การลดลงอย่างต่อเนื่องของนักท่องเที่ยวที่นครวัดในกัมพูชา

จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่อุทยานโบราณคดีอังกอร์ที่ตั้งอยู่ในเสียมเรียบยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องตามตัวเลขล่าสุดจาก Angkor Enterprise แสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 1.6 ล้านคนซื้อบัตรผ่านเข้าชมวัดตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกันยายนลดลงกว่า 12% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วในปี 2561 ทำรายได้เพียง 74 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งลดลง 13% ส่งผลมาจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนมาเยือนเสียมราฐน้อยลง ทั้งปัจจัยที่น่าสนใจที่ประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะเวียดนามกำลังแสวงหานักท่องเที่ยวชาวจีนและชาวเกาหลีใต้ ด้วยการลงทุนที่ใหญ่ขึ้นในแคมเปญเพื่อส่งเสริมแหล่งท่อวเที่ยว แต่ในทางตรงกันข้ามจำนวนนักท่องเที่ยวจีนในกรุงพนมเปญและสีหนุวิลล์ทางแถบชายฝั่งกลับกำลังเพิ่มสูงขึ้น โดยเพื่อแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้กัมพูชาจำเป็นต้องเสริมสร้างคุณภาพการบริการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งขอให้ภาครัฐมามีส่วนร่วมในการปรับปรุงบริการในอุตสาหกรรม โดยเมื่อปีที่ผ่านมา Angkor Enterprise ขายบัตรผ่านประตูเพื่อเข้าชมนครวัดให้กับนักท่องเที่ยวถึง 2.5 ล้านคน คิดเป็นรายรับกว่า 116 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50647145/tourist-decline-continues-at-angkor/

เกษตรกรกัมพูชาเลิกปลูกพริกไทยท่ามกลางผลผลิตที่ล้นตลาด

การลดลงของความต้องการพริกไทยในกัมพูชา ทำให้เกษตรกรจำนวนมากในกัมปอตหยุดการเพาะปลูกลงในฤดูกาลหน้า โดยเกษตรกรหลายคนพบว่าเป็นการยากที่จะขายผลผลิตของพวกเขา ซึ่งคาดว่า 20-25% ของเกษตรกรรายย่อยทั้งหมดจะทำการหยุดการเพาะปลูกหลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวในปีนี้ เหตุเพราะมีผลผลิตมากเกินไปทำให้ผลผลิตล้นตลาด โดยได้เปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน เช่น มะม่วง และด้วยอีกเหตุผลคือคำสั่งซื้อที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเพราะผู้ซื้อหันมาทำการเพาะปลูกเอง ซึ่งจากการตั้งข้อสังเกตที่มีการเพาะปลูกพริกไทยอยู่ที่ 290 ไร่ และเกษตรกรกว่า 445 คน จากจังหวัดกัมปอตและเคป โดยสร้างผลผลิตได้ที่ 100 ตันต่อปีแต่มีคำสั่งซื้อเพียง 70 ตันต่อปีจากผู้ซื้อ จึงทำให้เกิดอุปทานส่วนเกินส่งผลทำให้ราคาของพริกไทยทุกชนิดปรับตัวลดลง และจากข้อมูลของสมาคมพบว่า 50% ของพริกไทยที่ผลิตในกัมปอตส่งออกไปยังสหภาพยุโรปในขณะที่ 30% ถูกใช้ในการบริโภคภายในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50647117/farmers-quit-pepper-amid-oversupply/

กรุงฮานอยดึงดูดนักลงทุนต่างชาติมากที่สุด ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 62

จากข้อมูลของสำนักสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้  กรุงฮานอยดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศ ด้วยมูลค่า 6.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.5 ของการลงทุนโดยรวมจากต่างประเทศ รองลงมานครโฮจิมินห์ และจังหวัดบิ่ญเซือง (Binh Duong) ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน เวียดนามดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) อยู่ที่ 26.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งตัวเลขการลงทุนดังกล่าว มีมูลค่าเงินทุนไหลเข้าประมาณ 10.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยโครงการใหม่กว่า 2,760 โครงการ รวมไปถึงบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุน 10.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปยังคงได้ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุด ตามมาด้วยภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคการค้าปลีกค้าส่ง ตามลำดับ และประเทศฮ่องกง (จีน) เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุด ตามมาด้วยเกาหลีใต้ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/hanoi-most-attractive-to-foreign-investors-in-nine-months/161332.vnp

เวียดนามเผยส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้ และประมง พุ่งสูงขึ้น 2.7% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 62

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ป่าไม้ และประมงของเวียดนามอยู่ที่ 30.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน เวียดนามนำเข้าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจากต่างประเทศกว่า 23.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยปัจจัยที่ทำให้เวียดนามส่งออกเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากได้รับแรงหนุนของผลิตภัณฑ์ป่าไม้ และผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ ในส่วนของผลิตภัณฑ์ส่งออกที่มีมูลค่ามากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ทำมาจากไม้ และไม้แปรรูป กาแฟ ข้าว เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ผักผลไม้ และกุ้ง เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/agroforestryfishery-exports-up-27-percent-in-nine-months-403952.vov

กัมพูชาต้องมีนวัตกรรมมากขึ้นเพื่อสร้างความปลอดภัยจากการใช้จ่ายแบบไร้เงินสด

เนื่องจากมูลค่าการชำระเงินแบบไร้เงินสดเพิ่มขึ้นเป็น 9.9 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2561 ตามข้อมูลจากธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) โดยเชื่อว่าสามรถผลักดันนวัตกรรมใหม่ๆจนทำให้กัมพูชากลายเป็นสังคมไร้เงินสดได้ แต่ผู้ประกอบการมองว่าหากไม่มีการช่วยเหลือจากรัฐบาลนวัตกรรมเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นและไม่ทันต่อการเติบโตของการเปลี่ยนแปลงภายในกัมพูชา ซึ่งเมื่อเดือนที่แล้ว VISA ประกาศแผนการรักษาความปลอดภัยของพวกเขา สำหรับกัมพูชาได้วางรากฐานสำหรับชุดความก้าวหน้าทางโลกไซเบอร์ซึ่งมีแนวโน้มของข้อมูลที่ละเอียดอ่อนและมีการดำเนินการป้องกันเพิ่มเติมสำหรับผู้ค้าและผู้บริโภค ซึ่งการรักษาความปลอดภัยของระบบนิเวศการค้าถือเป็นสิ่งที่สำคัญและมองว่าเป็นความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างเครือข่ายการชำระเงินทั้ง ผู้บริโภค ภาคธนาคาร และภาครัฐ โดยหากอนาคตมีการใช้จ่ายแบบสังคมไร้เงินสดมากขึ้นแล้วจะสามารถสร้างความยืดหยุ่นระหว่างผู้ค้าและผู้บริโภคได้มากขึ้น รวมไปถึงการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคชาวกัมพูชามากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50647100/more-innovation-needed-to-protect-cashless-payments/

ธนาคารชาติแห่งกัมพูชาเรียกร้องนโยบายการเงินสีเขียว

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ยังคงเรียกร้องให้สถาบันการเงินในกัมพูชาวางนโยบายเพื่อส่งเสริมด้านการเงินและการลงทุนที่เป็นมิตร โดยสิ่งนี้เกิดขึ้นหลังจากธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศของสวิส (BIS) ได้เปิดตัวกองทุนเปิดสำหรับธนาคารกลางที่ลงทุนในพันธบัตรสีเขียว ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่เน้นลงทุนในโครงการที่สนับสนุนการลดสภาวะโลกร้อน โดย NBC ซึ่งเป็นสมาชิกของคณะกรรมการที่ปรึกษา BIS ได้แสดงจุดยืนการสนับสนุนสำหรับความคิดริเริ่มนี้ เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนถูกมองว่าเป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งที่อาจจะสร้างความไม่แน่นอนสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมทางสังคม ซึ่ง NBC สนับสนุนให้กับสถาบันทางการเงินทุกแห่งที่ร่วมมืออย่างจริงจังเกี่ยวกับนโยบายส่งเสริมการเงินสีเขียว โดย ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมสมาคมธนาคารในประเทศกัมพูชาได้ลงนามสองฉบับเพื่อบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับ “ ความร่วมมือทางการเงินที่ยั่งยืน” เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความร่วมมือทางการเงินที่ยั่งยืนในภาคการธนาคาร

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/national-bank-cambodia-calls-green-finance-policies-105291

กระทรวงการวางแผนและการลงทุน หน่วยงานตรวจสอบของรัฐผลักดันความร่วมมือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในสปป.ลาว

กระทรวงการวางแผนและการลงทุนและหน่วยงานตรวจสอบของรัฐกำลังดำเนินการเพื่อผลักดันให้เกิดความร่วมมือที่ดีขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายในการดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาล ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามใน MOU ในเดือนมิ.ย.ที่จะทำงานร่วมกันและแบ่งปันข้อมูล ซึ่งการเจรจาครั้งนี้จะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยเหลือการจัดการการวางแผนและการลงทุนของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งนี้เกี่ยวข้องกับงบประมาณของรัฐการบริหารจัดการทรัพย์สินของรัฐและการระดมทุนจากนักลงทุนเอกชนเพื่อการพัฒนาและการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ การทำงานร่วมกันนี้จะช่วยปรับปรุงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยเน้นการเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการพัฒนาในพื้นที่ชนบทและลดระดับความยากจน และผู้ช่วยรัฐมนตรีเรียกร้องให้หน่วยงานต่างๆ ทำงานร่วมกันเพื่อดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงและจัดทำเอกสารที่จำเป็นสำหรับแผนพัฒนา

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/planning-state-inspection-teamwork-targets-socio-economic-development-plans-laos-105281

ธนาคารต่างๆให้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อการลงทุนในแม่น้ำโขง – ล้านช้าง

ธนาคารพาณิชย์ได้ให้การสนับสนุนทางการเงินอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มการลงทุนในภูมิภาคแม่น้ำโขง – ล้านช้างเพื่อให้เกิดโครงการเส้นทางสายไหม ผู้จัดการทั่วไปของธนาคาร ICBC สาขาเวียงจันทน์ กล่าวว่าโครงสร้างพื้นฐานและพลังงานเป็นส่วนสำคัญ ซึ่งธนาคารได้ร่วมมือกับธนาคารอื่นๆ เพื่อสนับสนุนโครงการลงทุนในภูมิภาคแม่น้ำโขง รวมถึงการสนับสนุนทางการเงินสำหรับภาคพลังงานในสปป.ลาว อีกทั้งผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจของกระทรวงการต่างประเทศสปป.ลาวกล่าวว่าสปป.ลาวให้ความสำคัญกับความร่วมมือในแม่น้ำโขง-ล้านช้างและโครงการเส้นทางสายไหม กลุ่มอื่น ๆ รถไฟสปป.ลาว – ​​จีนและทางด่วนเวียงจันทน์ – วังเวียง ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างกำลังดำเนินการภายใต้โครงการเส้นทางสายไหม เมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์ จะช่วยประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงให้บรรลุตามแผนแม่บทการเชื่อมต่อของอาเซียนในปี 68 ในฐานะที่เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลการปรับปรุงการเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะเชื่อมโยงทางบกและบูรณาการกับภูมิภาคได้ดีขึ้น ตัวแทนจากสถานทูตจีนประจำประเทศ สปป.ลาวกล่าวว่าผู้นำของสปป.ลาวและจีนเห็นด้วยที่จะเดินหน้าต่อไปด้วยการตระหนักถึงความมุ่งมั่นของโครงการเส้นทางสายไหม รวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือในภาคการเงิน

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/banks-commit-financial-support-investment-mekong-lancang-105282