ผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มเวียดนามชี้กระทบหนักพิษโควิด-19 หาทางรับมือกับวิกฤติไวรัส

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ภาคสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนามเผชิญกับอุปสรรคหลายด้าน เนื่องจากการยกเลิกคำสั่งซื้อและความล่าช้า แต่ผู้ผลิตบางรายได้ค้นหาแนวทางในการรับมือกับวิกฤติดังกล่าว โดยผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มในประเทศดิ้นร้นในการเสาะหาแหล่งวัตถุดิบจากที่อื่นๆ หลังจากเพื่อนบ้านทางตอนเหนือของเวียดนามเข้าสู่การล็อกดาวน์ในช่วงปลายเดือนมกราคม แต่ในปัจจุบัน สิ่งต่างๆ เริ่มกลับมาสู่ภาวะปกติในจีน และปัญหาใหญ่โตจากการแพร่ระบาดไปยังทั่วโลก ส่งผลให้เวียดนามมียอดคำสั่งซื้อจากตลาดสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและยุโรป ในขณะเดียวกัน ยอดส่งออกลดลงร้อยละ 9.07 เมื่อเทียบกับปีก่อนในไตรมาสแรก และนำเข้าร้อยละ 16.59 ทั้งนี้ จากข้อมูลของกลุ่มผู้ผลิตและส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแห่งชาติของเวียดนาม (VINATEX) กล่าวว่าผู้ซื้อจากสหรัฐฯและยุโรป ได้ระงับหรือยกเลิกคำสั่งซื้อตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม และคาดว่าการส่งออกอาจลดลงร้อยละ 33 คิดเป็นมูลค่า 33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2563 ทั่วโลก รวมถึงยอดคำสั่งซื้ออาจดิ่งลงร้อยละ 29 ตลอดทั้งปี ถึงแม้ว่าจะมีผลกระทบด้านลบมากมาย แต่การระบาดของเชื้อดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ผลิตท้องถิ่นได้รับโอกาสที่ดีจากความต้องการหน้ากากทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/pandemichit-garment-producers-find-way-to-weather-crisis/172166.vnp

เวียดนามเผชิญปัญหาขาดแคลนผัก ส่งผลราคาสูงขึ้น

ราคาผักปรับตัวสูงขึ้นในเมืองโฮจิมินห์ ส่งผลให้เกษตรกรลดการผลิตลง เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากภาวะน้ำเค็มรุกล้ำเข้าในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง นายเฮียน พ่อค้าในตลาดแห่งหนึ่ง บริเวณเมืองโฮจิมินห์ กล่าวว่าในเดือนนี้ ราคาผักเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10 ต่อวัน, ราคามะเขือเทศอยู่ที่ 1.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัม, ผักชี 2.3 ดอลลาร์สหรัฐ และบร็อคโคลี่ 1.3 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นต้น ซึ่งราคาดังกล่าว เพิ่มขึ้นร้อยละ 50-100 จากช่วงต้นเดือนนี้ ทั้งนี้ ผู้อำนวยการบริษัทแห่งหนึ่งที่ดำเนินการค้าเกษตรกรรม ระบุว่าจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลให้เกษตรกรกังวลว่าจะไม่มีความต้องการ ดังนั้น จึงไม่มีการหว่านเมล็ดพืช ในขณะเดียวกัน จังหวัดเตี่ยนซางอยู่ในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เกิดภาวะน้ำเค็มรุกล้ำทำให้เกษตรกรต้องซื้อน้ำจากจังหวัดอื่น ประกอบกับสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกและการระบาดของเชื้อดังกล่าวยังคงต่อเนื่อง ทำให้ราคาผักคาดว่ายังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/715646/vegetable-shortage-continue-to-push-prices-upward.html

MoIT เสนอให้เริ่มส่งออกข้าว

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) ขอให้รัฐบาลดำเนินการส่งออกข้าวต่อไป อย่างไรก็ตามปริมาณการส่งออกจะถูก จำกัด ที่ 800,000 ตันในเดือนเมษายนและพฤษภาคม MoIT เสนอให้อนุญาตให้ส่งออกข้าวแต่ต้องควบคุมโควต้ารายเดือนอย่างเข้มงวดหลังจากพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อความมั่นคงด้านอาหารท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 แผนดังกล่าวเป็นไปตามประกาศจากกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเรื่องปริมาณข้าว 3.2 ล้านตันซึ่งสามารถส่งออกได้ในฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิ นี่คือปริมาณที่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ การส่งข้าวประมาณ 1.7 ล้านตัน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 ดังนั้นการส่งออกข้าวในอนาคตจะอยู่ที่ 1.5 ล้านตัน ในขณะเดียวกันปริมาณข้าวสำรองทั้งหมดในอีกสองเดือนข้างหน้าจะมีปริมาณ 700,000 ตัน โดยเฉพาะการส่งออกข้าวจะได้รับอนุญาตผ่านประตูชายแดนระหว่างประเทศเท่านั้น เช่น ถนน รถไฟทาง และทางทะเล ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 เมียนมาห้ามส่งออกข้าวใหม่เพื่อให้แน่ใจว่ามีอุปทานภายในประเทศเพียงพอที่จะรับมือกับการระบาด COVID-19

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/moit-proposes-to-resume-rice-exports

เมียนมาคลายข้อจำกัดศุลกากรบางประการเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า

รัฐบาลจะลดข้อจำกัดทางการค้าและความล่าช้าของราชการเพื่ออำนวยความสะดวกในการนำเข้าและส่งออกระหว่างการระบาดของ COVID-19 ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายนกรมศุลกากรจะลดภาษีศุลกากรสำหรับธุรกิจที่ดำเนินงานด้วยระบบการเคลียร์สินค้าออกจากคาร์โก้แบบอัตโนมัติ (MACCS) ผู้ที่ต้องการสมัครเพื่อลดภาษีศุลกากรจะต้องส่ง E-Form D พร้อมกับหมายเลขอ้างอิงที่ได้รับจากประเทศอื่น ๆ เพื่อยื่นขอเอกสารที่จำเป็นเพื่อขยายเวลา ผู้อำนวยการฝ่ายศุลกากรกล่าวว่าเอกสารจะถูกตรวจสอบอย่างละเอียดโดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวข้องกับยาและผลิตภัณฑ์อาหารที่อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์การอาหารและยา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/some-customs-restrictions-be-eased-facilitate-trade.html

สมาคมเวียดนาม-สปป.ลาวมอบเวชภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อช่วยเหลือสปป.ลาว

เมื่อวันที่ 21 เมษายนผ่านมาสมาคมมิตรภาพเวียดนาม – ลาวได้มอบเวชภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อช่วยเหลือสปป.ลาวโดยเฉพาะแพทย์และพยาบาลที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการป้องกันและต่อสู้กับ COVID-19 โดยเวชภัณฑ์ประกอบด้วยชุดป้องกัน 500 ชุดและหน้ากากป้องกันใบหน้า 18,500 ชุด หน้ากากทางการแพทย์ 17,500 ชุดและหน้ากากผ้าต้านเชื้อแบคทีเรีย 1,000 ชุด การช่วยเหลือดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นปึกแผ่นระหว่างสองประเทศ เพื่อเอาชนะความยากลำบากที่เกิดจากการระบาดของ COVID-19 รวมถึงเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีของทั้ง 2 ประเทศ จะเป็นประโยชน์กันในภายภาคหน้าเพราะสปป.ลาวถือเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของเวียดนามหากสปป.ลาวฟื้นตัวได้เร็ว เศรษฐกิจกลับมาเหมือนเดิมจะทำให้การค้าระหว่างประเทศกับมาขยายตัวได้เหมือนเดิม การช่วยเหลือดังกล่าวจึงเป็นทั้งการช่วยเหลือด้านสาธารณะสุขและเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ

ที่มา : http://kpl.gov.la/En/Detail.aspx?id=51828

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในกัมพูชาขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากรัฐบาล

ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเรียกร้องให้รัฐบาลหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการชะลอการจ่ายดอกเบี้ยและการชำระคืนเงินต้นสำหรับธุรกิจในภาคที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของ COVID-19 ณ วันที่ 17 เมษายน มีโรงแรม 2,698 แห่ง, เกสต์เฮาส์, ร้านอาหารและตัวแทนการท่องเที่ยวในธุรกิจการบริการในภาคการท่องเที่ยวได้ถูกสั่งปิดทั่วประเทศ โดยในเดือนกุมภาพันธ์รัฐบาลประกาศว่าธุรกิจการบริการที่ได้รับการจดทะเบียนในจังหวัดเสียมราฐที่ได้รับผลกระทบจากการลดน้อยลงของจำนวนนักท่องเที่ยวจนแทบไม่มีนักท่องเที่ยวเลย ได้รับการลดหย่อนภาษีจนถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วรัฐบาลยังได้ยกเว้นภาษียืดไปอีกสามเดือน (ครอบคลุมเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม) สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบในจังหวัดต่าง ๆ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50715483/tourism-industry-asks-for-further-govt-help/

การไหลออกของ FDI จากตลาดเกิดใหม่อาจส่งผลต่อกัมพูชา

การไหลออกของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) จากประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ เช่น กัมพูชา อาจได้รับผลกระทบด้านลบต่อตลาดการเงิน การบริโภค ความเชื่อมั่น การลงทุน การค้าระหว่างประเทศและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อ่อนตัวลงจากผลกระทบของมาตรการด้านสุขภาพที่รุนแรงเพื่อตอบสนองต่อการระบาดของ COVID-19 โดยนักเศรษฐศาสตร์พิจารณาว่าการลดลงอย่างรุนแรงนี้อาจเป็นความเสี่ยงที่ร้ายแรงสำหรับกัมพูชาเนื่องจากการถอนเงินทุนจำนวนมากและฉับพลันสามารถก่อให้เกิดความกังวลด้านสภาพคล่องสำหรับทั้งธนาคารกลาง และบริษัทขนาดใหญ่รวมทั้งส่งผลกระทบต่อศักยภาพของประเทศสำหรับการเติบโต และลดศักยภาพการส่งออก ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมากัมพูชาได้รับการดึงดูดสูงเป็นประวัติการณ์ของกระแสเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศจีนด้วยการลงทุนเน้นไปที่ภาคการผลิต โดยกัมพูชาดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 3.588 พันล้านดอลลาร์ในช่วงปี 2562 เพิ่มขึ้น 11.7% จาก 3.212 พันล้านดอลลาร์ในปี 2561 คิดเป็นการลงทุนจากจีนคิดเป็น 43% เกาหลีใต้ 11% เวียดนาม 7% ญี่ปุ่น 7% และสิงคโปร์ 6% ตามรายงานความคืบหน้าของเศรษฐกิจมหภาคและการธนาคาร 2562 และแนวโน้มปี 2563

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50715485/record-fdi-outflow-from-emerging-markets-could-leave-cambodia-exposed/

นายกฯ มอบ มท.-พาณิชย์จัดการ แก้ปัญหาขนส่งสินค้าข้ามเขต ชี้เคอร์ฟิวเป็นเหตุน้ำพริกบูด

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ รมว.กลาโหม มอบหมายในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้หน่วยงานกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทยและฝ่ายความมั่นคง ร่วมกันหาทางแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่จำเป็นต้องส่งสินค้าข้ามจังหวัดในช่วงที่มีการเคอร์ฟิว หลังพบการร้องเรียนจากผู้ประกอบธุรกิจหลายรายว่า แต่ละจังหวัดมีมาตรการการตรวจสอบไม่เหมือนกัน ทำให้การขนส่งสินค้าไม่สะดวก โดยผลการประชุมสำคัญเรื่องแรกเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส โควิด-19 มาตรการการกีดกันการเคลื่อนย้ายพรมแดนควรขึ้นอยู่กับการพิจารณาด้านสาธารณสุข ไม่ควรมีการจำกัดการค้าในภูมิภาคโดยไม่จำเป็น รวมถึงได้ข้อตกลงร่วมกันเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาด พร้อมเห็นชอบในหลักการการลดค่าธรรมเนียมการให้บริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศให้เป็นอัตราเดียวกันในอาเซียน โดยรอผลการพิจารณาจากองค์กรรายสาขาที่เกี่ยวข้อง และยังเห็นชอบให้มีการลงนามความตกลงยอมรับร่วมสาขายานยนต์อาเซียนภายใน ส.ค.63 นี้

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/business/1827079