กัมพูชารั้งอันดับ 3 ด้านการส่งออก ภายใต้ RCEP

กัมพูชารั้งอันดับ 3 ในด้านรายได้ที่เพิ่มขึ้น จากการส่งออกภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีระดับภูมิภาค (RCEP) รายงานโดยธนาคารโลก ซึ่งพิจารณาจากสถานการณ์ทางด้านภาษี มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี และต้นทุนการค้า โดย สปป.ลาว ไทย กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซียได้รับประโยชน์สูงสุด ในแง่ของการเติบโตของการส่งออก รายงานระบุว่ากัมพูชาคาดว่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ซึ่งเวียดนามคาดว่าจะมีการเติบโตสูงสุดที่ร้อยละ 11.4 และญี่ปุ่นที่ร้อยละ 8.9 โดยปัจจุบัน RCEP ถือเป็นข้อตกลงทางการค้าที่มีขนาดใหญ่ครอบคลุม 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน ผนวกกับ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ มีประชากรรวมกันกว่าร้อยละ 30 ของโลก ครองสัดส่วน GDP ถึงร้อยละ 30 ของโลก

ที่มา: https://www.khmertimeskh.com/501032201/cambodia-ranks-3rd-in-real-income-gains-export-growth-under-rcep-trade-pact-world-bank/

การค้าระหว่าง กัมพูชา-จีน แตะ 11.2 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2021

รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของกัมพูชา กล่าวว่า ปริมาณการค้าระหว่างกัมพูชาและจีน สูงถึงเกือบ 11.2 พันล้านดอลลาร์ในปี 2021 เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 38 เมื่อเทียบกับปี 2020 โดยเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน รวมถึงความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค และข้อตกลงการค้าเสรีกัมพูชา-จีน ล้วนเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมภาคการค้าระหว่างกัมพูชาและจีน ซึ่งรัฐมนตรีสรศักดิ์กล่าวหลังจากกัมพูชาและผู้แทนเขตปกครองตนเองกวางซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมการค้า โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มปริมาณการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชา อาทิเช่น ข้าว ข้าวโพด มะม่วง กล้วย และผลิตผลทางการเกษตรอื่นๆ จากกัมพูชา

ที่มา:https://www.khmertimeskh.com/501032375/cambodia-china-trade-volume-reaches-11-2-billion-in-2021/

ออสเตรเลียให้คำมั่นที่จะสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสปป.ลาว

ออสเตรเลียได้ประกาศว่าจะสนับสนุนโครงการ BEQUAL ระยะที่ 2 ซึ่งเป็นโครงการ Basic Education ด้วยงบประมาณประมาณ 28 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียฯในช่วง 4 ปีข้างหน้า ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เข้มแข็งจะช่วยให้มีแรงงานที่มีทักษะและประสิทธิผลมากขึ้น ซึ่งจะทำให้สปป.ลาวทนเพิ่มรายได้ และช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมั่นคง นั่นไม่เพียงแต่ให้ประโยชน์แก่ประเทศของคุณเท่านั้น แต่ยังให้ประโยชน์ทั้งภูมิภาคด้วย ออสเตรเลียขยายเงินทุนสำหรับสถาบันลาว-ออสเตรเลียซึ่งเปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2014 เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม สองขั้นตอนแรกของสถาบันได้มอบทุนการศึกษา Australia Awards มากมาย ทุนการศึกษาระดับชาติของ Laos Australia และการฝึกอบรมและความช่วยเหลือด้านเทคนิคแก่ผู้คนจำนวนมากในประเทศลาว

ที่มา:https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Australia_40.php

เดือนก.พ.65 ค้าชายแดนเมียนมาแตะ 2.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงการต่างประเทศของเมียนมา เผย ณ วันที่ 18 ก.พ.2565 ของปีงบประมาณ 2564-2565 :ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่เดือนต.ค.2564 มีมูลค่าการค้าชายแดนเมียนมา อยู่ที่ 2.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออก 1.94 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 730 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากสถิติพบว่าลดลง 1.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2563-2564 ที่ 4.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมียวดีติดอันดับชายแดนที่มีมูลค่าการค้าสูงสุดที่ 998 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามมาด้วยด่านตีกี 776 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยด่านชายแดนที่ทำการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีนผ่านชายแดน มูเซ ลิวจี กัมปะติ ชินฉ่วยฮ่อ  และเชียงตุง กับประเทศไทยผ่าน ท่าขี้เหล็ก เมียวดี เกาะสอง, ทิกิ มุต่อง และแม่เส้า กับบังคลาเทศผ่านชายแดนซิตเว่ และมองตอ และกับอินเดียผ่านตามู และรีด ตามลำดับ เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์ทางทะเล แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า สินค้าการผลิต ฯลฯ  ส่วนการนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา:  https://www.gnlm.com.mm/myanmars-border-trade-reaches-over-2-67-bln-as-of-18-feb/#article-title

รอบ1 ปี เขตพะโค ดึงเม็ดเงินลงทุนต่างชาติสะพัดกว่า 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และลงทุน ในประเทศอีก 8.3 พันล้านจัต

จากรายงานของคณะกรรมการการลงทุนเขตพะโค (BRIC) ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. 2564 ถึง 1 ก.พ. 2565 เขตพะโคสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศจำนวน 110.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการลงทุนภายในประเทศจำนวน 8.329 พันล้านจัต สร้างตำแหน่งงานกว่า 4,953 ตำแหน่ง โดยพื้นที่ของเขตพะโคนั้นขึ้นอยู่กับการเกษตรและปศุสัตว์เป็นหลัก เนื่องจากมีแหล่งวัตถุดิบมากมายในการผลิตปุ๋ยธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีธุรกิจเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ใช้แรงงานในการตัด การผลิต และการบรรจุ (Cutting Making and Packaging : CMP) ที่น่าสนใจเพราะมีแรงงานฝีมืออยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้การอนุมัติให้เข้ามาลงทุนต้องผ่านการประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม (EIA) ก่อนเท่านั้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/bago-region-pulls-over-110-mln-foreign-investment-k8-3-bln-domestic-investment-in-one-year/#article-title

เทรนด์อีคอมเมิร์ซ ‘เวียดนาม’ ดันธุรกิจ บริการขนส่งโต

ตามข้อมูลของสมาคมอีคอมเมิร์ซเวียดนาม (VECOM) รายงานว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในเวียดนาม เฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 38% หากนับตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งสูงกว่าระดับค่าเฉลี่ยที่ 33% ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านอีคอมเมิร์ซในเวียดนาม เมื่อปีที่แล้วตลาดออนไลน์ยักษ์ใหญ่เติบโตราว 8-50% ทั้งนี้ ยอดคำสั่งซื้อบนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่เดือน มิ.ย.-ก.ย. ในปีที่แล้ว สาเหตุมาจากการเข็มงวดของมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม และคาดการณ์ว่ายอดคำสั่งซื้อจะเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่ตั้งเป้าไว้ที่ 8-10% ต่อปี นอกจากนี้ ธุรกิจให้บริการขนส่งเตรียมการตอบสนองกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดย ณ สิ้นเดือน ก.ย.64 จำนวนผู้ให้บริการไปรษณีย์ในเวียดนามสูงถึง 650 ราย เพิ่มขึ้น 67 รายเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1158307/fast-growing-e-commerce-fuels-delivery-service-boom-in-viet-nam.html

‘สิงคโปร์’ ผู้นำการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ FDI ในเวียดนาม ปีนี้

ตามรายงานของหน่วยงานการลงทุนในต่างประเทศ (FIA) ภายใต้กระทรวงวางแผนและการลงทุนของเวียดนาม เปิดเผยว่าสิงคโปร์ครองอันดับ 1 ของนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่เข้าไปลงทุนในเวียดนาม มูลค่า 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 59.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รองลงมาเกาหลีใต้ 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 12% และจีน 538 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 29.3% ตามลำดับ โดยอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปเป็นภาคธุรกิจที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วน 63% ของทุนจดทะเบียนรวมทั้งหมด หรือเป็นมูลค่า 3.13 พันล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาภาคอสังหาริมทรัพย์ มีมูลค่ารวมกว่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (30% ของทั้งหมด) อีกทั้ง เมืองโฮจิมินห์ยังคงเป็นเมืองที่ได้รับการดึงดูดจากเม็ดเงิน FDI มากที่สุด มีมูลค่ามากกว่า 52.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 12.6% ของเงินลงทุนทั้งหมด รองลงมาจังหวัดบิ่นห์เยืองและฮานอย

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/economy/singapore-leads-fdi-pledges-in-vietnam-this-year-4432527.html

‘ธนวรรธน์’เชื่อ ศึกสู้รบ’ยูเครน’ กระทบวงจำกัด

ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า สถานการณ์ความรุนแรงยูเครน-รัสเซีย มองว่า อยู่ในวงจำกัดไม่กระทบเศรษฐกิจโลก ช่วงแรกของการประกาศบุกยึดยูเครน ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกทะลุ 100 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ขณะที่ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับลดลงร้อยละ 2-5 เพราะคาดการณ์อนาคตไม่ได้ อาจทำให้รัสเซียส่งออกน้ำมันไม่ได้หรือรัสเซียไม่ส่งน้ำมันให้ยุโรป หากสู้รบบานปลาย ตลาดจึงคาดการณ์การค้าขาย การท่องเที่ยวโลกจะแย่ลง หากความรุนแรงทั้งสองประเทศยืดเยื้อ จนทำให้ราคาน้ำมันตลาดโลกพุ่งถึง 120 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล จะกระทบต่อไทย ทำให้ราคาขายปลีกแพงขึ้น กระทบต่อการท่องเที่ยว การส่งออก กระทบจีดีพีไทย ขยายตัวร้อยละ 3.5-4 และขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลบ่งชี้ว่า สถานการณ์เศรษฐกิจโลกจะทรุดตัวรุนแรง

ที่มา: https://www.naewna.com/business/638271

ม.มหิดล ร่วมเสนอแนวคิดฟื้นฟูภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกหลังวิกฤติ COVID-19 ผ่านยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน BCG

มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคณะทำงานจาก 21 ประเทศกลุ่มสมาชิกความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation) โดยได้กล่าวถึงแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤติ COVID-19 เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการระบาดระลอกใหม่อย่างยั่งยืนว่าภาคส่วนต่างๆ โดยมหาวิทยาลัยมหิดลสามารถใช้ศักยภาพที่มีอยู่ในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG ในคลัสเตอร์ เช่น ด้านอาหารและการเกษตร (Food and Agriculture) รวมไปถึงด้านการแพทย์และสุขภาพ (Medical and Wellness) ภายใต้นโยบาย BCG นี้ มหาวิทยาลัยมหิดลสามารถร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มในด้านอาหารและการเกษตร ผ่านการพัฒนาโภชนเภสัช การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ การเพิ่มผลผลิต และการทำการเกษตรแม่นยำสูง และในด้านการแพทย์และสุขภาพ ได้มุ่งเน้นไปสู่การแพทย์แม่นยำสูง เทคโนโลยีจีโนมิกส์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร และสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ รวมไปถึงการส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางทางด้านการแพทย์ (medical hub) เป็นต้น

 

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3300783

“เวิลด์แบงก์” ประเมินเวียดนามได้รับผลประโยชน์ทางการค้าและรายได้มากที่สุดในสมาชิก RCEP

ตามรายงานของธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เปิดเผยว่าได้ทำการวิเคราะห์ผลกระทบจากการเข้าร่วมสมาชิกของเวียดนามจากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) โดยพิจารณาแบบจำลองจาก 4 ปัจจัยที่สะท้อนให้ทราบถึงสถานะของธุรกิจ 1) การปรับลดภาษีของกลุ่ม RCEP เพียงข้อตกลงการค้าฉบับเดียวเท่านั้น 2) ลดอัตราภาษีศุลกากรและมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี อาทิ การลดภาษีสินค้าเกษตร 35%,  สินค้าอุตสาหกรรม 25% และบริการ 25% 3) ต้นทุนการค้าระหว่างสมาชิกลดลง 1% ในช่วงปี 2565-2578 4) ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากการเปิดกว้างทางการค้าและต้นทุนการค้าที่ลดลง ดังนั้น ผลจากการวิเคราะห์ พบว่ารายได้และการค้าที่แท้จริงของเวียดนามขยายตัวได้ดี ตลอดจนได้รับผลประโยชน์สูงสุดในสมาชิก RCEP รายได้ที่ทแจริงเพิ่มขึ้น 4.9% เมื่อเทียบกับระดับพื้นฐาน

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-to-get-highest-trade-income-gains-among-rcep-members-wb-post926211.vov