ก.แรงงาน เปิดคอร์สฝึกแรงงานเพื่อนบ้าน เสริมความเข้มแข็งภูมิภาคอาเซียน

ก.แรงงาน โดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดคอร์สอบรมแรงงาน เพื่อนบ้าน กว่า 10 หลักสูตร สร้างความเข้มแข็งลุ่มน้ำโขงและในภูมิภาคอาเซียน โดยทางกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่าความผันผวนทางเศรษฐกิจภายในประเทศไทย เกิดจากปัจจัยหลายด้าน อาทิ การลดลงของปริมาณกำลังแรงงานไทย การปรับเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่รวดเร็ว ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น รวมถึงนักลงทุนจากกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีศักยภาพ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย หันมาลงทุนในประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความต้องการแรงงานที่มีความรู้และทักษะฝีมือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้ จีงกำหนดยุทธศาสตร์ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ กพร. ได้จัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาฝีมือและศักยภาพแรงงานในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อยกระดับขีดความสามารถของแรงงานเพิ่มขึ้น ด้วยจำนวน 13 หลักสูตร อาทิ การออกแบบว็บไซต์ด้านโปรแกรม WordPress การโฆษณาและการตลาดด้านการท่องเที่ยว การประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร เทคนิคการขับรถยกสินค้าอย่างปลอดภัย และเทคนิคการซ่อมเครื่องยนต์เล็กเพื่อการเกษตร เป็นต้น

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3102138

ดัชนีอุตฯ IIP เพิ่มขึ้น 6.2% ในช่วง 2 เดือนแรก

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (IIP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีผลกระทบอย่างมากต่อกิจกรรมการผลิตภาคอุตสาหกรรม ซึ่งไวรัสข้างต้นส่งผลต่อแหล่งวัตถุดิบนำเข้าจากจีนในอุตสาหกรรมบางอย่าง หากจำแนกภาคอุตสาหกรรม พบว่าภาคแปรรูปและการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4, การผลิตไฟฟ้าและจำหน่าย (+8.4%), น้ำประปาและบำบัดน้ำเสีย (+4.9%) แต่การขุดเหมือง (-3.7%) อย่างไรก็ตาม สินค้าสำคัญบางอย่างที่อยู่ในธุรกิจ FDI มีการผลิตขยายตัวสูงขึ้น อาทิ ชิ้นส่วนโทรศัพท์เพิ่มขึ้นราวร้อยละ 30, โทรศัพท์มือถือ (+25.5%), สมาร์ทโฟน (+3.2%), ถ่านหินสะอาด (+10.3%) และการผลิตไฟฟ้า (+8.6%) นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจของสำนักงาน GSO ระบุว่าจำนวนพนักงานเพิ่มขึ้นที่อยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรม ตั้งแต่ต้นเดือนที่แล้วเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคธุรกิจที่ไม่ใช่รัฐและธุรกิจ FDI จากข้อมูลข้างต้นนั้น แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการพร้อมที่จะฟื้นตัวหลังจากสถานการณ์ของไวรัสโควิด-19 ผ่อนคลายลง

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/iip-rises-62-in-first-two-months-410915.vov

ราคาส่งออกข้าวพุ่ง ตามความต้องการเพิ่มขึ้น

จากข้อมูลของสมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) เปิดเผยว่าเมื่อไม่นานมานี้ ราคาส่งออกข้าวปรับตัวสูงขึ้น เนื่องมาจากความต้องการเพิ่มขึ้นของตลาดบางแห่ง อาทิ มาเลเซีย เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย เป็นต้น ทางตลาดมาเลเซียได้ตกลงที่จะซื้อธัญพืชจากเวียดนาม 90,000 ตัน และจะนำเข้าเพิ่มมากขึ้นอีกในอนาคตข้างหน้า สำหรับเกาหลีใตให้โควตานำเข้าอาหารเวียดนาม 55,112 ตันในปีนี้ ขณะเดียวกัน ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวจำนวนมากจากเวียดนาม ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2562 และคาดว่ายังคงรักษาตำแหน่งสูงสุดในปี 2563 คิดเป็นปริมาณนำเข้า 2.6 ล้านตัน ทั้งนี้ คณะผู้แทนจากกระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ มีกำหนดการเข้าเยี่ยมชมโรงงานแปรรูปข้าวเวียดนาม เพื่อที่จะเตรียมนำเข้าในอนาคตข้างหน้า นอกจากนี้ จีนที่เคยเป็นตลาดข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนามาหลายปีนั้น แต่ในปี 2562 ยอดส่งออกข้าวไปยังประเทศดังกล่าวลดลงอย่างมากร้อยละ 64.2 เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของไวรัวสโควิด-19

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/rice-export-prices-surge-amid-high-demand/169579.vnp

รัฐบาลเมียนมาเดินหน้าควบคุมกิจการแพประมง

กรมประมงจะทำการจดทะเบียนธุรกิจแพประมงที่จ้างคนงาน 30 คนขึ้นไปเพื่อจัดการกับปัญหาเรื่องการบังคับใช้แรงงานและการละเมิดสิทธิมนุษยชน ภายใต้กฎระเบียบใหม่ผู้ประกอบการแพตกปลาอาจจ้างเฉพาะคนงานที่มีบัตรประชาชนและรับรองว่าไม่มีการบังคับใช้แรงงาน ในระหว่างการประชุมกับสมาชิกสภานิติบัญญัติผู้ประกอบการเห็นด้วยกับรายการตรวจสอบ 16 จุดเพื่อตรวจสอบการดำเนินธุรกิจ สำหรับบทลงโทษที่ฝ่าฝืนจะปรับสูงถึง 3 ล้านจัต (2,000 ดอลลาร์สหรัฐ) และการห้ามทำประมงสามเดือน เมื่อปีที่แล้วมีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตกว่า 100 คนได้รับบาดเจ็บบาดเจ็บหรือสูญหายเนื่องจากการล่องแพในเขตอิระวดี เมื่อปลายปีที่แล้วมีรายงานว่านักศึกษาของ Dagon University ถูกค้ามนุษย์และถูกบังคับให้ทำงานบนแพตกปลาก่อนที่จะถูกช่วยเหลือไว้ได้ทัน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/government-moves-regulate-raft-fishing-businesses.html

บริษัทต่างชาติลงทุน 24 ล้านดอลลาร์สหรัฐในธุรกิจ CMP ในย่างกุ้ง

ตามรายงานของคณะกรรมการการลงทุนเขตย่างกุ้ง บริษัท ต่างๆ จะเข้าร่วมลงทุนในธุรกิจผลิตเสื้อผ้าและกระเป๋าแบบ CMP (Cutting Making และ Packaging) ในเขตอุตสาหกรรมในเขตย่างกุ้งรวมถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาล่า ด้วยการลงทุนเกือบ 24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ บริษัท ไฟน์ไลน์ จำกัด จากฮ่องกง ลงทุน 2.087 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาล่า บริษัท Genesis Myanmar Garment จำกัด จำนวน 4.285 ดอลลาร์สหรัฐ ในเขตอุตสาหกรรมอีสต์ ดราก้อน South Frame Myanmar Limited จากเอสโตเนีย 0.852 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  Myanmar Journey Bags Co Ltd (ฮ่องกง) 1.622 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเขตอุตสาหกรรมวาตายา Kai Sheng (เมียนมา) ของไต้หวัน 0.911 ล้านดอลลาร์สหรัฐใน ในเมืองชเวปยีธา บริษัท การ์เม้นท์ จำกัด จากจีน 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ บริษัท ศรีหยวน (เมียนมา) จำกัด จากฮ่องกง 0.906 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเมืองไล่ง์บแว่ บริษัท ซันไรส์ (เมียนมา) แฟชั่น จำกัด จากจีน 4.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเขตอุตสาหกรรม Thadukan บริษัท ซีรานนอนวูฟเวน (เมียนมา) จำกัด จากฮ่องกง 2.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ Allland Fashion Limited จากจีน 1.002 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเขตอุตสาหกรรมไลง์ตายา และมีบริษัททั้งจากจีน ไต้หวัน และอื่น ๆ ที่ลงทุนในธุรกิจเสื้อผ้าแบบ CMP ในหลายเขตอุตสาหกรรม การลงทุนในครั้งนี้สามารถสร้างงานในท้องถิ่นมากกว่า 8,920 ตำแหน่ง

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/companies-to-invest-24-m-in-cmp-garment-bag-making-in-yangon

กัมพูชามองถึงการเติบโตด้านการท่องเที่ยวหลังสิ้นสุดการระบาด Covid-19

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนกัมพูชาคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าหลังจากสิ้นสุดการระบาดของ COVID-19 โดยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของกัมพูชาได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว โดยรัฐบาลได้มีการแนะนำมาตรการและแผนงานเพื่อฟื้นฟูภาคต่างๆโดยเฉพาะในจังหวัดเสียมราฐ ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่สำคัญของกัมพูชา ซึ่งในช่วงสองเดือนแรกของปีนี้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในกัมพูชาลดลงถึง 15% เมื่อปีที่แล้วภาคการท่องเที่ยวของกัมพูชาเติบโตถึง 6.6% คิดเป็น 6.6 ล้านคน โดยมีรายรับจากภาคการท่องเที่ยวถึง 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่ากลัวคือ COVID-19 จะลดจำนวนนักท่องเที่ยวลงในปีนี้ประมาณไม่ต่ำกว่า 10% ซึ่งนายกรัฐมนตรีฮุนเซนและรัฐมนตรีต่างประเทศของกระทรวงการท่องเที่ยวเรียกร้องให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นเดินทางท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้นเพื่อเป็นการช่วยสนับสนุนภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50698040/cambodia-optimistic-of-exponential-tourism-growth-and-foreign-arrivals-after-end-of-covid-19

ทางหลวงสู่สีหนุวิลล์แล้วเสร็จไปกว่า 20%

โครงการทางด่วนแห่งแรกในกัมพูชาเชื่อมโยงระหว่างเมืองหลวงกรุงพนมเปญกับสีหนุวิลล์ได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว 20% นับตั้งแต่เริ่มก่อสร้างอย่างเป็นทางการเมื่อปีที่แล้วตามรายงานจากกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง (MPWT) สร้างโดย China Road และ Bridge Corp (CRBC) ซึ่งเป็นของรัฐผ่านบริษัทย่อยของบริษัท PPSHV Expressway Co Ltd. โดยคาดว่าค่าใช้จ่ายของโครงการจะมีมูลค่าประมาณ 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ระยะทางทอดยาว 190 กิโลเมตร ความกว้าง 24.5 เมตร ซึ่งถือเป็นพื้นฐานในการให้บริการอุตสาหกรรมที่ทันสมัยของประเทศและอำนวยความสะดวกในกิจกรรมการขนส่งระหว่างประเทศ การก่อสร้างทางด่วนเป็นไปตามวัตถุประสงค์การรวมตัวของภูมิภาคอาเซียนและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งจะเชื่อมโยงเครือข่ายการขนส่งในระดับภูมิภาคจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง โดยทางหลวงใหม่นี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งของกัมพูชาควบคู่ไปกับการพัฒนาโลกาภิวัตน์ ซึ่งการพัฒนาทางพิเศษเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “Belt and Road” ของรัฐบาลจีนครอบคลุมเกาะเทียมในศรีลังกา สะพานในบังคลาเทศและโครงการไฟฟ้าพลังน้ำทั้งในเนปาลและอินโดนีเซีย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50697727/billion-dollar-highway-to-sihanoukville-20pct-ready

ประภาศรี สุฉันทบุตรแนะรัฐบาลตั้งวอร์มรูมเศรษฐกิจออกมาตรการช่วยเหลือภาคการท่องเที่ยว

นางประภาศรี สุฉันทบุตร ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง วุฒิสภา เปิดเผยว่า รู้สึกเห็นใจ ผู้ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์หรือไกด์ที่ต้องตกงานไม่น้อยกว่า 30,000 คน จากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้นักท่องเที่ยวชาวจีนระงับการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยเมื่อวันที่29ก.พ.ที่ผ่านมา สมาพันธ์มัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย จัดประชุมมัคคุเทศก์ที่จังหวัดกระบี่ มีการสะท้อนปัญหาการยกเลิกทัวร์จากจีนเกือบทั้งหมดจะหวังพึ่งนักท่องเที่ยวจากยุโรปหรือเพื่อนบ้านอย่างสปป.ลาว มาเลเซีย เวียดนามหรือกัมพูชาก็ไม่ผลเพราะได้รับผลจากโควิด-19เช่นกัน ส่งผลให้ มัคคุเทศก์ ไม่มีงานทำแนะรัฐบาลตั้งวอร์มรูมเศรษฐกิจออกมาตรการช่วยเหลือด่วนในช่วงที่เกิดวิกฤตแบบนี้

ที่มา : https://mgronline.com

ยอดส่งออกยางพาราเพิ่มขึ้นราว 145% ในช่วงครึ่งเดือนแรกกุมภาพันธ์

จากสถิติของสำนักงานศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วงครึ่งเดือนแรกกุมภาพันธ์ ปริมาณการส่งออกยางพารารวมของเวียดนามอยู่ที่ 42,690 ตัน คิดเป็นมูลค่า 62.43 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 144.9 ด้านปริมาณ และร้อยละ 139.3 ด้านมูลค่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ 15 วันก่อน ซึ่งตัวเลขข้างต้น ในด้านปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 99.3 และด้านมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 124.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 สำหรับราคาส่งออกพาราเฉลี่ยในช่วงที่ผ่านมา อยู่ที่ 1,462 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ 15 วันก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในช่วงต้นปีนี้จนถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ปริมาณการส่งออกพาราของเวียดนามไปยังต่างประเทศ อยู่ที่ 132,620 ตัน คิดเป็นมูลค่า 193.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 25.8 ในด้านปริมาณ และร้อยละ 15 ในด้านมูลค่า นอกจากนี้ ข้อมูลจากกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าการส่งออกยาพาราของเวียดนามขึ้นอยู่กับการบริโภคยางพาราในตลาดจีน ดังนั้น ความผันผวนของความต้องการยางพาราจากจีนจะส่งผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมยางพาราในประเทศ สุดท้ายแล้วจากตัวเลขสถิติในช่วงไตรมาสแรกของปี 2561, 2562 แสดงให้เห็นว่าสัดส่วนการส่งออกยางพาราไปยังจีน อยู่ที่ร้อยละ 15-20 ของการส่งออกยางพาราไปยังต่างประเทศรวม

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/rubber-exports-skyrocket-nearly-145-per-cent-in-first-half-of-february-410851.vov