พนักงานของรัฐ 17 คนถูกพักงาน หลังเข้าร่วมประท้วงในเมียนมา

เจ้าหน้าที่สิบเจ็ดคนจากฝ่ายบริหารทั่วไปของรัฐมอญถูกสั่งพักงานเนื่องจากเข้าร่วมใน CDM (ขบวนการอารยะขัดขืน)ซึ่งกับคำสั่งของกรม ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 64 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีการส่งหนังสือแจ้งไปยังหน่วยข้าราชการจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่เข้าร่วมใน CDM อีกด้วย ในเมืองเมาะลำเลิงของรัฐมอญการประท้วงต่อต้านการรัฐประหารของกองทัพยังคงดำเนินต่อไปในวันที่ 15 ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 64 การเดินขบวนมีข้าราชการ การรถไฟเมียนมา ไปรษณีย์พม่าและหน่วยงานอื่น ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของ บริษัท เจ้าของร้านสหภาพนักศึกษาและผู้ประชาชนในท้องถิ่นเข้าร่วมขบวนด้วย

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/17-staff-from-mon-state-administration-dept-suspended-for-joining-strike

สรรพสามิต เร่งรื้อภาษีรถยนต์ ฟื้นกองทุนแบตฯ

สรรพสามิต เตรียมฟื้นกองทุนแบตฯ พร้องเร่งทบทวนโครงสร้างภาษีรถยนต์ทั้งระบบ หวังดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ดันไทยเป็นศูนย์กลางฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพสามิต เผย เตรียมรื้อการจัดตั้งกองทุนแบตเตอรี่ ขึ้นมาใหม่ แนวคิดในการจัดตั้งกองทุนเกิดขึ้นตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว โดยจะมีการทบทวนแนวทางให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีแบตเตอรี่ในปัจจุบันที่พัฒนาก้าวหน้าไปมาก ล่าสุดได้มีการหารือกับผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าชั้นนำของประเทศ พบกว่า การผลิตแบตเตอรี่มีความก้าวหน้าไปจากเดิมมากๆ เพราะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เพียงปรับเปลี่ยนชิ้นส่วนอุปกรณ์บางชนิด ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแบตเตอรี่ในบ้านได้ หรือเปลี่ยนแค่แผงเซลไฟฟ้าบางชิ้น ก็สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ อย่างไรก็ตาม แนวทางในการจัดตั้งกองทุนแบตเตอรี่ต้องสอดคล้องกับแนวทางส่งเสริมการลงทุนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ซึ่งขณะนี้กรมอยู่ระหว่างการพิจารณาการปรับโครงสร้างภาษีใหม่  เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาใช้ประเทศไทย เพื่อดันไทยให้เป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/money_market/469660

กัมพูชาเร่งศึกษาข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างอินเดีย

หลังจากการลงนามในข้อตกลงการค้าความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคระหว่างกัมพูชาและจีน รวมถึงได้ข้อสรุปในการเจรจา FTA กับเกาหลีใต้แล้ว กัมพูชายังคงมองหาคู่ค้าที่มีศักยภาพในการลงนามข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีต่อไป โดยเฉพาะกับอินเดีย ซึ่งโฆษกกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่ากระทรวงกำลังทำงานอย่างใกล้ชิดกับสถาบันวิจัยอิสระในภูมิภาคเพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับต้นทุนและผลประโยชน์ของ FTA ระหว่างประเทศคู่ค้าต่อไป โดยการศึกษายังอยู่ในระหว่างดำเนินการและเกี่ยวข้องกับการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเต็มรูปแบบ พร้อมกับเตรียมการสำหรับการเจรจาระหว่างอินเดียในระยะถัดไป ซึ่งอินเดียถือเป็นหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีกำลังซื้อ ด้วยเหตุนี้จึงแสดงให้เห็นถึงตลาดที่มีศักยภาพที่ดีสำหรับผลิตภัณฑ์ของกัมพูชาและเป็นเป้าหมายเชิงตรรกะต่อไปในการที่จะเป็นพันธมิตรทางการค้าที่หวังไว้สำหรับกัมพูชาในอนาคต ข้อมูลจากสถานทูตอินเดียในกัมพูชากล่าวว่าปริมาณการค้าระหว่างสองประเทศสูงถึง 250 ล้านดอลลาร์ในปี 2019 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปี 2018 อยู่ที่ 227 ล้าน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50816522/looking-to-india-for-next-major-fta-agreement/

คาดการณ์จำนวนเที่ยวบินของกัมพูชาลดลงในปี 2021

ในช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์มีเที่ยวบินตามกำหนดเวลาทั้งขาเข้าและขาออกเพียงประมาณ 223 เที่ยวบิน ระหว่างสนามบินนานาชาติ 3 แห่ง ของกัมพูชา ตามรายงานของผู้บริหารระดับสูงของท่าอากาศยานกัมพูชา โดยผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์ของท่าอากาศยานกัมพูชากล่าวว่าการจราจรทางอากาศในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2020 ซึ่งลดลงรวมกว่าร้อยละ 94 ซึ่งมีเที่ยวบินเข้าและออกโดยเฉลี่ย 13 เที่ยวบินต่อวัน ณ สนามบินนานาชาติ 3 แห่ง โดยส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในพนมเปญ โดยสนามบินนานาชาติสามแห่งของกัมพูชาให้การต้อนรับผู้โดยสาร 2.13 ล้านคน (ระหว่างประเทศ ภายในประเทศและการต่อเครื่อง) ในปี 2020 ลดลงกว่าร้อยละ 79 เมื่อเทียบกับตัวเลขปี 2019 ตามข้อมูลของสำนักงานเลขาธิการการบินพลเรือนแห่งรัฐ (SSCA) รวมถึงข้อมูลจาก SSCA แสดงให้เห็นว่ากัมพูชาจัดการขนส่งสินค้า 49,983 ตัน ณ สนามบินนานาชาติสามแห่งของประเทศ ลดลงร้อยละ 31 จากตัวเลขของปี 2019

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50816334/number-of-flights-down-by-far-in-early-2021/

Lao National Single Window ลดการซับซ้อนการนำเข้า-ส่งออกพรมแดนระหว่างประเทศ

Lao National Single Window มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 23 ก.พ.เป็นต้นไป โดยกระทรวงการคลังได้ออกประกาศการใช้งานระบบอย่างเป็นทางการ  เพื่อลดความซับซ้อนของการนำเข้าส่งออกและขนส่งสินค้าและการขนส่งสินค้าทั้งหมดที่พรมแดนระหว่างประเทศและสนามบินทุกแห่งในสปป.ลาว การใช้ LNSW จะช่วยเพิ่มแหล่งรายได้ให้กับสปป.ลาวอย่างมีนัยสำคัญและยังรับประกันความโปร่งใสในการค้าและอำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากรทำให้ผู้นำเข้าสามารถติดต่อกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน หน้าที่หลักของระบบคือ เพื่ออำนวยความสะดวกในการร้องขอและออกใบอนุญาตนำเข้า การติดตามการเคลื่อนไหวของสินค้าโดยใช้ ID อ้างอิงรายการ และการเก็บภาษีและค่าธรรมเนียม ณ จุดเดียวกัน ทั้งนี้ LNSW ครอบคลุม ใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ รายการอิเล็กทรอนิกส์ การออกใบแจ้งหนี้และการเรียกเก็บเงิน ณ จุดเดียว และสถิติและการรายงาน กระทรวงการคลังได้ประกาศให้ผู้ประกอบการทางเศรษฐกิจและตัวแทนเดินเรือทั้งหมดในสปป.ลาวที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออกหรือขนส่งสินค้าควรไปที่สำนักงาน LNSW เพื่อรับการฝึกอบรม ผู้ค้าที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนควรดำเนินการทันทีและควรออกบัญชีผู้ใช้โดยด่วน ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกสินค้าทั้งหมดจะต้องชำระภาษีศุลกากรและภาษีอื่น ๆ รวมทั้งค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ จุดเดียว โดย BCEL,LDB ,BCEL i- Banking, BCEL One, LDB Corporate Banking เงินสด การโอนเงินและเช็คขึ้นอยู่กับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และจะมีการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ระบบนี้ในอัตรา 120,000 กีบต่อรายการ ซึ่งไม่รวมภาษีศุลกากรและอากรอื่น ๆ ภาษีค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่หน่วยงานต่างๆ เรียกเก็บ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Lao_national_37.php

กัมพูชาร่วมกับออสเตรเลียหารือเกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยลงทุน

สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ร่วมกับโครงการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าการเกษตรกัมพูชา – ออสเตรเลีย (CAVAC) ได้มีการประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยลงทุนทางการเกษตรและอาหาร โดยมีวัตถุประสงค์ในการพูดคุยเพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อมูลจากกระทรวงและสถาบันที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดตั้งหน่วยลงทุนภายใต้ความร่วมมือระหว่าง CDC และ CAVAC ซึ่งหน่วยลงทุนด้านการเกษตรคาดว่าจะสร้างความสะดวกให้แก่นักลงทุนที่สนใจลงทุนในด้านการเกษตร โดยจะมีการอัพเดทข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับกฎระเบียบ สิ่งจูงใจและเงื่อนไขที่จำเป็น ผ่านการจัดทำกลยุทธ์เพื่อเผยแพร่ศักยภาพการลงทุนให้กับนักลงทุนได้พิจารณาลงทุน โดยคาดว่าหากจัดตั้งหน่วยลงทุนได้แล้วจะช่วยดึงดูดนักลงทุนด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรให้มาลงทุนในกัมพูชามากขึ้น ตามนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของกัมพูชาประจำปี 2015-2025 และการดำเนินกลยุทธ์การดึงดูดการลงทุนให้เป็นเป้าหมาย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50816226/cambodia-australia-discuss-establishment-of-agri-food-investment-unit/

NBC ขอบคุณ IMF หลังร่วมประเมินสถานการณ์หลังโควิด-19 ในกัมพูชา

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และกัมพูชาได้พบกันเพื่อหารือและประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจมหภาคของกัมพูชาหลังเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน โดยการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นผ่านการประชุมทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ระหว่างผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) และหัวหน้าทีม IMF ประจำประเทศกัมพูชา ซึ่งในระหว่างการประชุมผู้ว่าการได้แจ้งให้กับทีม IMF ทราบถึงความพยายามของรัฐบาลในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 และในการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของไวรัส รวมถึงสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งได้มีการปรับปรุงนโยบายทางด้านการเงินภายในประเทศ รวมถึงการผ่อนคลายกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อเพิ่มการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ รวมทั้งสนับสนุนให้มีการปรับโครงสร้างเงินกู้เพื่อช่วยผู้กู้ที่ประสบปัญหาทางการเงินที่เป็นผลมาจากโควิด-19 โดยผู้ว่าการได้กล่าวขอบคุณ IMF สำหรับการสนับสนุนการพัฒนาของกัมพูชาโดยเฉพาะในภาคธนาคารที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50815896/nbc-governor-thanks-imf-for-development-support/

ญี่ปุ่นช่วยฟื้นฟูชุมชนสปป.ลาวจากอุทกภัยทางธรรมชาติ

รัฐบาลญี่ปุ่นบริจาคเงิน 180 ล้านเยนญี่ปุ่น (ประมาณ 1.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วงสองปีเพื่อบรรเทาผลกระทบจากฝนตกหนักและน้ำท่วมในแขวงสะหวันนะเขตและแขวงทางตอนใต้ของสปป.ลาว ภายใต้ข้อตกลงระหว่างปี 2564 ถึง 2565 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมสถานทูตญี่ปุ่นประจำสปป. ลาวและโครงการอาหารโลก (WFP) จะแจกจ่ายข้าวให้กับประชาชนประมาณ 35,000 คน เพื่อสนับสนุนความพยายามในการฟื้นฟูด้านวามมั่นคงของอาหารนอกจากนี้ WFP รวมถึงการสนับสนุนการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร รวมถึงแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มั่นคงและมีประสิทธิภาพเพื่อเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Japan_36.php

เวียดนามมีความพร้อมทางด้านอีคอมเมิร์ซ

ตามรายงานการจัดอันดับดัชนีอีคอมเมิร์ซแบบธุรกิจ B2C เผยเวียดนามมีค่าดัชนี 61.6 คะแนน (เต็ม 100 คะแนน) อยู่ในระดับที่ดีกว่าอินโดนีเซีย (อันดับที่ 83) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ (96), สปป.ลาว (101), กัมพูชา (117) และพม่า (130) การจัดอันดับดัชนีดังกล่าว พิจารณาตาม 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ความสัมพันธ์ของการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ที่อยู่ในระดับสูง 2) ความน่าเชื่อถือของการจัดส่งพัสดุ 3) จำนวนประชากรที่ใช้อินเทอร์เน็ต และ 4) จำนวนประชากรที่มีอายุมากกว่า 15 ปี ที่มีบัญชีกับสถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการชำระเงินผ่านโทรศัพท์ ทั้งนี้ มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซของทั่วโลก คาดว่าประมาณ 4.4 ล้านล้านด่องในปี 2561 เพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ตาม โควิด-19 เป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น นอกจากนี้ ตลาดอีคอมเมิร์ซของเวียดนาม ขยายตัว 18% ในปีที่แล้ว คิดเป็นมูลค่า 11.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ นับว่าเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีตัวเลขเติบโตในอัตราเลขสองหลักในภาคธุรกิจนี้ ท่ามกลางโควิด-19 ระบาด

  ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-moves-up-in-e-commerce-readiness-28362.html

เวียดนามเผย ม.ค. ส่งออกแตะ 28 พันล้านเหรียญสหรัฐ

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าในเดือนมกราคม 2564 เวียดนามมีมูลค่าการส่งออกและนำเข้ารวมอยู่ที่ 55 พันล้านเหรียญสหรัฐ มาจากการส่งออก 28.55 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 55% เมื่อเทียบเป็นรายปี สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ของเวียดนามยังเติบโตในเกณฑ์ที่ดี โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ (6.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 126 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว) รองลงมาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ (1.34 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เป็นต้น ในขณะที่สินค้าเกษตรและประมง ถือว่าเป็นสินค้าส่งออกสำคัญในเดือนมกราคมนี้ ทั้งนี้ นาย “Tran Thanh Hai” รองผู้อำนวยการฝ่ายนำเข้าและส่งออก ภายใต้กระทรวงอุตฯ กล่าวว่าสถานการณ์การส่งออกของเวียดนามในเดือนมกราคมไปในทิศทางบวก เนื่องจากได้รับประโยชน์ของข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) อย่างไรก็ตาม ภาวการณ์ส่งออกยังคงเผชิญกับความท้าทายที่เกิดมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ภายในปีนี้ แต่เชื่อว่ายังมีทิศทางที่เป็นบวก สาเหตุสำคัญมาจากเวียดนามมีข้อตกลงการค้าเสรี ได้แก่ CPTPP และ EVFTA รวมไปถึงการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและห่วงโซ่อุปทาน

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-export-turnover-reaches-over-28-bln-usd-in-january-28383.html