เกาหลีใต้ย้ำยังมุ่งมั่นจะลงทุนในเมียนมาต่อไป

สถานทูตเกาหลีใต้ (ROK) ได้แถลงการณ์ถึงความมุ่งมั่นที่จะลงทุนในเมียนมา ภายหลังจากที่มีข่าวว่าบริษัทเกาหลีใต้พิจารณาจะย้ายไปลงทุนยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างบังคลาเทศ คำแถลงการณ์ของสถานทูตกล่าวต่อไปว่ายังไม่เคยได้ยินเรื่องการย้ายฐานการลงทุนไปที่อื่นแต่อย่างใด แต่รายงานข่าวของบังคลาเทศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วอ้างว่าธุรกิจของเกาหลีใต้ต้องการย้ายไปยังบังคลาเทศตามคำแถลงของสำนักงานเขตเศรษฐกิจบังกลาเทศ (BEZA) และบริษัท เกาหลีอุตสาหกรรมคอมเพล็กซ์ จำกัด (KIC) เนื่องจากข้อบกพร่องในเขตอุตสาหกรรม สถานทูตเกาหลีใต้กล่าวว่าการลงทุนของสองประเทศนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก เมียนมาและเกาหลีใต้ลงนามข้อตกลงเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานรวมถึงข้อตกลงการให้เงินกู้ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ เกาหลีใต้เป็นนักลงทุนต่างชาติที่ใหญ่เป็นอันดับหกมีการลงทุน 3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐในธุรกิจ 179 แห่ง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/south-korea-reiterates-commitment-investing-myanmar.html

DHL ขยายบริการในเมียนมาด้วยคลังสินค้าใหม่

ดีเอชแอลซัพพลายเชน หนึ่งในผู้นำระดับโลกด้านลอจิสติกส์ประกาศเปิดตัวคลังสินค้าแห่งแรกในเมียนมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว บริษัทลงทุนประมาณ 1.58 พันล้านจัต (1 ล้านยูโร) ในโรงงานที่ Dagon Seikkan Industrial Zone ของย่างกุ้งและเพิ่มพนักงานมากกว่า 200 คน ภายในปี 64 เพื่อขยายฐานลูกค้าในประเทศซึ่งส่วนใหญ่จากกลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งจากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในด้านห่วงโซ่อุปทานจากทั่วโลกและความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในท้องถิ่นและวัฒนธรรมที่แตกต่างทำให้เป็นแพลตฟอร์มที่สร้างความใกล้ชิดเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ดีเอชแอลเป็นบริษัทโลจิสติกส์เป็นบริษัทต่างประเทศ 100% เพียงบริษัทเดียวที่ได้รับใบอนุญาตการลงทุนในเมียนมา ดีเอชแอลเป็นแบรนด์ระดับโลกในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ตั้งแต่การจัดส่งพัสดุไปรษณีย์ พัสดุระหว่างประเทศ การจัดส่งทางอิเล็กทรอนิกส์ ทางบก ทางอากาศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/dhl-scales-operations-myanmar-new-warehouse.html

กระทรวงไฟฟ้าฯ เซ็นสัญญาซื้อไฟฟ้าจากโครงการเจ้าผิว

กระทรวงไฟฟ้าและพลังงาน (MOEE) ได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าเจ้าผิว ใช้เป็นเชื้อเพลิง 135 เมกะวัตต์ ซึ่งจะผลิตโดยผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ Kyauk Phyu Electric Power Co. โดยสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ได้ลงนามเมื่อวันอังคารที่แล้ว Kyauk Phyu Electric Power Co เป็นการร่วมทุนระหว่าง Supreme Group ของเมียนมาและ Power China ของจีน โรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซในเจ้าผิว รัฐยะไข่ เป็นหนึ่งในสี่โครงการที่ได้รับอนุมัติจากรัฐบาล ซึ่งคาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้ 3111 เมกะวัตต์ ซึ่งจะช่วยตอบสนองความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นประมาณ 1,000 เมกะวัตต์ต่อปีของเมียนมา โรงไฟฟ้าถูกสร้างโดยระบบ build-operat (BOT) จะมีกำลังการผลิต 146 เมกะวัตต์แม้ว่าจะใช้งานได้ที่ 135 เมกะวัตต์ โรงงานแห่งนี้ผลิตไฟฟ้า 1.05 พันล้านหน่วยต่อปีซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมากในยะไข่และภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการที่คาดไว้ 1,000 เมกะวัตต์ในปี 64 สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPAs) ระยะสั้นจะถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/deal-signed-purchase-power-kyaukphyu-power-plant-project.html

FDI เมียนมาโตช้าสุดในอาเซียน

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของเมียนมาล่าช้าสุดในอาเซียนตามรายงานของสำนักเลขาธิการอาเซียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รายงานการลงทุนของอาเซียนปี 62 มีการลงทุนไหลสูงเป็นประวัติการณ์ไปยังประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียนยกเว้นเมียนมาที่ลดลง โดยในปี 61 ลดลง 11% คิดเป็น 3.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ สาเหตุหลักมาจากการลดลง 48% ของการลงทุนในอุตสาหกรรมที่นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ส่วนใหญ่การลงทุนมาจากบริษัทสิงคโปร์และบริษัทในเครือของจีนหรือฮ่องกง ในปี61 การลงทุนภายในอาเซียนมากกว่า 48% จะเป็นอินโดนีเซีย สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ทำให้ FDI หลั่งไหลเข้ามาใน CLMV เพิ่ม 4% เป็น 23 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปีที่แล้วคิดเป็น 15% ในอาเซียน เวียดนามเป็นผู้นำในการดึงดูดเงินลงทุนกว่า 15 พันล้านเหรียญสหรัฐในกลุ่มประเทศ CLMV การไหลเข้าสูงจะเป็นของกัมพูชาและเวียตนามทำให้การลงทุนแข็งแกร่งขึ้น FDI ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์คือ 155 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 61 จากที่ 147 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 60 เพิ่มขึ้นเป็นปีที่สามติดต่อกัน โดยขยายตัวจาก 9.6% ในปี 60 เป็น 11.5% ในปี 61 เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 66% เข้าสู่ภาคบริการ (การเงิน ค้าส่งและค้าปลีก และอสังหาริมทรัพย์) ทำให้เป็นภาคธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน FDI ในเมียนมาส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการเก็บรักษา ข้อมูลและการสื่อสาร

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-lags-asean-sees-record-fdi.html

อินเดียเพิ่มการนำเข้าถั่วดำจากเมียนมา

จากข้อมูลเดือนต.ค. ที่ผ่านมาอินเดียนำเข้าถั่วดำจำนวนมากจากเมียนมา อินเดียกำหนดระบบโควตาสำหรับพืชจากเมียนมาโดยมี 3 บริษัทได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอินเดียให้นำเข้าจากเมียนมา ช่วง ต.ค.ราคาถั่วดำอยู่ที่ประมาณ 80,000 จัตต่อตัน แต่ตอนนี้ราคาอยู่ที่ประมาณ 1.3 ล้านจัตต่อตัน รายงานระบุว่าผลผลิตในอินเดียต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้และมีการซื้อจากเมียนมา 3,000 ถึง 4,000 ตันต่อสัปดาห์ตั้งแต่ปลายเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา อินเดียซื้อกรัมดำจำนวนมากภายใต้ระบบโควต้าในราคาที่ต่ำกว่าแต่ตอนนี้อินเดียซื้อในราคาที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรปศุสัตว์และการชลประทานพบว่า 77% ของการเพาะปลูกส่งออกไปยังอินเดีย โดยจะเพาะปลูกในเดือนมี.ค.และเม.ย. และเก็บเกี่ยวในเดือนก.ย.หรือต.ค. พืชที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ในเขตมะกเว, เขตอิรวดี, ย่างกุ้ง, มั ฑะเลย์ และเขตสะกาย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/india-buying-more-black-gram-myanmar.html

บริษัทผลิตน้ำผึ้งเมียนมาชนะเลิศเหรียญทองสำหรับน้ำผึ้งที่ผลิตในท้องถิ่น

บริษัทในเครือ Smile Happy Co Ltd ได้รับการตอบรับจากสมาคมระหว่างประเทศของผู้เลี้ยงผึ้งในการเข้าร่วมงาน World Beekeeping Awards ที่จัดขึ้นในระหว่างการประชุม Apimondia ครั้งที่ 46 ที่เมืองมอนทรีออลประเทศแคนาดา เมื่อ ก.ย.ที่ผ่านมา และได้รับรางวัลเหรียญทองสำหรับแบรนด์ IM Honey บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 43 ปัจจุบันส่งออกน้ำผึ้งไปยังแคนาดา ซาอุดิอาระเบีย ญี่ปุ่น และไทย ปีหน้ามีแผนส่งน้ำผึ้งเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมสมาคม Apicultural แห่งเอเชียในเวียดนาม ทั้งนี้มีผลิตภัณฑ์ศักยภาพในการเติบโตเนื่องจากการบริโภคค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น โดย Smile Happy Co ร่วมกับสมาคม Apicultural ในการฝึกอบรมและการพัฒนาอุตสาหกรรม ในการเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งไปยังสหภาพยุโรป ภาคการเลี้ยงสัตว์ของประเทศได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่กำหนดไว้ในกฎหมายอาหารของยุโรปและร่วมมือกับ German Corporation งาน Apimondia International Apicultural Congress ครั้งที่ 46 มีผู้เข้าร่วมกว่า 6,000 คนจาก 80 ประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/local-company-wins-gold-medal-locally-produced-honey.html

ผลสำรวจความแตกต่างของมุมมองระหว่างนายจ้างกับสิ่งที่ผู้สมัครงานต้องการ

จากการสำรวจของ JobNet พบว่าผู้ประกอบการในเมียนมากำลังเจอความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดของธุรกิจในปัจจุบัน คือการจ้างงานและรักษาคนเก่งเอาไว้ ผลการสำรวจของหอการค้าอังกฤษพบว่า 3 ใน 4 ของผู้บริหารระดับสูงในเมียนมากล่าวว่าความท้าทายครั้งใหญ่ที่กำลังเผชิญไม่ใช่เพิ่มทุนหรืออัตราการเติบโตของตลาด การสำรวจเผยให้เห็นมุมมองที่แตกต่างจากนายจ้างและลูกจ้าง เช่น 72% ของนายจ้างกล่าวว่าเงินเดือนสูงเป็นสิ่งที่ผู้หางานต้องการพียง 60% ของพนักงาน 2,000 คน จากการสำรวจ อย่างไรก็ตามเกือบ 80 คนและ 66 คนมองว่าการเติบโตของอาชีพและโอกาสในการเรียนรู้และการพัฒนาเป็นสิ่งที่สำคัญสุด 8% ของบัญชีผู้สมัครส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เพศชายส่วนใหญ่มีเป้าหมายงานสมัครงานในการผลิตและ เพศหญิงสนใจงานด้านการศึกษา การดูแลสุขภาพ และการสื่อสารมากขึ้นในขณะที่ผู้ชายมุ่งไปที่อาหารและเครื่องดื่ม เทคโนโลยีสารสนเทศ และการออกกำลังกาย จำนวนเพศชายและหญิงสมัครงานด้านการท่องเที่ยวและกาโรงแรมมีจำนวนเท่ากัน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/employer-employee-views-differ-what-jobseekers-want-survey.html

MIC เผยนักลงทุนเกาหลีใต้ไม่ถอนการลงทุนจากเมียนมา

นักธุรกิจชาวเกาหลีใต้ในเมียนมาจะไม่มีการย้ายการลงทุนไปยังบังคลาเทศอย่างแน่นอน เลขาธิการคณะกรรมาธิการการลงทุนของพม่า (MIC) เผย จากแถลงการณ์ของสำนักงานเขตเศรษฐกิจบังกลาเทศ (BEZA) และ บริษัท เกาหลีอินดัสเตรียลคอมเพล็กซ์ จำกัด (KIC) เมื่อเร็ว ๆ นี้หนังสือพิมพ์ของบังคลาเทศรายงานว่าเกาหลีใต้ที่ลงทุนในเมียนมาต้องการย้ายไปบังกลาเทศ จากรายงานระบุว่าธุรกิจของเกาหลีใต้ประมาณ 100 รายต้องการย้ายไปยังบังคลาเทศเนื่องจากข้อบกพร่องในเขตอุตสาหกรรม แม้ว่า KIC จะลงทะเบียนในเมียนมาแต่ก็ยังไม่ได้เริ่มดำเนินธุรกิจ แต่จากข้อมูลพบว่าเป็นเพียงข่าวลือ ในปัจจุบันมีเขตอุตสาหกรรมสองเขต ได้แก่ เขตอุตสาหกรรมเกาหลี – เมียนมาที่ตั้งขึ้นรัฐบาลเมียนมาและเกาหลีใต้และอีกหนึ่งเขตตั้งขึ้นโดยบริษัทเอกชน รายงานของคณะกรรมการการลงทุนและการบริหาร บริษัท (DICA) เกาหลีใต้เป็นนักลงทุนต่างชาติอันดับหกมีการลงทุน 3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐในธุรกิจ 179 แห่ง ส่วนใหญ่ลงทุนในน้ำมันและก๊าซ และธุรกิจการผลิต

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/no-withdrawal-south-korean-investors-says-mic.html

ธุรกิจ CMP นำเข้าวัตถุดิบมากกว่า 160 ล้านเหรียญสหรัฐในหนึ่งเดือน

ธุรกิจเสื้อผ้าแบบ CMP (Cutting Making และ Packaging) ได้นำเข้าวัตถุดิบมูลค่ากว่า 160 ล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือนในปีงบประมาณนี้ (1 ต.ค.62) เกิน 12 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อน ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 25 ต.ค.ในปีงบประมาณ 62-63 ปัจจุบันวัตถุดิบในธุรกิจ CMP มีมูลค่า 160.748 ล้านเหรียญสหรัฐในขณะที่ปีที่แล้วอยู่ที่ 148.588 ล้านเหรียญสหรัฐ ระบบ CMP ส่วนใหญ่จะใช้ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและมีบ้างในการทำรองเท้าและกระเป๋า อย่างไรก็ตามเมียนมามีรายรับเพียง 10% เนื่องจากระบบ CMP เป็นไปตามค่าแรง แม้ว่าประเทศจะมีรายรับจากธุรกิจ CMP ประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี แต่การใช้ระบบ FOB สามารถเพิ่มรายได้มากกว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/cmp-businesses-import-raw-materials-worth-over-160m-in-one-month

โครงการถนนสายใหม่รัฐชินเริ่มปีหน้า

โครงการถนนสายใหม่ของรัฐชินได้รับเงินกู้จากธนาคารโลกเริ่ม ต.ค.ปีหน้า โดยจะเชื่อมเมืองกะเล่, พะล่าน และฮ่าค่า จุดเริ่มต้นของถนนจะอยู่ในกะเล่ซึ่งเลาะเลียบรัฐชินและเขตสะกาย ถนนกะเล่-พะล่าน-ฮ่าค่า มีความสำคัญในการเชื่อมโยงรัฐชินกับภูมิภาคและรัฐอื่น ๆ เมื่อเสร็จสิ้นจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาของรัฐซิน โครงการนี้จะกู้ยืมเงิน 65 ล้านเหรียญสหรัฐจากธนาคารโลกและส่วนหนึ่งจากเงิน 200 ล้านเหรียญสหรัฐจากเงินทุนในเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 58 เงินกู้ดังกล่าวได้รับอนุญาตสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในรัฐยะไข่, เขตอิรวดี, และรัฐชิน ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการที่มีความสำคัญสำหรับรัฐชินดังนั้นจึงให้ความสำคัญในการสร้างอย่างเหมาะสมและยั่งยืน ส่วนผลลัพธ์จากการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม รัฐบาลต้องมีแนวทางเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการจะได้รับการชดเชยอย่างเป็นธรรม โปร่งใสและมีผลกระทบน้อยที่สุด

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/new-road-project-chin-set-start-next-year.html