SME เพิ่มโอกาสรวยแบบก้าวกระโดด! บนตลาดกัมพูชากับเวียดนาม

งานสัมมนา “Krungsri Business Talk : กัมพูชา VS เวียดนาม ตลาดไหน ใช่เลย!” มีการนำผู้มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจของทั้ง 2 ประเทศมาถ่ายทอดข้อมูลที่สำคัญคือ ประเด็นที่ 1 การเติบโตและสินค้าที่เป็นไปได้ในตลาด กัมพูชาชอบดีทีวีไทยเป็นอย่างมากจึงไม่จำเป็นต้องทำโฆษณาตัวสินค้าไทยเพราะเป็นที่นิยมอยู่แล้ว ส่วนเวียดนาม มี FTA เชื่อมต่อการส่งออกของไทยและนิยมสินค้าอย่างเครื่องสำอางและไอที ประเด็นที่ 2 พฤติกรรมผู้บริโภค กัมพูชาเปิดรับสินค้าทุกอย่าง ไม่สนใจว่าฉลากจะเป็นภาษาไหนแต่ถ้าเป็นภาษาไทยจะยิ่งมีความเชื่อมั่น ส่วนเวียดนามมีรสนิยมในสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น ชอบผลิตภัณฑ์ที่มีกิมมิคและแปลกใหม่ ประเด็นที่ 3 การจับจ่ายและกฎระเบียบ การเข้าไปทำธุรกิจของทั้ง 2 ประเทศจะคล้ายคลึงกันคือหาคู่ค้าและตัวแทนจำหน่าย ด้านกฎระเบียบของเวียดนามจะมีความอ่อนไหวมากกว่าเพราะเปลี่ยนแปลงบ่อย สิ่งที่นักลงทุนพึงตระหนักคือการติดตามข้อมูลข่าวสาร นโยบายและเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศอยู่ตลอด

ที่มา: https://www.thairath.co.th/content/1258896

19 เมษายน 2561

ก้าวต่อไปของ CLMV

 

จากรายงานการวิเคราะห์ของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจสำหรับอาเซียนและเอเชียตะวันออก (ERIA) เกี่ยวกับศักยภาพของอาเซียน พบว่าการเติบโตของกลุ่มประเทศอย่างกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม (CLMV) เป็นที่น่าจับตามอง เช่น การที่ญี่ปุ่นเข้าไปลงทุนในเมียนมามากกว่า 1000% ตลอดหกปีที่ผ่านมา แต่ทั้งนี้อุปสรรคสำคัญคือ สงครามการค้า กรณี Brexit หรือการถอนตัวของสหรัฐออกจากกรอบการค้าเสรี (TPP) ที่เป็นตัวฉุดในบางครั้ง แต่ความได้เปรียบอีกอย่างคือ ค่าจ้างแรงงานถูกและต่ำที่สุดในประเทศกลุ่มอาเซียนอื่นๆ โดยมีค่าเฉลี่ยรายได้ต่อหัวอยู่ที่ 2,000 เหรียญสหรัฐต่อคน/ปี ในปี 2559 (ส่วนไทยอยู่ที่ 6,000 เหรียญสหรัฐต่อคน/ปี) แต่เมื่อเทียบเป็นรายปีจะพบว่าเพิ่มขึ้นถึง 6.5% เทียบกับอินโดนีเซีย 1.7% มาเลเซีย 4.4% ผลการศึกษาของ ERIA ชี้ว่ากลุ่ม CLMV จำเป็นต้องปรับปรุงด้านโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง การผ่อนคลายกฎระเบียบทางการค้าระหว่างประเทศ ลดช่องว่างรายได้ของประชากรในประเทศ เร่งสร้าง SMEs ที่เข้มแข็งในท้องถิ่น ลดการพึ่งพาของอียูในการสร้างงานและการลงทุนทางตรงในประเทศ CLMV จึงน่าจับตามองของนักลงทุนที่เข้ามาลงในกลุ่มอาเซียนเพราะมีส่วนผลักดันเป้าหมายในปี 2593 ที่หมายมั่นจะมีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับ 4 ของโลก

ที่มา: http://www.eria.org/news-and-views/clmv-countries-must-go-beyond-regional-integration/

16 กุมภาพันธ์ 2561

ธุรกิจกาแฟในนครโฮจิมินห์ : โอกาสที่ไม่ควรมองข้าม

ปัจจุบันเวียดนามกลายเป็นแหล่งส่งออกกาแฟกว่า 1.4 ล้านเมตริกตัน เป็นอันดับ 2 รองจากบราซิล (2.5 ล้านเมตริกตัน) คนเวียดนามนิยมดื่มกาแฟวันละหลายแก้ว การบริโภคเฉลี่ยต่อหัวสูงขึ้นถึง 1.5 กิโลกรัม/ปี เพราะปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคกาแฟแบบเดิมเปลี่ยนไปและชนชั้นกลางที่มากขึ้น อย่างร้านกาแฟ/คาเฟ่ที่ได้รับความนิยมในนครโฮจิมินห์มักจะมีการตกแต่งที่ทันสมัย มีบริการ Wifi และเครื่องปรับอากาศ เป็นศูนย์รวมของกิจกรรมทางสังคม อีกทั้งการกินกาแฟยังมีแตกต่างกันออกไปโดยแบ่งเป็นภาคเหนือและภาคใต้ โอกาสของธุรกิจกาแฟในนครโฮจิมินห์ 1) ภาคใต้มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมและมีชนชั้นกลางจำนวนมาก เหมาะสำหรับการขยายธุรกิจแฟรนไซส์กาแฟเพราะทั้งรายได้ประชากรและนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น 2.) พฤติกรรมการบริโภคที่เร่งรีบมากขึ้น กาแฟแคปซูล จึ่งเป็นสินค้าที่น่าสนใจเพราะมีการเติบโต 11% และกำลังตีตลาดในอาเซียน 3) กาแฟสำเร็จรูปของไทยมีคุณภาพและมีโอกาสที่จะทำตลาดได้ 4) อุตสาหกรรมสนับสนุนหรือธุรกิจต่อยอด เช่น การนำไปใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น เครื่องดื่ม เครื่องสำอางค์

ที่มา: ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในนครโฮจิมินห์

เมษายน 2561

ทำไมคนเวียดนามในภาคใต้จึงนิยมบริโภคสินค้าไทย ?

ปัจจุบันชนชั้นกลางเป็นแรงผลักดันเศรษฐกิจของเวียดนาม ด้วยกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น การซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจึงมีคุณภาพมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าไทยที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยราคาสมเหตุสมผลคุณภาพทัดเทียมกับสินค้าญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ปัจจัยที่พิสูจน์ว่าสินค้าไทยมีดีอย่างไร คือ 1) การเต็มใจจ่ายซื้อสินค้า 2) การซื้อสินค้าไม่เอาราคาเป็นที่ตั้ง 3) สัญลักษณ์ Made in Thailand สามารถการันตีได้ถึงคุณภาพ แม้ปัจจุบันจำนวนคู่แข่งจะมากขึ้นแต่โอกาสยังสดใสอยู่ โดยเฉพาะเมืองอย่างโฮจิมินห์ ดานัง และสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เพราะกำลังซื้อที่เพิ่มถึง 10% ในปี 2560 และคาดว่าในปี 2563 มูลค่าการค้าปลีกจะอยู่ที่ 180,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หนทางสำหรับสินค้าไทยยังมีอยู่มากจากความชื่นชอบสินค้าไทยในคุณภาพ ภาพลักษณ์ และราคา และการที่ปัจจัยทางด้านการคมนาคมที่เชื่อมกัน รวมถึงระบบโลจิสติกส์มีความเข้มแข็ง สินค้าที่มีศักยภาพในการเติบโตในภาคใต้เวียดนาม ได้แก่ สินค้าด้านการดูแลสุขภาพ เครื่องสำอาง อาหารและเครื่องดื่ม และการศึกษา

ที่มา: ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในนครโฮจิมินห์

21 กันยายน 2560

4 กลุ่มสินค้าที่เป็นที่ต้องการในตลาดเมียนมา

สินค้าอุปโภค-บริโภค สินค้าของไทยเป็นสินค้าที่ได้รับการยอมรับ สำหรับการนำไปขาย และควรมีการสร้างแบรนด์จึงจะสามารถตีตลาดได้ สินค้าประเภทยารักษาโรค การนำเข้าสินค้านี้ควรจำเป็นต้องศึกษากฎหมายการนำเข้าให้ดี สินค้าประเภทเครื่องนุ่งห่ม และเสื้อผ้า โดยเฉพาะยีนส์ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เป็นโอกาสที่ดีที่จะเข้าไปตีตลาดเมียนมา สินค้ากลุ่มวัสดุก่อสร้าง เพราะอยู่ในช่วงพัฒนาโครงการก่อสร้างขั้นพื้นฐาน ทำให้เครื่องมืออุปกรณ์ก่อสร้างเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น ควรเริ่มจากการขายก่อนเพื่อดูความต้องการของตลาดจากนั้นค่อยเริ่มลงทุนธุรกิจ ข้อแนะนำ คนเมียนมาจะซื้อสินค้าจะดูที่คุณภาพเป็นหลักล้วค่อยเปรียบเทียบราคา การขอใบอนุญาติค่อนข้างยาก ค่าจดทะเบียนค่อนข้างสูง คนขายควรเป็นคนท้องถิ่น การค้าขายต่างแดนต้องใช้ความอดทนสูงในการที่สินค้าจะตีตลาด และต้องมีความโดดเด่น คุณภาพดี ถึงจะอยู่รอด

ที่มา: https://www.bangkokbanksme.com/article/25632

18 สิงหาคม 2561

เทคนิคเพิ่มยอดขายสินค้าใน “เมียนมา”

จากการเพิ่มค่าแรงของรัฐบาลเป็น 126 บาทต่อวัน เพิ่มจากปี 2558 ถึง 33% ย่อมส่งผลต่อราคาสินค้า สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือการแข่งขันที่สูงของ SME ไทยด้วยกันและคู่แข่ง จีน เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ดังนั้นเทคนิคการเพิ่มยอดขายทั้ง 5 กลยุทธ์นี้เป็นสิ่งที่ SME ไทยควรนำไปปรับใช้คือ ขยายสายการผลิต เพิ่มสายการผลิต ออกแบบสินค้าที่หลากหลายเพื่อเพิ่มโอกาสให้ลูกค้า ขยายส่วนแบ่งตลาดภายในตลาดเดิม หาคำตอบให้ได้ว่าลูกค้าไม่เลือกสินค้าเราเพราะอะไร นำมาเป็นโจทย์ในการพัฒนาสินค้าเพื่อเจาะกลุ่มให้ได้ ขยายตลาดไปยังนอกประเทศเมียนมา ด้วยเมียนมาถูกขนาบด้วยจีนและอินเดียที่ถือเป็นตลาดขนาดใหญ่จึงเป็นโอกาสในการขยายตลาด และอาจได้เห็นโลจิสติกส์หลักในการเชื่อมโยงไทย-เมียนมา-อินเดียเข้าด้วยกัน เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย เพิ่มทางเลือกมากกว่าหน้าร้านขาย โดยเพิ่มสื่อทางโซเชียลมีเดียมากขึ้น เช่น facebook หรือ LINE@ พัฒนาบริการหลังการขาย ยกระดับโดยการประกันและการให้ข้อมูลสินค้า

ที่มา: https://www.bangkokbanksme.com/article/22539

28 มีนาคม 2561

เคล็ดลับลงทุนในลาวจากเจ้าของ “วิวมอลล์” ศูนย์การค้าไทยที่ดังขีดสุดใน สปป.ลาว!

ดร.ณรงค์ ตนานุวัฒน์ นักธุรกิจไทยจากเชียงใหม่เจ้าของร้านโขงวิว และ วิวมอลล์ คอมมิวนิตี้ไลฟ์สไตล์แห่งแรกในเวียงจันทน์ ได้เผยเคล็ดลับสำคัญในการทำธุรกิจที่น่าสนใจไว้ดังนี้ 1.วิสัยทัศน์ผู้นำ การอุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติพลิกจากประเทศ Land Locked เป็น Land Link ได้ 2. สร้างคุณค่าจากที่ดิน ที่ควรใช้ในเชิงพาณิชย์มากที่สุดและเลือกจุดที่เป็นแยกจราจร 3. ต้องเข้าในวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ ต้องรู้เรื่องราวอย่างลึกซึ้ง ถึงเริ่มลงมือ 4.Location เป็นสิ่งสำคัญสุด เช่น การที่ร้านเปิดบนถนนสาย 13 ที่เชื่อมถนน 450 ปี จากเวียงจันทน์ตรงมายังสะพานมิตรภาพไทย – ลาว 5.ดึงวัฒนธรรมมาเป็นสินค้า เช่น บรรยากาศภายในจะประดับไปด้วยภาพศิลปะแบบล้านช้าง 6. สำรวจคู่แข่ง สร้างระดับและมาตรฐานให้เหนือกว่าคู่แข่ง 7. ดัชนีการจดทะเบียนรถยนต์ แขวงไหนจดทะเบียนเยอะให้ไปลงทุนแขวงนั้น บทสรุป สำคัญคือการไปลงทุนที่ใดไม่ควรเอาเปรียบและประเทศนั้นต้องได้รับประโยชน์ด้วย

ที่มา: https://www.bangkokbanksme.com/article/22007

11 มีนาคม 2561

อัพเดท ปัจจัยและโอกาสการลงทุนใน สปป.ลาว

จากบทสัมภาษณ์ของ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายพาณิชย์) สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เวียงจันทน์ พบว่า ทั้ง 2 ประเทศมีมูลค่าการค้าขายตัว 5% แต่ติดลบในการส่งออกในภาคอุตสาหกรรม เพราะการเข้มงวดและโปร่งใสในโครงการสำคัญๆ เช่น เขื่อนไซยะบุรี ปีที่ผ่านมาได้มีการแก้กฎหมายการลงทุนทำให้มีต่างชาติทะลักเข้ามาลงเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะการคมนาคมและขนส่ง เช่น รถไฟฟ้าความเร็วสูงสปป.ลาว-จีน ที่แล้วเสร็จปี 2021 จากคุนหมิงถึงเวียงจันทร์ คาดว่าจะมีคนจีนเข้ามาไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคนต่อปี ทั้งยังให้ความสำคัญกับภาคการเกษตร การศึกษา ระบบสาธารณสุข โดยเพาะด้านวัตถุดิบ SME ไทยควรเข้าไปหนุนด้านการผลิตและแพกเกจจิ้ง จะดีกว่าการนำสินค้าไปขายเอง และยังมีช่องทางลงทุนที่น่าสนใจ คือ การบริการด้านสุขภาพ พบว่าในปีที่จะถึงนี้กลุ่มทุนจากไทยไปเปิดโรงพยาบาลใน สปป.ลาว แล้ว ส่วนสินค้าความงาม และอาหาร พบว่าใช้สินค้าไทยสูง 60-70% และเรื่องของการศึกษาและธุรกิจแฟรนไชส์ยังไปได้ดี โดยปีที่ผ่านมาสมาคมแฟรนไชส์สามารถขายออกไปได้ถึง 10 แบรนด์

ที่มา: https://www.bangkokbanksme.com/article/22146

21 มีนาคม 2561

มีอะไรใหม่ ในหลวงพระบาง

ปี 2561 ที่ผ่านมา สปป.ลาวมีการเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารราชการโดยการยกแขวงหลวงพระบางขึ้นเป็น นครหลวงพระบาง เพื่อยกระดับการพัฒนาและเชื่อมโยงกับเมืองสำคัญของภูมิภาค โดยครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดที่อยู่ภายใต้การดูแลของ UNESCO มีประชากรทั้งสิ้น 71,812 คน เป็นเกษตรกรเพียง 5% มีศักยภาพในการลงทุน รองรับนักท่องเที่ยวได้ 550,000 คนต่อปี ทุกครัวเรือนสามารถเข้าถึงระบบสาธารณูปโภคได้ร้อยเปอร์เซ็น ซึ่งหลวงพระบางนั้นเป็นความหวังด้านการท่องเที่ยวของ สปป.ลาว ปัจจุบันเส้นทางรถไฟฟ้าความเร็วสูงจีน – สปป.ลาว โดยมี 1 สถานีของหลวงพระบางเป็นจุดจอดสำคัญ ซึ่งเชื่อมต่อกับการท่องเที่ยวสายวัฒนธรรมภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจ หลวงพระบาง อินโดจีน เมาะลำไย (LIMEC) ที่เชื่อมโยงด้านการค้า การลงทุน โลจิสติกส์ ฯลฯ กับประเทศไทยและเมียนมา เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า สปป.ลาวคาดหวังให้หลวงพระบางนครหลวงพระบางเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยว เพราะ 7-8% ของจีดีพี เป็นการท่องเที่ยวที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา: กองความร่วมมือการค้าและการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ

30 เมษายน 2561

จับตา “เบียร์คราฟท์”: ธุรกิจเกิดใหม่ที่โดดเด่นในภาคใต้ของเวียดนาม โอกาสของผู้ผลิตเบียร์จากไทย

ปัจจุบันวัฒนธรรมการดื่มเบียร์ที่นิยมเป็นอย่างมากในหมู่ผู้บริโภครุ่นใหม่และจำนวนชนชั้นกลางที่เพิ่มมากขึ้น อัตราการบริโภคเบียร์เป็นอันดับ 3 ของเอเชีย มูลค่า 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐ การบริโภคอยู่ที่ 4.84 ล้านลิตรต่อปี ในนครนครโฮจิมินห์เมืองพบว่ามีธุรกิจการผลิต “เบียร์คราฟท์” มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยส่วนใหญ่เป็นของชาวตะวันตกอย่างสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอังกฤษ และมีชาวเวียดนามหันมาทำธุรกิจนี้มากขึ้น เพราะการบริโคของชนชั้นกลางหรือรุ่นใหม่เปลี่ยนไป นอกจากนี้ยังตั้งตัวเองเป็นเมืองหลวงแห่งเบียร์คราฟต์ของภูมิภาคอาเซียน อาศัยความได้เปรียบในการผลิต ต้นทุนไม่สูง ใช้วัตถุดิบในประเทศ โอกาสของผู้ประกอบการคือ การจัดตั้งธุรกิจง่าย ไม่ยุ่งยาก ตลาดสามารถเติบโตได้อีก ที่ตั้งประเทศสามารถกระจายสินค้าได้ดี นักลงทุนไทยสามารถเข้ามาเปิดโรงงานผลิตหรือรับจ้างผลิตลักษณะ OEM เพื่อนำไปขายได้ทั้งในและต่างประเทศได้

ที่มา: ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในนครโฮจิมินห์ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์

2 มีนาคม 2561