รัฐบาลยกเลิกเทศกาลตะจานในย่างกุ้งและมัณฑะเลย์

เมียนมากำลังจำกัดการเคลื่อนไหวของผู้คนในเมืองใหญ่สองเมืองคือย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ในช่วงเทศกาลตะจาน(Thingyan) ระหว่างวันที่ 10-17 เมษายนเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส COVID-19 เมียนมามีผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 จำนวน 21 รายและมีผู้เสียชีวิตหนึ่งรายและรัฐบาลกังวลว่าอาจเกิดการระบาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากที่มีการอพยพแรงงารจำนวนหมื่นคนในช่วงวันหยุด ในวันที่ 3 เมษายน 2563 คณะรัฐมนตรีมัณฑะเลย์ประกาศจำกัดการเดินทางเข้าและออกจะมีผลตั้งแต่วันที่ 7 เมษายนถึง 21 เมษายน 2563 หลังจากนั้นจะมีการตัดสินใจว่าจะขยายเวลาออกไปหรือไม่ ซึ่งร้านขายยาและสินค้าจำเป็นเท่านั้นที่จะได้รับอนุญาตให้เปิดได้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govt-cancels-annual-thingyan-celebrations-yangon-mandalay.html

เอ็กซิมแบงก์ใจถึงพักต้น-ดอกยาว6เดือน ช่วยผู้ส่งออก

เอ็กซิมแบงก์ ใจถึงลุยพักหนี้ ทั้งต้น-ดอกยาว 6 เดือนช่วยผู้ส่งออก พร้อมให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำใช้หมุนเวียน ผ่อนยาว 7 ปี วงเงิน 20 นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) เปิดเผยว่า ธนาคารได้ออกมาตรการดูแลลูกที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิดโดยให้พักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน โดยขณะนี้ได้ติดต่อไปยังลูกค้าโดยตรงและได้พักต้นพักดอกไปได้แล้วกว่า 1,400 ราย วงเงินกว่า 30,000 ล้านบาท และหากรายใดทำประกันการส่งออกไปยังผู้ซื้อประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ตามประกาศขององค์การอนามัยโลก จะยืดเวลาจ่ายเบี้ยคุ้มครองสูงสุดถึง 270 วัน นอกจากนี้ธนาคารยังช่วยเหลือผู้ส่งออก ที่เป็นลูกค้าและไม่ใช่ลูกค้าเอ็กซิมแบงก์ให้สามารถขอสินเชื่อระยะยาวดอกเบี้ยต่ำได้ เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออกวงเงินสูงสุด 20 ล้านบาท ชำระคืน 7 ปี  ดอกเบี้ย 2% ต่อปีในปีที่ 1-2 และฟรีค่าธรรมเนียมค้ำประกัน บสย. 2 ปีแรก แต่ถ้าต้องการวงเงินเกิน 20 ล้านบาท จะต้องขอกู้ไปลงทุน ลักษณะสินเชื่อระยะยาว 7 ปี ดอกเบี้ย 2% ต่อปีใน 2 ปีแรก วงเงินสูงสุดถึง 100 ล้านบาทได้…

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/767381

‘กรมเจรจาฯ’ แนะผู้ประกอบการเพิ่มแปรรูปผลไม้พร้อมใช้เอฟทีเอช่วยขยายตลาดช่วงวิกฤตโควิด-19

อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้หลายประเทศมีความต้องการบริโภคอาหารที่เก็บไว้ได้นานโดยไม่เน่าเสียเพิ่มขึ้น จึงแนะนำให้เกษตรกรและผู้ประกอบการในกลุ่มสินค้าผลไม้ปรับเปลี่ยนรูปแบบผลผลิต โดยเน้นการผลิตและส่งออกผลไม้แปรรูปมากขึ้น ที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์ผลไม้กระป๋องและผลไม้แปรรูปของไทย ได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพ รวมถึงมีศักยภาพในการผลิตและส่งออกสูงเป็นอันดับที่ 5 ของโลก ซึ่งความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ผลไม้กระป๋องและผลไม้ แปรรูปของไทยเติบโตได้ในตลาดโลก โดยปัจจุบัน 13 ประเทศคู่เอฟทีเอ ได้แก่ อาเซียน 9 ประเทศ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี และฮ่องกง ได้ยกเลิกภาษีศุลกากรที่เก็บกับสินค้าผลไม้กระป๋องและแปรรูปทุกรายการจากไทยแล้ว เหลือเพียง จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย และเปรู ที่ยังคงเก็บภาษีนำเข้าบางรายการ เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปของไทย ปีก่อนที่ไทยจะมีเอฟทีเอฉบับแรกกับอาเซียนในปี 35 จนถึงปัจจุบัน การส่งออกสินค้าผลไม้กระป๋องและผลไม้แปรรูปของไทยให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 190 ประเทศคู่ค้าสำคัญ 5 อันดับแรก คือ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป อาเซียน ญี่ปุ่น และ จีน ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคสมัยใหม่ที่ต้องการความสะดวกในการดำเนินชีวิตมากขึ้น และในช่วงที่สินค้าผลไม้สดกำลังเผชิญปัญหาการส่งออกชะงักงันจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงถือเป็นโอกาสที่เกษตรกรและผู้ประกอบการไทยจะเพิ่มการแปรรูปสินค้าผลไม้สด เป็นผลไม้กระป๋องและผลไม้แปรรูป

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/beco/3111542

นครโฮจิมินห์ดึงดูดการลงทุน FDI ลดลง 33% เมื่อเทียบกับปีก่อน ในช่วงไตรมาสแรก

จากข้อมูลของสำนักงานสถิตินครโฮจิมินห์ ระบุว่านครโฮจิมินห์ดึงดูดเม็ดเงินทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 20 มีนาคม ลดลงร้อยละ 33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีจำนวน 290 โครงการใหม่ ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 142.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ จำนวนโครงการใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมูลค่ารวมกันลดลงร้อยละ 50.7 สำหรับโครงการที่มีอยู่ มีมูลค่า 80.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าจากการซื้อหุ้น 829.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ การลงทุนเชิงพาณิชย์ใหม่ คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 60 ของเงินทุนใหม่ทั้งหมดในโครงการใหม่ นอกจากนี้ จาก 37 ประเทศที่เข้ามาลงทุนในนครโฮจิมินห์ อาทิ สิงคโปร์ ฮ่องกงและญี่ปุ่น เป็นต้น ในด้านการลงทุนในประเทศนั้น นครโฮจิมินห์มีจำนวนธุรกิจก่อตั้งใหม่ 8,100 ราย ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 30.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา :https://vietnamnews.vn/economy/674564/fdi-into-hcm-city-in-q1-drops-33-year-on-year.html

ภาคเกษตรเวียดนาม เกินดุลการค้าราว 49% ในช่วงไตรมาสแรก

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท เปิดเผยว่าภาคเกษตรเวียดนาม มียอดเกินดุลการค้าราว 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกสินค้าพืชสวนสำคัญอยู่ที่ 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีแนวโน้มที่เหมือนกับสินค้าส่งออกป่าไม้ ประมงและปศุสัตว์ ด้วยมูลค่า 2.8, 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 109 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 16.13, 14 และ 21.8 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม มีสินค้าหลายรายการยังคงเติบโต ได้แก่ ข้าว สำปะหลัง ไม้และไม้แปรรูป เป็นต้น ในขณะเดียวกัน การส่งออกปลาสวายหดตัวอย่างมาก ลดลงร้อยละ 61.5 ด้วยมูลค่า 238 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมายาง (26.1%), ชา (19%) และพริกไทย (13.9%) เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ตลาดสหรัฐฯ แทนที่ตลาดจีน ในฐานะผู้ซื้อรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตรอยู่ที่ 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.2 ของยอดส่งออกรวม รองลงมาจีน (21.4%), สหภาพยุโรป (13.1%), ญี่ปุ่น (8.9%) และอาเซียน (16.4%)

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/qi-agriculture-posts-nearly-49-growth-in-trade-surplus-412069.vov

ญี่ปุ่นสนับสนุนเงินกว่า 47,000 ล้านเยนสำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐาน 2 โครงการ

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) และรัฐบาลเมียนมาลงนามตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมผ่านการปรับปรุงระบบรถไฟและระบบไฟฟ้า JICA ลงนามในสัญญาเงินกู้กับรัฐบาลโดยให้เงินกู้ ODA สูงถึง 47.94 พันล้านเยน (607.3 พันล้านจัต) สำหรับโครงการทั้งสอง จากทั้งหมด 40,600 ล้านเยนจะถูกใช้ในช่วงแรกของโครงการปรับปรุงรถไฟย่างกุ้ง – มันดาเลย์ในขณะที่ระยะที่สาม 7.33 พันล้านเยนจะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาล่า หน่วยงานพัฒนาของญี่ปุ่นจะยังคงให้การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาเศรษฐกิจของเมียนมาอย่างต่อเนื่อง  ในเดือนมกราคม JICA ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้จำนวน 120.9 พันล้านเยนกับเมียนมาสำหรับสี่โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาระบบท่อน้ำทิ้งย่างกุ้ง, โครงการพัฒนาเมืองย่างกุ้ง, โครงการปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้าในเขตเมืองและโครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาค

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/japan-provide-y47-billion-two-infrastructure-projects.html

แรงงานผลิตกระเป๋าต้องการรับประกันกลับเข้าทำงานเมื่อโรงงานกลับมาเปิดใหม่

แรงงานจากโรงงานกระเป๋าหนัง 2 แห่งในย่างกุ้งที่ปิดตัวลงเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ต้องการรับประกันว่าพวกเขาจะได้กลับเข้าทำงานเมื่อโรงงานกลับมาเปิดอีกครั้ง Myanmar Muse Leather Goods ซึ่งมีคนงาน 300 คน และ Myanmar Elegant Supreme Leather มีแรงงาน  400 คน ได้ปิดตัวลงเป็นเวลาสามเดือนและจ่ายค่าแรงครึ่งหนึ่งของค่าจ้างทุกเดือน โรงงานทั้งสองแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรม Ywar Thar Gyi ในเขตการปกครอง East Dagon เป็นหนึ่งในหลายสิบโรงงานที่ปิดตัวลง ตามรายงานของกระทรวงแรงงานการตรวจคนเข้าเมืองและประชากร ตั้งแต่เดือนมกราคมพบว่าโรงงานอย่างน้อย 38 มี 22 แห่งที่ปิดกิจการลง นอกจากนี้บริษัทในยุโรปได้ยกเลิกคำสั่งซื้อท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาด โดยตลาดสหภาพยุโรปคิดเป็น 70% ของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/bag-making-workers-want-jobs-guaranteed-when-factories-reopen.html

รัฐบาลสปป.ลาวมั่นใจมีอาหารและสินค้าเพียงพอความต้องการภายในประเทศ

จากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิดที่ทำให้ผู้ติดเชื้อในสปป.ลาวมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในขณะนี้ จนเป็นที่มาของมาตราการปิดพรหมแดนรวมถึงการให้ประชาชนกักตัวอยู่บ้านตั้งแต่วันที่ 1-19 เมษายน ทำให้ประชาชนมีความกังวลถึงสินค้าและอาหารจะเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศหรือไม่ จากความกังวลดังกล่าวรัฐบาลได้ออกมาให้ความมั่นใจว่าสปป.ลาว มีแหล่งนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพียงพอถึงแม้การผลิตในประเทศจะหยุดชะงักขณะนี้ โดยสปป.ลาวจะนำเข้าสินค้าจากจีนและเวียดนามและมั่นใจว่าจะเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศแต่ถึงอย่างไรรัฐบาลได้ขอความรว่วมมือให้ประชาชนไม่ต้องกักตุนสินค้าเพราะนอกจากอาจขาดแคลนไปในบางช่วงแล้ว อาจทำให้ราคาสินค้าที่การปรับตัวสูงขึ้นไปตามอุปสงค์ของผู้บริโภค

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_2Arp.php