กัมพูชาส่งออกมูลค่ารวมเกือบ 6 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี

กัมพูชาส่งออกสินค้ามูลค่ารวมเกือบ 6 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นกว่าร้อยละ 20.8 ของ GDP ขยายตัวร้อยละ 1.6 ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2021 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากการส่งออกจักรยานและสินค้าอื่นๆ เพิ่มขึ้น ส่วนการนำเข้าสินค้า (ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่ารวมถึง 8,664 ล้านดอลลาร์ เทียบเท่ากับร้อยละ 30.2 ของ GDP ขยายตัวร้อยละ 17 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากการนำเข้าวัสดุสิ่งทอ วัสดุก่อสร้าง เชื้อเพลิง และสินค้าอื่นๆ เพิ่มขึ้น รายงานโดยกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง ซึ่งกล่าวเสริมถึงเศรษฐกิจของกัมพูชาที่ยังคงได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 โดยคาดว่าเศรษฐกิจโดยรวมจะกลับมาขยายตัวในช่วงสิ้นปี 2021 เนื่องจากการฟื้นตัวของสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญกัมพูชา รวมถึงความต้องการของสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นเป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50890953/cambodia-earns-6-billion-from-exports-in-five-months/

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกัมพูชายังคงชะลอตัวอย่างหนัก

กระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชารายงานถึงจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังกัมพูชาในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค. มียอดรวมอยู่ที่เพียง 91,596 คน หรือคิดเป็นการลดลงมากกว่าร้อยละ 92 จากช่วงเดียวกันของปี 2020 โดยปัจจุบันทุกคนที่เดินทางเข้ามายังกัมพูชาต้องทำการกักตัวเป็นเวลาสองสัปดาห์และทำการทดสอบ PCR Coronavirus ที่ผลต้องออกมาเป็นลบตั้งแต่เริ่มกักตัวจนสิ้นสุดระยะเวลาการกักตัวที่กำหนดไว้ 14 วัน ด้วยความหวังของรัฐบาลกัมพูชาที่จะฟื้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก กระทรวงสาธารณสุขและการท่องเที่ยวกำลังเร่งดำเนินการตามแผนที่จะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวที่ได้รับวัคซีนครบถ้วนตามกำหนด สามารถเดินทางมายังกัมพูชาได้ในช่วงต้นเดือน ต.ค. 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50890843/tourism-industry-gloom-continues-as-overseas-arrivals-drop-92-2-percent/

เวียดนาม 3 อันดับแรกจุดหมายขยายธุรกิจในอาเซียน

สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด เผยผลการสำรวจชี้เวียดนามเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของธุรกิจชั้นนำในอาเซียนที่มองหาโอกาสในประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และในบรรดาสมาชิกดังกล่าว สิงคโปร์ ไทยและเวียดนามถือเป็นจุดหมายของบริษัทต่างๆ ที่ต้องการขยายการผลิตและธุรกิจ ทั้งนี้ ตามข้อมูลของสำนักข่าว VnExpress ชี้ว่าสิงคโปร์เป็นจุดหมายที่น่าดึงดูดที่สุด ธุรกิจส่วนใหญ่กว่า 80% แสดงถึงความต้องการที่จะขยายธุรกิจและการผลิตในสิงคโปร์ รองลงมาไทย 60% และเวียดนาม 50% นอกจากนี้ ธุรกิจในอาเซียนมองทิศทางการทำธุรกิจอยู่ในระดับที่ดีมากในภูมิภาคนี้ในอีก 12 เดือนข้างหน้า ประกอบกับความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่คาดว่าจะดึงดูดการลงทุนในอาเซียน อย่างไรก็ดี ยังเผชิญกับความเสี่ยง 3 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ การระบาดของโควิด-19 ความไม่แน่นอนทางการเมือง ความขัดแย้งทางการค้า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นไปอย่างช้าและการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-among-asean-top-3-for-business-expansion-destinations-33738.html

เศรษฐกิจเวียดนามโตแรงแซงหน้าสิงคโปร์ ปี 73

ผู้เชี่ยวชาญของธนาคารแห่งชาติสิงคโปร์ (DBS) กล่าวว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโตราว 6-6.5% ในอีก 10 ปีข้างหน้า และด้วยอัตราการเติบโตดังกล่าวจะแซงหน้าสิงคโปร์ภายในปี 2573 โดยในปีที่แล้ว มูลค่าของเศรษฐกิจเวียดนามอยู่ที่ 34 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่สิงคโปร์มีมูลค่า 337.5 พันล้านเหรียญสหรัฐและมาเลเซีย 336.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้เวียดนามมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับที่ 40 ของโลก และติดอันดับที่ 4 ในภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนตามรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ชี้ว่าเวียดนามจะแซงหน้าทั้งมาเลเซียและสิงคโปร์ในปีนี้ ทั้งนี้ แม้ว่าจะเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอย่างมาก แต่เศรษฐกิจเวียดนามยังเติบโตได้ดีที่ 5.64%

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/10128302-vietnam%E2%80%99s-economy-to-surpass-singapore-s-by-2030-dbs-bank.html

อสังหาฯ หวั่นเจ็บแต่ไม่จบแนะ 3 แผนสกัด

นายอธิป พีชานนท์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า มาตรการล็อกดาวน์ในครั้งนี้ รัฐบาลต้องวางแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนว่า ระหว่างล็อกดาวน์ 14 วัน โดยมี 3 วาระที่ต้องดำเนินการเร่งด่วน คือ 1.จัดให้มีการตรวจคัดกรองให้มากที่สุด 70 -80% ของคนในพื้นที่ ของประชาชนให้้มีโอกาสได้ตรวจคัดกรองในราคาที่ไม่แพง 2.เร่งฉีดวัคซีนในพื้นที่สีแดง ป้องกันการติดเชื้อเพิ่มขึ้น และ 3.เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ จะดูแลอย่างไร เพราะสุดท้ายต้องกลับภูมิลำเนาทำให้เกิดการแพร่เชื้อในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/948347

ความต้องการถั่วหัวช้างยังโตต่อเนื่อง หนุนราคาพุ่ง

ราคาถั่วหัวช้างอยู่ในช่วงขาขึ้นเพราะความต้องการในประเทศเพิ่มอย่างต่อเนื่องในเดือนก.ค. เพิ่มเป็น 100,000 จัตต่อถุง จากผลลิตที่ลดลงในปีนี้ ปัจจุบันราคาขยับอยู่ในช่วง 92,000-100,000 จัตต่อถุงขึ้นอยู่กับพันธุ์ ขณะที่เดือนก่อนราคาจะอยู่ที่ 93,000 จัตต่อถุง ราคามักจะผันผวนขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทาน เมื่อทำการขนขึ้นเรือ ราคาก็จะสูงขึ้นด้วย ปีที่ผ่านมาเมียนมาส่งออกถั่วหัวช้างไปยังอินเดีย ปากีสถาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตุรกี และตลาดอื่นๆ ส่วนการเพาปลูกส่วนใหญ่อยู่ในเขตย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ พะโค ซากาย และอิรวดี และเนปิดอว์ โดยมีพื้นที่เพาะปลูกทั่วประเทศประมาณ 890,000 เอเคอร์ จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ระบุ ระหว่างวันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 25 มิ.ย.64 ของปีงบประมาณ 63-64 เมียนมาส่งออกถั่วหัวช้างมากกว่า 23,675 ตันถูกส่งออกไปยังต่างประเทศ สร้างรายได้มากกว่า 13.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – KK/GNLM

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/strong-domestic-demand-drives-chickpea-price-up/

7 เดือนแรกของปีงบฯ 63-54 เมียนมานำเข้ายา 303.53 ล้านดอลลาร์ฯ

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเมียนมา 7 เดือนเรกชองปีงบประมาณ 63-64 (ต.ค.63-เม.ย.64) มูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาอยู่ที่ประมาณ 303.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเมียนมานำเข้ายาและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ร้อยละ 90 จากตลาดต่างประเทศ อินเดียเป็นซัพพลายเออร์หลักสำหรับเมียนมาร์ นอกจากนี้ยังนำเข้าจากบังคลาเทศ จีน เยอรมนี อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม การค้ากลับสู่ภาวะปกติหลังจากการตื่นตระหนกในช่วงการระบาดของโควิด-19 ปัจจุบันมีการนำเข้ายาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ราคาของยาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10 เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น อีกทั้งเครื่องมือทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 มีความจำเป็นอย่างมากท่ามกลางการระบาดที่เพิ่มขึ้น กระทรวงพาณิชย์ได้ตัดระเบียบราชการออกเพื่อนำเข้ายาบางชนิดเข้ามาก่อน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-pharmaceutical-imports-top-303-53-mln-in-seven-months/

เวียดนามกลายเป็นผู้ส่งออกเชื้อเพลิงอัดเม็ดรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก

สมาคมป่าไม้และผลิตภัณฑ์ป่าไม้ของเวียดนาม (VTFPA) รายงานว่าเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Pellet) ของเวียดนามส่วนใหญ่ส่งออกไปยังญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เพื่อผลิตพลังงานความร้อน เชื้อเพลิงดังกล่าวทำมาจากเศษไม้ ขี้เลื่อนและของเสียทางการเกษตร อาทิ แกลบ ชายอ้อยและกาแฟ เป็นต้น โดยยอดการส่งออกเชื้อเพลิงของเวียดนาม พุ่งแตะ 3.2 ล้านตันในปีที่แล้ว จาก 175.5 ตันในปี 65 ด้วยรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้น 15.3 เท่า มูลค่าราว 23 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 56 มาเป็น 351 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 63 ทั้งนี้ เวียดนามมีโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดประมาณ 80 แห่ง ด้วยกำลังการผลิตราว 4.5 ล้านตันต่อปี อีกทั้ง ทางสมาคมมองว่าความต้องการเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดทั่วโลก จะเพิ่มขึ้นประมาณ 250% ในอีก 10 ปีข้างหน้า ปริมาณกว่า 36 ล้านตันในปี 2573

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/988017/viet-nam-now-worlds-second-largest-fuel-pellet-exporter.html

เศรษฐกิจเวียดนามติดอันดับที่ 4 ในอาเซียน

ผู้เชี่ยวชาญของธนาคารแห่งชาติสิงคโปร์ (DBS) กล่าวว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโตราว 6-6.5% ในอีก 10 ปีข้างหน้า หากเวียดนามยังสามารถรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ก็จะแซงหน้าสิงคโปร์ภายในปี 2573 ซึ่งตามข้อมูลเมื่อปีที่แล้ว พบว่าเศรษฐกิจเวียดนามมีมูลค่าอยู่ที่ 343 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับสิงคโปร์ที่มีมูลค่า 337.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมาเลเซีย 336.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เวียดนามติดอยู่ในอันดับที่ 40 ของโลกและอยู่ในอันดับที่ 4 ในกลุ่มอาเซียน ทั้งนี้ แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนัก แต่ว่าเศรษฐกิจของเวียดนามยังคงเติบโตที่ 5.64% และรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้น 28.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-economy-to-rank-fourth-in-asean-experts/204334.vnp

ราคายางพุ่งต่อเนื่อง ทะลุ 900 จัตต่อปอนด์

จากข้อมูลของคลังสินค้า Mawlamyine Commodity Depot ราคายางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 900 จัตต่อปอนด์ ยางธรรมชาติราคาอยู่ที่ 710 จัตต่อปอนด์ ในขณะที่ยางแผ่นรมควัน (RSS) แตะที่ 720 จัตต่อปอนด์ในปลายเดือนมกราคม 64 แต่ปัจจุบันยางธรรมชาติได้เพิ่มสูงขึ้นถึง 930 จัตต่อปอนด์ และ 940 จัตต่อปอนด์สำหรับยางแผ่นรมควัน (RSS) ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่าราคายางสูงขึ้นเนื่องจากการผลิตลดลงในช่วงนอกฤดูท่องเที่ยวในเดือนมิ.ย.- ส.ค.63 นี่คือสาเหตุที่ราคายางมีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงนอกฤดูท่องเที่ยวปีนี้ อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ราคายางสูงขึ้นในปีนี้คือการนำไปผลิตถุงมือยางเพื่อป้องกัน COVID-19 ปัจจุบันความต้องการยางจากจีนและไทยยังมีอย่างต่อเนื่อง ด้านการเพาะปลูกพบว่าในปี 63 รัฐมอญมีพื้นที่เพาะปลูกยางที่ใหญ่ที่สุดโดยสามารถผลิตยางได้กว่า 240 ล้านปอนด์ จากข้อมูลปี 61-62 เมียนมามีพื้นที่สวนยางมากกว่า 1.628 ล้านเอเคอร์ โดยรัฐมอญมีพื้นที่ 497,153 เอเคอร์ รองลงมาคือเขตตะนาวศรี 348,344 เอเคอร์ และรัฐกะเหรี่ยง 270,760 เอเคอร์ โดยการผลิตยางประมาณ 300,000 ตัน ร้อยละ 70 ถูกส่งออกไปจีน และในทุกๆ ปีเมียนมาส่งออกยางดิบกว่า 200,000 ตันสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศมากกว่า 200 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rubber-price-stays-on-rise-hit-over-k900-per-pound/