ท่ามกลางโควิด เมียนมายันเดินหน้าโครงการเริ่มธุรกิจใหม่

สภาบริหารแห่งรัฐที่ได้จัดตั้งขึ้นใหม่ได้พบกับสมาชิกของสมาพันธ์การค้าและอุตสาหกรรมแห่งเมียนมา (UMFCCI) เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ในระหว่างการประชุมนายพลอาวุโส มินอองหล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งเป็นประธานสภากล่าวว่าธุรกิจต่างๆ จากภาคเกษตรกรรม ปศุสัตว์ การก่อสร้าง การค้า และการผลิต จะไม่มีการระงับโครงการที่กำลังดำเนินอยู่ในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉิน ในขณะเดียวกันยังมีการพิจารณามาตรการในการเปิดเศรษฐกิจอีกครั้งท่ามกลาง COVID-19 โดยมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือคนรากหญ้าในการเอาชนะความยากลำบากทางเศรษฐกิจและสังคมและการผ่อนคลายข้อจำกัดในการเดินทางด้วยรถไฟรถยนต์และทางอากาศ อีกทั้งจะมีการเปิดเจดีย์ วัด และอาคารของศาสนาอื่น ๆ และยังแนะนำว่าควรเปิดโรงงานที่ผลิตอาหารจากภาคเกษตรกรรมและปศุสัตว์อีกครั้ง เพิ่มการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของโลก นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้มีการเริ่มต้นโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าอีกครั้ง การบริการธนาคาร และการเปิดให้บริการของบริษัททัวร์และโรงแรมในประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-affirms-continuation-projects-resumption-business-amid-covid-19.html

UMFCCI คาดปีงบฯ นี้ จีน รั้งประเทศลงทุนอันดับต้นๆ ในเมียนมา

จากข้อมูลของสมาพันธ์การค้าและอุตสาหกรรมแห่งเมียนมา(UMFCCI) ปีงบประมาณ 63-64 นักลงทุนจากจีนจะเป็นนักลงทุนต่างชาติอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้วยเงินลงทุนจำนวนมาก ซึ่งจะมุ่งไปที่โครงสร้างพื้นฐานเชิงยุทธศาสตร์ที่สนับสนุนโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative) จีนลงทุนกว่า 3.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 375 ธุรกิจในเมียนมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 59-60  นอกจากจีนแล้วประเทศที่มีศักยภาพน่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ กระตือรือร้นที่จะเร่งการลงทุนโครงการปัจจุบันของจีนบางส่วนในประเทศหลังจากการระบาดของ COVID-19 ซึ่งจะเพิ่มการลงทุนในภาคพลังงาน โทรคมนาคม การท่องเที่ยว และการผลิตก๊าซธรรมชาติ ในปี 63-64 เมียนมาตั้งเป้าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศไว้ที่ 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและ 8.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 64-65 โดยมีเป้าหมายในปีนี้เพื่อส่งเสริมและดึงดูดการลงทุนในภาคเกษตรกรรม การประมง อุตสาหกรรม และเทคโนโลยี

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/china-forecast-be-top-myanmar-investor-fiscal-year-umfcci.html

เมียนมาอนุมัติสินเชื่อกองทุน COVID-19 สำหรับบริษัทขนาดเล็ก 400 แห่ง

คณะกรรมการลงทุนของเมียนมา (MIC) เผยมีการปล่อยสินเชื่อฉุกเฉินให้กับธุรกิจขนาดเล็กประมาณ 400 แห่งที่ประสบกับความเสียหายจากการแพร่กระจายของ COVID-19 ไปทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดกลางและเล็กรวมถึงโรงแรมและการท่องเที่ยว โดยวางแผนที่จะออกกองทุนชุดแรกในวันที่ 9 เมษายน2563 หลังจากวันหยุดเทศกาลตะจาน โครงการเงินกู้ประกาศเมื่อวันที่ 29 มีนาคมโดยสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) และสำนักงานของรัฐและภูมิภาคเริ่มรับคำขอกู้ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคมกำหนดและส่งใบสมัครภายในวันที่ 9 เมษายน เพื่อหลีกเลี่ยงความแออัดผู้สมัครสามารถกรอกไปสมัครผ่านแอปพลิเคชันได้ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2563ผ่าน https://umfccicovid19loan.mitcloud.com

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/loans-approved-covid-19-fund-400-small-firms.html

อินโดนีเซีย – เมียนมาหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านอาหาร สิ่งทอ และภาคบริการ

จากรายงานของสหพันธ์การค้าและอุตสาหกรรมสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) นักธุรกิจอินโดนีเซียและเมียนมากำลังหารือเพื่อร่วมมือในอุตสาหกรรมอาหารสิ่งทอและบริการ การจับคู่ทางธุรกิจจัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 ก.ย. ที่ผ่านมา เป็นการอำนวยความสะดวกระหว่างนักธุรกิจในการซื้อขายปุ๋ย ยาฆ่าวัชพืช บรรจุภัณฑ์ อาหารและยาซีเมนต์ ปูนซีเมนต์ กระดาษและเยื่อกระดาษ สิ่งทอรวมถึงผ้าบาติก การค้าและบริการ จากข้อมูลพบว่าการค้าของสองประเทศมีมูลค่า 523.147 ล้านเหรียญสหรัฐในระหว่าง เม.ย.ถึงก.ย.2561 เมียนมาส่งออก 62.822 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีการนำเข้ามูลค่า 460.325 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปีงบประมาณ 60-61 การค้ากับอินโดนีเซียมีมูลค่า 1,025.278 ล้านเหรียญสหรัฐ- ส่งออก 123.909 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ นำเข้า 901.369 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่ 1 ต.ค. 61 ถึง ก.ค. 62 มีมูลค่า 863.091 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การจัดงาน UMFCCI Centennial International Expo 2019 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการลงทุนในประเทศและต่างประเทศและโอกาสทางเศรษฐกิจโดยจัดแสดงผลิตภัณฑ์สินค้ารวมถึงยานพาหนะจากเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน มาเลเซีย มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/indonesia-myanmar-discuss-cooperation-in-foodstuff-textile-service-sectors