ในช่วง 7 เดือนของปีงบ 65-66 เมียนมาโกยรายได้กว่า 10.733 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกสินค้าไปบังกลาเทศ

การส่งออกของเมียนมามากกว่าการนำเข้าของการค้าชายแดนกับบังกลาเทศ พบว่าระหว่างเดือนเมษายนถึงตุลาคม 2565 ในปีงบประมาณ 2565-2566 มีการส่งออกสินค้าไปบังคลาเทศ 8,620.7 ตันอยู่ที่ประมาณ 10.733 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเป็นการส่งออกสินค้าประมงร้อยละ 65 และสินค้าอุปโภคบริโภคคิดเป็นร้อยละ 35 ผ่านชายแดนซิตเวย์และมองดอ ซึ่งสินค้าประมงที่ส่งออก ได้แก่ ปลายี่สกเทศ ปลาตะลุมพุกฮิลซา ปลาแมคเคอเรล ปลากะตักแห้ง และเนื้อปลาอบแห้ง ที่ผ่านมาสินค้าประมงที่ส่งออกไปบังคลาเทศ พบว่า ในปีงบประมาณ 2562-2563 มีมูลค่า 6.318 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (7,093.413 ตัน) ปีงบประมาณ 2563-2564 มีมูลค่า 4.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (5,010.7 ตัน) และปีงบประมาณย่อย 2564-2565 (เดือนตุลาคม 2564 -เดือนมีนาคม 2565) มีมูลค่า 13.987 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (11,362.97 ตัน) ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา เมียนมามีรายได้รวม 10.733 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออก 8,620 ตันไปยังบังกลาเทศ และยังมีรายได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาติในการให้เรือของบังคลาเทศเข้าจอดเทียบท่าจำนวน 26 ลำ คิดเป็นมูลค่า 24,100 ดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-10-733-mln-from-exports-to-bangladesh-in-7-months/#article-title

เมียนมา ขยายเวลาชำระคืนเงินกู้โควิด- 19 ออกไปอีก 1 ปี

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 คณะทำงานแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้ประกาศขยายระยะเวลาชำระคืนกองทุนเงินกู้โควิด-19 ไปอีก 1 ปี หลังจากครบกำหนดชำระเป็นปีที่สอง โดยมีวงเงินของโครงการทั้งสิ้น 2 พันล้านจัต ซึ่งได้ปล่อยกู้ให้กับบริษัทและวิสาหกิจทั่วประเทศแล้ว จำนวน 5,990 แห่ง เป็นจำนวนมูลค่าสินเชื่อที่ปล่อยกู้รวมทั้งสิ้น 158.4438 พันล้านจัต ด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละหนึ่งและระยะเวลาเงินกู้หนึ่งปีตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2563 เป็นต้นมา ทั้งนี้มีภาคอุตสาหกรรมที่ได้เข้าร่วมขอสินเชื่อ ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแบบ CMP, ธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว, วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, เกษตรกรรม, การเลี้ยงปศุสัตว์และการผลิตภัณฑ์ทางทะเล เป็นต้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/covid-19-loan-repayment-period-extended-for-one-more-year/

เกษตรกรเมียนมาหันไปใช้ปุ๋ยธรรมชาติกันมากขึ้น เพราะปุ๋ยเคมีราคาพุ่งสูง

นาย โก คินวัน ผู้ค้าปุ๋ยเคมีในเมืองตาน-ลยีน ของย่างกุ้ง ได้ให้ข้อมูลว่า การซื้อปุ๋ยเคมีของเกษตรกรในท้องถิ่นลดลงเนื่องจากได้หันไปใช้ปุ๋ยธรรมชาติกันมากขึ้นเพราะปุ๋ยเคมีมีราคาสูง ตั้งแต่วันที่ 8 ถึง 14 ตุลาคม 2565 มีการนำเข้าปุ๋ยกว่า 40,000 ตัน มูลค่า 24.726 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากโอมาน จีน เกาหลีใต้ ไทย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เวียดนาม และมาเลเซีย นอกจากนี้ ยังมีการนำเข้าปุ๋ยมากกว่า 1,000 ตัน มูลค่า 321 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากชายแดน โดยนำเข้าจากจีน 600 ตัน อินเดีย 20 ตัน และไทย 400 ตัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/fertilizer-pesticide-prices-slightly-decrease-as-cold-market/#article-title

ราคาข้าวโพดเมียนมา พุ่งขึ้นกว่า 1,100 จัตต่อ viss

รายงานของสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมา เผยข้อมูลว่า เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 ราคาข้าวโพดเลี้ยงเลี้ยงสัตว์ดีดตัวขึ้น 1,100 จัตต่อ viss เป็นผลมาจากค่าเงินจัตที่อ่อนตัวและความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากตลาดต่างประเทศอย่างเวียดนามและฟิลิปปินส์ นาย U Aye Chan Aung ประธานสมาคมฯ ได้ให้ข้อมูลว่า มีบริษัทจำนวน 112 แห่ง ได้อนุญาติให้ทำการส่งออกไปต่างประเทศได้ ในปีงบประมาณ 2563-2564  เมียนมาส่งออกข้าวโพด 2.3 ล้านตัน ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังไทย ที่เหลือไปจีน อินเดีย และเวียดนาม ปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดหลักๆ ของเมียนมาอยู่ในรัฐฉาน รัฐคะฉิ่น กะยา และกะเหรี่ยง และมัณฑะเลย์ สะกาย และมะกเว โดยมีผลผลิตตข้าวโพดเฉลี่ยอยู่ที่ 2.5-3 ล้านตันทุกปี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/corn-prices-bounce-back-over-k1100-per-viss/#article-title

เดือนต.ค. 65 ส่งออกข้าวเมียนมา พุ่งขึ้น 20.58% เมื่อเทียบกับปีก่อน

สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) เปิดเผยว่า เดือนตุลาคม 2565 เมียนมาส่งออกข้าวกว่า 136,205 ตัน เพิ่มขึ้น 20.58 เปอร์เซ็นต์จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จีนยังคงเป็นนำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของเมียนมา คือมียอดการนำเข้าถึง 51,086 ตันหรือร้อยละ 37.5 ของยอดทั้งหมดของประเทศ โดยในปีงบประมาณ 2565-2566 ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน ที่ผ่านมา เมียนมาส่งออกข้าวไปยังจีน ญี่ปุ่น ประเทศในสหภาพยุโรป อินโดนีเซีย บังคลาเทศ มาเลเซีย ศรีลังกา ประเทศในแอฟริกา และประเทศในตะวันออกกลาง ทั้งนี้ ในด้านเกษตรกรรม เมียนมาปลูกข้าวปลูกมากที่สุด รองลงมาคือถั่ว และถั่วพัลส์

ที่มา: https://english.news.cn/asiapacific/20221102/9de5ba59f4694ae79754c6e16980c946/c.html

ราคาอ้างอิงน้ำมันปาล์ม พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

คณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้าและจำหน่ายน้ำมันพืชภายใต้กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา เผย ราคาอ้างอิงของน้ำมันปาล์มขายส่งในตลาดย่างกุ้ง ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม ถึง วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 พุ่งไปอยู่ที่ 4,225 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้น 50 จัตต่อ viss ของราคา ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2565 ที่ 4,175 จัตต่อ viss โดยคณะกรรมการฯ แม้จะมีราคาอ้างอิงในปัจจุบันก็พุ่งสูงขึ้น แต่หากพบว่าผู้ค้าปลีกและผู้ค้าส่งนั้นขายราคาที่สูงกว่าราคาอ้างจะต้องถูกดำเนินการทางกฎหมาย ด้านกระทรวงพาณิชย์ได้ออกมาชี้แจงให้กับผู้บริโภคว่าน้ำมันพืชยังมีปริมาณที่เพียงพอสำหรับการบริโภค และจะรักษาระดับราคาให้เหมาะสมกับค่าครองชีพของคนในประเทศ ทั้งนี้ปริมาณการบริโภคน้ำมันในประเทศอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี การผลิตน้ำมันปรุงอาหารมีประมาณ 400,000 ตัน และเพื่อความเพียงพอของการบริโภคน้ำมันปรุงอาหาร เมียนมาจึงต้องนำเข้าจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย ประมาณปีละ 700,000 ตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/palm-oil-wholesale-reference-price-continues-to-rise/

จีนลดการนำเข้าถั่วลิสงจากเมียนมา กดราคาร่วงต่ำกว่า 6,000 จัตต่อ viss

ศูนย์ขายส่งสินค้ามัณฑะเลย์ เผย ผลผลิตถั่วลิสงที่เก็บเกี่ยวใหม่จำนวนมากจาก ภูมิภาคต่างๆ ของเมียนมากำลังถูกขนส่งไปจำหน่ายยังตลาดมัณฑะเลย์ส่งผลให้ราคาร่วงลงต่ำกว่า 6,000 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) และความต้องการที่ลดต่ำลงของจีนส่งผลให้ราคาร่วงลงอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 1 กันยายน2565 ราคาถั่วลิสงอยู่ระหว่าง 6,800 ถึง 7,200 จัตต่อ viss ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ แต่ราคา ณ  เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2565 ราคาลดลงอยู่ระหว่าง 4,700-5,800 จัตต่อ viss ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนการลดลงอย่างรวดเร็วถึง 1,000 จัตต่อ viss ในระยะเวลาเพียงแค่หนึ่งเดือน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/chinas-low-demand-drives-peanut-prices-down-to-below-k6000-per-viss/

หัวหอมในฤดูมรสุมของเมียนมา ร่วงลง 2,500 จัตต่อ viss

ราคาหัวหอม ณ Pakokku Commodity Center เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2565 ราคาพุ่งแตะ 3,600 จัตต่อ viss แต่หลังจากผลผลิตหัวหอมในช่วงฤดูมรสุมกว่า 10,000 viss ได้หลั่งไหลเข้าสู่ตลาด ราคาร่วงลงเหลือ 2,500 วอนต่อครั้ง ตามข้อมูล นอกจากนี้ ผลผลิตหัวหอมของเมียนมานอกจากจะได้รับผลกระทบจากฤดูฝน ระยะเวลาเก็บเกี่ยวของเวียดนาม ไทย และบังคลาเทศก็จะมาถึงเร็วกว่าปกติก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ราคาลดลง ดังนั้นทำให้ความต้องการของตลาดชายแดนในเดือนพฤศจิกายนก็จะลดลงไปด้วย โดยราคาหัวหอม ณ ตลาดย่างกุ้งอยู่ที่ 3,500 จัตต่อ viss ในขณะที่ตลาดของบังคลาเทศราคาจะอยู่เพียง 2,000 จัตต่อ viss

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/newly-harvested-monsoon-onions-enter-markets-at-k2500-per-viss/#article-title

ครึ่งปีหลัง งบฯ 65-66 ค้าชายแดนเมียนมา-จีน พุ่ง 1.226 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย การค้าชายแดนเมียนมา – จีน ของปีงบประมาณ 2565-2566 ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน 2565 มีมูลค่าสูงถึง 1.226 พันล้านดอลลาร์ จากจุดผ่านแดน 5 แห่ง โดยในครึ่งปีแรกการค้าของทั้ง 2 ประเทศผ่านด่านมูเซและลแวแจมีมูลค่า 1.101 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด่านชินฉ่วยโอ 77.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และด่านกัมปติ 42.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้การค้าชายได้เริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้งหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19 ทำให้ด่านชินฉ่วยโอ ด่านจินซันเฉาะ และด่านกัมปติ ได้กลับมาเปิดทำการอีกครั้ง นอกจากนี้ ยังอนุญาตให้ใช้เงินหยวนและเงินจัตในการซื้อขายระหว่างชายแดน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/sino-myanmar-border-trade-amounted-to-1-226-bln-in-h1/

25-26 ต.ค.65 ราคาหัวหอมในเมียนมา พุ่งสูงสุด เป็นประวัติการณ์

ราคาหัวหอมสูงตั้งแต่วันที่ 25 – 26 ตุลาคม 2565 สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากความต้องการของตลาดชายแดนที่เพิ่มมากขึ้น โดยในตลาดค้าส่งราคาหัวหอมพุ่งแตะสูงสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 4,300 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) สาเหตุเกิดจากผลผลิตหัวหอมที่ลดลงในหลายภูมิภาคส่งผลให้ราคาในตลาดค้าส่งถีบตัวสูงขึ้น ในทำนองเดียวกัน ราคาหัวหอมจากจีนก็เพิ่มขึ้นจาก 1,800  จัตต่อ viss ในวันที่ 25 ตุลาคม 2565 เพิ่มขึ้นเป็น 2,200 จัตต่อ viss ในวันที่ 26 ตุลาคม 2565 ทำให้หัวหอมจากจีนเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาเพราะมีราคาถูกกว่าหัวหอมที่ปลูกในประเทศ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/onion-price-heads-for-two-day-high/#article-title