การส่งออกภาคการผลิตของเมียนมาร์มีมูลค่า 5.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนเม.ย.-ต.ค

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาร์ เผยสถิติของมูลค่าการส่งออกจากภาคการผลิตว่า มีมูลค่าถึง 5.55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบันปี 2565-2566 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 ทั้งนี้ ตัวเลขในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาบ่งชี้ว่ามูลค่าการส่งออกของภาคการผลิตลดลงมากถึง 1.45 พันล้านดอลลาร์ หากเทียบกับ 7 พันล้านดอลลาร์ ที่บันทึกไว้ในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อนหน้า โดยในบรรดาสินค้าส่งออก 10 อันดับแรกการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปอยู่ในอันดับที่ 1 รวมถึงก๊าซธรรมชาติและแร่ธาตุ ในขณะเดียวกันเมียนมาร์มีการส่งออกผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูปเป็นหลัก กับคู่ค้าต่างประเทศ ในขณะที่มีการนำเข้าสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง วัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า CMP และสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นหลักเช่นกัน  อย่างไรก็ดี เมียนมาร์ได้ดำเนินนโยบายตามยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ (NES) พ.ศ. 2563-2568 เพื่อสนับสนุนการส่งออก ซึ่งภาคส่วนที่มีความสำคัญตามนโยบายดังกล่าว ประกอบด้วยการผลิตทางการเกษตร เครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์อุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจประมง ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ การผลิตและบริการดิจิทัล บริการโลจิสติกส์ การจัดการคุณภาพ บริการข้อมูลการค้า นวัตกรรม และภาคผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/manufacturing-sector-exports-earn-us5-5-bln-in-apr-oct/#article-title

ราคา FOB ของถั่วดำ ถั่วมะแฮะ และถั่วเขียว ลดลงเล็กน้อย

ราคา FOB ของถั่วดำ ถั่วมะแฮะ และถั่วเขียว ลดลงอีกครั้งในวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2566 โดยราคา FOB ของถั่วดำมีราคาอยู่ที่ 1,060-1,080 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ในขณะที่ราคาถั่วมะแฮะอยู่ที่ 1,250-1,270 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ถั่วเขียวที่มาจากเมียนมาร์ตอนกลางราคาอยู่ที่ 700-720 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน และถั่วเขียวพันธุ์ชเววา ราคาอยู่ที่ 880-910 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ซึ่งถั่วดำมีราคาลดลงจากเดิม 30 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ในขณะที่ถั่วมะแฮะราคาลดลง 100 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ถั่วเขียวราคาลดลง 40 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน สำหรับถั่วเขียวที่มาจากเมียนมาร์ตอนกลาง และถั่วเขียวพันธุ์ชเววา ราคาลดลง 50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน อย่างไรก็ดี ในตลาดย่างกุ้งราคาถั่วดำยังคงผันผวนอยู่ที่ประมาณ 2.9 ล้านจ๊าดต่อตัน (สำหรับถั่วดำคุณภาพเฉลี่ย) ในขณะที่ราคาถั่วดำคุณภาพดีผันผวนอยู่ที่ประมาณ 3.14 ล้านจ๊าดต่อตัน ส่วนราคาถั่วมะแฮะอยู่ที่ 3.25 ล้านจ๊าดต่อตัน ถั่วเขียวที่มาจากเมียนมาร์ตอนกลางราคาอยู่ที่ 500-2,835 จ๊าดต่อviss และถั่วเขียวพันธุ์ชเววา ราคาอยู่ที่ 3,465 จ๊าดต่อviss

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fob-prices-of-black-gram-pigeon-pea-green-gram-post-slight-decline/#article-title

การค้าชายแดนจีน-เมียนมาร์ทะลุ 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา

กระทรวงการต่างประเทศเมียนมาร์ เผยสถิติมูลค่าการค้าชายแดนระหว่างเมียนมาร์และจีนเพิ่มขึ้น กว่า 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา (ตั้งแต่เดือนเมษายน-ตุลาคม) ของปีการเงินปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 จากเดิม 1.56 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2565-2566 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ว่าการค้าชายแดนจีน-เมียนมาร์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 708.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณนี้  อย่างไรก็ดี เมียนมาร์ทำการค้าข้ามพรมแดนกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีนผ่านทางด่านชายแดนมูเซ, ลแวแจ, ชินฉ่วยฮ่อ, กัมปติ และ เชียงตุง โดยมูลค่าการค้าชายแดนของแต่ละด่านอยู่ที่ 1.45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, 703.123 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, 63.823 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, 41.093 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 4.992 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ ซึ่งมีสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์ประมง แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และสินค้าอื่นๆ ในขณะที่สินค้านำเข้าหลักได้แก่ สินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง สินค้าอุปโภคบริโภค และวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า CMP

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sino-myanmar-border-trade-surpasses-us2-2-bln-in-past-7-months/#article-title

ราคาหัวหอมลดลงตามการเปลี่ยนแปลงของตลาดโดยอาศัยอุปสงค์ในประเทศเพียงอย่างเดียว

ตลาดหัวหอมของเมียนมาร์ต้องพึ่งพาตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่มีตลาดต่างประเทศในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน นอกจากนี้ ยังมีหัวหอมจากฤดูมรสุมที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดย่างกุ้งเพิ่มเติมอีกในเร็วๆ นี้ อย่างไรก็ดี สต็อกหัวหอมขนาดใหญ่ในบางภูมิภาคอาจทำให้ราคาหัวหอมปรับลดลงอีก ด้านผู้ค้าจากพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำกล่าวว่า ระหว่างวันที่ 6 ถึง 11 พฤศจิกายน ตลาดในย่างกุ้งมีอุปทานหัวหอมวันละกว่า 150,000 viss และเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน หัวหอมประมาณ 90,000 หัว ไหลเข้าสู่ตลาดย่างกุ้ง ทำให้ราคาหัวหอมฤดูร้อนจึงลดลงเหลือ 2,300-3,700 จ๊าดต่อหัว ขึ้นอยู่กับขนาดและพื้นที่การผลิต ราคาแสดงให้เห็นการลดลง 200-400 จ๊าดต่อviss เมื่อเทียบกับราคาของสัปดาห์ก่อน หากเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ราคาหัวหอมแตะระดับสูงสุดที่ 3,400-4,300 จ๊าดต่อviss

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/onion-prices-decrease-as-market-shifts-to-solely-rely-on-domestic-demand/

เส้นทางส่งออก พะโม-ลแวแจ สร้างความเสียหายให้กับการขนส่งแตงโมไปยังประเทศจีน

เส้นทางส่งออกแตงโมของเมียนมาร์ไปยังจีนได้เปลี่ยนมาใช้เส้นทางมัณฑะเลย์-รัฐฉาน (เหนือ) -เชียงตุง-เมืองลา ท่ามกลางปัญหาการค้าที่ชายแดนมูเซ ซึ่งการปิดชายแดนมูเซ ส่งผลให้ผู้ส่งออกแตงโมบางรายต้องย้ายไปยังเส้นทางพะโม-ลแวแจ อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ปี 2021 เกิดข้อจำกัดเกี่ยวกับโควิด-19 ทำให้การส่งออกแตงโมและแตงไทยของเมียนมาร์ไปยังจีนยากขึ้น เนื่องจากระเบียบศุลกากรจีนเข้มงวดมากขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายในจีน ทำให้เกิดความล่าช้าในการขนส่งและเกิดความเสียหายต่อคุณภาพแตงโม ในขณะที่จีนซึ่งถือเป็นตลาดหลักของเมียนมาร์ในการส่งออกแตงโมง จากรายงานเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีเพียงรถบรรทุกนับเป็นสัดส่วน 1 ใน 5 คันเท่านั้นที่ สามารถข้ามไปเพื่อส่งสินค้าได้ ส่งผลให้แตงโมถูกจำหน่ายหมดคลังทางฝั่งจีน ในขณะที่รถบรรทุกมากกว่า 500 คันเข้าคิวรอขนส่งในฝั่งเมียนมาร์ ทำให้ผู้ค้าของเมียนมาร์จำเป็นต้องคำนึงถึงเวลาในการจัดส่ง ราคา และความสามารถในการทำกำไร เนื่องจากแตงโมเป็นผลไม้ที่เน่าเสียง่าย ขณะเดียวกันก็พยายามสำรวจตลาดใหม่นอกเหนือจากประเทศจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/bhamo-lweje-export-route-damages-watermelon-shipments-to-china/

การค้าชายแดนไทย-เมียนมาร์ สร้างรายได้ 3 พันล้านดอลลาร์ใน 7 เดือน

ในช่วงเจ็ดเดือนที่ผ่านมา (ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงตุลาคม) ของปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 มูลค่าการค้าชายแดนของเมียนมาร์กับประเทศไทยมีมูลค่า 3.034 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยตัวเลขมูลค่าการค้าชายแดนดังกล่าวลดลงจากเดิม 3.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งบ่งชี้ว่าลดลงอย่างมากที่ 125.558 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ เมียนมาร์ดำเนินการค้าข้ามพรมแดนกับไทยผ่านทางด่านท่าขี้เหล็ก เมียวดี เกาะสอง มะริด ทิกิ และมอต่อง ซึ่งด่านชายแดนทิกิ เป็นด่านที่มีมูลค่าการค้ามากที่สุดอยู่ที่ 1,889 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ ที่ชายแดนเมียวดีมีมูลค่าการค้าอยู่ที่ 882.303 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ท่าขี้เหล็ก 94.397 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่มะริด 68.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่เกาะสอง 89.226 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และที่มอต่อง 10.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ อย่างไรก็ดี เมียนมาร์ดำเนินการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านจีน ไทย บังคลาเทศ และอินเดีย โดยมีสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ ผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ การประมง แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และสินค้าอื่นๆ ในขณะที่สินค้านำเข้าหลัก ได้แก่ สินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง สินค้าอุปโภคบริโภค และวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า CMP

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-thailand-border-trade-earns-us3-bln-in-7-months/

การรถไฟเมียนมาเตรียมเปิดตัวรถไฟขบวนพิเศษสำหรับเทศกาลยี่เป็ง บนเส้นทางเนปิดอว์ มะละแหม่ง และแปร

U Kyaw Myo Lwin ผู้ช่วยผู้จัดการการรถไฟเมียนมา Division-7 (เขตย่างกุ้ง) กล่าวว่า การรถไฟเมียนมา (MR) จะดำเนินการให้บริการเส้นทาง เส้นทางเนปิดอว์ มะละแหม่ง และแปร ในช่วงวันหยุดงานเทศกาลลอยโคมยี่เป็ง และเทศกาลตะดิ่งจุ๊ต (Thadingyut Festival) หรือที่ชาวเมียนมามักจะเรียกว่า เทศกาลแห่งแสง โดยรถไฟขบวนพิเศษจะเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 24-27 พฤศจิกายน และจะขยายการให้บริการหากจำนวนผู้โดยสารสูง ซึ่งจะมีรถไฟขบวนพิเศษเนปิดอว์-ย่างกุ้ง, ย่างกุ้ง-มะละแหม่ง, มะละแหม่ง-ย่างกุ้ง, ย่างกุ้ง-เมืองแปร และรถไฟพิเศษเมืองแปร-ย่างกุ้งอย่างไรก็ดี การรถไฟเมียนมายังจัดให้มีการอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า และจะขยายบริการหากจำเป็น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mr-to-launch-special-trains-for-tazaungdine-on-nay-pyi-taw-mawlamyine-pyay-routes/

รัฐบาลของรัฐยะไข่จัดสรรเงิน 3.5 พันล้านจ๊าดเพื่อการฟื้นฟูเมืองซิตตเว

รัฐบาลรัฐยะไข่กำลังจัดสรรงบประมาณ 3,500 ล้านจ๊าดสำหรับการพัฒนาเมืองซิตตเวใหม่ เนื่องจากเมืองซิตตเว ทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของรัฐยะไข่ จุดสนใจหลักคือการเสริมสร้างความสวยงามของเมือง โดยผ่านโครงการ 90 วัน ซึ่งเริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน และงานทั้งหมดมีกำหนดจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนมกราคมปีหน้า ทั้งนี้ ยังคงมีการดำเนินงานต่างๆอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งถนนสายรอง การขุดท่อระบายน้ำ การดำเนินการเก็บขยะทั่วเมือง และการติดตั้งอุปกรณ์ออกกำลังกายในสวนสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านสุขภาพ นอกจากนี้ ยังมีการใช้มาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำที่อาจเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน และการปรับปรุงถนน Shukhintha และถนนที่ทอดไปสู่ชายหาด แม้ว่ารัฐบาลจะดำเนินโครงการ 90 วันและงานที่เกี่ยวข้องเสร็จสิ้นแล้ว คณะกรรมการพัฒนารัฐยะไข่จะยังคงดูแลการเตรียมการและการบำรุงรักษาต่อไป

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rakhine-state-government-allocates-k3-5-billion-for-revitalization-of-sittway-township/#article-title

จ๊าด อ่อนค่าเมื่อเทียบกับ ดอลลาร์ ที่ประมาณ 3,300 จ๊าด ในตลาดซื้อขายที่ไม่เป็นทางการ

จ๊าตอ่อนค่าลงเป็น 3,310 จ๊าด/ดอลลาร์ ในตลาดซื้อขายที่ไม่เป็นทางการ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นจาก 3,230 จ๊าด/ดอลลาร์ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ปัจจุบันธนาคารกลางเมียนมาร์กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงไว้ที่ 2,100 จ๊าด/ดอลลาร์ ธนาคารกลางเมียนมาร์ได้กำหนดขอบเขตความผันผวนของการซื้อ-ขายสกุลเงินจ๊าดไว้ที่ร้อยละ 0.3 สำหรับการทำธุรกรรมการขายหรือการซื้อมีผลมาตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2565 โดยสถาบันการเงิน รวมถึงธนาคารและจุดแลกเปลี่ยนเงินนอกระบบได้รับคำสั่งให้กำหนดมูลค่าเงินดอลลาร์ที่ 2,094 จ๊าด/ดอลลาร์ สำหรับการซื้อ และ 2,106 จ๊าด/ดอลลาร์ สำหรับการขาย อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 11 พฤศจิกายนอัตราแลกเปลี่ยน จ๊าดต่อดอลลาร์ ที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์อยู่ที่ 3,270 จ๊าด/ดอลลาร์ สำหรับการซื้อ และ 3,310 จ๊าด/ดอลลาร์ สำหรับขาย แม้ว่าราคาอ้างอิงของธนาคารกลางแห่งเมียนมาจะมีความแตกต่างอย่างมากกับอัตราตลาดที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งธนาคารกลางแห่งเมียนมาไม่สามารถกำหนดราคาใหม่ได้ ตามประกาศที่เผยแพร่ในเดือนพฤษภาคม 2566

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/kyat-depreciates-against-dollar-at-around-k3300-in-grey-market/#article-title

เมียนมา และจีนลงนามข้อตกลงซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 3 โครงการ

ตามการแถลงของสถานเอกอัครราชทูตจีนในเมียนมา การลงนามข้อตกลงระหว่างเมียนมาและจีนในการซื้อไฟฟ้าสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 3 โครงการ ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเนปิดอว์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน โดยคำแถลงระบุว่า กำลังการผลิตรวมของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 3 โครงการของ Kyeon Kyeewa, Kinda และ Sedoktaya ในเขต Magway และ Mandalay ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง Power China Resources Ltd. และกระทรวงพลังงานไฟฟ้าของเมียนมา อยู่ที่ 90 เมกะวัตต์ ซึ่งเพียงพอสำหรับรองรับการพัฒนาของ ภูมิภาค ด้านรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานไฟฟ้าแห่งสหภาพ ชื่นชมความคืบหน้าของโครงการความร่วมมือด้านพลังงานแสงอาทิตย์ และหารือทัศนคติที่จะพัฒนาความร่วมมือด้านไฟฟ้าจีน-เมียนมาต่อไป เพื่ออำนวยความสะดวกในการพัฒนาของทั้งสองประเทศ และดึงดูดความสนใจของประชาชนเมียนมามากขึ้น นอกจากนี้ ยังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการตามผลข้อตกลงของการประชุม Belt and Road Forum for International Cooperation ครั้งที่ 3 การพัฒนาการเชื่อมต่อไฟฟ้าระหว่างจีน-เมียนมา ความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหา “ความต้องการไฟฟ้า” ของเมียนมา และรองรับการก่อสร้าง ระเบียงเศรษฐกิจจีน-เมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-china-sign-agreement-to-purchase-electricity-from-three-solar-power-plant-projects/#article-title