายใต้ City Loft West ซึ่งเป็นโครงการลงทุนที่ลงทุนโดยชาวเมียนมา 100%  สถานที่ตั้งของโครงการตั้งอยู่ใน Hlaing Tharya Township เขตย่างกุ้ง ตั้งอยู่ระหว่างสะพาน Bayint Naung และสะพาน Aung Zeya บนถนน Hlaing River City Loft เป็นโครงการที่อยู่อาศัยระดับกลางโครงการแรกของ FMI Yoma Group ที่เปิดตัวในปี 2019 ใน Star City Thanlyin ปัจจุบัน City Loft เป็นโครงการที่ขายดีที่สุดและได้รับอนุญาตให้สร้างอีกครั้งหนึ่งภายใต้ชื่อ City Loft West ซึ่ง City Loft West ของ FMI YOMA เป็นหนึ่งในรายชื่อที่ได้รับใบอนุญาตการลงทุนที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการการลงทุนแห่งเมียนมา (MIC)

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-investment-commission-approves-five-investments-including-fmi-yomas-city-loft-west

เมียนมาเล็งปั้นท่องเที่ยวเชิงเกษตรแนวคิดใหม่ หวังเพิ่มรายได้เข้าประเทศ

จากข้อมูลของสมาคมผู้ประกอบการการท่องเที่ยวแห่งเมียนมา มีแผนที่จะใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวเชิงเกษตรใน 5 รัฐและทั่วภูมิภาคเพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ โดยการท่องเที่ยวเชิงเกษตรจะเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานหรือกิจกรรมทางการเกษตรซึ่งจะเป็นการพาเยี่ยมชมฟาร์มหรือฟาร์มปศุสัตว์ โดยจะให้ความสำคัญให้กับภูมิภาคย่างกุ้ง พะโค อิรวะดี ตลอดจนรัฐคายาห์ และรัฐชิน การท่องเที่ยวเชิงเกษตรกำลังได้รับการพิจารณาว่าเป็นส่วนเสริมของการดำรงชีวิตของคนส่วนใหญ่ของเมียนมา กระทรวงการโรงแรมและการท่องเที่ยวยังออกแพ็คเกจทัวร์ใหม่เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ซึ่งรวมถึงทัวร์เที่ยวบินเพื่อเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวทางบกตลอดจนการล่องเรือในทะเลและแม่น้ำโดยจะเริ่มเปิดตัวในเดือนนี้ ใบอนุญาตการท่องเที่ยวจะออกโดยการท่องเที่ยวคาดว่าจะเปิดอีกครั้งในต้นปี 2564 ที่ผ่านมาจากการที่สายการบินถูกระงับทำให้การท่องเที่ยวหยุดชะงัก ส่งผลกระทบต่อร้านอาหารร้านค้าและการขนส่งซึ่งได้รับความสูญเสียอย่างมาก รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงกว่า 80% หรือราว 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐนับตั้งแต่เกิดการระบาดของ COVID-19 จากการสำรวจครอบคลุมภาคการท่องเที่ยวร่วมกับภาคธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น สายการบินระหว่างประเทศ การขนส่งภายในประเทศ อาหารและเครื่องดื่ม ที่พักธุรกิจบันเทิงตลอดจนการช็อปปิ้งสินค้าต่างๆ พบว่ารายได้เหล่านี้มีมูลค่ารวม 543 ล้านดอลลาร์สหรัฐเทียบกับ 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2562

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-looks-agritourism-other-novel-ideas-boost-revenue.html

ADB อนุมัติเงินกู้ 70 ล้านดอลลาร์สำหรับภาคการเกษตรของกัมพูชา

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้อนุมัติเงินกู้ราว 70 ล้านดอลลาร์เพื่อปรับปรุงขีดความสามารถของธุรกิจด้านการเกษตรใน 6 จังหวัดทั่วกัมพูชาในการแปรรูปสินค้าเกษตรที่สำคัญ โดยมีสหกรณ์การเกษตรกว่า 230 แห่ง และธุรกิจด้านการเกษตร 50 แห่ง เข้าร่วมโครงการพัฒนาด้านการเกษตร ซึ่ง ADB กล่าวว่าการเกษตรถือเป็นส่วนสำคัญที่สามารถช่วยให้เศรษฐกิจกัมพูชาเติบโตและกระจายความหลากหลายทางเศรษฐกิจได้ หากธุรกิจทางการเกษตรขนาดเล็กและขนาดกลางในท้องถิ่นสามารถปรับปรุงความสามารถในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและทำการตลาดทั้งในและต่างประเทศได้ โดยการลงทุนภาคเอกชนในภาคการเกษตรควบคู่ไปกับการเข้าถึงสินเชื่อและวัตถุดิบคุณภาพสูงจากทางผู้ผลิตจะช่วยให้ธุรกิจการเกษตรของกัมพูชาแสดงถึงศักยภาพในการส่งเสริมการเติบโตของประเทศ รวมถึงสร้างงานและปรับปรุงวิถีชีวิตในชนบท

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50789891/adb-approves-loans-worth-70-million-for-cambodias-agricultur/

รัฐบาลกัมพูชาพร้อมสนับสนุนอุตสาหกรรมข้าวภายในประเทศ

Cambodia Rice Federation (CRF) ได้ให้ความสำคัญกับการที่รัฐบาลให้ความสนใจในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมข้าวส่งผลให้การส่งออกข้าวสารเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งในขณะที่ตัวแทนภาคอุตสาหกรรมข้าวได้เข้าร่วมการประชุมข้าวโลกครั้งที่ 12 ประจำปี 2020 โดยรองประธาน CRF ได้แสดงความขอบคุณต่อรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนผ่านธนาคารเกษตรและพัฒนาชนบท (ARDB) สำหรับภาคอุตสาหกรรมข้าว เช่น การให้เงินกู้อัตราดอกเบี้ยพิเศษให้กับโรงสีข้าวเพื่อซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาและในการพัฒนาในด้านอื่นๆร่วมด้วย นอกจากนี้นโยบายของรัฐบาลยังจูงใจนักลงทุนไม่ว่าจะเป็นการยกเว้นภาษีเพื่อดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมข้าวภายในประเทศ ซึ่ง ณ เดือนพฤศจิกายน 2020 กัมพูชาทำการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 17 ที่ 601,045 ตัน สร้างรายได้กว่า 415 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50789361/crf-highlights-governments-support-for-rice-sector-at-12th-world-rice-conference-2020/

จุรินทร์ ปลื้มราคาปาล์ม-ยางดีขึ้นมาก ช่วยหนุนรายได้เกษตรกร

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า วันนี้เดินทางไปติดตามสถานการณ์ราคายางพารากับปาล์มน้ำมัน รวมทั้งมาตรการประกันรายได้เกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งขณะนี้ถือเป็นข่าวดีที่ราคายางพาราและปาล์มน้ำมันดีขึ้นมากในช่วงระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมา โดยราคาปาล์มเฉลี่ยอยู่ที่ กิโลกรัมละ 6-7 บาท และราคายางพาราเหนือกว่าเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้เกษตรกรชาวภาคใต้และเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศสามารถมีรายได้ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 มีเป้าหมายกิโลกรัมละ 60 บาท แต่วันนี้ขึ้นไปกิโลกรัมละ 60-65 บาท ยางแผ่นรมควันแตะ 70 บาทต่อกิโลกรัม น้ำยางข้น มีเป้าหมายกิโลกรัมละ 57 บาท วันนี้อยู่ที่ 55-56 บาทต่อกิโลกรัม ยางก้อนถ้วยกิโลกรัมละ 22 บาท ทั้งภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ซึ่งถือว่าราคายางอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าปีที่แล้ว ที่ราคายางพาราอยู่ที่กิโลกรัมละ 40 บาท ส่วนปีนี้อยู่ที่กว่า 60 บาทต่อกิโลกรัม อย่างไรก็ตามหากราคาปรับลดลง รัฐบาลก็ยังมีนโยบายประกันรายได้ที่จะเข้าไปชดเชยส่วนต่างที่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 60 บาทสำหรับยางแผ่น และต่ำกว่ากิโลกรัมละ 57 บาทสำหรับน้ำยางข้น และกิโลกรัมละ 23 บาท สำหรับยางก้อนถ้วยชดเชยให้กับเกษตรกร

ที่มา: https://www.ryt9.com/s/iq03/3181861