ราคาข้าวคุณภาพต่ำในเมียนมา พุ่งถึง 30,000 จัตต่อถุง

นาย อู่ ธาน อู เลขาธิการตลาดค้าส่งข้าวบุเรงนอง เผย ราคาข้าวพันธุ์คุณภาพต่ำ (ข้าวเมล็ดยาว) ในประเทศมีราคาสูงถึง 30,000 จัตต่อถุง นอกจากนี้ราคาข้าวพันธุ์ปวาสันต์ยังมีมูลค่าถุงละ 40,000-50,000 จัตอีกด้วย ข้าวหอม “Pearl Paw San” ที่นิยมบริโภคและปลูกในพื้นที่เมืองชเวโบ เขตซะไกง์ ราคาพุ่งไปถึงถุงละ 50,000 จัต อย่างไรก็ตาม ตลาดในประเทศค่อนข้างซบเซา ส่วนราคาส่งออกมีความเกี่ยวพันอย่างมากกับตลาดค่างินและตัวชี้วัดเศรษฐกิจโลก ปัจจุบันเงินจัตอ่อนค่าลงลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ที่ที่ 1,980 จัต ช่วงนี้ข้าวนาข้าวปีเริ่มถูกส่งเข้าสู่ตลาดข้าวบุเรงนองประมาณ 30,000-40,000 ถุงต่อวัน ทั้งนี้ตลาดข้าวบุเรงนองเป็นจุดสำคัญสำหรับการส่งออกข้าวผ่านทางทะเล

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/low-grade-rice-price-rises-over-k30000-per-bag-in-domestic-market/

เมียนมา ชี้ มันสำปะหลัง ต้องการลงทุนเพิ่ม เพื่อเจาะตลาดส่งออกมากขึ้น

องค์การส่งเสริมการค้าเมียนมา เผย เมียนมาส่งออกมันสำปะหลังได้เพียงเล็กน้อย จึงจำเป็นต้องอาศัยการร่วมทุนจากต่างประเทศ ปัจจุบันปริมาณการส่งออกค่อนข้างต่ำอยู่ที่ 50 ตันต่อเดือน และมีการพยายามส่งออกไปยังจีนให้มากขึ้น โดยมันสำปะหลังหนึ่งตันมีมูลค่าประมาณ 200-250 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะความต้องการของตลาดต่างประเทศยังต่ำ ส่วนใหญ่มีการปลูกอยู่ในเมือง Kyonpyaw, Yekyi, Ngathainggyoung, Kyaunggon และ Thaboung ในเขตอิรวดีโดยมีพื้นที่มากกว่า 30,000 เอเคอร์ทั่วภูมิภาค มีผลผลิตต่อเอเคอร์ประมาณ 3,500 viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) อย่างไรก็ตาม เกษตรกรต้องเผชิญกับต้นทุนการผลิตที่สูงและราคามันสำปะหลังที่ลดลงในปีงบประมาณ 2563-2564 นอกจากนี้ ตลาดยังขึ้นอยู่กับผู้บริโภคในท้องถิ่นและโรงงานแปรรูปอาหารสัตว์ ราคามันสำปะหลังลดลงจาก 103 จัต มาอยู่ที่ 80 จัตต่อ viss ในปัจจุบัน ในทำนองเดียวกันราคาแป้งมันสำปะหลังก็ปรับลดลงจาก 850 จัตมาเป็น 500-550 จัตต่อ โดยเมียนมามีพื้นที่ที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกมันสำปะหลัง เนื่องจากเมียนมาตั้งอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศผู้ซื้อมันสำปะหลังรายใหญ่อย่างจีนและอินเดียที่มีความต้องการคิดเป็น 90% ของความต้องการทั้งโลก ดังนั้นควรเพิ่มปริมาณการปลูกให้มากขึ้น ทั้งนี้มันสำปะหลังสามารถนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร ทดแทนแป้งสาลี ยารักษาโรค อาหารสัตว์ และเชื้อเพลิงชีวภาพ อย่างไรก็ตาม ตลาดภายในประเทศมีการบริโภคไม่มากนักเนื่องจากผลผลิตไม่เพียงพอ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/tapioca-needs-market-promotion-to-penetrate-more-foreign-markets/

ผลผลิตมะเขือเทศสร้างรายได้งาม ! ให้เกษตรกรเมืองนะเมาะ

เกษตรกรในท้องถิ่นจากหมู่บ้าน West Lekkokpin ในเมืองนะเมาะ (Natmauk) จังหวัดมะกเว เขตมะกเวของเมียนมา กำลังปลูกมะเขือเทศโดยอาศัยน้ำบาดาลหลังฤดุฝนเพื่อการยังชีพและสร้างรายให้กับครัวเรือนได้อีกด้วย มะเขือเทศมี 2 สายพันธุ์ เช่น มะเขือเทศเมียนมาและไต้หวัน ตอนนี้เรากำลังปลูกมะเขือเทศพันธุ์เมียนมาร์ มะเขือเทศจะปลูกบนหย่อม ๆ ห่างกันประมาณสามฟุต ต้องรดน้ำทุกสามวัน ผลไม้ให้ผลผลิตสูงในขณะนี้ ก่อนหน้านี้ ชาวบ้านปลูกหัวหอมส่งขายได้ราคา 1,000 จัตต่อ Visses (1 Visses เท่ากับ 1.66 กิโลกรัม) แต่ตอนนี้ราคาร่วงมาอยู่ที่ K350 จัตต่อ Visses ดังนั้นมะเขือเทศจึงเป็นทางเลือกของชาวบ้านในการสร้างรายได้ โดยมะเขือเทศที่จะขายปลีกและส่งจะถูกส่งไปยังตลาด Myoma ในทุกฯ วัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/manageable-tomato-production-earns-regular-income-for-farmers-in-natmauk/#article-title

ความต้องการบริโภคถั่วลูกไก่ในประเทศสูงขึ้น หนุนราคาพุ่ง

ความต้องการบริโภคถั่วลูกไก่ในประเทศยังพุ่งสูงต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตจากเมืองต่างๆ ในเขตมัณฑะเลย์ เช่น เจาะแซ (Kyaukse) , ปะเตนจี้ (Patheingyi), มะตะยา (Madaya), สิ่นกู้ (Singu) และมาขากเขตซะไกง์ เช่น เมืองมยี่นมู (Myinmu) และเมือง โมนยวา (Monywa) ได้ทะลักเข้าสู่ตลาดมัณฑะเลย์เป็นอย่างมากส่งผลให้ราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างน่าตกใจอยู่ที่ 116,000 จัตต่อถุง (ประมาณสามตะกร้า) เมื่อเทียบกับปีก่อนอยู่ที่เพียง 80,000 จัตต่อถุง ชาวเมียนมาส่วนใหญ่ชอบบริโภคเพราะมีสารอาหารและรสชาติที่อร่อยเข้มข้น ทั้งยังกระตุ้นให้โรงงานผลิตและแปรรูปในมัณฑะเลย์เปิดดำเนินการ สร้างโอกาสในการทำงานให้กับผู้คนในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมีพ่อค้าจากอินเดียก็ที่เข้ามารับซื้ออีกด้วย อีกทั้งผลผลิตในปีนี้ค่อนข้างสูงเนื่องจากสภาพอากาศที่ดีและถั่วนั้นปลอดจากศัตรูพืช คาดว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปี 2564 ถั่วลูกไก่มีการเพาะปลูกหลักในภูมิภาคตอนบนของเมียนมาและพบได้ในภูมิภาคตอนล่างของเขตพะโค ที่นิยมปลูกกันทั่วไป คือ พันธุ์ V2, V7 และ 927

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/high-domestic-consumption-hikes-up-chickpea-prices/

เมียนมาส่งออกข้าวโพดหมัก 51 ตันไปยังจีน

เมื่อวันที่ 18 ก.พ.2565 สถานเอกอัครราชทูตจีนในย่างกุ้งเปิดเผบว่า เมียนมาส่งออกข้าวโพดหมักสำหรับเป็นอาหารเลี้ยงวัวจำนวน 51 ตันไปยังจีน ผ่านด่านชายแดนชินฉ่วยฮ่อ (Chinshwehaw)  นอกจากนี้ กระทรวงเกษตร ปศุสัตว์และการชลประทานของเมียนมา และสำนักงานบริหารทั่วไปของการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบ และการกักกันของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ลงนามร่วมกับข้อตกลงมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) เมื่อวันที่ 31 ม.ค.2565 เพื่อส่งออกอย่างถูกกฎหมาย นาย U Min Khaing ประธานสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมา (MCIA) เปิดเผยว่า เมียนมาตั้งเป้าส่งออกข้าวโพดราว 2 ล้านตันในปีงบประมาณ 2564-2565 โดยส่งออกไปยังไทยผ่านชายแดนเมียวดี ในขณะที่การส่งออกทางทะเลจะส่งออกไปยังไปยังฟิลิปปินส์ อินเดีย เวียดนาม ลาว และสิงคโปร์ นอกจากนี้ ราคาข้าวโพดในปีนี้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาร์ส่งออกข้าวโพดประมาณ 2.3 ล้านตัน ไทยเป็นประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุด รองลงมาคือ จีน อินเดีย และเวียดนาม

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exports-51-tonnes-of-silage-corn-to-china/#article-title

เกษตรกรอำเภอจู้นละปลูกมะเขือเทศไต้หวัน เฮ ได้ราคาดี

เกษตรกรหมู่บ้าน Magyi Inn อำเภอจู้นละ จังหวัดกั่นบะลู เขตซะไกง์ กำลังเร่งปลูกมะเขือเทศไต้หวันเพราะได้ราคาดี โดยต้นทุนการเพาะปลูกอยู่ที่ประมาณ 200,000 จัตต่อเอเคอร์ ซึ่งรวมทั้งเมล็ดพันธุ์ ไถ ปุ๋ย และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง คาดว่าสามารถออกผลผลิตได้มากกว่า 1,000 ต้นในเดือนมี.ค.นี้ โดยราคาขายส่งมะเขือเทศขายได้ 1,000 จัตต่อ vises (1  visses เท่ากับ 1.66 กิโลกรัม) ทั้งนี้มะเขือเทศไต้หวันสามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล ซึ่งจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร ได้เข้ามาให้ความรู้และเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อให้ได้พืชผลที่ปลอดสารเคมี และยังสาธิตวิธีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชตามธรรมชาติและยาฆ่าแมลงให้อีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/exotic-tomato-growers-in-kyunhla-delight-to-earn-good-price/

4 เดือนแรกของงบประมาณย่อย 64-65 ค้าชายแดนด่านมูเซ ลดฮวบเกือบ 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย 4 เดือนแรกของงบประมาณย่อย (2564-2564) ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2564  ถึง 28 ม.ค. 2565 มูลค่าการค้าชายแดนมูเซระหว่างเมียนมาและจีนลดลงเกือบ 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แบ่งเป็นการส่งออก 425.880 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การนำเข้า 20.801 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีมูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 446.681 ล้านสหรัฐฯดอลลาร์ และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (2563-2564) อยู่ที่ 1,945.917 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แบ่งเป็นการส่งออก 1,226.391 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 719.526 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งในปีงบประมาณ 2563-2564 จีนติดอันดับ 1 ใน 10 ประเทศผู้นำเข้าสำคัญของเมียนมาโดยมีมูลค่าการค้า 4,905.80 ล้านดอลลาร์ รองลงมาคือไทยที่ 3,172.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่เดือนต.ค.ถึงก.ย.ของปีงบประมาณ 2562-2563 การค้าระหว่างเมียนมาและจีนมีมูลค่ามากกว่า 12.13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกมูลค่ากว่า 5.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้ามูลค่ากว่า 6.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/muse-border-trade-down-nearly-1500-mln-within-four-months-this-mini-budget-period/#article-title

 

ราคาเกลือรัฐมอญพุ่งไม่หยุด

คลังสินค้ามะละแหม่ง เผย ราคาเกลือในรัฐมอญพุ่งขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 11 ก.พ.65 ราคาเกลือดิบ (ปกติ) จะอยู่ระหว่าง 115-120 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ในขณะที่เกลือบริสุทธิ์ จะอยู่ที่ 140 จัตต่อ viss แต่เมื่อเทียบกับเดือนม.ค.ที่ผ่านมา ราคาเกลือดิบ (ปกติ) มีราคาเพียง 75-80 จัตต่อ viss ขณะที่เกลือดิบ (บริสุทธิ์) อยู่ที่ 100 จัตต่อ viss แม้ว่าราคาเกลือจะสูงขึ้นในช่วงปลายฤดูการผลิต แต่ก็มีผลผลิตของเกษตรกรและผู้ค้าในท้องถิ่นลดน้อยลง ในทางกลับกัน ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นได้ส่งผลให้ต้นทุนการขนส่งสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ในทุกๆ ปี รัฐมอญผลิตเกลือตากแห้งเกือบ 40,000 ตันนอกเหนือจากแมกนีเซียมคลอไรด์ (MgCl2) เกลือเสริมไอโอดีน (I2) และเกลือแกง (NaCl) สถิติปี 2562-2563 พบว่ามีโรงแปรรูปเกลือไอโอดีน 14 โรงและโรงงานหนึ่งแห่งสำหรับการผลิตแมกนีเซียมคลอไรด์และเกลือแกง โดยมีกำลังการผลิตแมกนีเซียมคลอไรด์ 60 ตัน เกลือแกง 204 ตัน และไอโอดีน 12,132 ตัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/salt-price-rises-up/

ชาวสวนส้มจังหวัดเมิ้งสาด ปลื้ม ส้มคลีเมนไทน์ขายดี ราคาพุ่ง

ส้มคลีเมนไทน์ (clementine ) จากจังหวัดเมิ้งสาด ของ รัฐฉาน (ตะวันออก) ถูกส่งออกไปยังเมืองอื่น ๆ และตลาดกำลังเฟื่องฟูอย่างมากในเมียนมา ส้มคลีเมนไทน์ จากจังหวัดเมิ้งสาด มีเนื้อสด ฉ่ำ รสหวาน มีผู้มาซื้อหาส้มที่ร้านค้าปลีกและสวนส้มเพื่อเป็นของฝากอย่างไม่ขาดสาย จากคำบอกเล่าของเกษตรกรในท้องถิ่น การปลูกจะเน้นแบบวิถีธรรมชาติอย่างการใช้ปุ๋ยคอกแทน ขณะที่สวนส้มต๊อวิน ตันแสง ที่จำหน่ายส้มทั้งปลีกและส่ง เปิดเผยว่า ราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 3,000 จัต ทำให้ตอนนี้เป็นที่ต้องการอย่างมากจากเมืองอื่น ๆ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/clementine-oranges-from-monghsat-township-sold-well/

4 เดือนของปีงบประมาณย่อย เมียนมามีรายได้จากการส่งออกถั่วพัลส์ 390.895 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปริมาณส่งออก 486,413 ล้านตัน

กระทรวงพาณิชย์ เมียนมามีรายได้ 390.895 ล้านดอลลาร์จากการส่งออกถั่วต่างๆ กว่า 486,413 ล้านตันผ่านเส้นทางทางทะเลและชายแดน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. ถึง 28 ม.ค. ในช่วงปีงบประมาณย่อย 2564-2565 แบ่งเป็นการส่งออกทางทะเล 453,684.109 ตัน มีมูลค่า 361.919 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ผ่านชายแดน 32,729.362 ตัน มีมูลค่า 28.976 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2562-2563 เมียนมามีรายได้กว่า 1.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกถั่ว ซึ่งการส่งออกมูลค่ากว่า 374 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกถั่วและเมล็ดพืชทั้งทางทะเลและชายแดน เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.64 เมียนมาและอินเดียจับมือทำข้อตกลงบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) ในการส่งออกถั่วพัลส์ของเมียนมารวม 350,000 ตัน แบ่งเป็นถั่วดำ 250,000 ตันและถั่วแระ 100,000 ตันไปอินเดีย เป็นระยะเวลา 5 ปี (ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564-2565 ถึงปี 2568-2569) .ซึ่งส่วนใหญ่แล้วถั่วเขียวและถั่วแระจะส่งออกไปยังอินเดียเป็นหลัก ส่วนถั่วเขียวผิวมันจะส่งออกไปยังจีนและบางประเทศในสหภาพยุโรป

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-390-895-mln-from-over-486413-mln-tonne-pulses-export-in-nearly-4-months-of-mini-budget-year/