เวียดนามเผยข้อตกลง RCEP จะไม่ทำให้ขาดดุลการค้ามากขึ้น

จากตัวเลขสถิติ ชี้ให้เห็นว่าเวียดนามขาดดุลการค้ากับจีน เกาหลีใต้และอาเซียน อยู่ที่ 27.71, 21.37 และ 5.58 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ทำให้เกิดความกังวลว่าข้อตกลงดังกล่าวอาจทำให้เวียดนามขาดดุลการค้าพุ่งขึ้น ในขณะที่ ทางกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าเวียดนามได้เข้าร่วมความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) และเขตการค้าเสรี (FTA) กับอาเซียนและกลุ่มประเทศคู่ค้า ซึ่งหมายความว่าได้เปิดเสรีทางการค้าไปแล้ว ในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ข้อตกลง “RCEP” มีเป้าหมายสำคัญ เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจและการลงทุน ด้วยเหตุนี้ ข้อตกลงดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบต่อการขาดดุลการค้าในระยะยาวของเวียดนาม ทั้งนี้ นาย Nguyen Thi Quynh Nga รองผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายการค้าพหุภาคีของกระทรวงฯ เร่งให้ธุรกิจในประเทศศึกษาถึงข้อตกลงดังกล่าวอย่างรอบคอบ เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าและฝ่าอุปสรรคทางการค้าที่รุนแรงได้ในตลาดในประเทศ

  ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/rcep-will-not-worsen-trade-deficit-ministry/190918.vnp

บ.น้ำมัน “PetroVietnam” ยังคงท็อป 3 บริษัทรายใหญ่ที่สุดในเวียดนามเป็นปีที่ 10 ติดต่อกัน

ตามรายงานของ Vietnam Assessment Report (Vietnam Report) ร่วมกับ VietNamNet เปิดเผยการจัดอันดับอย่างเป็นทางการ 500 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม (VNR500) พิจารณาจากรายได้, กำไร, อัตราการเติบโต, แรงงาน, ส่วนของเจ้าของและสินทรัพย์รวม ซึ่งถือเป็นปีที่ 14 ติดต่อกัน โดยบริษัทน้ำมันแห่งชาติเวียดนาม (PetroVietnam) ติดอันดับที่ 3 จากจำนวน 500 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม รองจากซัมซุงเวียดนามที่อยู่ในอันดับที่ 1 และการไฟฟ้าเวียดนาม (EVN) อันดับที่ 2 ทั้งนี้ บริษัท PetroVietnam  นับติดอันดับเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน แสดงให้เห็นว่าธุรกิจได้ทำผลงานที่โดดเด่นในด้านการผลิตและการดำเนินธุรกิจ รวมถึงกำไรสูง ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/petrovietnam-remains-in-vietnams-top-3-largest-firms-for-10th-consecutive-year/190897.vnp

อุตสาหกรรมเครื่องดื่มของเวียดนาม พยายามหาทางออกจากวิกฤติที่คาดไม่ถึง

ในการประชุม ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน นาย Hoang Quang Phong รองประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) เปิดเผยว่าบริษัทเครื่องดื่มอย่าง Sabeco, Habeco, Carlsberg Vietnam และ Heineken Vietnam มีส่วนแบ่งทางการตลาดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในเวียดนาม รวมกันร้อยละ 90 แต่ด้วยปัจจัยลบจากการดำเนินธุรกิจ ส่งผลให้ธุรกิจดังกล่าวล้มเหลวไปสู่อุตสาหกรรมโดยรวมในไม่กี่ปีข้างหน้า และอีกปัจจัยหนึ่ง คือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึงนโยบายของภาครัฐฯ ในปัจจุบัน ที่ล้วนส่งผลให้อุตสาหกรรมเครื่องดื่มในประเทศเข้าสู่วิกฤติอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า คาดว่าการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มในปี 2562 มีสัดส่วนร้อยละ 15 ของ GDP และจะเพิ่มขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตาม “Sabeco” ผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มีกำไรลดลงอย่างมากถึงร้อยละ 44 ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ แต่ผลการดำเนินงานเริ่มกลับมาฟื้นตัวในไตรมาสที่ 3 มีกำไรอยู่ที่ 63.34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ประเด็นของทางออกจากวิกฤต นาย Nguyen Van Viet กล่าวว่าในช่วงวิกฤตโควิด-19 ธุรกิจในท้องถิ่นส่วนใหญ่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล แต่อุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่มีส่วนน้อยร้อยละ 2 ยังคงไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐฯ

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-beverage-industry-struggles-to-find-way-out-of-unprecedented-crisis-314924.html

ผลการดำเนินงานของธนาคารเวียดนามดีขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Fitch Rating ในรายงานฉบับใหม่ เปิดเผยว่าผลประกอบการดำเนินงานของธนาคารเวียดนามในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ แสดงให้เห็นถึงคุณภาพสินทรัพย์ฟื้นตัวและความสามารถในการทำกำไรดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในไตรมาสที่ 3 ปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยเฉพาะตลาดแรงงานที่มีแนวโน้มดีขึ้น หลังจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่คาดว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากได้รับปัจจัยบวกจากการควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ หน่วยงานดังกล่าว คาดการณ์ว่าผลประกอบการของธนาคารจะฟื้นตัวในปี 2564 จากการด้อยค่าของสินทรัพย์ลดลงและการเติบโตของสินเชื่อที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับปีที่แล้วในไตรมาสที่ 3

ที่มา : https://www.vir.com.vn/vietnamese-banks-performance-improves-with-economic-recovery-80916.html


เวียดนามนำเข้ารถยนต์จำนวนมากจากไทย อินโดนีเซีย

จากรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา เวียดนามนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศมากที่สุด (CBU) จากไทย จำนวน 38,800 คันและอินโดนีเซีย จำนวน 28,900 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 84 ของการนำเข้ารวม ทั้งนี้ ในภาพรวม มูลค่าการนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศ อยู่ที่ 1.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จำนวนมากกว่า 80,000 คัน ในช่วงเวลาดังกล่าว ลดลงร้อยละ 33.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ในเดือนตุลาคม เวียดนามนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศทั้งหมด อยู่ที่ 13,650 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนก่อน

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnam-imports-most-cars-from-thailand-indonesia-818105.vov

เวียดนามเกินดุลการค้า แตะ 19.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเดือนม.ค.-ต.ค. ปี 63

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่ายอดเกินดุลการค้าในเดือนต.ค. อยู่ที่ประมาณ 2.94 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลักดันให้ยอดเกินดุลการค้าในช่วงเดือนม.ค.-ต.ค. อยู่ที่ระดับ 19.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยยอดการค้าระหว่างประเทศของเวียดนามอยู่ที่ 440.09 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเดือนม.ค.-ต.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แบ่งออกเป็นมูลค่าการส่งออก 229.79 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่มูลค่าการนำเข้า 210.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ โทรศัพท์และชิ้นส่วนเป็นสินค้าส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนามในช่วงเดือนม.ค.-ต.ค. อยู่ที่ 42.18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.3 ของยอดการส่งออกรวม รองลงมาคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และชิ้นส่วน, เสื้อผ้า, อุปกรณ์และชิ้นส่วน, รองเท้า, ไม้และผลิตภัณฑ์ทำมาจากไม้ ตามลำดับ นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกายังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดในช่วงดังกล่าว ด้วยมูลค่า 62.36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา รองลงมาจีนและสหภาพยุโรป ในขณะที่ จีนยังคงเป็นตลาดนำเข้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 65.62 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา รองลงมาเกาหลีใต้และอาเซียน

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-trade-surplus-hits-us195-billion-in-jan-oct-314851.html

เวียดนามเผยส่งออกมะม่วงไปยังสหรัฐ พุ่ง 2 เท่า

จากรายงานของหน่วยงานการค้าต่างประเทศ ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่ามูลค่าการนำเข้ามะม่วงของสหรัฐฯ อยู่ที่ 2.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 99.9 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่ ราคานำเข้าเฉลี่ยอยู่ที่ 2,064.8 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และการนำเข้าส่วนใหญ่เป็นผลไม้สดและผลไม้แช่แข็ง ทั้งนี้ ในแง่ของปริมาณ พบว่าเวียดนามเป็นตลาดนำเข้ารายใหญ่ที่สุด อันดับที่ 12 ของสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.3 ของยอดมูลค่าทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ธุรกิจเวียดนามจำเป็นต้องติดตามเรื่องกฎระเบียบที่เข็มงวดเกี่ยวกับการทำฟาร์ม การบรรจุหีบห่อและแหล่งกำเนิดสินค้า นอกจากนี้ การส่งออกมะม่วงของเวียดนามไปยังสหรัฐฯ ที่พุ่งสูงขึ้นนั้น นับว่าเป็นไปได้ยากมากในช่วงสถานการณ์ของการแพร่ระบาด COVID-19 ที่ส่งผลการส่งออกทั่วโลกลดลง โดยสหรัฐฯ เป็นผู้ซื้อผลผลิตทางการเกษตรของเวียดนามรายใหญ่ อันดับที่ 4 ในปีที่แล้ว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.7 ของการส่งออกรวม รองลงมา จีน สหภาพยุโรปและอาเซียน

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-mangoes-export-volumnes-to-us-doubles-25849.html

เศรษฐกิจเวียดนามคาดแซงโตสิงคโปร์ ในปี 2029

ธนาคารแห่งชาติสิงคโปร์ (DBS) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของเวียดนามจะเติบโตร้อยละ 6-6.5 ในอีก 10 ปีข้างหน้า หากสามารถรักษาอัตราการเติบโตดังกล่าวได้ เศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโตจนมีขนาดใหญ่กว่าสิงคโปร์ในอีก 10 ปี ด้วยแรงหนุนจากเงินลงทุนที่ไหลเข้าจากต่างประเทศและกำลังการผลิตที่เติบโตสูงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า ทั้งนี้ เศรษฐกิจของเวียดนามในปัจจุบัน มีมูลค่าอยู่ที่ 224 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แสดงให้เห็นถึงขนาดเศรษฐกิจถึงร้อยละ 69 ของเศรษฐกิจสิงคโปร์ หรือประมาณ 324 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

  ที่มา : https://baodanang.vn/english/business/202011/viet-nams-economy-forecast-to-grow-bigger-than-singapore-by-2029-3872550/

เวียดนามร่วมลงนาม ‘RECEP’ ตั้งเขตการค้าเสรีใหญ่ที่สุดในโลก

การร่วมลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เมื่อผู้นำ 15 ประเทศ จากกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก คิดเป็นสัดส่วนรวมกันร้อยละ 29 ของ GDP โลก รวมถึงอาเซียน 10 ประเทศ เช่น ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์และเกาหลีใต้ ซึ่งการลงนามในครั้งนี้เป็นหนึ่งในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 37 โดยเวียดนามเป็นประธาน ทั้งนี้ ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) จะช่วยให้เวียดนามสามารถเข้าถึง 1 ใน 3 ของประชากรโลก และมีโอกาสที่จะขยายการส่งออกไปยังตลาด ด้วยมูลค่าราว 26 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากข้อตกลงการค้าเสรีแล้วนั้น ยังรวมถึงทรัพย์สินทางปัญญา, อีคอมเมิร์ซ, การแข่งขัน, SMEs ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาล ตัวอย่างเช่น เวียดนามสามารถนำเข้าชิปอิเล็กทรอนิกส์จากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ และนำเข้าวัสดุสิ่งทอจากจีน เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ก็ต้องปฏิบัติตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าภายในกลุ่ม นอกจากนี้ สนธิสัญญาดังกล่าว จะช่วยให้เวียดนามเข้าถึงตลาดผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุด ภายใต้ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP)

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/vietnam-inks-world-s-largest-trade-pact-rcep-4192071.html

ยอดขายรถยนต์ของเวียดนามในเดือน ต.ค. พุ่ง 15%

สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ของเวียดนาม (VAMA) เปิดเผยว่ายอดขายรถยนต์ในเดือนตุลาคม อยู่ที่ 33,254 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แบ่งออกเป็นประเภทของรถยนต์ ดังนี้ รถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคล 25,339 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ตามมาด้วยรถยนต์เชิงพาณิชย์ 7,528 คัน (17%) และรถยนต์ใช้งานเฉพาะด้าน 387 คัน (71%) ทั้งนี้ ในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม ยอดขายรถยนต์อยู่ที่ 212,409 คัน ลดลงร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่ “THACO” เป็นผู้นำตลาดรถยนต์ของเวียดนามในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.8 ของยอดขายรวม รองลงมา TC Motor และ Toyota ตามลำดับ นอกจากนี้ ในส่วนของการนำเข้ารถยนต์ของเวียดนาม สำนักงานศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าปริมาณการนำเข้ารถยนต์ของเวียดนามในเดือนกันยายน อยู่ที่ 12,670 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากไทย อินโดนีเซียและจีน อย่างไรก็ตาม การผลิตรถยนต์ถือเป็นปัจจัยสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม  คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3 ของ GDP อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมนี้ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ที่มา : http://hanoitimes.vn/car-sales-in-vietnam-surge-15-in-october-314798.html