โรงงานสี่แห่งของเมียนมาเริ่มผลิตหน้ากากอนามัย

โรงงานสี่แห่งในเขตย่างกุ้งและเขตพะโคจะเริ่มผลิตหน้ากากอนามัยหลังจากวันหยุดเทศกาลตะจาน ท่ามกลางความต้องการหน้ากากในท้องถิ่นที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการระบาดของ coronavirus คณะกรรมการกำกับดูแลอุตสาหกรรมแห่งเขตพะโคได้หารือกับ Cobes Industries Myanmar Bago Co บริษัทย่อยของ Cobes Industries ในฮ่องกงซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (PPE) โดยรัฐบาลได้ลงนามข้อตกลงซื้อ PPE 100,000 ชิ้นจาก Cobes และโรงงานการดูแลสุขภาพ KM Healthcare ของเกาหลีใต้ในเขต Bago เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ในขณะเดียวกันกำลังการเจรจาโรงงานญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ในเขตอุตสาหกรรม Shwe Lin Pan ใกล้ย่างกุ้ง ปัจจุบันราคาของหน้ากากอนามัยพุ่งสูงขึ้นถึง 800 จัตและ 1000 จัตต่อชิ้น เมื่อเทียบกับ 100 จัตถึง 150 จัตก่อนการระบาดของ COVID-19

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/four-factories-start-producing-masks-myanmar.html

สปป.ลาวจะจำกัดการเดินทางทั่วประเทศเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ Covid-19

ในสัปดาห์ที่ผ่านมาสปป.ลาวต้องเจอกับการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 จากยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทำให้ต้องมีมาตราการที่เข้มงวดขึ้นเพื่อหยุดการระบาดให้ได้เร็วที่สุด โดยหลังจากนี้จังหวัดและหมู่บ้านทั่วสปป.ลาวจะมีการใช้มาตราการจำกัดการเดินทางในช่วงนี้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ Covid-19 ในชุมชนหลังจากตรวจพบการติดเชื้อ 12 แห่งในประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรีสปป.ลาวได้ออกคำสั่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในแต่ละภาคส่วนไม่ว่า ผู้ว่าจังหวัด นายอำเภอ ฯลฯ ในการใช้มาตรการในการป้องกันอย่างเคร่งครัด หลังจากก่อนหน้านี้มีมาตรา lockdown จังหวัดต่างๆและให้ประชาชนกักตัวอยู่กับบ้านตั้งแต่วันที่ 1-19 เมษายน แต่ยอดผู้ติดเชื้อยังเพิ่มขึ้นทำให้ต้องมีมาตราการดังกล่าวออกมาเพิ่มเติม แผนปฎิบัติของมาตราจะให้เจ้าหน้าที่ในแต่ละอำเภอประชาสัมพันธ์ความข่าวสารต่างๆ รวมถึงความช่วยเหลือต่างๆในการดำเนินชีวิตในสถานการณ์ปัจจุบัน รัฐบาลสปป.ลาวคาดว่ามาตราการดังกล่าวจะทำประชาชนได้รับความช่วยเหลืออย่างทั่วถึงและครอบคลุมที่สุดเพื่อบรรเทาปัญหาในสถานการณ์ช่วงนี้

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Travel_71.php

การศึกษาทางไกลจะเป็นรากฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสปป.ลาว

กระทรวงศึกษาธิการและกีฬาได้เริ่มผลิตโปรแกรมการศึกษาออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคมหลังจากที่รัฐบาลสั่งให้โรงเรียนและสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งปิดทำการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคมถึง 21 เมษายนเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อของไวรัส Covid-19 โดยโปรแกรมการศึกษาทางไกลเหล่านี้คาดว่าจะออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์แห่งชาติลาวตั้งแต่เวลา 8:00 น. ถึง 8:30 น. และมีกำหนดออกอากาศทุกวันตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์ ผ่านช่องทางต่างๆทั้งจากสถานีโทรทัศน์ คลื่นวิทยุ และสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ทั้ง Facebook YouTube ทั้งนี้กระทรวงศึกษาธิการจะมีการพัฒนาและผลักดันให้มีการเรียนออนไลน์กันมากขึ้นเพราะไม่เพียงแค่เพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส covid-19 แต่รัฐบาลสปป.ลาวมีเป้าหมายที่ต้องการวางรากฐานการศึกษาออนไลน์ให้มีคุณภาพเพื่อเป็นโครงสร้างที่ดีในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพมากขึ้นซึ่งการนำระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมาใช้จะทำให้ประชาชนสปป.ลาวสามารถเข้าถึงได้ทั่วประเทศนั้นเอง

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Distance_71.php

การคาดการณ์ GDP ใหม่ของกัมพูชาไม่ดีนัก

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของกัมพูชาไว้อยู่ที่ 2.3% ในปีนี้และจะอยู่ที่ราว 5.7% ในปี 2564 ตามรายงานฉบับใหม่ของ ADB ซึ่งตีพิมพ์ในรายงาน “Asian Development Outlook 2020” โดย ADB กล่าวว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาจะลดลงเหลือ 2.3% ในปี 2020 อันเป็นผลโดยตรงจากการระบาดของ COVID-19 ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้การเข้าถึงตลาดส่งออกสำคัญของกัมพูชาลดลงเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าเศรษฐกิจของกัมพูชาจะฟื้นตัวกลับมาเติบโตอยู่ในระดับ 5.7% ในปี 2564 โดยสันนิษฐานว่าการระบาดใหญ่ในครั้งนี้จะสิ้นสุดลงและกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะกลับมาเป็นปกติภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่เหมาะสมในการตอบสนองต่อวิกฤติดังกล่าว รวมถึงการให้การสนับสนุนค่าจ้างสำหรับคนงานภาคผลิตเสื้อผ้า การบรรเทาด้านภาษีและเครดิตสำหรับธุรกิจ โดย ADB กล่าวว่าภาคบริการของกัมพูชาคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 1.7 ในปี 2020 เนื่องจากการท่องเที่ยวลดลง รวมถึงการเติบโตของอุตสาหกรรมนั้นคาดว่าจะชะลอตัวลงถึง 6.5% ด้วยการชะลอตัวของการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออกและภาคการก่อสร้างที่เติบโตช้าลง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50709859/new-gdp-prediction-is-not-optimistic/

มูลค่าทางการค้าระหว่างกัมพูชาและญี่ปุ่นอยู่ที่ 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562

การค้าระหว่างประเทศของกัมพูชาและญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 13% ในปีที่แล้วมาอยู่ที่ 2,292 ล้านเหรียญสหรัฐจากรายงานล่าสุดขององค์การการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) โดยการเพิ่มขึ้นนี้แสดงให้เห็นว่าญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในห้าประเทศผู้นำเข้าหลักจากกัมพูชา ซึ่งรายงานระบุว่าระหว่างเดือนมกราคมถึงธันวาคม 2562 กัมพูชาส่งออกสินค้าไปญี่ปุ่นมูลค่า 1,730 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 7.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่วนการนำเข้าของกัมพูชาจากญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 33.4% ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 562 ล้านเหรียญสหรัฐ จากรายงานของธนาคารแห่งชาติกัมพูชาแสดงให้เห็นว่าการส่งออกทั้งหมดของประเทศในปี 2019 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 14.53 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 เพิ่มขึ้น 12.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยการนำเข้ารวมของกัมพูชามีมูลค่าอยู่ที่ 22.19 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้วคิดเป็นเพิ่มขึ้น 18.6% ในปีที่แล้ว ซึ่งญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ โดยสหรัฐฯเป็นอันดับแรก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50709857/cambodia-and-japan-2-3-billion-record-trade-in-2019/

GRDP นครโฮจิมินห์ คาดเศรษฐกิจโต 14.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในไตรมาสแรก

ตามรายงานของสำนักงานสถิตินครโฮจิมินห์ เปิดเผยว่าผลผลิตมวลรวมในประเทศของนครโฮจิมินห์ (GRDP) ในไตรมาสแรกของปี 2563 อยู่ที่ 335.6 ล้านล้านด่ง (14.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว หากจำแนกสาขาเศรษฐกิจ พบว่าภาคเกษตร ป่าไม้และประมง ขยายตัวร้อยละ 4.06, ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 3.13 ในอีกด้านหนึ่ง ภาคการค้าและบริการ ลดลงร้อยละ 1.23 เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งอัตราการเติบโตทุกภาคส่วนและสาขาเศรษฐกิจรวม หดตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเฉพาะภาคการค้าและบริการที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ทั้งนี้ สาขา 5 ใน 9 อุตสาหกรรมสำคัญ มีการขยายตัวในทิศทางลบ ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ (12.85%), การศึกษาและการฝึกฝน (26.57%) และบริการที่พักและจัดงานเลี้ยง (31.69%)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/ho-chi-minh-citys-grdp-estimated-at-1426-billion-usd-in-q1/171241.vnp

“ผู้ผลิตเมลามีนไทย” ขยายการลงทุนในเวียดนาม

ผู้ผลิตเมลามีนชั้นนำไทย “บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)” กำลังเร่งผลักดันการลงทุนในเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศที่มีโอกาสในการเติบโตค่อนข้างสูง ตามรายงานของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ระบุว่าประธานกรรมการ คุณสนั่น อังอุบลกุล จะดำเนินการลงทุน 450 ล้านบาท (13.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปีนี้ เพื่อขยายธุรกิจไปยังเวียดนาม โดยจากเงินทุนทั้งหมดนั้น มูลค่า 300 ล้านบาท จะนำไปติดตั้งเครื่องจักรใหม่ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต PET preform และอีก 150 ล้านบาท ที่จะนำไปก่อสร้างโรงงานเมลามีนใหม่ในเมืองโฮจิมินห์ รวมถึงติดตั้งเครื่องจักรใหม่ในโรงงานแห่งนี้อีกด้วย ทั้งนี้ การก่อสร้างโรงงานเมลามีน จะเริ่มภายในอีก 1-2 เดือน และดำเนินงานในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า ซึ่งตลาดปัจจุบันยังคงเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 คาดว่ายอดขายจะอยู่ที่ 8.62 พันล้านบาท ในปีนี้ ลดลงร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ถึงแม้ว่ามีความต้องการอาหารและเครื่องดื่มผ่านช่องทางการจัดส่งอย่างมาก และธุรกิจคาดว่ายอดขายในไตรมาสแรก จะอยู่ที่ประมาณ 10 ล้านบาท ต่ำกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้า แต่ที่สำคัญที่สุด คือ แนวโน้มค่าเงินบาทอ่อนค่า จากอัตราของปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/thai-melamine-maker-ramps-up-investment-in-vietnam/171250.vnp

เมียนมาอนุมัติสินเชื่อกองทุน COVID-19 สำหรับบริษัทขนาดเล็ก 400 แห่ง

คณะกรรมการลงทุนของเมียนมา (MIC) เผยมีการปล่อยสินเชื่อฉุกเฉินให้กับธุรกิจขนาดเล็กประมาณ 400 แห่งที่ประสบกับความเสียหายจากการแพร่กระจายของ COVID-19 ไปทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดกลางและเล็กรวมถึงโรงแรมและการท่องเที่ยว โดยวางแผนที่จะออกกองทุนชุดแรกในวันที่ 9 เมษายน2563 หลังจากวันหยุดเทศกาลตะจาน โครงการเงินกู้ประกาศเมื่อวันที่ 29 มีนาคมโดยสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) และสำนักงานของรัฐและภูมิภาคเริ่มรับคำขอกู้ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคมกำหนดและส่งใบสมัครภายในวันที่ 9 เมษายน เพื่อหลีกเลี่ยงความแออัดผู้สมัครสามารถกรอกไปสมัครผ่านแอปพลิเคชันได้ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2563ผ่าน https://umfccicovid19loan.mitcloud.com

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/loans-approved-covid-19-fund-400-small-firms.html