กัมพูชาการลงนามบันทึกข้อตกลงด้านความปลอดภัยทางอาหาร

กระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง (MAFF) ร่วมกับ TROPICAM Fruits and Vegetables และอีก 4 สมาคมในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับโรงแรม ร้านอาหาร การท่องเที่ยว ได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อส่งเสริมการผลิตผักและผลไม้ที่ปลอดภัย โดยปีที่แล้วกัมพูชามีพื้นที่ปลูกผักและผลไม้ 57,262 เฮกตาร์ทั่วประเทศและผลิตอาหารได้ประมาณ 682,012 ตัน อย่างไรก็ตามความต้องการผักอยู่ที่ 1 ล้านตันต่อปี หรือ 2,500-3,000 ตันต่อวันตามรายงานของ General Directorate of Agriculture (GDA) ณ กระทรวงเกษตร เนื่องจากตอนนี้กัมพูชาไม่สามารถรองรับความต้องการพืชผักภายในประเทษได้ด้วยตนเอง จึงมีการนำเข้าโดยเฉลี่ย 500-1,000 ตันต่อวันเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในท้องถิ่น ซึ่งในขณะนี้ GDA กำลังดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชนเพื่อพัฒนาห่วงโซ่มูลค่าของผักและผลไม้ปลอดสารพิษภายใต้ข้อตกลงของภาครัฐ ภาคเอกชนและผู้ผลิต เพื่อการส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้าร่วมและส่งเสริมผักและผลไม้ที่มีความปลอดภัยสูงภายใต้มาตรฐาน GAP ที่รับรองโดย GDA ของรัฐบาลเพื่อทำการรับรองมาตรฐาน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50773548/deal-signed-to-make-fruit-and-veg-safer/

กัมพูชามองหาข้อตกลงทางการค้าทวิภาคีเพิ่มเติม

กัมพูชากำลังเตรียมพร้อมสำหรับข้อตกลงการค้าทวิภาคีกับประเทศคู่ค้าหลักเพื่อทำการทดแทนจากการถูกเพิกถอนสิทธิพิเศษทางการค้าบางส่วนของสหภาพยุโรปหรือที่เรียกว่า Everything but Arms (EBA) โดยผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ากัมพูชาควรเร่งความพยายามในการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงของภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ ซึ่งจีนเป็นประเทศแรกที่ได้ลงนาม FTA อย่างเป็นทางการกับกัมพูชา โดยปริมาณการค้าทวิภาคีระหว่างจีนและกัมพูชาอยู่ที่ 9.42 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว ซึ่งทั้งสองประเทศตั้งเป้าไว้ว่าจะมีปริมาณการค้าระหว่างกันให้ถึงถึง 10,000 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2023 โดยในปัจจุบันกัมพูชาอยู่ระหว่างการเจรจา FTA กับเกาหลีใต้ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มการค้าทวิภาคีระหว่างประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50773321/kingdom-seeks-more-trade-deals/

INFOGRAPHIC : ฮานอย: ศูนย์กลางเศรษฐกิจเวียดนาม

ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติกรุงฮานอย คาดการณ์ว่าในปี 2563 อัตราการเติบโตเศรษฐกิจภูมิภาค (GRDP) ของกรุงฮานอย ขยายตัวร้อยละ 4.5-5 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/hanoi-economic-hub-of-vietnam/188456.vnp

เวียดนามแอร์ไลน์เผยช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ เสียรายได้กว่า 10.75 ล้านล้านด่อง

เมื่อวันที่ 13 ต.ค. สายการบินเวียดนามแอร์ไลน์ (Vietnam Airlines) เปิดเผยว่าสูญเสียรายได้ถึง 10.75 ล้านล้านด่อง (463.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ตามข้อมูลของนาย Tran Thanh Hien หัวหน้าแผนกการเงินและบัญชีของสายการบิน กล่าวว่าในเดือนม.ค.-ก.ย. มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 46,700 เที่ยวบินและจำนวนผู้โดยสารกว่า 11.9 ล้านคน รวมถึงปริมาณสินค้าที่บรรทุก 146,000 ตัน ในขณะที่ เวียดนามแอร์ไลน์ได้เปิดเส้นทางบินในประเทศใหม่ 22 เส้นทาง หลังจากประเทศสามารถควบคุมโรคโควิด-19 และเปิดโครงการกระตุ้นการท่องเที่ยวแห่งชาติขึ้นในไตรมาสที่สอง โดยปัจจุบันสายการบินเปิดเส้นทางบินในประเทศมากกว่า 60 เส้นทาง เฉลี่ยอยู่ที่ 300 เที่ยวบิน/วัน และจำนวนผู้โดยสารในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นอกจากนี้ ในช่วงเดือนที่เหลือของปีนี้ เวียดนามแอร์ไลน์ยังคงเฝ้าติดตามสถานการณ์ของโรคโควิด-19 อย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะวางแผนการดำเนินงานอย่างเหมาะสม

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnam-airlines-loses-vnd1075-trillion-in-nine-months-785937.vov

IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามโต 1.6% ในปี 2563

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดประมาณการเติบโตเศรษฐกิจเวียดนาม (GDP) ในปี 2563 เหลือมาอยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากเดิมร้อยละ 2.7 ในเดือนมิ.ย. อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคอาเซียนที่คาดว่าจะเติบโตในเชิงบวกปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ที่หดตัวมากที่สุดในภูมิภาคนี้ ติดลบร้อยละ 8.3 รองลงมาไทย (-7.1%), มาเลเซีย (-6%) และอินโดนีเซีย (-1.5%) ทั้งนี้ หากประเมินในภาพรวมของเศรษฐกิจอาเซียน-5 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 3.4 ในปีนี้ ก่อนที่จะกลับมาขยายตัวร้อยละ 6.2 ในปี 2564 ในขณะที่ การเติบโตเศรษฐกิจเวียดนามในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ คาดว่าขยายตัวร้อยละ 2.12 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ท่ามกลางสถานการณ์เชื้อไวรัส COVID-19 นอกจากนี้ รัฐบาลเวียดนามได้ตั้งเป้าการเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ที่ร้อยละ 2 ในสภาวะปกติ และร้อยละ 2.5 หากได้รับแรงหนุน

ที่มา : http://hanoitimes.vn/imf-trims-vietnam-gdp-growth-forecast-to-16-in-2020-314508.html

พาณิชย์เมียนมาคาดภาคการค้าขยายตัว 109.73%

กระทรวงพาณิชย์ เผยเมียนมามีรายได้จากการค้าเกินเป้าหมายสำหรับปีงบประมาณ 2562-2563 ปริมาณการค้ามีมูลค่า 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับเป้าหมายที่ 33,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐและเทียบกับ 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณที่แล้ว โดยในปีนี้ได้ร่วมมือกับสมาคมผู้ผลิตและส่งออกผลไม้ดอกไม้และผักของเมียนมาเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดผลไม้ในท้องถิ่นในช่วง COVID-19 นอกจากนี้ยังจัดตั้ง Myanmar Online Expo Park และจัดงาน Myanmar International Expo of Organic and Natural Products ทางออนไลน์ในเดือนสิงหาคม ปีงบประมาณนี้มีการส่งออกมีมูลค่าประมาณ 17,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 18.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2561-2562 โดยการส่งออกพบว่าเพิ่มขึ้น 851 ล้านดอลลาร์สหรัฐในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้น 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้การค้าต่างประเทศขยายตัวกว่า 10%  ส่วนใหญ่ โดยภาคการส่งออกส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าและสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ในขณะที่การนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน สินค้าขั้นกลา งวัสดุเสื้อผ้า และสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งอุปสงค์จากต่างประเทศมีแนวโน้มเชิงบวก ตัวอย่างเช่น ความต้องการหัวหอมจากบังกลาเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้ราคาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ด้านการส่งออก ความต้องการสินค้าอื่น ๆ เช่น น้ำผึ้งและกาแฟมีเสถียรภาพมากขึ้น ซึ่งน้ำผึ้งสามารถส่งออกไปยังสหภาพยุโรป (EU) ส่วนความต้องการกาแฟจากต่างประเทศก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน โดยมีการถูกส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และยุโรป ในช่วงห้าปีที่ผ่านมามูลค่าการส่งออกกาแฟเพิ่มขึ้นเป็นสี่เท่าคิดเป็นมูลค่ากว่า 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้จาก 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2557 และเมียนมายังเริ่มส่งออกเบียร์ซึ่งเมื่อเดือนที่แล้ว Carlsberg Myanmar ได้เริ่มส่งออกเบียร์ Tuborg Beer ไปยังจีน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/trade-sector-exceeds-10973pc-estimates-minister-commerce.html

รายได้จากการจัดเก็บภาษีของรัฐบาลกัมพูชายังคงแข็งแกร่ง

การจัดเก็บภาษีของรัฐบาลยังคงแข็งแกร่งแม้ในช่วงของการระบาดของ โควิด-19 ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 2.25 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ตามรายงานของ General Department of Taxation (GDT) โดยรายงานแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และถือเป็นร้อยละ 78.10 ของเป้าหมายในการจัดเก็บภาษีประจำปี อย่างไรก็ตาม GDT เก็บเงินได้เพียง 162.22 ล้านดอลลาร์ ในเดือนกันยายนลดลงร้อยละ 18.75 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่รัฐบาลได้เสนอให้มีการยกเว้นภาษีสำหรับธุรกิจท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร และอุตสาหกรรมการบิน เนื่องจากภาคส่วนต่างๆได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของโควิด-19 โดย GDT ยังคงกระตุ้นให้มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบ e-VAT และจัดให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ภาษีเพื่อให้พร้อมสำหรับการดำเนินการด้านภาษีโดยเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50772989/tax-collection-strong/

สนามบินนานาชาติสีหนุของกัมพูชาอัพเกรดรันเวย์ใหม่

สนามบินนานาชาติสีหนุพัฒนารันเวย์ขยายจาก 2,500 เมตร เป็น 3,300 เมตร เพื่อทำการรองรับเที่ยวบินในอนาคต ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ เช่น B-777-300ER หรือ A-350-1000 ที่ให้บริการเที่ยวบินตรงระยะไกลไปและกลับจากสนามบินนานาชาติสีหนุ โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาสีหนุวิลล์ได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวและเป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึกที่ใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งในระหว่างปี 2015-2019 สีหนุได้ให้กี่ต้อนรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจาก 94,000 คน สู่ 1.6 ล้านคน ซึ่งการเดินทางผ่านสนามบินพนมเปญ เสียมราฐ และสีหนุวิลล์ลดลงถึงร้อยละ 75 ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาจากผลกระทบของโควิด-19 แต่อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้ประกาศมาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับบางภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบเพื่อเป็นการรับมือกับการแพร่ระบาดของ โควิด-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50772830/sihanouk-airport-upgrades-runway-flights-due-to-begin-from-the-58-million-investment-before-the-end-of-the-year/