กองทุนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ (EDCF) ศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างโรงพยาบาลสมัยใหม่

กองทุนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ (EDCF) ในสปป.ลาวจะร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (MOH) เพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างโรงพยาบาลที่ทันสมัยใน 4 แขวงภาคใต้ของสปป.ลาว วัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้คือการให้บริการโรงพยาบาลศูนย์กลางระดับตติยภูมิซึ่งมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงคุณภาพบริการด้านการรักษาพยาบาลและการรักษาพยาบาลถ้วนหน้าสำหรับแขวงภาคใต้ของสปป.ลาว นอกจากนี้ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับประเด็นต่างๆโดยเฉพาะขอบเขตงานและแผนโดยรวมของการศึกษาความเป็นไปได้ที่นำเสนอโดยทีมที่ปรึกษา เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดด้านการลงทุนของของภาครัฐ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_EDCF_42.php

เวียดนามเผยภาคอุตสาหกรรมกลับมาเติบโตในเดือนก.พ.

ผลสำรวจที่จัดขึ้นโดยนิกเกอิ ระบุว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเวียดนามในเดือนก.พ. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 51.6 จากระดับ 51.3 ในเดือนม.ค. สะท้อนให้เห็นว่าสภาพธุรกิจดีขึ้น ทั้งนี้ ยอดคำสั่งซื้อใหม่กลับมาดีขึ้น ส่งผลต่อดีต่อธุรกิจส่งออก ท่ามกลางสัญญาของอุปสงค์จากต่างประเทศที่ดีขึ้น ประกอบการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากบริษัทต่างๆ ต้องการเพิ่มกำลังการผลิต นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาในส่วนของความเชื่อมั่นทางธุรกิจ พบว่ามีแนวโน้มลดลงในเดือนก.พ. ซึ่งปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่สาม ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนสิ.ค. 2563 เนื่องมาจากความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ธุรกิจส่วนใหญ่มองไปในทิศทางที่ดี โดยหวังว่าเวียดนามจะสามารถควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสได้

ที่มา : http://hanoitimes.vn/manufacturing-output-returns-to-growth-in-february-316473.html

เวียดนามเผยดัชนี CPI ก.พ. พุ่งสูงสุดรอบ 8 ปี

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้น 1.52% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ปรับตัวสูงสุดในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ดัชนีดังกล่าวสูงขึ้นเพียง 0.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ จำนวน 10 ใน 11 รายการ ที่เห็นว่าราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน หากจำแนกออกมาชี้ให้เห็นถึงราคาวัสดุก่อสร้างและที่อยู่อาศัยปรับตัวพุ่งสูงสุด 4% รองลงมากลุ่มราคาอาหารและบริการจัดเลี้ยง 1.61% และการขนส่ง 1.55% ตามลำดับ ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน (ปีใหม่ทางจันทรคติ) นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของเดือนนี้ (ไม่รวมกลุ่มอาหารสด พลังงานและบริการรัฐ) ได้แก่ บริการสุขภาพและการศึกษาขยับเพิ่มขึ้น 0.48% จากเดือนม.ค. 64 และ 0.79% เมื่อเทียบกับเดือนก.พ. ปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietreader.com/business/35093-february-cpi-growth-highest-in-eight-years.html

รัฐบาลญี่ปุ่นตั้งกองทุนสนับสนุนการพยากรณ์ในลุ่มน้ำแม่น้ำโขง

รัฐบาลญี่ปุ่นมอบเงินสนับสนุน 2.9 ล้านดอลลาร์ ให้แก่คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) เพื่อช่วยดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาในภูมิภาค โดยการระดมทุนครั้งใหม่นี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาต่อความท้าทายในภูมิภาคที่จะต้องเผชิญในอนาคต ซึ่งแผนยุทธศาสตร์ฉบับใหม่จะดำเนินการจนถึงปี 2024 จะช่วยให้กลุ่ม MRC และประเทศสมาชิกได้คอยติดตามและประเมินสถานการณ์ของลุ่มแม่น้ำ เพื่อเตรียมปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์นั้น ๆ ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยแม่น้ำโขงถือเป็นที่ตั้งและจุดกำเนิดของความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยมีกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ มากกว่า 95 กลุ่ม ที่อาศัยอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำโขง ที่ได้พึ่งพาทรัพยากรทางธรรมชาติจากแม่น้ำโขงมาอย่างยาวนาน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50819129/japanese-govt-helps-fund-mekong-forecasting-system/

การค้าข้ามพรมแดนระหว่างไทยและกัมพูชาลดลงร้อยละ 3.15

การค้าข้ามพรมแดนของไทยคาดว่าจะฟื้นตัวขึ้นเป็นร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 6 ในปีนี้ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้แก่ประชาชน ร่วมกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกโดยภาพรวม ซึ่งอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศระบุว่าการค้าข้ามพรมแดนมีแนวโน้มที่จะสร้างรายได้ราว 1.36 ถึง 1.40 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 1.31 ล้านล้านบาทในปี 2020 โดยสถานการณ์การค้าชายแดนในปีที่แล้วลดลงร้อยละ 1.7 จากปีก่อน สาเหตุหลักมาจากการแพร่ระบาดและการปิดด่านชายแดนเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่า ซึ่งการค้าชายแดนของไทยกับ 4 ประเทศเพื่อนบ้านมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 760 พันล้านบาทลดลงร้อยละ 8.01 เมื่อเทียบรายปี โดยการค้าระหว่างกัมพูชาอยู่ที่ 156 พันล้าน ลดลงร้อยละ 3.15 มาเลเซียที่เป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดโดยมีมูลค่าการค้าระหว่างกันรวม 2.46 แสนล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.1 ตามด้วย สปป.ลาว ที่ 190 พันล้าน ลดลงร้อยละ 3.85 และเมียนมาที่ 165 พันล้าน ลดลงร้อยละ 14.7

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50819149/cross-border-trade-between-thailand-and-cambodia-down-by-3-15-percent/

ปีงบฯ 63-64 การค้าทางทะเลเมียนมามา ลดฮวบ 2.28 พันล้านดอลลาร์ฯ

มูลค่าการค้าทางทะเลของเมียนมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 63 ถึง 12 กุมภาพันธ์ 64 ในปีงบประมาณ 2563-2564 มีมูลค่า 7.997 พันล้านดอลลาร์สหรัฐลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วกว่า 2.28 พันล้านดอลลาร์  ในขณะที่การส่งออกมีมูลค่า 3.28 พันล้านดอลลาร์ การนำเข้าอยู่ 4.7 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีงบประมาณ 62-63 การนำเข้าลดลง 1.53 พันล้านดอลลาร์ในขณะที่การส่งออกลดลง 751 ล้านดอลลาร์ ในขณะเดียวกันมูลค่าการค้าผ่านชายแดนปีงบประมาณนี้อยู่ที่ 3.9 พันล้านดอลลาร์ลดลง 56 ล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สาเหตุหลักๆ คือ ผลกระทบจาก COVID-19 โดยเฉพาะมาตรการในการเข้มงวดของประเทศเพื่อบ้านและการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ส่งผลให้อัตราค่าขนส่งในเมียนมาร์เพิ่มขึ้นเป็นเกือบสามเท่าทำเกิดความล่าช้า การค้าระหว่างประเทศโดยรวมมีมูลค่าถึง 11.987 พันล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งลดลงจาก 14.3 พันล้านดอลลาร์ฯ จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สถิติของกระทรวงพาณิชย์ระบุ การค้าทางทะเลของเมียนมาสร้างรายได้ 26,000 ล้านดอลลาร์จากมูลค่าการค้าโดยรวมที่ 36,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงปีงบประมาณ 62-63 ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ส่งออกสินค้าเกษตร ประมง แร่ธาตุ ปศุสัตว์ สินค้าจากป่า สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในขณะเดียวกันก็นำเข้าสินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และวัตถุดิบทางอุตสาหกรรม ปัจจุบันมีท่าเรือ 9 แห่ง มีท่าเรือย่างกุ้งเป็นประตูหลักสำหรับการค้าทางทะเลของเมียนมา รวมถึงอาคารผู้โดยสารชั้นในของย่างกุ้งและท่าเรือติลาวาชั้นนอก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/maritime-trade-decreases-by-2-28-bln-in-2020-2021fy/#article-title

อาเซียนเตรียมจัดประชุมพรุ่งนี้ หารือวิกฤตการเมืองเมียนมา

สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เตรียมจัดการประชุมพิเศษในระดับรัฐมนตรีต่างประเทศในวันพรุ่งนี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับวิกฤตการเมืองในเมียนมา การประชุมดังกล่าวถือเป็นการประชุมครั้งแรกของอาเซียน นับตั้งแต่ที่กองทัพเมียนมาก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ.สมาชิกส่วนใหญ่ของอาเซียนต่างแสดงความพร้อมที่จะเข้าร่วมการประชุม ขณะที่มีการเชิญนายวันนะ หม่อง ลวิน รัฐมนตรีต่างประเทศของเมียนมา เข้าร่วมการประชุมเช่นกัน รัฐมนตรีต่างประเทศของชาติสมาชิกอาเซียนบางส่วนอาจเดินทางเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวที่กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย ขณะที่บางส่วนอาจเข้าร่วมการประชุมผ่านระบบวิดีโอ คอนเฟอเรนซ์ การประชุมดังกล่าวมีขึ้น หลังมีการจัดการเจรจา 3 ฝ่ายที่กรุงเทพฯ ระหว่างนายวันนะ หม่อง ลวิน รัฐมนตรีต่างประเทศของเมียนมา, นางเร็ตโน มาร์ซูดี รัฐมนตรีต่างประเทศของอินโดนีเซีย และนายดอน ปรมัติวินัย รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย เมื่อวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา ทางด้านนายฮิชแชมมุดดิน ฮุสเซน รัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซีย กล่าวว่า อาเซียนควรมีบทบาทอย่างสร้างสรรค์ในการแก้ไขวิกฤตการณ์ในเมียนมา นอกจากนี้ นายฮิชแชมมุดดินยังเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความอดกลั้น และหลีกเลี่ยงจากการใช้ความรุนแรง หลังจากมีผู้เสียชีวิตจากการประท้วงการก่อรัฐประหารในเมียนมาถึง 18 รายเมื่อวานนี้ “เรามีความกังวลต่อการบาดเจ็บและการสูญเสียชีวิตของผู้บริสุทธิ์ในเมียนมา” นายฮิชแชมมุดดินกล่าวในระหว่างการเดินทางเยือนบูรไน ซึ่งเป็นประธานอาเซียนในปีนี้

ที่มา: https://www.infoquest.co.th/2021/68604

เวียดนามเผยเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ ดิ่งลง 15.6%

Foreign Investment Agency (FIA) ของเวียดนาม เผยว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ หดตัว 15.6% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นมูลค่า 5.46 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยนักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่เข้ามาลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิต มูลค่ากว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามมาด้วยภาคพลังงาน ประมาณ 1.44 พันล้านเหรียญสหรัฐ และภาคอสังหาริมทรัพย์ มูลค่า 485 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ นักลงทุนจากญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในเวียดนามมากที่สุด มูลค่า 1.64 พันล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาสิงคโปร์และเกาหลีใต้ นอกจากนี้ ปี 2563 เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ดิ่งลง 25% เมื่อเทียบเป็นรายปี มูลค่าอยู่ที่ 28.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ สาเหตุมาจากการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถเดินทางทางอากาศได้และส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลง

  ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/fdi-down-15-6-pct-4240708.html

เวียดนาม-อังกฤษ เผยมูลค่าการค้าพุ่ง หลังบังคับใช้ข้อตกลงการค้าเสรี UKVFTA

สำนักงานส่งเสริมตลาดยุโรปและอมริกา ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เผยว่าในเดือนมกราคม มูลค่าการส่งออกและนำเข้าระหว่างเวียดนามและสหราชอาณาจักร พุ่งสูงถึง 657 ล้านเหรียญสหรัฐ เวียดนามส่งออกสินค้าไปยังสหราชอาณาจักร มูลค่ากว่า 598 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 84.6% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ถือว่าเป็นการเติบโตได้ดีท่ามกลางโควิด-19 ระบาด และอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการยกระดับการส่งออกของเวียดนามคือ ความตกลงทางการค้าเสรีระหว่างสหราชอาณาจักร – เวียดนาม (UKVFTA) ที่มีผลยังคับใช้เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2563 โดยสินค้าส่งออกไปยังตลาดดังกล่าว อาทิ อาหารทะเล ผัก ชิ้นส่วนโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ทั้งนี้ เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว สหราชอาณาจักรเข้ามาลงทุนในเวียดนาม จำนวน 411 โครงการ ด้วยมูลค่าทุนจดทะเบียน 3.84 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่จะเข้ามาลงทุนในโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การธนาคารและพลังงานหมุนเวียน

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/vietnam-uk-trade-turnover-soars-after-post-brexit-free-trade-deal-4241118.html

เกษตรกรเมืองมี่นบู้ ปลื้ม ผลผลิต-ราคาถั่วเขียวเพิ่มขึ้น

เกษตรกรหมู่บ้าน U Yin Zin เมืองมี่นบู้ในเขตมะกเวพอใจกับผลผลิตถั่วเขียวที่เพิ่มสูงขึ้นและได้ราคาดีในตลาดท้องถิ่น บางส่วนเพาะปลูกหลังเผชิญกับมรสุมในช่วงเพาะปลูกข้าว และบางรายยังเพาะปลูกด้วยระบบน้ำชลประทาน ซึ่งในปีนี้ราคาลดลงเล็กน้อยจาก 41,000 จัตต่อตะกร้าเหลือ 38,000 จัตต่อตะกร้า ตามที่เกษตรกรในท้องถิ่นกล่าวว่ากรัมสีเขียวให้ผลผลิตอย่างมากมายและมีราคายุติธรรม ก่อนหน้านี้ผลผลิตถั่วเขียวในเมียนมาต่อปีมีเพียง 300,000 ตัน ต่อมามีการปลูกเพิ่มมากกว่า 600,000 ตัน นอกจากนี้การส่งออกส่วนใหญ่จะเน้นไปที่จีน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และยุโรป

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/farmers-enjoy-high-yield-of-green-gram/#article-title