INFOGRAPHIC : เวียดนามเผยดัชนี CPI เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนต.ค.

สำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเวียดนามในเดือนต.ค. เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.09 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ทั้งนี้ 6 ใน 11 รายการของกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ การศึกษา (1.35%), ที่พักอาศัยและวัสดุก่อสร้าง (0.29%), เครื่องดื่มและบุหรี่ (0.08%), เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า (0.06%), ยาเวชภัณฑ์และบริการทางสุขภาพ (0.01%) และสินค้าและบริการอื่นๆ (0.09%) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว ในขณะที่ อุปกรณ์ครัวเรือนอยู่ในระดับไม่เปลี่ยนแปลง

อีก 4 รายการที่ลดลง ได้แก่  บริการโทรคมนาคม (-0.03%), การขนส่ง (-0.08%), ภัตตาคารและการจัดบริการงานเลี้ยง (-0.13%) และวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว (-0.18%)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cpi-in-october-inches-up-009-percent/189664.vnp

เวียดนามเผยเดือนต.ค. ภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัว

จากการสำรวจของ HIS Markit เปิดเผยว่าในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ภาคการผลิตอุตสาหกรรมของเวียดนามจะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) สำหรับภาคการผลิตของเวียดนามในเดือนต.ค. อยู่ที่ระดับ 51.8 จุด ถึงแม้ว่าดัชนีปรับตัวลดลงจาก 52.2 จุดในเดือนก.ย. แต่ยังคงอยู่ในทิศทางที่เป็นบวก อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จในการควบคุมโควิด-19 ในเวียดนาม ช่วยให้ความต้องการซื้อของลูกค้ากลับมาฟื้นตัว และเป็นเหตุให้การสั่งซื้อใหม่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกัน คำสั่งซื้อจากผู้ซื้อในต่างประเทศใหม่ ยังอยู่ในระดับไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากความต้องการลดลงในตลาดต่างประเทศที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสอย่างรุนแรง โดยเฉพาะยุโรป ในขณะเดียวกัน การระบาดของเชื้อไวรัส ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานในเดือนต.ค. จากปัญหาระยะเวลาในการจัดส่งของซัพพลายเออร์ที่นานขึ้น การขาดแคลนของวัตถุดิบและสภาพอากาศที่ไม่เอื้อต่อการขนส่ง ทั้งนี้ นาย Andrew Harker ผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจศาสตร์ของ IHS Markit กล่าวว่าภาคอุตสาหกรรมของเวียดนามจะเริ่มฟื้นตัวในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ด้วยรากฐานที่มั่งคง และจากข้อมูลของดัชนีข้างต้น ชี้ให้เห็นว่าภาคอุตฯ ยังคงขยายตัวได้ดีตราบเท่าที่สามารถควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสได้ และเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดโรคระบาด การจ้างงานเริ่มส่งสัญญาฟื้นตัว

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/804155/vietnamese-manufacturing-continues-recovery-in-october.html

เวียดนามเผยดัชนีผลผลิตอุตฯ ต.ค. ยังคงเพิ่มขึ้น

จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เปิดเผยว่าดัชนีผลผลิตทางอุตสาหกรรม (IIP) ของเวียดนามในเดือนต.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สถานการณ์การระบาดของโรคโคโรนา (COVID-19) ในเวียดนามได้รับการควบคุมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้กิจกรรมการผลิตของภาคอุตสาหกรรมขยายตัว และส่งผลในทิศทางที่เป็นบวกต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ ดัชนี IIP เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการแปรรูปและการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ภาคการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ในขณะที่ ภาคเหมืองแร่ลดลงร้อยละ 8.1

  ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/october-index-of-industrial-production-continues-to-rise/189644.vnp

เวียดนามเผยจำนวนการจัดตั้งธุรกิจใหม่ลดลง แต่เงินทุนพุ่ง ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) เปิดเผยว่าในเดือนม.ค.-ต.ค. มีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ 111,200 แห่ง ลดลงร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ด้วยมูลค่าที่จดทะเบียนมากกว่า 68.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ บริษัท 37,700 แห่ง กลับมาดำเนินธุรกิจ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว, 41,800 แห่ง ปิดกิจการชั่วคราว, 30,000 แห่ง อยู่ในช่วงขั้นตอนการเลิกกิจการ และอีก 13,000 แห่ง เลิกกิจการแล้ว นอกจากนี้ นาย Pham Dinh Thuy ผู้อำนวยการทางสถิติอุตสาหกรรมและการก่อสร้างของสำนักงาน GSO แนะธุรกิจหาพาร์ทเนอร์ในการแก้ปัญหาคอขวดและใช้เงินทุนให้เกิดประโยชน์ รวมถึงยังแนะนำให้รัฐบาลและสมัชชาแห่งชาติพิจารณาการยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียม ขยายเวลาการชำระเงินและปรับเพดานสินเชื่อแก่ธุรกิจพาณิชย์ เพื่อที่จะรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและส่งเสริมการผลิตและการดำเนินงานธุรกิจ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/newlyestablished-firms-down-registered-capital-up-in-10-months/189671.vnp

เวียดนามนำเข้าข้าวเปลือกจากกัมพูชา 1.4 ล้านตัน

กระทรวงเกษตรของกัมพูชา เปิดเผยว่าในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ กัมพูชาส่งออกข้าวเปลือกมากกว่า 1.4 ล้านตันไปยังเวียดนาม การส่งออกดังกล่าวส่วนใหญ่มาจากจังหวัดกันดาล, ไพรแวง, สวายเรียง, ตาแก้ว, พระตะบองและกำปอต ในขณะที่ การเก็บเกี่ยวข้าวในปี 2562-2563 กัมพูชาผลิตข้าวเปลือก 10.88 ล้านตัน ซึ่งตัวเลขข้างต้นแสดงให้เห็นว่ากัมพูชาไม่ต้องการที่จะหยุดการส่งออกข้าวไปเวียดนาม เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีตลาด ทั้งนี้ ทางเลาขาธิการสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) กล่าวว่าข้าวเปลือกที่ส่งออกไปยังเวียดนาม ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ข้าวอายุสั้นที่ใช้ระยะเวลาในการเติบโต 3 เดือน นอกจากนี้ กัมพูชามีพื้นที่เพาะปลูกข้าวมากกว่า 2.7 ล้านเฮกตาร์ แต่เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เกิดอุทกภัยทำให้พื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหายมากกว่า 213,000 เฮกตาร์ ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกข้าวเปลือกของกัมพูชาไปยังเวียดนามลดลง

  ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnam-imports-14-mln-tonnes-of-cambodian-rice-paddy-814397.vov

เวียดนามเผยยอดส่งออกคอมพิวเตอร์และเครื่องจักร พุ่ง 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตามข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม ณ วันที่ 15 ต.ค. เผยว่ามูลค่าการส่งออกโดยรวมของเวียดนามสูงถึง 215.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าส่งออกสำคัญ 5 รายการที่มีมูลค่าราว 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้แก่ โทรศัพท์และชิ้นส่วน, คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ, เครื่องนุ่งห่ม, เครื่องจักร ชิ้นส่วนและรองเท้า ทั้งนี้ มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ อยู่ที่ 34.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นประมาณ 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับปี 2562 อย่างไรก็ตาม สำหรับตลาดส่งออกของเวียดนาม ชี้ให้เห็นว่าคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบที่ส่งออกไปยังจีน มีมูลค่า 8.35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รองลงมาสหรัฐฯ สหภาพยุโรปและฮ่องกง ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน เครื่องจักรและชิ้นส่วน มีมูลค่า 19.568 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นประมาณ 5.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา มีมูลค่า 7.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 121 รองลงมาสหภาพยุโรป เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและจีน ตามลำดับ

ที่มา : https://customsnews.vn/exports-of-computers-and-machines-increase-nearly-13-billion-16326.html

เวียดนามเผยดัชนี CPI เดือนต.ค. เพิ่มขึ้นเล็กน้อย

สำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเวียดนามในเดือนต.ค. เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.09 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่ ดัชนี CPI เฉลี่ยในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.17 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2559-2563 ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวที่เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากค่าบริการทางการศึกษาที่เพิ่มขึ้น รวมถึงผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่เพิ่งเกิดขึ้นในภาคกลางของเวียดนาม สำหรับสินค้าและบริการ 11 รายการนั้น มีเพียง 6 รายการที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ การศึกษา เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.35 รองลงมาที่อยู่อาศัยและวัสดุก่อสร้าง, เครื่องดื่มและบุหรี่, เสื้อผ้าและสิ่งทอ, ยาและบริการทางการแพทย์ รวมทั้งบริการบำรุงรักษาและบริการซ่อมบำรุงบ้าน นอกจากนี้ ราคาทองคำในประเทศมีความผันผวนตามดัชนีราคาทองคำโลกในเดือนต.ค. ลดลงร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.91 เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค. 2562 อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อในเดือนต.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.07 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และร้อยละ 1.88 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/cpi-for-october-records-slight-increase-813722.vov

เวียดนามทำสถิติเกินดุลการค้า 18.72 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้

จากรายงานประจำเดือนของสำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในเดือนต.ค. เวียดนามเกินดุลการค้าประมาณ 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ทำสถิติเกินดุลการค้าสูงถึง 18.72 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนม.ค.-ต.ค. ปีนี้ ทั้งนี้ ในเดือนต.ค. มูลค่าการส่งออกสินค้าของเวียดนาม ประมาณ 26.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่ มูลค่าการนำเข้า ประมาณ 24.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ีที่แล้ว 10.1 เมื่อเทียบก9 เมื่อเทียบกับปีมขึ้นร้อยละ 0.07 เมื่อเทียบกับเดือ.91 เมื่วเพิ่มขึ้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2563 เวียดนามมีสินค้าส่งออก 31 รายการที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 91.8 ของยอดส่งออกรวมและอีก 5 รายการที่มีมูลค่ามากกว่า 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ในเดือนม.ค.-ต.ค. สหรัฐฯยังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 62.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาจีนและสหภาพยุโรป ในขณะเดียวกัน จีนยังคงเป็นแหล่งซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 65.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาเกาหลีใต้และอาเซียน

  ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-trade-surplus-hits-new-record-of-us1872-billion-in-10-month-314653.html

ความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นในเวียดนาม

ตามข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เปิดเผยว่าพื้นที่เพาะปลูกผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นจากในปี 2559 อยู่ที่ 53,350 เฮกตาร์ เป็น 237,693 เฮกตาร์ในปีที่แล้ว และส่งออกไปยัง 180 ประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีนและญี่ปุ่น เป็นต้น ด้วยมูลค่ารวม 335 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ว่าทางนาย Ha Phuc Mich ประธานสมาคมเกษตรอินทรีย์เวียดนาม กล่าวว่าการเติบโตที่รวดเร็วของเกษตรอินทรีย์ สร้างความกังวลในเรื่องการควบคุมคุณภาพ ทั้งนี้ ผู้อำนวยการของบริษัท Vinh Hiep Co. , Ltd ชี้ให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เป็นที่ต้องการทั่วโลกและข้อกำหนด/มาตรฐานเป็นสิ่งที่จำเป็นของการพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน แต่ในปัจจุบัน การผลิตเกษตรอินทรีย์ของเวียดนามยังคงเผชิญกับอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะมาจากค่าใช้จ่ายในการวิจัยที่สูงและใช้เวลานาน เป็นต้น นอกจากนี้ ทางกระทรวงเกษตรฯ จึงปรับโครงสร้างภาคการเกษตร ในการยกระดับมูลค่าและทำให้ยั่งยืน ได้แก่ ขยายพื้นที่เกษตรกรรม สร้างแรงจูงใจให้กับธุรกิจและสหกรณ์ รวมถึงฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/demand-for-organic-farm-produce-on-the-rise-in-vietnam/189381.vnp

เวียดนามเผยธุรกิจที่มิใช้สถาบันการเงินส่งสัญญาฟื้นตัวในช่วงไตรมาสที่ 3

จากการศึกษาของ Fin Group ระบุว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ผลกำไรของภาคธุรกิจที่มิใช้สถาบันการเงินที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ 347 แห่ง ขยายตัวร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวในรูปตัว V ทั้งนี้ กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) ของบริษัทมหาชน 348 แห่ง ลดลงร้อยละ 12.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วในไตรมาสที่ 3 สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าการดำเนินงานของธุรกิจหลักของภาคธุรกิจที่มิใช้สถาบันการเงินทั้งหมดพัฒนาดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้แล้ว นอกจากนี้ ทาง Fin Group มองว่าความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และสมาร์ทโฟนเพิ่มสูงขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลในทิศทางที่เป็นบวกแก่ธุรกิจค้าปลีกที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่ สถาบันการเงิน รวมถึงธนาคารพาณิชย์ บริษัทประกันภัยและบริษัทรักษาความปลอดภัย มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 และมีอัตราการเติบโตของกำไรร้อยละ 4.5 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของเวียดนามยังเติบโตในทิศทางที่เป็นบวก ถึงแม้จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดของโรคโควิด-19

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnams-listed-non-financial-firms-post-v-shaped-recovery-in-q3-314637.html