‘ครั้งแรก’ บริษัทอินโดนีเซียส่งออกชาอู่หลงไปยังเวียดนาม

บริษัท PT Perkebunan Nusantara (PTPN) ของอินโดนีเซีย และกลุ่มบริษัท PT Suntory Garuda Beverage เปิดเผยว่าธุรกิจทำการส่งออกชาอู่หลง (Oolong tea) ไปยังเวียดนาม นับเป็นครั้งแรกและเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่างสองบริษัทในการจัดหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูง สำหรับเครื่องดื่มแบบพร้อมดื่ม (RTD) ทั่วตลาดเอเชีย โดยความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อเริ่มต้นการส่งออกในปี 2564 และผ่านขั้นตอนการเตรียมการต่างๆ รวมถึงการทดลอง การประเมินและการตรวจสอบชาอู่หลงที่ผลิตโดยกลุ่มบริษัท PTPN ที่ได้รับการรับรองจากระบบมาตรฐานแห่งชาติ (SNI) และผ่านการประเมินปริมาณสารกำจัดศัตรูพืชด้วยสารออกฤทธิ์ที่จำเป็น 268 รายการ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/indonesian-firms-export-first-batch-of-oolong-tea-to-vietnam-post1038334.vov

ผลสำรวจชี้ ‘ธุรกิจเยอรมนี’ เล็งขยายการลงทุนในเวียดนาม

คณะผู้แทนอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ของเยอรมันในเมียนมา (AHK) เผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการเยอรมนี พบว่าธุรกิจเยอรมนีส่วนใหญ่ 91% กำลังวางแผนที่จะขยายการลงทุนในเวียดนาม ในขณะที่ 40% มีแผนที่จะจ้างพนักงานมากขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า ถึงแม้ว่าจะมีความท้าทายหลายประการ อาทิเช่น ภาวะเงินเฟ้อ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและอิทธิผลทางการเมืองเพิ่มมากขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจเวียดนามมีศักยภาพที่จะฟื้นตัวจากการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะกลาง รวมไปถึงได้รับแรงหนุนมาจากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) และนโยบาย “China Plus One” ที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทานการผลิตไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการไหลเข้าของเงินลงทุนในธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/most-of-surveyed-german-firms-plan-expansion-in-vietnam/265966.vnp

‘ทูน่าเวียดนาม’ ส่งออกไปยังอิตาลีพุ่ง เหตุแรงจูงใจด้านภาษี

กรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าการส่งออกปลาทูน่าของเวียดนามไปยังตลาดอิตาลีในเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้น 12 เท่า เนื่องจากได้รับอัตราภาษีพิเศษที่อยู่ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) ทั้งนี้ สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) ประเมินว่าอิตาลีนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากเวียดนามมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนกว่า 50% ของมูลค่าการส่งออกปลาทูน่าไปยังอิตาลี นอกจากนี้ยังมีการส่งออกเนื้อปลาทูน่าแช่แข็งหรือเนื้อปลาแบบฟินเล รหัสศุลกากร HS0304 ไปยังตลาดอิตาลี เพิ่มขึ้น 71% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnamese-tuna-exports-to-italy-skyrocket-due-to-tax-incentives-post1038172.vov

‘เวียดนาม’ โตทุ่มตลาด เตรียมจ่อเก็บภาษีน้ำตาลจากไทย

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เปิดเผยว่าเป็นครั้งแรกที่กระทรวงฯ ทำการทบทวนการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนน้ำตาลจากไทย โดยได้ออก Decision No. 1989/QD-BCT มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2566 – 15 มิถุนายน 2569 ทั้งนี้ ผลการบังคับจะมีผลต่อบริษัทไทยบางแห่ง ได้แก่ บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด และบริษัทในเครือ 4 แห่ง ตามมาด้วยบริษัท ซีซาร์นิโคว, บริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด และบริษัทในเครืออีก 5 แห่ง ด้วยเหตุนี้ จากการพิจารณามาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด พบว่าอากรตอบโต้การทุ่มตลาด เรียกเก็บขั้นต่ำ อยู่ที่ 25.73% และอัตราสูงสุดที่ 32.75% นอกจากนี้ ภาษีต่อต้านการอุดหนุน อยู่ที่ 4.65%

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnam-to-impose-anti-dumping-duty-on-sugar-imports-from-thailand/

‘เวียดนาม’ เผยช่วง 7 เดือนแรกปี 66 ส่งออกน้ำมันดิบ 1.76 ล้านตัน

กรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกน้ำมันดิบไปยังตลาดต่างประเทศ 1.76 ล้านตัน มูลค่ารวม 1.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 19.7% ในเชิงปริมาณ แต่ลดลง 10.4% ในเชิงมูลค่า เมื่อเทียบเป็นรายปี ตามลำดับ ในขณะที่เดือน ก.ค. เพียงเดือนเดียว พบว่าเวียดนามทำรายได้จากการส่งออกน้ำมันดิบ ปริมาณ 350,000 ตัน มูลค่า 224 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 52.2% และ 7.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน นอกจากนี้ เวียดนามนำเข้าน้ำมันดิบในเดือน ก.ค. ปริมาณ 1.5 ล้านตัน มูลค่า 862 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 120.6% และ 49.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี อย่างไรก็ดี ไทยและออสเตรเลียเป็นผู้นำเข้าน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-exports-1-76-million-tonnes-of-crude-oil-in-seven-months-2174928.html

‘วงใน’ เผย ข้าวเวียดนาม รุกเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในสหราชอาณาจักร

นายเหงียน กั๋น เกื่อง ที่ปรึกษาการค้าของเวียดนาม ประจำสหราชอาณาจักร กล่าวว่าในปัจจุบัน โอกาศสำคัญของเวียดนามที่จะเพิ่มส่วนแบ่งตลาดข้าวเวียดนามในตลาดสหราชอาณาจักร (UK) หลังจากอินเดีย ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ธัญพืชรายใหญ่ที่สุดในตลาดแห่งนี้ มีคำสั่งห้ามส่งออกข้าว ทั้งนี้ สหราชอาณาจักรเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวเอเชียกว่า 5.5 ล้านคน และมีความพร้อมการข้าวสูง ในขณะที่ไม่มีการผลิตข้าวเลย โดยเมื่อปี 2565 ปริมาณการนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น 4.1% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ปริมาณกว่า 678,000 ตัน อีกทั้ง การส่งออกข้าวของเวียดนามไปยังตลาดสหราชอาณาจักร เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง 3,400 ตัน คิดเป็นมูลค่า 3.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 24.5% และ 34% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามลำดับ

ที่มา : https://en.nhandan.vn/vietnamese-rice-can-grow-larger-uk-market-share-insiders-post128237.html

‘เวียดนาม’ เผยรายได้อุตฯ ICT ลดลง 7%

กระทรวงสารสนเทศและการสื่อสารของเวียดนาม (MIC) เปิดเผยว่าในเดือนที่แล้ว รายได้จากอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มีมูลค่ากว่า 1.71 พันล้านล้านด่อง หรือประมาณ 72.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 7.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สาเหตุมาจากเศรษฐกิจหลายๆประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอย และไม่เห็นสัญญาการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ ตลาดไอซีที (ICT) ยังคงปรับตัวลดลง พร้อมกับศักยภาพการเติบโตอยู่ในระดับต่ำ เนื่องมาจากได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน และอาฟเตอร์ช็อกทางเศรษฐกิจ หลังการระบาดของโควิด-19 ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดส่งออกสินค้าและบริการของเวียดนาม

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/ict-revenue-falls-by-more-than-7-over-last-year-2174502.html

‘นิ่งห์ถ่วน’ ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางพลังงานหมุนเวียนของประเทศ

จังหวัดนิ่งห์ถ่วน (Ninh Thuan) ตั้งเป้าผลักดันประเทศสู่ศูนย์กลางผลิตพลังงานหมุนเวียน โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียน 26,500 เมกะวัตต์ ภายในปี 2573 และเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวนั้น ทางจังหวัดมุ่งพัฒนาโซลาร์ฟาร์มและฟาร์มกังหันลม รวมถึงส่งเสริมให้ประเทศมีส่วนร่วมด้านความมั่งคงทางพลังงาน ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2564-2573 ทางจังหวัดจะมุ่งพัฒนาพลังงานจากแสงอาทิตย์ ลม ไฟฟ้าพลังน้ำ และก๊าซธรรมชาติเหลว ซึ่งกำลังการผลิตจากพลังงานหมุนเวียนดังกล่าว คาดว่าจะมีสัดส่วน 16% ของ GDP จังหวัด ในปี 2573

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/ninh-thuan-looks-to-become-renewable-energy-hub/

‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เผชิญกับอุปสรรคมากมาย

นายฝ่าม มิงห์ จิ๋งห์ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม กล่าวในที่ประชุมรัฐบาลว่าเศรษฐกิจเวียดนามยังคงเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น เนื่องจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก การส่งออกที่หดตัวลงและวิกฤติสินเชื่อ ถึงแม้จะได้รับสัญญาของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แต่ว่าแนวโน้มของการเติบโตทางเศรษฐกิจก็จะถูกขัดขวางจากการบริโภคที่อ่อนแอและอุปสรรคทางการค้าโลก ทั้งนี้  อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้สร้างแรงกดดันต่อหนี้สาธารณะและความกังวลทางการเงินยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญที่จะขัดขวางการฟื้นตัวของหลายๆประเทศ หลังสิ้นสุดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค นอกจากนี้ ความท้าทายที่เกิดขึ้นใหม่ ได้แก่ ความไม่มั่นคงด้านอาหารโลก ผลผลิตน้ำมันที่ซบเซาและสภาพอากาศที่รุนแรง กำลังเพิ่มข้อจำกัดที่ส่งผลกระทบต่อตลาดโลก

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnam-faces-protracted-economic-headwinds/

ส่งออกเวียดนามยังไม่ฟื้น เหตุอุปสงค์ทั่วโลกอ่อนแอ

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า รายงานว่าภาคการส่งออกของเวียดนามเผชิญกับภาวะถดถอยในปี 2566 ทั้งการส่งออกและการนำเข้าที่หดตัวลงในอัตราตัวเลขสองหลัก ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ค. และจากข้อมูลการส่งออกของเวียดนามในเดือน ก.ค. พบว่ามีมูลค่าอยู่ที่ 29.68 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ภาคเศรษฐกิจในประเทศ ลดลง 4.2% ในขณะที่ภาคการลงทุนจากต่างประเทศ ลดลง 3.2% อีกทั้ง การส่งออกรวมของเวียดนามในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ มีมูลค่าอยู่ที่ 194.73 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 10.6% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สาเหตุสำคัญมาจากอุปสงค์ทั่วโลกที่อ่อนแอ โดยเฉพาะตลาดส่งออกสำคัญของเวียดนาม อาทิเช่น สหรัฐ (-21.8%), ยุโรป (-9.9%), อาเซียน (-9.6%), เกาหลีใต้ (-8.8%) และญี่ปุ่น (-3.5%) เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-foreign-trade-sector-struggles-as-global-demand-weakens/