การส่งออกทางทะเลของเมียนมาร์ทะลุ 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 19 มกราคม

ตามสถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา ระบุว่า การส่งออกทางทะเลของเมียนมากับประเทศคู่ค้ามีมูลค่า 7.136 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 19 มกราคมของปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 ในขณะที่มูลค่าการนำเข้ามีมากกว่าการส่งออกที่ 10.66 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นมูลค่าการค้ารวม 17.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  ทั้งนี้มูลค่าการค้าทางทะเลเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้วสะท้อนถึงการลดลง 2.376 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  อย่างไรก็ดี เมียนมามีเป้าหมายการค้าต่างประเทศในปีงบประมาณ 2566-2567 อยู่ที่ 32.5 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งประกอบด้วยการส่งออกมูลค่า 16.5 พันล้านดอลลาร์ และการนำเข้ามูลค่า 16 พันล้านดอลลาร์ ในขณะเดียวกัน การค้าชายแดนของเมียนมาร์กับประเทศเพื่อนบ้าน (จีน อินเดีย บังกลาเทศ และไทย) อยู่ที่ประมาณ 6.53 พันล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณนี้ ซึ่งลดลงจาก 6.6 พันล้านดอลลาร์ที่จดทะเบียนในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นอกจากนี้ สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมายังแสดงให้เห็นถึงการค้าต่างประเทศรวมของเมียนมา ณ วันที่ 17 มกราคมปีงบประมาณนี้ มีมูลค่ารวม 24.337 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งลดลงจากบันทึกไว้ในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้วที่มีมูลค่า 27.145 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-seaborne-exports-surpass-us7-billion-by-19-january/

มีการส่งออกสินค้ารายวันไปยังประเทศจีน ด้วยรถบรรทุกมากกว่า 800 คัน ผ่านทางกัมปะติ

U Myint Zaw Moe ผู้รับผิดชอบด่านการค้าชายแดนเมือง Lweje ของกรมการค้าภายใต้กระทรวงพาณิชย์เมียนมา ระบุว่า การค้าชายแดนเมียนมาร์-จีนผ่านกัมปะติ ในรัฐกะฉิ่น มีการขนส่งสินค้าส่งออกด้วยรถบรรทุกมากกว่า 800 คันต่อวัน ทั้งนี้ การส่งออกผ่านด่านการค้าชายแดน Lweje จากรัฐกะฉิ่นมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการของจีนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของรัฐกะฉิ่น และสินค้าจากภูมิภาคอื่น ๆ เช่น แตงโม มะม่วง ข้าว พริก หัวหอม ปลาแห้ง และข้าวโพด เพิ่มขึ้น ในขณะที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยา ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ และอาหารจะถูกนำเข้า ผ่านด่านชายแดน Lweje

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/daily-export-of-goods-transported-to-china-with-over-800-trucks-via-kampaiti/#article-title

แนวโน้ม FDI ในเมียนมาร์ : ภาคพลังงานเป็นผู้นำด้วยมูลค่า 374 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

คณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัทรายงานว่าในช่วง 9 เดือนของปีงบประมาณ 2566-2567 ภาคพลังงานกลายเป็นผู้รับการลงทุนจากต่างประเทศสูงสุด โดยดึงดูดเงินได้มากกว่า 374 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมา คือ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตซึ่งมีรายได้ 112 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และภาคการขนส่งและการสื่อสารด้วยการลงทุน 77.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ระหว่างเดือนเมษายน-ธันวาคม 2566 ทั้งนี้ ในทางตรงกันข้าม ภาคบริการมีการลงทุนน้อยที่สุดเพียง 0.809 ล้านดอลลาร์ ซึ่งโดยรวมแล้ว มีการลงทุนใน 7 ภาคส่วนมีมูลค่าทะลุ 602 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม การลงทุนจากต่างประเทศลดลงอย่างมากเมื่อเดือนที่แล้ว โดยมีมูลค่าเพียง 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งภูมิทัศน์การลงทุนของเมียนมาร์ประกอบด้วย 7 ภาคส่วนหลัก ได้แก่ เกษตรกรรม ปศุสัตว์และการประมง การผลิต พลังงาน การขนส่งและการสื่อสาร อสังหาริมทรัพย์ และการบริการ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fdi-trends-in-myanmar-energy-sector-leads-with-us374m/#article-title

ราคาอ้างอิงขายส่งน้ำมันปาล์มของย่างกุ้ง พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดประจำสัปดาห์ที่สอง

ตามที่คณะกรรมการกำกับดูแลด้านการนำเข้าและจัดจำหน่ายน้ำมันบริโภคระบุว่า อัตราอ้างอิงการขายส่งน้ำมันปาล์มสำหรับตลาดย่างกุ้งถูกกำหนดให้เป็นระดับสูงสุดประจำสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน โดยอัตราอ้างอิงสำหรับสัปดาห์นี้ สิ้นสุดวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2567 กำหนดไว้สูงกว่าที่ 5,380 จ๊าดต่อ viss เทียบกับเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (22-28 มกราคม) อยู่ที่ 5,250 จ๊าดต่อ viss และ 4,955 จ๊าดต่อ viss สำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 21 มกราคม อย่างไรก็ตาม ราคาตลาดนั้นสูงกว่าราคาอ้างอิงมาก และเพื่อควบคุมการขายเกินราคา กรมคุ้มครองผู้บริโภค กระทรวงพาณิชย์ ได้แจ้งให้ผู้บริโภคร้องเรียนเรื่องการขายเกินราคาผ่านสายด่วนของศูนย์บริการตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ กรมกำลังพยายามร่วมกันควบคุมความผันผวนสูงของราคาน้ำมันปาล์มในตลาดค้าปลีก และเสนอราคาที่ยุติธรรมมากขึ้นแก่ผู้บริโภค โดยประสานงานกับสมาคมผู้ค้าน้ำมันบริโภคแห่งเมียนมาและบริษัทนำเข้าน้ำมัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/ygn-palm-oil-wholesale-reference-price-heads-for-second-weekly-high/

การค้าชายแดนเมียนมาทะลุ 6.52 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 19 มกราคม

Daw Cho Thet Mu รองผู้อำนวยการกรมการค้า กระทรวงพาณิชย์เมียนมา กล่าวว่า การค้าชายแดนของเมียนมากับประเทศเพื่อนบ้านมีมูลค่า 6.52 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 19 มกราคม 2567 ในปีงบประมาณปัจจุบัน 2566-2567 นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ซึ่งประกอบด้วยการส่งออกมูลค่า 4.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้ามูลค่า 2.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้เมียนมาดำเนินการค้าชายแดนกับจีน ไทย อินเดีย และบังคลาเทศ โดยส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้ ประมง และสินค้าอื่นๆ เป็นหลัก ในขณะที่นำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าทุน และสินค้าขั้นกลาง อย่างไรก็ดี เมียนมาร์ตั้งเป้าที่จะบรรลุเป้าหมายทางการค้าที่ 32.5 พันล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณ 2566-2567 ซึ่งประกอบด้วยการส่งออก 16.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/border-trade-crosses-us6-52-bln-as-of-19-january/

ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในวันที่ 26 มกราคม

ราคาน้ำมันของเมียนมาแสดงให้เห็นการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในหนึ่งวัน 120 จ๊าดต่อลิตรในตลาดเชื้อเพลิงในประเทศ โดยเมื่อวันที่ 25 มกราคม ราคาน้ำมันค่าออกเทน 92 อยู่ที่ 2,585 จ๊าดต่อลิตร น้ำมันค่าออกเทน 95 อยู่ที่ 2,720 จ๊าดต่อลิตร ต่อมาในวันที่ 26 มกราคม ราคาน้ำมันค่าออกเทน 92 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 2,705 จ๊าดต่อลิตร ในขณะน้ำมันค่าออกเทน 95 อยู่ที่ 2,845 จ๊าดต่อลิตร ส่วนราคาน้ำมันดีเซล และดีเซลพรีเมียมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 2,430 จ๊าดต่อลิตร และ 2,495 จ๊าดต่อลิตร ในวันที่ 25 มกราคม เป็น 2,450 จ๊าดต่อลิตร และ 2,515 จ๊าดต่อลิตร ในวันที่ 26 มกราคม อย่างไรก็ดี ดัชนีราคาที่กำหนดโดย Mean of Platts Singapore (MOPS) ซึ่งเป็นพื้นฐานการกำหนดราคาสำหรับผลิตภัณฑ์กลั่นจำนวนมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับราคาเชื้อเพลิงในประเทศ ตามการระบุของคณะกรรมการกำกับดูแลด้านการนำเข้า การจัดเก็บ และการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง นอกจากนี้ รัฐกำลังขับเคลื่อนตลาดเพื่อลดการสูญเสียระหว่างผู้นำเข้า ผู้ขาย และผู้ใช้พลังงาน รวมทั้งพยายามจำหน่ายน้ำมันในราคาที่สมเหตุสมผลเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาค

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/petrol-prices-indicate-sharp-rise-on-26-jan/#article-title

ราคายางเมียนมามีแนวโน้มขาขึ้น

เมื่อวันที่ 26 มกราคม ที่ผ่านมา ราคายางยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องที่มากกว่า 1,700 จ๊าดต่อปอนด์ในตลาดยางของรัฐมอญ โดยราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ขึ้นสูงสุดที่ 1,745 จ๊าดต่อปอนด์ และ 1,730 จ๊าดต่อปอนด์สำหรับยางตากแห้ง ซึ่งจากเมื่อช่วงต้นเดือนมกราคม ราคายางตากแห้งแตะ 1,610 จ๊าดต่อปอนด์และยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาอยู่ที่ 1,630 จ๊าดต่อปอนด์ ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้น 115-125 จ๊าดต่อปอนด์ในช่วงสามสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ความต้องการยางจากทั่วโลก การผลิตยางของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอุปทานในตลาดมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับราคายางของเมียนมา ทั้งนี้ ณ วันที่ 29 ธันวาคม เมียนมาส่งออกยาง 114,855 ตัน โดยคิดเป็นมูลค่าประมาณ 144.046 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีงบประมาณ 2023-2024 นอกจากนี้ การผลิตยางในช่วงปีงบประมาณที่ผ่านมามีมากกว่า 360,000 ตัน และมีการขนส่งยางมากกว่า 200,000 ตันไปยังคู่ค้าต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rubber-prices-on-upward-trend/#article-title

รถยนต์ราคา 30 ถึง 200 ล้านจ๊าด ขายได้ดีขึ้นในตลาดยานยนต์เมียนมา

U Kyawswa Tun Myint เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายรถยนต์แห่งเมียนมาระบุว่า ยานพาหนะที่มีราคาระหว่าง 30 ถึง 200 ล้านจ๊าดมียอดขายดีขึ้นในตลาดปัจจุบัน เนื่องจากก่อนหน้านี้ยอดขายซบเซาในช่วงต้นเดือนธันวาคม ตลาดจึงเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่สัปดาห์ที่สองของเดือนธันวาคม อย่างไรก็ตาม ตลาดรถยนต์ในปัจจุบันค่อนข้างเงียบ โดยมียอดซื้อและขายสม่ำเสมอ ราคาในตลาดไม่ขึ้นหรือลง แต่ราคาของรถยนต์ขนาดเล็กบางคันที่มีความต้องการสูงขึ้นกลับเพิ่มขึ้นเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งยอดขายถือว่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับต้นเดือนธันวาคมปีที่แล้ว นอกจากนี้ U Kyawswa Tun Myint กล่าวอีกว่า ยานพาหนะที่มีราคาตั้งแต่ 30-35 ล้านจ๊าด ถึง 100-150-200 ล้านจ๊าด กำลังขายได้ดีขึ้น และมีการขายรถยนต์ราคาสูงอยู่บ้าง แต่ก็ไม่บ่อยนัก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/k-30-to-200-million-cars-sell-better-now-in-myanmar-auto-market/

การส่งออกผลิตภัณฑ์แร่สร้างรายได้ 210.115 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ใน 9 เดือน

ตามสถิติของกระทรวงพาณิชย์ ในช่วง 9 เดือนที่ผ่ารมา เมียนมามีรายได้จากการส่งออกผลิตภัณฑ์แร่ไปยังต่างประเทศมากกว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลดลงกว่า 13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ ที่ผ่านมา ทั้งนี้ สามารถแบ่งเป็นการส่งออกที่รัฐเป็นเจ้าของคิดเป็นเงิน 29.517 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และการส่งออกภาคเอกชนได้รับ 180.598 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมเป็นเงิน 210.115 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ในปีงบประมาณ 2566-2567 ภาคการค้าของเมียนมาคาดว่าจะมีมูลค่าการค้า 32.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 16.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมูลค่าการนำเข้า 16 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามการประมาณการงบประมาณสำหรับปีงบประมาณ 2566-2567 โดยผลิตภัณฑ์แร่ที่เมียนมาส่งออก เช่น ทองคำ หยก ไข่มุก เพชร ตะกั่ว ดีบุก ไพลิน เงิน ทองแดง สังกะสี ถ่านหิน และโลหะอื่นๆ ไปยังต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mineral-product-exports-generate-us210-115-mln-in-9-months/

เมียนมานำเข้าเวชภัณฑ์มูลค่า 30.519 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ตามการรายงานของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 ยาและเวชภัณฑ์ 1,300 ตัน คิดเป็นมูลค่า 30.519 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศ 26 ประเทศ โดยตั้งแต่เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2566 หอการค้าเมียนมาร์ที่ดูแลกลุ่มอุปกรณ์เภสัชกรรมและอุปกรณ์การแพทย์ (MCCPMD) ได้ประกาศความพยายามที่จะป้องกันการขาดแคลนยา เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้นของค่ารักษาพยาบาลที่บ้านและยาจำเป็นในอุตสาหกรรมการแพทย์ อย่างไรก็ดี จากปะกาศดังกล่าวเน้นย้ำว่า MCCPMD ได้นำเข้ายาที่จำเป็นสำหรับประชาชนแล้ว พวกเขากระตุ้นให้บริษัทยา ร้านจำหน่ายยาขายส่ง และร้านค้าปลีก ทำการค้ายาตามปกติต่อไปโดยไม่หยุดชะงัก นอกจากนี้ พวกเขายังได้เรียกร้องให้ซัพพลายเออร์ยาเร่งการนำเข้ายาและเวชภัณฑ์ เนื่องจากมีการดำเนินการเพื่ออำนวยความสะดวกและปรับปรุงการนำเข้ายา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/us30-519m-worth-of-medical-supplies-imported/