เมียนมานำเข้าปูนซีเมนต์กว่า 16,400 ตัน เป็นมูลค่า 1.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนกันยายน

ตามการรายงานของกระทรวงพาณิชย์ในเดือนกันยายน ที่ผ่านมา เมียนมามีการนำเข้าปูนซีเมนต์ทั้งหมดกว่า 16,400 ตัน โดยผ่านช่องทางหลัก ได้แก่ การนำเข้าทางเรือประมาณ 400 ตัน แบ่งเป็น 250 ตันจากมาเลเซีย และกว่า 150 ตันจากจีน คิดเป็นมูลค่ารวม 0.075 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และการนำเข้าผ่านทางชายแดนกว่า 16,000 ตัน จากประเทศไทย คิดเป็นมูลค่ารวม 1.365 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เมียนมามีการนำเข้าปูนซีเมนต์ทางเรือมากกว่า 3,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 0.302 ล้านเหรียญสหรัฐ  และนำเข้าปูนซีเมนต์ผ่านทางชายแดน ประมาณ 20,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1.585 ล้านเหรียญสหรัฐ  รวม 23,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.887 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ จากการนำเข้าปูนซีเมนต์ที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น คาดว่าธุรกิจก่อสร้างมีแนวโน้มจะเติบโตได้ดี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-imports-over-16400-tonnes-of-cement-worth-us1-44-mln-in-sept/

ราคาขายส่งอ้างอิงน้ำมันปาล์มของ ย่างกุ้ง เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนตุลาคม

อัตราอ้างอิงราคาขายส่งน้ำมันปาล์มของตลาดย่างกุ้งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ณ วันที่ 30 ตุลาคม ตามการรายงานของคณะกรรมการกำกับดูแลด้านการนำเข้าและจัดจำหน่ายน้ำมันบริโภค โดยราคาขายส่งถูกกำหนดให้ต่ำลงอยุ่ที่ 4,275 จ๊าดต่อ viss เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ตั้งแต่เมื่อวันที่ 16 ถึง 22 ตุลาคมที่ผ่านมา สำหรับในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนตุลาคม (สิ้นสุด ณ 30 ตุลาคม 2566) ราคาขายส่งถูกกำหนดให้สูงขึ้นเป็น 4,395 จ๊าดต่อ viss ทั้งนี้ ราคาตลาดยังคงสูงกว่าราคาอ้างอิง ด้านคณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้าและจำหน่ายน้ำมันบริโภคในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ได้ติดตามราคา FOB ในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียอย่างใกล้ชิด รวมถึงค่าขนส่ง ภาษี และบริการทางธนาคาร เพื่อกำหนดอัตราอ้างอิงตลาดขายส่งน้ำมันบริโภคทุกสัปดาห์ และแก้ไขปัญหาราคาที่สูงเกินจริง กรมกิจการผู้บริโภค กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา ร่วมกับสมาคมผู้ค้าน้ำมันบริโภคแห่งเมียนมาร์และบริษัทนำเข้าน้ำมัน ได้มีการร่วมมือกันในการควบคุมความผันผวนของราคาน้ำมันปาล์มในตลาดค้าปลีก และเสนอราคาที่ยุติธรรมมากขึ้นแก่ผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม สมาคมผู้ค้าน้ำมันบริโภคแห่งเมียนมาร์ได้จัดตั้งคณะทำงานด้านเสถียรภาพราคาน้ำมันบริโภค และเริ่มแจ้งรายชื่อร้านค้าขายส่ง/ขายปลีกของแต่ละบริษัทตั้งแต่เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม รวมถึงที่อยู่ของร้านค้าในเมืองต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและจำนวนถังที่มีอยู่

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/ygn-palm-oil-wholesale-reference-price-slightly-rises-for-week-ending-30-october/

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหภาพเมียนมา ให้การต้อนรับเอกอัครราชทูตจีน

อู ตาน ส่วย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหภาพเมียนมา ให้การต้อนรับนายเฉิน ไห่ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำเมียนมา ณ กรุงเนปิดอว์ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือกันในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความก้าวหน้าของ “ความสัมพันธ์การเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์รอบด้าน” บนพื้นฐานมิตรภาพ ความสัมพันธ์ “ฉันพี่น้อง” (Pauk-phaw) ที่มีอยู่ การเร่งดำเนินโครงการทวิภาคี ระหว่างเมียนมา-จีนที่กำลังดำเนินอยู่ภายใต้กรอบความคิดริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางบนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน การธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และหลักนิติธรรมตามแนวชายแดนระหว่างเมียนมาและจีน การส่งผู้พลัดถิ่นที่ได้รับการตรวจสอบกลับประเทศจากรัฐยะไข่ และการสนับสนุนเชิงสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องของจีนต่อความพยายามในการพัฒนาของเมียนมา ตลอดจนความร่วมมือในเวทีภูมิภาคและระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอาเซียนและ สหประชาชาติ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/dpm-mofa-union-minister-receives-chinese-ambassador-2/

คณะผู้แทนรัสเซียเข้าพบนักธุรกิจที่ UMFCCI

คณะผู้แทนนำโดย Mr. Grigoriev Evgeny Dmitrievich ประธานคณะกรรมการความสัมพันธ์ภายนอก สมาชิกของรัฐบาลเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในสหพันธรัฐรัสเซีย เข้าพบนักธุรกิจที่สำนักงานหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมาร์ (UMFCCI) ในย่างกุ้ง เมื่อ 22 ตุลาคม 2566 โดยได้มีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างรัสเซียและเมียนมาร์ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ทางทะเล ผลิตผลทางการเกษตร และภาคการส่งออกอื่นๆ ตลอดจนภาคส่วนต่างๆ เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางธุรกิจ รวมทั้งยังมีการพูดคุยเกี่ยวกับเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์และการผลิตชารัสเซีย ภาคไฟฟ้าจากพลังงานน้ำขนาดเล็ก และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ นักธุรกิจที่เข้าร่วมงานได้หารือประเด็นทางเศรษฐกิจที่จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศ และประธานคณะกรรมการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้ชี้แจงถึงภาคส่วนที่จะเชื่อมโยงกับภาคการส่งออกข้าว ภาคผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ การขนส่งและวิชาการ ภาคประมงทะเลน้ำลึก และอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/russian-delegation-meets-businesspersons-at-umfcci/#article-title

กระทรวงพาณิชย์ได้ออกใบรับรอง Form E กว่า 400 ฉบับ ที่เขตการค้าของมูเซ ในช่วง 15 วัน

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาระบุว่าที่เขตการค้า 105th-mile ของมูเซ มีมูลค่าการค้ารวม 31.706 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วยการส่งออกมูลค่า 14.317 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้ามูลค่า 17.389 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยชายแดนมูเซ มีรถบรรทุกส่งออก 776 คัน และรถบรรทุกนำเข้า 1,191 คัน ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ถึง 15 ตุลาคม 2566 และมีการออกใบรับรองแบบ Form E ทั้งหมด 414 รายการ สำหรับสินค้าประเภท ปูแช่แข็ง ปู ปลาไหล ฝ้าย ข้าว ข้าวหัก ลูกพลัมแห้ง งาดำ และคารายากัม ในปัจจุบันสกุลเงินหยวน และดอลลาร์สหรัฐฯ ถูกใช้เป็นสกุลเงินหลักอย่างเป็นทางการสำหรับการทำธุรกรรมการค้าชายแดน ระหว่างจีน-เมียนมา ในเขตการค้าดังกล่าว ทั้งนี้ สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ กรัมเขียว หัวหอม ฝ้าย ปลาไหล ถั่วลิสง แร่สังกะสี คารายากัม ข้าวโพด ปูแช่แข็ง ปู ข้าวหัก ข้าว เม็ดมะม่วงหิมพานต์ งา และพลัม ส่วนสินค้านำเข้าหลักประเภทยานพาหนะและเครื่องจักร ได้แก่ ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ น้ำมัน นิกเกิล เหล็ก แบตเตอรี่ แผงวงจรแบตเตอรี่ รองเท้า และผงคาร์บอน ที่ อย่างไรก็ดี ผู้ส่งออกสามารถขอ Form E (ใบรับรองการค้าเสรีอาเซียน-จีน) การลดหย่อนภาษีสำหรับสินค้าส่งออกบางรายการของเมียนมา ตามหลักเกณฑ์และข้อบังคับ นอกจากนี้ ยังสามารถขอใบอนุญาตส่งออก/นำเข้าได้ผ่านทางแพลตฟอร์ม Tradenet 2.0 หรือด้วยตนเองที่ด่านชายแดน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/moc-issues-over-400-form-e-certificates-at-muse-trade-zone-within-15-days/#article-title

UMFCCI และ YPGCC หนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ยูนนาน-เมียนมาร์

เจ้าหน้าที่สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) เข้าพบคณะผู้แทน นำโดยประธานหอการค้าทั่วไปมณฑลยูนนาน (YPGCC) เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2566 โดยได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจทวิภาคีและการยกระดับการค้า ด้านประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา กล่าวว่า ยูนนานถือเป็นท่าเรือบกที่สำคัญในด้านความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจกับเมียนมา และได้ขอให้ทางหอการค้ายูนนานช่วยเหลือเมียนมาในเรื่องของข้อบังคับและกฎระเบียบการนำเข้าของจีน รวมทั้งได้เชิญชวนให้ยูนนานลงทุนในภาคพลังงาน และภาคส่วนอื่นๆ เพื่อยกระดับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและกิจกรรมส่งเสริมการค้า ด้าน ดร.เกา เฟิง ประธาน YPGCC กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการเยือนเมียนมาครั้งนี้ เพื่อสร้างบันทึกความร่วมเมือ ที่ลงนามระหว่างยูนนานและเมียนมาร์ ในภาคพลังงานและเหมืองแร่ การบรรเทาภัยพิบัติ การท่องเที่ยว การบรรเทาความยากจน และยกระดับระเบียงเศรษฐกิจเมียนมาร์-จีน นอกจากนี้ การประชุมยังได้เน้นย้ำถึงการพัฒนาการลงทุนแบบทวิภาคี การพัฒนาการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการค้า การแลกเปลี่ยนข้อมูล การเสริมสร้างความร่วมมือเชิงปฏิบัติ ธุรกิจท่าเรือ อุปทานสินค้าข้าวและปุ๋ย การส่งออกสินค้าเกษตร การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล และการค้าข้ามพรมแดน

อย่างไรก็ดี ผู้แทนจากทั้งสองสภายังหารือเกี่ยวกับโอกาสความร่วมมือที่อาจเกิดขึ้นและความคิดเห็นเกี่ยวกับภาคเหมืองแร่ เหล็กและเหล็กกล้า การขนส่ง อีคอมเมิร์ซ การท่องเที่ยว เกษตรกรรม เภสัชกรรม อ้อย น้ำตาล ถั่วลิสง ผัก การประมง ผลิตภัณฑ์อาหาร การวิจัย และสารเคมีทางการเกษตร

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/umfcci-ypgcc-to-bolster-yunnan-myanmar-economic-cooperation/

คณะกรรมการกำกับดูแลน้ำมันเชื้อเพลิงเมียนมาได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่

คณะกรรมการกลางว่าด้วยการกำกับดูแลความเรียบร้อยด้านการค้าและสินค้า ได้จัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้า จัดเก็บ และจัดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา คณะกรรมการดังกล่าว ได้รับการจัดตั้งขึ้น โดยมีหน้าที่สำคัญในการป้องกันการสูญเสียรายได้ของรัฐ ทำให้เกิดเสถียรภาพด้านราคา กำกับดูแลการออกใบอนุญาตและการนำเข้าน้ำมัน การจัดเก็บและจำหน่ายน้ำมันอย่างเป็นระบบให้มีคุณภาพมาตรฐานสำหรับน้ำมันที่นำเข้า จัดการกับความล่าช้าในการเทียบท่าของเรือบรรทุกน้ำมัน ตรวจสอบการจ่ายน้ำมันไปยังถังและสต็อกรายวันในมือ และประเมินระยะเวลาการรักษาความปลอดภัยของน้ำมัน นอกจากนี้ คณะกรรมการต้องแจ้งเรื่องกิจกรรมต้องสงสัยด้านคุณภาพไปยังคณะกรรมการกลางฯ และรายงานเกี่ยวกับบริษัทผู้นำเข้า ประเทศผู้ส่งออก ปริมาณการนำเข้า (ตัน) เลขทะเบียนและวันที่มาถึงของเรือบรรทุกน้ำมัน ไปยังคณะกรรมการจัดการการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และคณะกรรมการกลางฯ รวมทั้งจะมีการประเมินคุณภาพการจ่ายน้ำมันจากถังเก็บน้ำมัน เป็นระยะ เพื่อแจ้งสถานะสต๊อกสินค้าในถังเก็บน้ำมัน และทำการบันทึกและตรวจสอบย้อนกลับว่าพบพฤติกรรมฉ้อโกงในห่วงโซ่อุปทานหรือไม่ (ตั้งแต่การนำเข้าไปจนถึงขั้นตอนการจัดจำหน่าย) และเพื่อการควบคุมราคา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fuel-oil-supervisory-committee-reestablished/#article-title

เมียนมามีรายได้จากการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปในเดือนเมษายน-กันยายน กว่า 4.316 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

เมียนมามีรายได้มากกว่า 4.316 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตภายใต้ระบบการตัดเย็บ (CMP : Cutting Making และ Packaging)  ในช่วงระหว่างเดือนเมษายน-กันยายน ของปีงบประมาณ 2566-2567 จากการรายงานของ ดอว์ โช เท็ต มู รองผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายการค้า สังกัดกระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา กล่าวว่า ในบรรดาประเทศที่มีการลงทุนในภาคส่วนเครื่องนุ่งห่ม CMP ประเทศจีนถือเป็นอันดับที่หนึ่ง นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนจากจีนไทเป ไทย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปภายใต้ระบบ CMP และถูกส่งออกไปยังเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และประเทศในสหภาพยุโรป (EU) อย่างไรก็ดี โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าส่วนใหญ่ที่ดำเนินงานภายใต้ระบบ CMP ตั้งอยู่ในเขตย่างกุ้ง ซึ่งประกอบด้วยโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า 505 แห่ง โรงงานรองเท้า 48 แห่ง โรงงานผลิตวิกผม 8 แห่ง และโรงงานอีก 177 แห่งที่เกี่ยวข้องกับการผลิตกระเป๋า ชุดกีฬา รองเท้ากีฬา และถุงเท้า

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/us4-316-bln-bagged-from-garment-exports-in-april-sept/#article-title

เมียนมามีรายได้กว่า 16,551.306 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากมูลค่าการค้าต่างประเทศ ช่วงระยะเวลามากกว่า 6 เดือนในปีงบประมาณ 2023-2024

จากวันที่ 1 เมษายน 2566 – 6 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมาเมียนมาร์มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 8,712.336 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้า 7,838.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้มีดุลการค้าแบบขาดดุลอยู่ที่ 873.366 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดย เมียนมาร์มีการส่งออกผลิตผลทางการเกษตร ปศุสัตว์ การประมง ผลิตภัณฑ์แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำเร็จรูป และสินค้าอื่นๆ ไปยังต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมี สินค้าเพื่อการลงทุน วัตถุดิบเชิงพาณิชย์ สินค้าอุปโภคบริโภค วัตถุดิบสินค้าตัดเย็บ หรือ CMP (cut-make-package) โดยนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการส่งออกของเมียนมาร์ตามยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ (National Export Strategy : NES) ปี 2020-2025 ที่มีผลบังคับใช้อยู่ในขณะนี้ อย่างไรก็ดี ภาคส่วนที่สำคัญตามแผนยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ NES 2020-2025 ได้แก่ การผลิตอาหารจากการเกษตร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมและไฟฟ้า การประมง ผลิตภัณฑ์จากป่า ผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล บริการโลจิสติกส์ การจัดการคุณภาพ บริการข้อมูลการค้า นวัตกรรมและผู้ประกอบการ และอื่นๆ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/us16551-306-mln-earned-from-foreign-trade-volume-in-more-than-six-months-period-in-2023-24-fy/

เมียนมามีรายได้จากมูลค่าการค้าต่างประเทศกว่า 16,551.306 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดช่วงระยะเวลามากกว่า 6 เดือนในปีงบประมาณ 2023-2024

จากวันที่ 1 เมษายน 2566 – 6 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมาเมียนมามีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 8,712.336 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้า 7,838.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้มีดุลการค้าแบบขาดดุลอยู่ที่ 873.366 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดย เมียนมามีการส่งออกผลิตผลทางการเกษตร ปศุสัตว์ การประมง ผลิตภัณฑ์แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำเร็จรูป และสินค้าอื่นๆ ไปยังต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมี สินค้าเพื่อการลงทุน วัตถุดิบเชิงพาณิชย์ สินค้าอุปโภคบริโภค วัตถุดิบสินค้าตัดเย็บ หรือ CMP (cut-make-package) โดยนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการส่งออกของเมียนมาร์ตามยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ (National Export Strategy : NES) ปี 2020-2025 ที่มีผลบังคับใช้อยู่ในขณะนี้

อย่างไรก็ดี ภาคส่วนที่สำคัญตามแผนยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ NES 2020-2025 ได้แก่ ภาคการผลิตอาหารจากการเกษตร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมและไฟฟ้า การประมง ผลิตภัณฑ์จากป่า ผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล บริการโลจิสติกส์ การจัดการคุณภาพ บริการข้อมูลการค้า นวัตกรรมและผู้ประกอบการ และอื่นๆ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/us16551-306-mln-earned-from-foreign-trade-volume-in-more-than-six-months-period-in-2023-24-fy/