ราคาถั่วลิสงพุ่งตามความต้อง จากในประเทศและต่างประเทศ

ศูนย์สินค้าโภคภัณฑ์ของเขตมะกเว มองว่า ราคาถั่วลิสงพุ่งสูงขึ้นภายหลังการขึ้นราคาน้ำมันประกอบอาหาร นอกจากนี้ ผู้ค้าชาวจีนและโรงสีในประเทศเร่งกำลังเสนอราคาที่แข่งขันได้ในปัจจุบัน แต่ในขณะที่ความต้องการถั่วลิสงค่อนข้างต่ำ โดยราคา ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2565 อยู่ที่ประมาณ 4,300-4,400 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปหันมาใช้น้ำมันถั่วลิสงเนื่องจากมีประโยชน์ต่อสุขภาพและราคาน้ำมันที่นำเข้าจากต่างประเทศเริ่มสูงขึ้น ซึ่งเขตมะกเว ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตถั่วและพัลส์หลักรวมถึงพืชน้ำมันหลักของประเทศ จากสถิติของกรมศุลกากร เผย เมียนมาส่งออกถั่วลิสงส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีน โดยระหว่างวันที่ 1 เม.ย. ถึง 3 มิ.ย.2565 ของปีงบประมาณ 2565-2566 พบว่าเมียนมาส่งออกถั่วลิสงประมาณ 5,600 ตัน -มีมูลค่ากว่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/peanut-prices-moving-onwards-on-foreign-and-domestic-demand/#article-title

สิ้นเดือนพ.ค.ของปีงบฯ 65-66 เงินลงทุนจากต่างประเทศเข้าสู่เมียนมา ดิ่งลง 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

คณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัทของเมียนมา (DICA) ณ สิ้นเดือนพ.ค.2565 ของปีงบประมาณ 2565-2566 เงินลงทุนจากต่างประเทศเพียง 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ไหลเข้าสู่เมียนมา เป็นการลงทุนจากจีนจำนวน 9.017 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไต้หวันระดมทุน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ฮ่องกง 1.215 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และญี่ปุ่น.1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดย 6 เดือนแรก สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีการลงทุนในเมียนมามากที่สุด มีมูลค่าการลงทุนมากกว่า 297 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ โครงการลงทุนที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสำคัญส่วนใหญ่เป็นโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาประเทศ เช่น  1) การผลิตปุ๋ย 2) การผลิตปูนซีเมนต์ 3) การผลิตเหล็ก 4) เกษตรกรรมและปศุสัตว์และที่เกี่ยวข้อง: 5) การผลิตอาหารและสร้างมูลค่าเพิ่ม 6) การผลิตยานยนต์ไฟฟ้า7) การผลิตยาและอุปกรณ์การแพทย์  และ 8) การขนส่งสาธารณะ

ที่มา : https://news-eleven.com/article/232391

ราคาอาหารสัตว์พุ่งไม่หยุด ! หนุน ราคาไข่เป็ดแตะ 300 จัต

ราคาขายปลีกไข่ในตลาดภายในประเทศเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว ซึ่งกลายเป็นอาหารเพื่อสุขภาพในช่วงที่โควิด-19 แพร่ระบาด ราคาได้เพิ่มขึ้นจาก 100/120 จัต เป็น 1,000 จัตต่อไข่ 6-8 ฟอง ตั้งแต่นั้นมา ราคาอาหารไก่และเป็ดก็สูงขึ้นและไม่ลดลงอีกเลย แม้ว่าราคาไข่เป็ดในร้านค้าปลีกจะอยู่ที่ 300 จัต แต่พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำราคาจะขายอยู่ที่ 240-250 จัต สำหรับไข่ฟองใหญ่ และ 200 จัต สำหรับไข่ฟองเล็ก . เกษตรกรเจ้าของฟาร์มเป็ดบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำของตำบลโบกะเล่ เขตอิรวดี เผย ราคาอาหารของเดือนนี้อยู่ที่ 28,000 จัตต่อถุง และเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนเพื่อเป็นการประหยัดค่าอาหารสัตว์ลงไปได้พอสมควร เกษตรกรจะปล่อยเป็ดเพื่อเลี้ยงตามทุ่งตามวิถีธรรมชาติ ทั้งนี้ราคาไข่ในห้างสรรพสินค้า 10 ฟอง น้ำหนัก 60 กรัม ราคาอยู่ที่ 1,900 จัต ขณะที่น้ำหนัก 70 กรัม ราคาจะอยู่ที่ 2,100 จัต ส่วนไข่ออร์แกนิกราคาจะพุ่งไปถึง 3,000 จัต

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/duck-egg-price-reaches-k-300-due-to-increased-livestock-feed-price/#article-title

ไตรมาส 2 ของปีงบฯ 64-65 เงินเฟ้อเมียนมา พุ่งทะลุ 15.05% เพิ่มขึ้น 3.66% จากไตรมาสแรก

สำนักงานสถิติกลางของเมียนมา(Central Statistical Organization) เผย ไตรมาสที่ 2 (เดือนม.ค. ถึง เดือนมี.ค. 2565) ของปีงบประมาณ 2564-2565 (เดือนต.ค.2564-เดือนก.ย.2565) อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของเมียนมาเพิ่มขึ้นเป็น 15.05% จาก 3.66% ในไตรมาสแรก โดยอัตราเงินเฟ้อของไตรมาสแรก อยู่ที่ 11.39% ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยสำหรับช่วง 6 เดือนตั้งแต่เดือนต.ค. 2564 ถึงมี.ค. 2565 คาดว่าจะอยู่ที่ 6.67% จากข้อมูลของธนาคารโลก อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2560-2562 อยู่ที่ 6.4% และ ในสิ้นปี 2563 ลดลงเหลือ 5.2% เนื่องจากราคาไฟฟ้าและอาหารลดลง

ที่มา: https://news-eleven.com/article/232248

ในช่วงสองเดือนแรกของปีงบฯ 65-66 ค้าชายแดนมูเซลดฮวบ ! 178 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีก่อน

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย การค้าชายแดนมูเซในช่วงสองเดือนแรกของปีงบประมาณ 2565-2566 (วันที่ 1 เม.ย.ถึง 27 พ.ค.)ลดลงมากกว่า 178 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมูลค่าการส่งออก อยู่ที่ 184.069 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนมูลค่าการนำเข้า 23.496 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 207.565 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดใน 10 ประเทศของกลุ่มประเทศอาเซียน คิดเป็นมูลค่า 4,905.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงมาคือไทยที่ 3,172.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น 944.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ,อินเดีย 836.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, สหรัฐอเมริกา 620.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, เยอรมนี 426.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, สเปน 411.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, สหราชอาณาจักร  385.40 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, เนเธอร์แลนด์ 366.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเกาหลีใต้ 305.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่เดือนต.ค.62ถึงก.ย.63 ของปีงบประมาณ 2562-2563 การค้าระหว่างเมียนมา-จีนมีมูลค่า 12126.278 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเป็นการส่งออก 5401.943 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้าจาก 6727.335 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

 

 

ที่มา: https://news-eleven.com/article/232145

การซื้อขายงาดำในตลาดมัณฑะเลย์ เริ่มกลับมาคึกคัก

ผู้ค้างาดำในตลาดมัณฑะเลย์ก เผย ธุรกิจการค้างาดำในฤดูเก็บเกี่ยวเริ่มคึกคัก จากเดิมราคางาดำอยู่ที่ 185,000 จัตต่อถุง (3 ตะกร้า) ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 225,000 จัตต่อถุงในปีนี้ โดยผลผลิตทั้งงาดำและงาขาวกำลังไหลทะลักเข้าสู่ตลาดมัณฑะเลย์ เมล็ดงาเหล่านี้ปลูกร่วมกับเครือข่ายชลประทานของแม่น้ำมู บางชนิดปลูกโดยใช้น้ำบาดาล อีกทั้งงาดำยังได้รับไฟเขียวในการส่งออก ในปีนี้งาประมาณร้อยละ 95 ถูกส่งออกไปจีนซึ่งเป็นผู้รับซื้อรายใหญ่ของเมียนมา โดยงามีการปลูกในประเทศตลอดทั้งปีเขตมะกเวถือได้ว่าเป็นผู้ผลิตเมล็ดงารายใหญ่ของประเทศ และยังปลูกในพื้นที่อื่นๆ เช่น เขตมัณฑะเลย์ และเขตซะไกง์ ทั้งนี้การปลูกงาดำใช้เวลาเพาะปลูกเพียง 100 วัน ก็สามารถที่จะเก็บเกี่ยวและวางขายได้

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/newly-harvested-black-sesame-trade-bustling-in-mandalay-market/

การค้าชายแดนเมียนมา-บังกลาเทศ เดือนพ.ค.65 เงินสะพัดกว่า 3.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งรัฐยะไข่ เผย การค้าชายแดนเมียนมา-บังกลาเทศ 2 แห่ง ได้แก่ ชายแดนซิตต์เวย์ และชายแดนหม่องตอ มีเงินหมุนเวียนกว่า 3.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนพ.ค. 2565 สูงกว่าเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา เป็นการส่งออกมูลค่า 3,565,708 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (จำนวน 7,310 ตัน) และนำเข้ามูลค่า 9,540 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเมียนมาส่งออกสินค้าทางทะเลมูลค่า 1.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และคิดเป็นร้อยละ 55 ของเดือนพ.ค. ทั้งนี้ มีการส่งออกปลายี่สกเทศกว่า 1,500 ตันจากฟาร์มในย่างกุ้งและอิรวดีมูลค่า 1.81 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อีกทั้งสินค้าจากรัฐยะไข่ เช่น ถั่วหมาก มะพร้าว และอื่น ๆ รวมถึงสินค้าจากภูมิภาคและรัฐอื่นๆ เช่น แยมผลไม้ ปาล์ม ขิง หัวหอม และพืชอื่นๆ ก็ส่งออกไปยังบังกลาเทศด้วยเช่นกัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-us3-56-million-at-myanmar-bangladesh-border-trade-camps-in-may/

เมียนมา ลุย พร้อมส่งออกมะม่วงเส่งตะลง ทั้งทางอากาศและทะเล บุกตลาดสิงคโปร์

นาย U Kyaw Soe Naing เลขาธิการสมาคมพัฒนาตลาดมะม่วงและเทคโนโลยีเมียนมาร์ (มัณฑะเลย์) เปิดเผย เมียนมากำลังส่งออกมะม่วงเส่งตะลง (Seintalone) ไปยังสิงคโปร์โดยใช้การขนส่งทางอากาศและทางทะเล แม้การส่งออกทางอาศจะมีต้นทุนที่ค่อนข้างสูงแต่มีความเร็วและไม่ทำให้มะม่วงเน่าเสีย ซึ่งต่างจากการขนส่งทางทะเลที่ใช้เวลาถึงหนึ่งอาทิตย์ในการขนส่งและผลมะม่วงอาจได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ ช่วงฤดูการเพาะปลูกที่ผ่านมาเกษตรกรได้ลดต้นทุนในการปลูกทำให้ผลผลิตออกมาไม่ได้คุณภาพจึงเกิดโรคของผลมะม่วงหลังการเก็บเกี่ยวตามมา ราคามะม่วงเส่งตะลงแถบชายแดนเมียนมา-จีน ในปัจจุบันมีสูงถึง 140 จัตต่อตะกร้า (ขนาด 16 กิโลกรัม) ส่วนมะม่วงคุณภาพต่ำราคาจะอยู่ที่ 100 จัตต่อตะกร้า ปัจจุบัน การเพาะปลูกมะม่วงส่วนใหญ่กระจุกอยู่ในเขตอิรวดี โดยมีเนื้อที่ประมาณ 46,000 เอเคอร์ ลำดับต่อมาคือ เขตพะโค มีพื้นที่ 43,000 เอเคอร์, เขตมัณฑะเลย์ มีพื้นที่ 29,000 เอเคอร์, กะเหรี่ยงมีพื้นที่ 24,000 เอเคอร์, รัฐฉานมีพื้นที่ 20,400 เอเคอร์  และเขตซะไกง์มีพื้นที่ 20,000 เอเคอร์

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-conveying-seintalone-mango-to-singapore-by-air-maritime-transport/

ราคาถั่วแป๋ในตลาดมัณฑะเลย์ พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์

ผู้ค้าจากตลาดมัณฑะเลย์ เผย การซื้อขายถั่วแป๋ (rice bean) ในตลาดมัณฑะเลย์กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และราคาพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ปัจจุบันมีการนำถั่วแป๋มาจากตำบลมาดายะ สิงกู โมนยวา และปะโคะกู จากเดิมในฤดูเก็บเกี่ยวช่วงเดือนม.ค. ราคาอยู่ที่ 89,000 จัตต่อถุง (3 ตะกร้า) แต่ในปัจจุบันพุ่งไปถึง 150,000 จัตต่อถุง (3 ตะกร้า) ซึ่งการที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นเพราะอุปสงค์ของจีนที่มีมากขึ้นจาการเปิดชายแดนเมียนมาและจีน ส่วนใหญ่ถั่วแป๋จะเน้นการส่งออกเพราะการบริโภคในประเทศค่อนข้างน้อยจึงคาดว่าราคาจะยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ในเขตมัณฑะเลย์ เขตมะกเว และเขตซะไกง์ ซึ่งการปลูกบนดินลุ่มน้ำอิรวดีและแม่น้ำชี่น-ดวี่น ในเขตพื้นที่ดังกล่าวจะได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้ถั่วแป๋สามารถปลูกได้ปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือนต.ค.-พ.ย. สามารถเก็บเกี่ยวได้ในเดือนม.ค. ซึ่งถั่วแป๋เป็นพืชที่คุ้มค่ากับการปลูกและให้ผลผลิตที่สูง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/mandalay-market-sees-price-spike-in-rice-bean/#article-title

ความต้องการข้าวจากในประเทศและต่างประเทศเพิ่ม หนุนราคาข้าวเมียนมาพุ่งสูงขึ้น

นาย อู่ ธาน อู เลขาธิการศูนย์ขายส่งข้าวบุเรงนอง เผย ราคาข้าวหักเมียนมาเริ่มปรับตัวขึ้นเนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้ค้าทั้งในและต่างประเทศ ปัจจุบันราคาข้าวหักอยู่ระหว่าง 27,000-30,000 จัตต่อตะกร้า (น้ำหนัก 108 ปอนด์) โดยราคาไม่ต่างจากราคาข้าวคุณภาพต่ำที่ส่งออกมากนัก เมื่อเดือนเม.ย.2565 ที่ผ่านมา เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหักมากกว่า 170,000 ตัน โดยมีมูลค่าประมาณ 58.933 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ การส่งข้าวมูลค่ากว่า 119,260 ตัน เป็นการส่องออกยังทางทะเล มูลค่า 41.298 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ผ่านชายแดน มูลค่า 4,180 ตัน ผ่านชายแดนจีน โดยตลาดนำเข้าหลัก ได้แก่ ไอวอรี่โคสต์ (10,000 ตัน) แคเมอรูน (9,000 ตัน) แองโกลา (15,000 ตัน) มาดากัสการ์ (8,500 ตัน) จีน (14,300 ตัน) ฟิลิปปินส์ (12,200 ตัน) ศรีลังกา (250 ตัน) และฮ่องกง (180 ตัน) ส่วนการส่งออกไปสหภาพยุโรป ได้แก่ โปแลนด์ (8,800 ตัน), ลิทัวเนีย (8,200 ตัน), อิตาลี (8,690 ตัน), สเปน (15,180 ตัน), บัลแกเรีย (7,750 ตัน) และเบลเยียม (700 ตัน)

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/domestic-foreign-demand-drive-broken-rice-price-up/