รัฐบาลสปป.ลาวช่วยเหลือภาระหนี้แก่เอกชนเพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจ

รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะชำระหนี้ให้กับองค์กรเอกชนในช่วงที่เหลือของปีนี้เพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทต่างๆ เพื่อบรรเทาอุปสรรคทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยเงินจะถูกระดมจากการออกพันธบัตรและสถานบันการเงิน รัฐบาลได้เน้นย้ำถึงความตั้งใจของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหานี้ ในขณะเดียวกันก็ผลักดันให้มีการพัฒนาเมกะโปรเจ็กต์อย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของรัฐบาลในการช่วย บริษัท ในท้องถิ่นลดผลกระทบจากวิกฤต Covid-19 แม้ว่าประเทศจะมีความตึงเครียดด้านงบประมาณที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ต้นปี 2018 ถึงต้นปี 2019 หนี้ของรัฐบาลที่เกิดขึ้นกับองค์กรเอกชนกว่า 3,000 พันล้านกีบ โดยรัฐบาลมีโครงการที่จะนำหนี้ดังกล่าวเข้าสู่ธนาคารพาณิชย์เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจและลดภาระของรัฐบาลเอง เนื่องจากรายได้ของประเทศคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 78 ของแผนประจำปีในปี 2563 จึงจำเป็นต้องลดการใช้จ่ายในโครงการที่ไม่จำเป็นรวมถึงบริหารจัดการหนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อลดภาระของรัฐบาล รัฐบาลจะไม่เพียง แต่ตั้งใจที่จะลดการใช้จ่ายด้านการบริหารเท่านั้น แต่ยังเลื่อนงบประมาณการลงทุนของลงร้อยละ 50 สำหรับโครงการที่ลดลงจะไม่ส่งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมากนัก

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Mekong_164.php

ประเทศกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง-จีน ยกย่องผลสำเร็จของความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง (MLC)

ผู้นำของประเทศลุ่มน้ำโขงและจีนกล่าวว่าพวกเขาให้ความสำคัญกับความสำเร็จของความร่วมมือในช่วงสองปีที่ผ่านมาซึ่งช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของคนในภูมิภาค การประเมินดังกล่าวมีขึ้นในการประชุมสุดยอดความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง (MLC) ครั้งที่สามซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการภายในกรอบ MLC (2018-2022) ตลอดจนการดำเนินโครงการผ่านกองทุนพิเศษ MLC ที่จีนสนับสนุนด้วยเงิน 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่ง ซึ่งมีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง สปป.ลาวถือเป็นประเทศที่ได้รับผลประโยชน์จากโครงการนี้อย่างมากจากการเกิดขึ้นของหลายโครงการในสปป.ลาวที่ประสบความสำเร็จโดยเฉพาะในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาชนบทและการลดความยากจน ในการประชุมผู้นำยังได้มีการหารือในหัวข้อที่จะเสริมสร้างความร่วมมือในการปราบปราม COVID-19 และแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากการระบาดใหญ่ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Mekong_164.php

การพัฒนาท่าเรือสีหนุวิลล์สู่การเชื่อมต่อทางการค้าโลกของกัมพูชา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นกล่าวถึงการพัฒนาท่าเรือสีหนุวิลล์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเพิ่มการเชื่อมต่อภายในระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ รวมถึงส่งเสริม อินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง โดยกระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชากล่าวว่าความคืบหน้าของโครงการสำคัญในกัมพูชาได้มีการอัพเดทและหารือกันในที่ประชุม ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อขยายกิจกรรมการลงทุนบนโครงสร้างพื้นฐานและเพิ่มการค้าระหว่างประเทศให้มากขึ้น โดยเมื่อปีที่แล้วองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือว่าด้วยความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ในด้านท่าเรือ ซึ่ง JICA กล่าวในแถลงการณ์เมื่อปีที่แล้วเนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมากในกัมพูชาทำให้ท่าเรือสีหนุวิลล์กลายเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในประเทศและในภูมิภาคที่สำคัญมากขึ้น ปริมาณการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ประจำปีที่ท่าเรือเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 540,000 ตู้สินค้า (TEU) ในปี 2018 จาก 290,000 TEU ในปี 2013 ซึ่ง JICA จะยังคงจัดหาเงินทุนและความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ เช่น โครงการเงินกู้อย่างเป็นทางการเพื่อให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา (ODA) ที่เรียกว่า “โครงการพัฒนาท่าเรือคอนเทนเนอร์ใหม่สีหนุวิลล์” และโครงการให้ความช่วยเหลือที่เรียกว่า “The Project for Port electronic data interchange (EDI) for Port Modernization” เพื่อพัฒนาท่าเรือสีหนุวิลล์ต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50756097/development-of-sihanoukville-port-key-to-more-connectivity/

การเติบโตด้านการผลิตเกลือในจังหวัดกัมปอตของกัมพูชา

จังหวัดกัมปอตผลิตเกลือได้ประมาณ 84,000 ตันในปีนี้ เพื่อป้อนตลาดภายในประเทศตามรายงานของสำนักฟาร์มเกลือกรมอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมประจำจังหวัดกัมปอต โดยกัมพูชามีกลุ่มผู้ผลิตเกลือประมาณ 179 กลุ่ม (คิดเป็นเกษตรกร 1,650 ราย) ซึ่งมีฟาร์มเกลืออยู่จำนวน 3,726 เฮกตาร์ ในกัมปอต ซึ่งในจำนวน 83,969 ตัน มีการขายและกระจายสินค้าไปทั่วประเทศ 44,822 ตัน ส่วนที่เหลืออีกกว่า 39,000 ตัน ถูกเก็บไว้ในสต็อกเพื่อรองรับความต้องการในอนาคต โดย ณ ตอนนี้เกลือ 1 กระสอบ (ประมาณ 50 กิโลกรัม) ขายได้ในราคา 2 ถึง 2.50 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในปี 2561 กัมพูชานำเข้าเกลือประมาณ 30,000 ตัน เพื่อรองรับความต้องการในท้องถิ่น โดยทำการนำเข้าจากจีนมากถึง 10,000 ตัน และอินเดีย 20,000 ตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50756098/good-weather-proves-savoury-for-salt-farmers-in-kampot/

‘ไทย-เวียดนาม’ เปิดตัวศูนย์แสดงสินค้าเวียดนามที่ประเทศไทย

สมาคมนักธุรกิจไทย-เวียดนาม (BAOTV) เปิดศูนย์การแสดงสินค้าเวียดนามที่ห้างสรรพสินค้า “VT แหนมเมือง” จ.อุดรธานี เมื่อวันที่ 23 สิ.ค. โดยมีคุณ Ho Van Lam ประธานสมาคม BAOTV กล่าวเปิดศูนย์การแสดงสินค้าเวียดนามและเล่าถึงการส่งเสริมช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าเวียดนามในประเทศไทย เพื่อให้เป็นที่นิยมในประเทศมากยิ่งขึ้น ขณะที่ นายนายเหงียน ง๊อก เซิน กงสุลใหญ่สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามประจำจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่าการเปิดศูนย์การแสดงสินค้าในครั้งนี้ ไม่เพียงแต่จะทำให้ผู้บริโภคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถเข้าถึงสินค้าเวียดนามที่มีคุณภาพสูงได้ง่ายขึ้นแล้ว แต่ยังช่วยให้ผู้ประกอบการทั้งสองประเทศสามารถเข้าถึงการค้าและเจาะหาโอกาสทางธุรกิจอีกด้วย นอกจากนี้ ในปัจจุบัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีชาวไทยเชื้อสายเวียดนามมากกว่า 70,000 คน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnamese-goods-exhibition-centre-inaugurated-in-thailand/181755.vnp

นิคมอุตสาหกรรม ‘SHTP’ คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563

คณะกรรมการบริหาร เปิดเผยว่านิคมอุตสาหกรรม Saigon Hi-tech Park (SHTP) ในนครโฮจิมินห์ คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ ซึ่งมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นในนิคมอุคสาหกรรมแห่งนี้ จะสูงถึงร้อยละ 95 ของแผนที่ตั้งเป้าไวต่อปี ส่งผลต่อความมีเสียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเมือง รวมถึงงบประมาณอีกด้วย ทั้งนี้ นาย Le Bich Loan รองหัวหน้าคณะกรรมการบริหาร SHTP กล่าวว่าจำนวนนักลงทุนที่ดำเนินในนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าว อยู่ที่ 26 ราย ประกอบไปด้วยนักลงทุนในประเทศ 15 ราย และ 11 รายจากบริษัทต่างชาติ ล้วนแต่กำลังมองหาโอกาสทางธุรกิจในนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้ นอกจากนี้ เมื่อต้นปีนี้ ทางนิคมอุตสาหกรรมได้ร่วมลงนามข้อตกลงกับสถาบันเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแห่งเกาหลี (KITECH) เพื่อจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมเวียดนาม-เกาหลีที่นิคมอุตสาหกรรม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/saigon-hi-tech-park-expects-to-rake-in-19-bln-usd-in-investment-in-2020/181763.vnp

ภาคอุตสาหกรรมเร่งให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมมัคคุเทศก์ในเมียนมา

สมาคมมัคคุเทศก์เมียนมา (MTGA) กล่าวว่าได้ส่งต่อข้อเสนอแนะในการขอสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือมัคคุเทศก์ท้องถิ่นไปยังคณะกรรมการแผนบรรเทาเศรษฐกิจ COVID-19 ของรัฐบาล ความช่วยเหลือทางการเงินและเงินกู้ COVID-19 ในปัจจุบันมอบให้กับภาคการท่องเที่ยวและ บริษัทต่างๆ แต่ไม่ใช่สำหรับไกด์นำเที่ยว ดังนั้นจึงมีการส่งข้อเสนอแนะเพื่อพิจารณาเงินกู้สำหรับมัคคุเทศก์ท้องถิ่น โดยจะช่วยเหลือเพียงมัคคุเทศก์ประเภทเดียวที่ได้รับคือการอุดหนุนเมื่อเข้าร่วมหลักสูตรการฝึกอบรมที่จำเป็นที่ช่วยคนได้ครั้งละไม่กี่ร้อยคนเท่านั้น กระทรวงจะศึกษาข้อเสนอแนะจากสมาคมมัคคุเทศก์เมียนมาและให้ข้อมูลแก่คณะกรรมการที่มีหน้าที่ดูแลพนักงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว คณะกรรมการแผนบรรเทาเศรษฐกิจ COVID-19 ได้ปล่อยเงินกู้เป็นระยะเวลาหนึ่งปีในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 แก่ธุรกิจในภาคต่างๆเช่นเกษตรกรรม การท่องเที่ยว และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการชะลอตัวของธุรกิจที่เกิดจากการระบาดของ COVID-19

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/industry-body-urges-more-help-tour-guides-myanmar.html

การชำระภาษีอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัทในย่างกุ้งเปิดตัวตุลาคมนี้

บริษัททั้งหมดในย่างกุ้งจะต้องใช้ระบบการชำระภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่เโดยการจ่ายภาษีเงินได้ ภาษีการค้า หรือภาษีสินค้าพิเศษจะต้องจ่ายผ่านระบบบนมือถือริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 63 ตามข้อมูลของกรมสรรพากร (IRD) แม้ว่าบริษัทบางแห่งจะมีการจ่ายภาษีด้วยวิธีนี้บ้างแล้ว แต่ตอนนี้บริษัทในย่างกุ้งทั้งหมดจะต้องถูกบังคับให้ใช้ซึ่งนี่เป็นการเตือนให้เตรียมการล่วงหน้า รัฐบาลได้จัดให้มีการชำระเงินผ่านระบบ M-Banking, e-Banking, i-Banking และ Mobile Payment ตลอดจนแพลตฟอร์มการชำระเงินออนไลน์ที่เชื่อมโยงโดยบัตรเดบิตของสมาคมระบบการชำระเงินเมียนมา(Myanmar Payment Union หรือ MPU) และได้ทำข้อตกลงกับ cb bank และ KBZ เมื่อต้นปีที่ผ่านมาและจะสามารถชำระเงินผ่านธนาคารทั้งหมดห้าแห่งในขณะนี้ ซึ่งจะมีรายรับจากภาษีราว 50,000 ล้านจัตผ่านระบบการชำระเงินออนไลน์ ผู้ที่กำลังเสียภาษีเงินได้ ณ สำนักงานภาษีจำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผู้เสียภาษีเหล่านี้จะต้องชำระผ่านธนาคารแทนที่การใช้สมุดบัญชีเงินฝาก โดยไม่จำเป็นต้องพกเงินสดหรือเช็คอีกต่อไปวิธีการใหม่นี้จะช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างมาก

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/company-e-tax-payments-introduced-october.html

ส่งออกไทย เดือน ก.ค. ติดลบ 11.37% ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว

พาณิชย์เผยตัวเลขการส่งออก ก.ค. 63 หดตัว 11.37% เริ่มฟื้นตัวหลังจากอยู่จุดต่ำสุด การส่งออกทั้งปี ติดลบ 8-9% นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือนกรกฎาคม 2563 มีมูลค่า 18,819 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 11.37% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ การนำเข้ามีมูลค่า 15,476.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 26.38% ส่งผลให้ประเทศไทยมีการค้าเกินดุล 3,343.25 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ การส่งออก 7 เดือนแรกของปี (ม.ค.-ก.ค.) มีมูลค่า 133,162.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 7.72% ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 119,118.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 14.69% ส่งผลให้ประเทศไทยมีการค้าเกินดุล 14,044.2 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ดี การส่งออกทั้งปี 2563 ประเมินว่าการส่งออกไทยจะหดตัวอยู่ที่ ติดลบ 8% หรือมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 226,567 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่งออกเฉลี่ยต่อเดือนจากนี้จะต้องอยู่ที่ 18,681 ล้านเหรียญสหรัฐ ถึง ส่งออก ติดลบ 9% มีมูลค่าอยู่ที่ 224,105 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่งออกเฉลี่ยต่อเดือนจากนี้จะต้องอยู่ที่ 18,188 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับปัจจัยที่กระทบต่อการส่งออกเดือนกรกฎาคม 2563 มองว่าผ่านจุดต่ำสุดแล้ว และเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2563 ที่ผ่านมา โดยการส่งออกหลายสินค้าปรับตัวดีขึ้น ส่งออกเริ่มขยายตัว เช่น การส่งออกสินค้าอาหาร อาทิ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม ทูน่ากระป่อง ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง สินค้าเครื่องใช้ภายในบ้าน อาทิ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เตาอบ ไม่โครเวฟ ส่วนการส่งออกรายตลาดทุกตลาดหดตัวในอัตราที่น้อยลง สะท้อนถึงแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป หลังจากประเทศคู่ค้าหลายประเทศสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระรบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ และมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ นางสาวพิมพ์ชนก กล่าวอีกว่า กระทรวงพาณิชย์มีแผนผลักดันการค้าผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน สู่ตลาดที่มีศักยภาพ เช่น จีน เกาหลีใต้ อินเดีย กัมพูชา สหรัฐ และจัดตั้งร้านค้าท็อปไทย บนแพลตฟอร์มออนไลน์ชั้นนำของต่างประเทศ พร้อมต่อยอกบนแพลตฟอร์มไทยเทรดดอทคอมด้วย อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระทบต่อเศรษฐกิจโลก ปัญหาการกีดกันทางการค้าในรูปแบบใหม่ แนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาท และราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำ ยังเป็นปัจจัยกดดันการส่งออกในระยะต่อไป ส่วนปัญหาสงครามการค้า ยังเชื่อว่ายังไม่น่าจะมีมาตรการใหม่ออกมาในขณะนี้ สินค้าไทยที่ส่งออกทดแทนสินค้าจีนในตลาดสหรัฐยังขยายตัวไปได้ดี พร้อมจับตาการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ย. 2563 นี้ ซึ่งจะมีมาตรการอะไรบ้างที่จะกระทบต่อการส่งออก นำเข้า ด้วย ส่วนการส่งออกไปจีนขณะนี้ กลับมาหดตัวเล็กน้อย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาด รวมทั้งปัญหาน้ำท่วมในเมืองอู่ฮั่น เป็นต้น

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-510243

INFOGRAPHIC : สถานที่ท่องเที่ยวเวียดนามติดอันดับ 25 อันดับเมืองท่องเที่ยวชั้นนำของโลก

จากข้อมูลของเว็บไซต์ท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก “TripAdvisor” เปิดเผยเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมในเวียดนามที่จัดอันดับโดย Travelers’s Choice ประจำปี 2020 ซึ่งสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งของเวียดนามถูกจัดให้อยู่ใน 25 อันดับแรกของโลกในประเภทบริการ ได้แก่

  • Trading Destinations: ดานัง (7) รองลงานครโฮจิมินห์ (12)
  • Popular Destinations: ฮอยอัน (17) รองลงมาฮานอย (15)
  • Emerging Destination: ฟู้ก๊วก (7)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-tourism-spots-in-worlds-top-25/169653.vnp