กทท.เริ่ม“แหลมฉบังเฟส3” ลุย“ถมทะเล”คาดเสร็จใน4ปี

กทท.ลุยแหลมฉบังเฟส 3 เริ่มงานถมทะเล หลังลงนาม “กิจการร่วมค้าซีเอ็นเอ็นซี” ตั้งเป้าแล้วเสร็จใน 4 ปี พร้อมเดินหน้างานอาคาร,สาธารณูปโภค 6.5 พันล้านปีนี้ กทท.ได้ดำเนินการเปิดประกวดราคาจัดหาเอกชนเริ่มงานก่อสร้างโครงการในส่วนที่ กทท.รับผิดชอบ คือ งานก่อสร้างทางทะเล และงานโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยปัจจุบันได้ลงนามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ส่วนที่ 1 งานก่อสร้างทางทะเล และเตรียมส่งมอบพื้นที่เพื่อออกหนังสือให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) สำหรับงานจ้างเหมาก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 (ส่วนที่ 2) งานก่อสร้างอาคาร ท่าเทียบเรือ ระบบถนนและระบบสาธรณูปโภค วงเงิน 6,502 ล้านบาท ขณะนี้ได้ยกเลิกการประกวดราคา หลังจากประกาศไปเมื่อวันที่ 29 พ.ค.2563 เนื่องจาก กทท.ต้องการปรับปริมาณงานและราคา ให้มีความสอดคล้องกับปัจจุบันมากที่สุด ซึ่งคาดว่าจะประกาศประกวดราคาอีกครั้งภายในปีนี้รายงานข่าวยังระบุด้วยว่า ตอนนี้ กทท.ได้เริ่มต้นงานในส่วนที่ภาครัฐรับผิดชอบแล้ว ซึ่งอยู่นอกเหนือกับงานร่วมทุนกับเอกชน ในเรื่องของโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ส่วนของท่าเทียบเรือ F ที่จะร่วมทุนให้เอกชนเข้ามาบริหารจัดการภายในพื้นที่ โดยปัจจุบันคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ ได้สรุปผลและการเจรจาผลประโยชน์ตอบแทนด้านการเงิน (ซองที่ 4) กับกลุ่มกิจการร่วมค้า GPC และเสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เพื่อพิจารณาก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.)

ที่มา:https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/897001?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=eec

เวียดนามเป็นหนึ่งในฐานการผลิตโทรทัศน์ใหม่ของซัมซุง

บริษัท Samsung Electronics จะย้ายฐานการผลิตโทรทัศน์บางส่วนไปยังเวียดนาม หลังการปิดตัวของโรงงานผลิตโทรทัศน์เพียงแห่งเดียวในเมืองเทียนจิน ช่วงปลายเดือนพ.ค. เนื่องจากแนวโน้มธุรกิจที่หันมาย้ายห่วงโซ่อุปทานออกจากประเทศจีน ทั้งนี้ ตามรายงานของ Nikkei Asia Review ระบุว่าซัมซุงเป็นผู้ขายโทรทัศน์จอแบนในระดับโลก ที่กำลังสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดในประเทศจีน เนื่องจากการแข่งขันในประเทศที่สูงขึ้น รวมถึงมาตรการคล่ำบาตรและต้นทุนแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ ในช่วงปี 2551-2561 ซัมซุงเข้ามาลงทุนในเวียดนามทั้งหมดอยู่ที่ 670 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยับมาเป็น 17.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 26 เท่า โดยในเดือนมี.ค. ซัมซุงเวียดนามได้เริ่มก่อสร้างศูนย์ R&D ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ฮานอย) ด้วยมูลค่า 220 ล้านดอลลาร์สหรัฐ บริษัทคาดว่าเวียดนามจะไม่เพียงแค่เป็นศูนย์กลางการผลิตที่ใหญ่ที่สุด แต่ยังเป็นฐานกลยุทธ์ในแง่ของการวิจัยและพัฒนา

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-among-samsungs-new-tv-production-sites-24288.html

เวียดนามนำเข้ารถยนต์ CBU จำนวน 53,000 คัน ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้

ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป (CBU) 53,000 คัน ด้วยมูลค่า 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าในเดือนที่แล้ว จำนวนนำเข้ารถยนต์ CBU อยู่ที่ 8,000 คัน คิดเป็นมูลค่า 190 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยและอินโดนีเซียยังคงเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุด สำหรับการนำเข้ารถยนต์จากเวียดนาม เนื่องจากความได้เปรียบทางด้านภาษี นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศดังกล่าวถือว่าเป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ สาเหตุมาจากภาษีนำเข้าที่ร้อยละ 0 ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ อินโดนีเซียส่งออกรถยนต์ไปเวียดนาม จำนวน 17,723 คัน ในขณะเดียวกัน เวียดนามนำเข้ารถยนต์จากไทย จำนวน 19,944 คัน นอกจากนี้ รถยนต์ยอดนิยมในเวียดนาม คือ รถยนต์ที่ประกอบขึ้นในประเทศ เพราะฉะนั้นอุปทานและราคาขายอยู่ในระดับคงที่ ในเดือนที่เหลือของปี

 ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/772157/viet-nam-imported-53000-cbu-cars-in-8-months.html

เมียนมาเตรียมแผนรองรับ COVID-19 สำหรับภาคเกษตร

กระทรวงเกษตรปศุสัตว์และชลประทาน (MOALI) ของเมียนมาจัดทำแผนแม่บทความมั่นคงด้านอาหารเพื่อรองรับภาคการเกษตรและปศุสัตว์จากปัญหา COVID-19  ภายหลังจากการประชุมตามแผนรับมือเศรษฐกิจ COVID-19 (CERP) เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของ COVID-19 ที่มีต่อประชากรในชนบทรวมทั้งเกษตรกร นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับแผนพัฒนาที่ยั่งยืนของเมียนมา ภายใต้แผน MOALI จะมุ่งเน้นไปที่การผลิตพืชผลและปศุสัตว์ให้เพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศส่วนที่เหลือจะถูกส่งออกไปยังต่างประเทศ ทั้งนี้ภายใต้ CERP รัฐบาลได้เบิกจ่ายเงินไปแล้วร้อยละ 75 ของเงินจำนวน 9 หมื่นล้านจัต เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อภาคธุรกิจจากการระบาดครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อปลายเดือนมีนาคม 63

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-draws-plan-cushion-agri-sector-covid-19.html

ญี่ปุ่นให้ทุนเพื่อเสริมสร้างการฝึกอบรมครูในสปป.ลาว

รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตกลงที่จะให้เงินสนับสนุนจำนวน 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.91 พันล้านเยน) เพื่อปรับปรุงคุณภาพของสภาพแวดล้อมการฝึกอบรมของครูในระดับก่อนประถมศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในสปป.ลาว ความร่วมมือระหว่างกระทรวงการวางแผนและการลงทุนสปป.ลาวและหัวหน้าผู้แทนของสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ประจำสปป.ลาวผ่านโครงการ “การปรับปรุงวิทยาลัยการฝึกหัดครูในสปป.ลาว” ได้ลงนามในเวียงจันทน์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา โครงการนี้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 สำหรับปี 2564-2568 และจะช่วยเติมเต็มเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 สำหรับปี 2559-2563 นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาการศึกษาด้วย ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเป็นรูปแบบความช่วยเหลือหลักในการสนับสนุนความร่วมมือทวิภาคีอื่น ๆ จากพันธมิตรการพัฒนาที่ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของสปป.ลาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Japan177.php

กัมพูชาได้รับเงินกู้จาก ADB 127.8 ล้านดอลลาร์ ในการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้า

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียได้อนุมัติเงินกู้จำนวน 127.8 ล้านดอลลาร์ เพื่อสนับสนุนการก่อสร้างสายส่งและสถานีไฟฟ้าสาขาย่อยเพื่อส่งไปยังเมืองหลวงพนมเปญและอีกสามจังหวัดใกล้เคียงของกัมพูชาให้มีเสถียรภาพและเชื่อถือได้ โดยโครงการนี้จะนำร่องระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ขนาดยูทิลิตี้แห่งแรกในกัมพูชา ซึ่งจะได้รับทุนสนับสนุนจำนวน 6.7 ล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมถึง 4.7 ล้านดอลลาร์จากกองทุนสภาพภูมิอากาศเชิงกลยุทธ์ภายใต้โครงการ Scaling Up Renewable Energy Program สำหรับประเทศที่มีรายได้น้อย และอีก 2 ล้านดอลลาร์จากกองทุนพลังงานสะอาดภายใต้ Clean Energy Financing Partnership Facility ADB เป็นผู้บริหารกองทุนทั้งสองแห่ง โดยโครงการนี้จะช่วย Electricite du Cambodge ซึ่งเป็นสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้าแห่งชาติของกัมพูชาเสริมความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างพื้นฐานระบบส่งโดยการจัดหาเงินทุนในการก่อสร้างสายส่งขนาด 115–230 กิโลโวลต์สี่สาย และสถานีย่อย 10 แห่ง โดยรัฐบาลมีแผนที่จะเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าโซลาร์เซลล์สู่ 415 เมกะวัตต์ ภายในปี 2022 จาก 155 เมกะวัตต์ในปี 2019

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50763156/cambodia-gets-127-8-million-adb-loan-to-help-expand-power-grid/

จังหวัดกำปอตตั้งเป้าต้อนรับนักท่องเที่ยว 2.5 ล้านคน ภายในปี 2023

จังหวัดกัมปอตซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดชายฝั่งทะเลของกัมพูชามีการตั้งเป้าหมายที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ได้มากถึง 2.5 ล้านคนภายในปี 2023 เนื่องจากจังหวัดกำลังพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับภาคส่วน โดยในการประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดกำปอตกล่าวว่าแผนพัฒนาการท่องเที่ยวระยะ 5 ปี จะมีส่วนช่วยพัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัด ซึ่งทำการนำเสนอวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนสำหรับอนาคตของการพัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัดกัมปอต โดยมุ่งเน้นไปที่ทิศทางเชิงกลยุทธ์ ได้แก่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว การวิจัยตลาด การส่งเสริมการเชื่อมต่อและการอำนวยความสะดวกในการเดินทาง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวัฒนธรรมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการจัดการผลกระทบเชิงลบจากการท่องเที่ยว โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2020 จังหวัดกัมปอตได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศจำนวน 838,000 คน ในขณะที่ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยว 1,090,000 คน ตามข้อมูลของกรมการท่องเที่ยวจังหวัดกัมปอต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50762606/kampot-province-targets-2-5-million-tourists-by-2023/