การรวมกลุ่มกว่า 100 บริษัทจากทั้งกัมพูชาและเวียดนาม

บริษัท จากกัมพูชาและเวียดนามกว่า 100 รายเริ่มสร้างเครือข่ายทางธุรกิจครั้งแรกจัดขึ้นโดยชมรมธุรกิจเวียดนามแห่งกัมพูชา (VBCC) ซึ่งงานนี้จัดขึ้นที่สถานเอกอัครราชทูตเวียดนามในกรุงพนมเปญ โดยเป็นการรวมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของทั้งสองประเทศมารวมตัวกัน โดย Farax (กัมพูชา), Ws Asia Pacific, Cargo, Angkor Milk และ MekongNet เป็นหนึ่งใน บริษัท ของกัมพูชาที่เข้าร่วมการประชุม ด้านเวียดนามมี Metfone, Cargoteam, BMB Steel และธนาคาร เช่น Sacombank, Agribank และธนาคารเพื่อการลงทุนและพัฒนากัมพูชา (BIDC) นอกจากนี้ยังมีนักลงทุนในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารจากจังหวัด An Giang ของเวียดนาม ซึ่งเชื่อว่าธุรกิจจากทั้งสองประเทศได้รับประโยชน์จากการรวมตัวกันในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุนชาวเวียดนามและ SMEs ในการค้นพบศักยภาพของตลาดกัมพูชา  ผ่านการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน ซึ่งปัจจุบันเวียดนามเป็นหนึ่งในคู่ค้าและนักลงทุนที่สำคัญที่สุดของกัมพูชา ซึ่งมีบริษัทจากเวียดนามกว่า 200 บริษัทที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50664448/event-draws-100-firms-from-vietnam-cambodia/

อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จับงานฉลองเปิดแฟรนไชส์สาขาแรกที่เวียดนาม

บริษัท อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ ILM ผู้นำธุรกิจร้านค้าปลีกของตกแต่งบ้านครบวงจรในประเทศไทย ร่วมมือกับ VI Funiture Joint Stock Company ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม Vietnam Investment Group (VIG Group) ผู้ประกอบการชั้นนำในธุรกิจค้าปลีกแห่งเวียดนาม  นำโดย Mr.David Do, VIG Managing Director ฉลองเปิดให้บริการอินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ ร้านแฟรนไชส์สาขาแรกอย่างเป็นทางการ รูปแบบสแตนด์อโลน มีพื้นที่ 990 ตารางเมตร ตั้งอยู่บนถนน.Nguyen Thi Minh Khai เมืองโฮจิมินห์ซิตี้ ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นถนนสายเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักมากที่สุด เพื่อตอบสนองความต้องการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านของผู้บริโภคชาวเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศที่มีศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียนและจะส่งผลดีต่อการเพิ่มยอดขายและรายได้จากธุรกิจแฟรนไชส์ในต่างประเทศให้แก่บริษัทฯ จากปัจจุบันที่ขยาย แฟรนไชส์แล้วใน 8 ประเทศ (รวมเวียดนาม)

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3071345

โครงการสัมมนาส่งเสริมการค้าเวียดนาม-กานา

จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม ระบุว่างานสัมมนาส่งเสริมการค้าในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2562 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม โดยนำคณะผู้แทนจากกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าประเทศกานาเข้ามาเยี่ยมชม ซึ่งจุดประสงค์ของกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการทำธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการเวียดนามกับกานา ให้มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ทั้งนี้ ประเทศกานาถือว่าเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ดีในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก ด้วยรายได้ต่อหัวมากกว่า 2,316 เหรียญสหรัฐต่อปี ประกอบกับทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ซึ่งจากตัวเลขสถิติการค้าเวียดนามกับกานา ในปี 2561 อยู่ที่ 572.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนามไปยังประเทศกานา ได้แก่ ข้าว เครื่องใช้ในครัวเรือน และเหล็กกล้า เป็นต้น ขณะที่ เวียดนามนำเข้าเม็ดมะม่วงหิมพานต์ และไม้ เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/business-seminar-to-promote-vietnam-ghana-trade-406676.vov

บิ่นห์เยืองดึงดูดเม็ดเงิน FDI พุ่งสูงขึ้น 69%

จากรายงานของระบบฐานข้อมูลส่วนกลางเวียดนาม (VGP) เปิดเผยว่าจังหวัดบิ่นห์เยือง (Binh Duong) ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ได้ดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศอยู่ที่ 9.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงปี 2559 – เดือนตุลาคม 2562 นับว่าเม็ดเงินลงทุนดังกล่าว เกินกว่าที่ตั้งเป้าไว้ โดยส่วนใหญ่จะเน้นลงทุนไปภาคอุตสาหกรรม การค้า และบริการ ทั้งนี้ เพื่อดึงดูเงินทุนโดยตรงจากต่างประเทศอย่างยั่งยืนในจังหวัด ทำให้ต้องมีการปรับปรุงโปรแกรมการลงทุนในช่วงปี 2559-2563 เพื่อจุดประสงค์ในการเพิ่มเงินทุน FDI กว่า 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ ในปี 2561 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 49.6 ของการลงทุนทั้งหมด และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของงบประมาณจังหวัด

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/fdi-poured-into-binh-duong-up-69-percent-406678.vov

เกาหลีใต้สนับสนุนการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของสปป.ลาว

ประธานาธิบดีเกาหลีใต้กล่าวเมื่อวันอังคารว่าประเทศของเขาจะช่วยสปป.ลาวให้บรรลุเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางการขนส่งและโลจิสติกส์ในภูมิภาค ซึ่งให้คำมั่นสัญญาในการหารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรี ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี สมัยพิเศษ เพื่อฉลองครบรอบ 30 ปีของความสัมพันธ์ ได้มีการอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการส่งเสริมการเชื่อมโยงและเสริมสร้างความร่วมมือในด้านการศึกษา ซึ่งเกาหลีใต้จะ “ร่วมมืออย่างแข็งขัน” ในความพยายามของประเทศแม่น้ำโขงในการเป็นศูนย์กลางการขนส่งและโลจิสติกส์ในภูมิภาค ซึ่งนายกรัฐมนตรีสปป.ลาวกล่าวแสดงคาดหวังสำหรับบทบาทของเกาหลีใต้ในการพัฒนาภูมิภาคแม่น้ำโขง และการพัฒนาความร่วมมือใหม่ ๆ ที่เชื่อมโยงกับนโยบายมุ่งใต้ใหม่และยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของรัฐบาลสปป.ลาว

ที่มา : http://www.koreaherald.com/view.php?ud=20191126000869

เริ่มต้นนิทรรศการกรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่น้ำโขง ปี 62 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า ณ เวียงจันทร์

เมื่อวันที่ 25 พ.ย. มีการเปิดตัวงานนิทรรศการเศรษฐกิจและเทคโนโลยีกรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่น้ำโขงปี 62 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีนและประเทศต่างๆตามกรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่น้ำโขง ซึ่งงานจะจัดจนถึง 28 พ.ย. โดยมีวัตถุประสงค์ภายใต้กรอบความร่วมมือของล้านช้าง-แม่น้ำโขงและโครงการ Belt and Road เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและสันติภาพรวมถึงส่งเสริมการค้าตามกรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่น้ำโขง ในงานมีการแสดงเทคโนโลยีสมัยใหม่ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆจากจีน นอกจากนี้ในงานยังเน้นให้เห็นถึงความสำเร็จของการดำเนินงานและความร่วมมือของบริษัทและโครงการต่างๆ จากประเทศจีนที่ลงทุนในประเทศต่างๆในแถบลุ่มแม่น้ำโขงโดยเฉพาะสปป.ลาว ซึ่งจีนและสปป.ลาวมีความสัมพันธ์ที่ดีในด้านการค้าในช่วงแปดเดือนแรกของปี 62 มูลค่าการค้าระหว่างสปป.ลาว-จีนสูงถึง 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น 16.6% เมื่อเทียบกับปี 61 และมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีของนักลงทุนทั้งจีนและสปป.ลาว

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lancang-mekong-expo-kicks-vientiane-109019

มูลค่าการค้าโดยรวมเพิ่มขึ้นราว 590 ล้านเหรียญสหรัฐ

รายงานของกระทรวงพาณิชย์ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ถึง 15 พ.ย.ของปีงบประมาณนี้มูลค่าการค้ารวมแตะที่ 4.598 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 587.875 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขาดดุลการค้าเกือบ 20 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออกถึง 2.289 พันล้านเหรียญสหรัฐในขณะที่มูลค่าการนำเข้าแตะ 2.309 พันล้านเหรียญสหรัฐ ดุลการค้าขาดดุลลดลงกว่า 550 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เกษตร, สัตว์, ทะเล, ป่าไม้, เหมืองแร่, ธุรกิจเสื้อผ้าแบบ Cutting Marking Packaging (CMP) และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ สินค้านำเข้า ได้แก่ สินค้าทุน วัตถุดิบ และวัตถุดิบ CMP มูลค่าการค้าโดยรวมคาดว่าจะสูงถึง 34 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีงบประมาณ 62-63 การส่งออกสามารถทำรายได้มากถึง 18 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 62-62 มูลค่าการค้ารวมแตะที่ 34,979 ล้านเหรียญสหรัฐสูงกว่าเป้าหมายที่ 31.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/total-trade-value-increases-by-around-590-m

นโยบายใหม่ต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมเหล็กเมียนมา

บริษัท ผู้ผลิตเหล็กระหว่างประเทศในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาว่า กำลังมองหาโอกาสเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านการผลิตเหล็กในมีเพียง 50,000 ตัน แต่ยังมีศักยภาพมากเนื่องจากประเทศยังต้องการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมากซึ่งต้องใช้เหล็ก โอกาสการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) จึงมีแนวโน้มที่ดี คาดเติบโต 7% โดยได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลก ตลาดจะพัฒนาหากมีการสนับสนุนการผลิตเหล็ก ตอนนี้ส่วนใหญ่นำเข้าเป็นหลักซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตในอุตสาหกรรมท้องถิ่น ความต้องการอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านถึง 2.5 ล้านตันต่อปี มากกว่า 90 % จากการนำเข้า อีกไม่กี่ปีความต้องการเหล็กจะเพิ่มขึ้นและทำไมต้องนำเข้าทั้งที่ผลิตได้เอง แต่ปัญหาคือการนำเข้าได้รับการยกเว้นภาษีซึ่งทำให้แข่งขันได้ยาก การนำเข้าส่วนใหญ่มาจากเวียดนามซึ่งได้รับการปกป้องด้วยนโยบายและกฎระเบียบ หากนโยบายที่คล้ายคลึงกันถูกนำไปใช้ในการผลิตเหล็กในประเทศจะเพิ่มขึ้นถึงห้าเท่าคือ 50,000, 000 ตันภายในสิบปี หากการผลิตเหล็กเติบโตขึ้นจะสามารถยับยั้งการไหลออกของเงินสำรองต่างประเทศและกลายเป็นผู้ส่งออกเหล็กได้ สามารถเพิ่มการจ้างงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/new-policies-needed-unleash-growth-steel-industry.html