กระทรวงไฟฟ้าฯ เซ็นสัญญาซื้อไฟฟ้าจากโครงการเจ้าผิว

กระทรวงไฟฟ้าและพลังงาน (MOEE) ได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าเจ้าผิว ใช้เป็นเชื้อเพลิง 135 เมกะวัตต์ ซึ่งจะผลิตโดยผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ Kyauk Phyu Electric Power Co. โดยสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ได้ลงนามเมื่อวันอังคารที่แล้ว Kyauk Phyu Electric Power Co เป็นการร่วมทุนระหว่าง Supreme Group ของเมียนมาและ Power China ของจีน โรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซในเจ้าผิว รัฐยะไข่ เป็นหนึ่งในสี่โครงการที่ได้รับอนุมัติจากรัฐบาล ซึ่งคาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้ 3111 เมกะวัตต์ ซึ่งจะช่วยตอบสนองความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นประมาณ 1,000 เมกะวัตต์ต่อปีของเมียนมา โรงไฟฟ้าถูกสร้างโดยระบบ build-operat (BOT) จะมีกำลังการผลิต 146 เมกะวัตต์แม้ว่าจะใช้งานได้ที่ 135 เมกะวัตต์ โรงงานแห่งนี้ผลิตไฟฟ้า 1.05 พันล้านหน่วยต่อปีซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมากในยะไข่และภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการที่คาดไว้ 1,000 เมกะวัตต์ในปี 64 สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPAs) ระยะสั้นจะถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/deal-signed-purchase-power-kyaukphyu-power-plant-project.html

FDI เมียนมาโตช้าสุดในอาเซียน

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของเมียนมาล่าช้าสุดในอาเซียนตามรายงานของสำนักเลขาธิการอาเซียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รายงานการลงทุนของอาเซียนปี 62 มีการลงทุนไหลสูงเป็นประวัติการณ์ไปยังประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียนยกเว้นเมียนมาที่ลดลง โดยในปี 61 ลดลง 11% คิดเป็น 3.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ สาเหตุหลักมาจากการลดลง 48% ของการลงทุนในอุตสาหกรรมที่นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ส่วนใหญ่การลงทุนมาจากบริษัทสิงคโปร์และบริษัทในเครือของจีนหรือฮ่องกง ในปี61 การลงทุนภายในอาเซียนมากกว่า 48% จะเป็นอินโดนีเซีย สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ทำให้ FDI หลั่งไหลเข้ามาใน CLMV เพิ่ม 4% เป็น 23 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปีที่แล้วคิดเป็น 15% ในอาเซียน เวียดนามเป็นผู้นำในการดึงดูดเงินลงทุนกว่า 15 พันล้านเหรียญสหรัฐในกลุ่มประเทศ CLMV การไหลเข้าสูงจะเป็นของกัมพูชาและเวียตนามทำให้การลงทุนแข็งแกร่งขึ้น FDI ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์คือ 155 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 61 จากที่ 147 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 60 เพิ่มขึ้นเป็นปีที่สามติดต่อกัน โดยขยายตัวจาก 9.6% ในปี 60 เป็น 11.5% ในปี 61 เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 66% เข้าสู่ภาคบริการ (การเงิน ค้าส่งและค้าปลีก และอสังหาริมทรัพย์) ทำให้เป็นภาคธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน FDI ในเมียนมาส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการเก็บรักษา ข้อมูลและการสื่อสาร

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-lags-asean-sees-record-fdi.html

ฮุนเซน ปล่อย เกิม สกคา ลดแรงกดดันนานาชาติ

ทางการกัมพูชาปล่อยตัว”เกิม สกคา”หัวหน้าพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) หลังจาก ถูกจับกุมตัวด้วยข้อหาทรยศชาติเมื่อกว่า 2 ปีก่อน แต่ยังคงมีคดีติดตัวอยู่เหมือนเดิม โดยศาลแขวงพนมเปญแถลงว่า เกิม สกคา เป็นอิสระจากการถูกกักบริเวณอยู่ภายในบ้านสามารถเดินทางไปที่ใดก็ได้ในกัมพูชา แต่ห้ามยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมืองหรือเดินทางออกนอกประเทศเพราะยังไม่ได้พ้นผิด ซึ่งชิน มาลิน โฆษกระทรวงยุติธรรมเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่าที่ปล่อยตัวเพราะ เกิม ให้ความร่วมมือกับทางการเป็นอย่างดี ประกอบกับเขามีปัญหาสุขภาพ ส่วนพรรค CNRP ของเขาถูกยุบก่อนการเลือกตั้งเมื่อปี 2561 ซึ่งในช่วงนี้กัมพูชาถูกแรงกดดันอย่างหนักให้ลดการปราบปรามฝ่ายค้านลงในช่วงที่ EU กำลังพิจารณาว่าจะเดินหน้าตัดสิทธิพิเศษทางการค้า (EBA) กับกัมพูชาหรือไม่ โดย EU เป็นตลาดส่งออกหลักของกัมพูชากว่า 1 ใน 3 สินค้าสำคัญ เช่น เสื้อผ้า รองเท้า และจักรยาน หากถูกตัดสิทธิพิเศษจริงย่อม ส่งผลต่อเศรษฐกิจกัมพูชาเป็นอย่างมาก ซึ่ง EU ได้มอบ EBA ให้กับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

ที่มา : https://www.reuters.com/article/us-cambodia-politics/cambodia-lifts-opposition-leaders-house-arrest-before-eu-trade-decision-idUSKBN1XK022

สปป.ลาวตั้ง Grid เพื่อส่งกระแสไฟฟ้าไปยังกัมพูชา

Electricite du Laos (EDL) ซึ่งดำเนินการโดยรัฐในประเทศสปป.ลาวได้เสร็จสิ้นการขยายโครงข่ายไฟฟ้ามากกว่า 80% ซึ่งจะส่งกระแสไฟฟ้าให้กับสายส่งของกัมพูชาที่ชายแดนของทั้งสองประเทศ โดยเกิดจากการลงนามในข้อตกลงการซื้อไฟฟ้าระหว่างสปป.ลาวและกัมพูชาในระหว่างการเยือนสาธารณรัฐประชาชนลาว ซึ่งกัมพูชาตกลงที่จะซื้อไฟฟ้าจำนวน 2,400 เมกะวัตต์ จากสปป.ลาวแบ่งเป็นสี่เฟสระยะเวลา 30 ปี เฟสแรกจะเริ่มในช่วงท้ายปี 2567 จำนวน 300 เมกะวัตต์ เฟสที่สองเริ่มในปี 2568 จำนวน 600 เมกะวัตต์ ในขณะที่เฟสสามจะเริ่มในปี 2569 จำนวน 600 เมกะวัตต์ และเฟสที่สี่จะเริ่มขึ้นในปี 2570 จำนวน 900 เมกะวัตต์ โดยสปป.ลาวจะส่งกระแสไฟฟ้าไปยังกัมพูชาจากโรงไฟฟ้าถ่านหินสองแห่งใน Xekong ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองหลวงเวียงจันทน์ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 530 กม. โดยรายงานว่าสปป.ลาวได้ตกลงที่จะขายไฟฟ้าผ่านสายส่ง 22 กิโลโวลต์และ 115 กิโลโวลต์ไปยังประเทศกัมพูชา นอกจากนี้รัฐบาลได้ลงนามในข้อตกลงขายไฟฟ้า 195 เมกะวัตต์ให้กัมพูชาในปี 2563

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2019-11/11/c_138545945.htm

การเกินดุลการค้าไตรมาสที่ 3 ในสปป.ลาว

สปป.ลาวมียอดเกินดุลการค้า 178 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 9 เดือนแรกของปี มูลค่าการส่งออกและนำเข้ารวมของสปป.ลาวใน Q3 ของปี 62 สูงถึง 8,582 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือ 76% ของตัวเลขที่ได้รับอนุมัติจากรัฐสภา มีการเพิ่มขึ้น 41% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกมีมูลค่าถึง 4,380 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือ 79.4% ของแผน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 5,516 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการนำเข้ามีมูลค่า 4,202 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่มีแนวโน้มสูงถึง 5,775 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาคอุตสาหกรรมและหัตถกรรมมียอดขาย 8,968 พันล้านกีบหรือ 73.5% ของตัวเลขเป้าหมาย เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 19.8% และมีแนวโน้มสูงถึง 12,306 พันล้านกีบหรือ 99% ของจำนวน 12,386 พันล้านกีบ รายได้จากอุตสาหกรรมแปรรูปและงานฝีมือลดลง การผลิตไฟฟ้าซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักได้รับผลกระทบจากฤดูแล้ง ประมาณ 23,641 ล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง สร้างมูลค่ามากกว่า 11,600 ล้านกีบหรือ 70% ของ 33,875 พันล้านกีบที่ได้รับอนุมัติจากสมัชชาแห่งชาติ ลดลงร้อยละ 5.17 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว รัฐบาลคาดว่าการส่งออกไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นในปีนี้เนื่องจากโรงงานใหม่เริ่มเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ มูลค่าการส่งออกแร่ธาตุอยู่ที่ 8,080 พันล้านกีบหรือ 68% ตัวเลขเป้าหมายและคาดว่าจะลดลง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-registers-trade-surplus-q3-108042

บริษัท สปป.ลาว ,เกาหลีใต้ ร่วมเป็นหุ้นส่วนในการเปิดตัว ICT solutions

 บริษัท Gentop จำกัด ของเกาหลีใต้ ร่วมมือกับ Asia Investment Development & Construction Sole  จำกัด (AIDC) ของสปป.ลาว วางแผนที่จะร่วมมือกันในสาขาวิศวกรรมโยธา พลังงานโทรคมนาคม และอุปกรณ์พิเศษ ซึ่งบริษัท Gentop ได้มอบระบบกล้องวงจรปิดมูลค่า 20,000 เหรียญสหรัฐให้ AlDC สำหรับการทดสอบในเวียงจันทน์ ประธานบริษัท Gentop กล่าวว่าในอนาคตได้วางตลาดที่มีมูลค่าสูงในตลาดสปป.ลาวรวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการบนพื้นฐานของ ICT solutions ซึ่งคาดหวังว่าความร่วมมือระหว่างบริษัทจะเติบโตขึ้น

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-south-korean-companies-partner-rollout-ict-solutions-108041

เวียดนามคาดว่ายอดส่งออก 217.05 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2562

จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MoIT) เปิดเผยว่าเวียดนามส่งออกประมาณ 217.05 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2562 หากคิดเป็นสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 82.5 ของยอดเป้าในการส่งออกของปีนี้ ซึ่งได้บรรลุเป้าที่มีการขยายตัวร้อยละ 7-8 ในปีนี้ โดยสินค้า 29 กลุ่มที่มีการส่งออกมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และอีก 5 รายการสินค้าที่มีรายได้มากกว่า 10 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ได้แก่ โทรศัพท์มือถือและส่วนประกอบ รองลงมาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เสริม, เครื่องแต่งกาย, รองเท้า และเครื่องจักรและอุปกรณ์ เป็นต้น หากคิดเป็นสัดส่วนรวมร้อยละ 59.4 ของยอดมูลค่าการส่งออกรวม ทั้งนี้ อัตราดังกล่าวในปีนี้ เวียดนามมีการขาดดุลการค้าติดต่อกัน 4 ปี แล้วในปีนี้กลับมาเกินดุลการค้าอีกครั้ง

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnams-exports-estimated-at-21705-bln-usd-in-10-months-406026.vov

สินค้าเวียดนามมีส่วนแบ่งการตลาดกว่า 200 ประเทศทั่วโลก

จากรายงานของอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MoIT) เปิดเผยว่าเวียดนามส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งในแง่ของขนาดตลาด และโครงสร้างสินค้าสำคัญ ในปัจจุบันเวียดนามส่งออกสินค้าไปยังตลาดต่างประเทศกว่า 200 ประเทศทั่วโลก ประกอบกับความต้องการของตลาดที่มีความหลากหลาย ซึ่งข้อกำหนดสินค้าที่มีความเข็มงวด และมาตรฐานของผลิตภัณฑ์สูง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เป็นต้น ทั้งนี้ มีการจัดอันดับการส่งออกระดับโลก พบว่าในปี 2550 เวียดนามอยู่ในอันดับที่ 50 ของโลก และในปี 2561 เวียดนามขยับอันดับดีขึ้นที่ 26 ของโลก โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ สหรัฐอเมริกายังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม เป็นผลมาจากนโยบายที่สนับสนุนในการกระจายส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีน อาเซียน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตาม การกระจายส่งออกสินค้าในหมวดสินค้าเกษตรและประมงยังอยู่ในระดับไม่สูงนัก เนื่องมาจากความผันผวนของตลาด ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnamese-goods-enjoy-market-share-in-200-countries-worldwide-406023.vov